WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

May copyบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ตลาดหุ้นไทยวานนี้
  SET INDEX วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ไม่สามารถยืนเหนือ 1,450 จุดได้ แรงขายทำกำไรก่อนวันหยุดยาวในกลุ่มธนาคาร / โรงพยาบาล/ รับเหมาก่อสร้าง แต่การปรับดัชนี SET50/SET100 ส่งผลให้ท้ายสุด SET INDEX ปิดบวก 2.33 จุด มาอยู่ที่ 1,444.99 จุด มูลค่าการซื้อขาย 59.825 ล้านบาท
      เงินทุนต่างชาติหนาแน่น ด้วยการกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยมากถึง 6,873 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 อีก 2,528 สัญญา และซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 อีก 8,669 สัญญา

ปัจจัยสำคัญวันนี้
- ทุกตลาดในสหรัฐฯ ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันชาติสหรัฐฯ
- เงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นในเอเชียเกิดใหม่อย่างหนาแน่น เมื่อวันศุกร์ทีผ่านมา

มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง
แม้ว่าภาพรวมของการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก คลายความกังวลจากความเสี่ยงของ Brexit สะท้อนได้จาก VIX Index ที่กลับสู่กรอบปกติล่าสุดปิดที่ 14.77 จุด วันศุกร์ที่ผ่านมา ดังนั้นประเด็นการลงทุนจะกลับสู่ปัจจัยพื้นฐานและสัญญาณทางเทคนิก ในแต่ละตลาดหุ้น ซึ่งเรายังมองว่า 1,450 จุดขึ้นไปอยู่ในโซนที่แพง ทั้งในแง่ของ PER16 หรือ สัญญาณทางเทคนิกที่ตึงตัว เพียงแต่ว่าการเทรดดิ้งบนโมเมนตัมก็มีความเป็นไปได้ที่ SET INDEX จะทะลุแนว 1,450 จุดไปสู่ด่าน 1,470-1,480 จุดได้ ทั้งนี้จับตากลุ่ม Domestic Play
อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรแบบจำกัดวงเงินตามโมเมนตัมของภาวะการลงทุน พร้อมสามารถ Cut Loss หาก SET INDEX เปลี่ยนทิศทาง โดยแนวที่รับประเมินว่าเป็นโซนปลอดภัยคือ 1,420-1,430 จุด
สำหรับวันนี้เราประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,440-1,455 จุด มูลค่าการซื้อขายกลับมาหนาแน่นระดับ 5.0-5.5 หมื่นล้านบาท/วัน หุ้นที่จะปรับตัวขึ้นเด่น จะเป็นหุ้นที่มีประเด็นเด่นเฉพาะตัวมากกว่าภาพของกลุ่มอุตฯ
กลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรหุ้นที่มีประเด็นเด่นเฉพาะตัวแบบจำกัดวงเงิน โดยประเมินจาก Valuation ที่ต่ำ และ/หรือ ผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงกว่า 5% ต่อปี

Strategy of the Day
1. สะสม KBANK : ราคาปิด 170.00 บาท ราคาเหมาะสม 182.00 บาท
a) MBKET คงมุมมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร และเชื่อว่าจะ Outperform ตลาดได้ใน 2H59 ในทิศทางเดียวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
b) คาดกำไรสุทธิ 2Q59 กลับมาเติบโต +7.1% qoq เป็น 1.03 หมื่นล้านบาท จากการตั้งสำรองที่ลดลงเหลือ 8.1 พันล้านบาท ใน 2Q59 จาก 1.1 หมื่นล้านบาท ใน 1Q59
c) เชื่อว่า NPL ของกลุ่มธนาคารกำลังจะเข้าสู่จุด Peak แล้ว และส่งผลให้การตั้งสำรองลดลงต่อเนื่องใน 2H59 เป็นปัจจัยผลักดันให้กำไรสุทธิปี 2560 จะขยายตัวโดดเด่นถึง +35.0% yoy และซื้อขายระดับ PER2560 ต่ำเพียง 7.8 เท่า
2. เก็งกำไร IVL : ราคาปิด 29.00 บาท ราคาเหมาะสม 38.50 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้น IVL จะฟื้นตัวได้ในสัปดาห์นี้ หลังปรับตัวลงถึง -8.6% ตั้งแต่ทราบผลการทำประชามติของอังกฤษ เทียบกับ SET INDEX +0.6% ดังนั้น ประเด็น BREXIT ที่เริ่มคลายตัวลงจะส่งผลให้หุ้น IVL กลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง
b) การอ่อนค่าของค่าเงินยูโรจะไม่กระทบกำไรอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเมินว่าการอ่อนค่าลงของค่าเงินยูโรเทียบกับเงินบาท ทุก 1 บาทจะกระทบประมาณการกำไรเพียง 80 ล้านบาท
c) คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติใน 2Q59 จะเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว qoq เป็น 2.2 พันล้านบาท และเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้น

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิอีก US$748 ล้าน โดยเป็นการซื้อสุทธิทุกตลาดในวันศุกร์ที่ผ่านมา

Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงหนาแน่น
นักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง มากถึง 6,873 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิขยับขึ้นเป็น 36,511 ล้านบาท
ขณะที่ SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 2 อีก 2,528 สัญญา รวม 2 วันทำการ Long สุทธิ 14,177 สัญญา เราคาดว่าเป็นการทยอยเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง เมื่อ S50U16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบเท่ากับ 7.86 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 7.79 จุด ส่งผลให้ยอดสุทธิ QTD ณ สิ้นงวด 2Q59 เป็น Long สุทธิเท่ากับ 22,081 สัญญา ถือว่าเป็นการปิดงวดไตรมาสที่มีสถานะ Long เป็นไตรมาสที่ 2
และนักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 ลดลงเป็น 8,669 ล้านบาท รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 44,461 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยทรงตัวเป็นวันที่ 2 ผ่านพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 อีก 3.76bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.85bps ปิดที่ 2.016%

Short-Selling วานนี้
เพิ่มขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 912 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 743 ล้านบาท

NVDR Movement
NVDR กลับมาซื้อสุทธิหนาแน่น เน้นกลุ่มพลังงานถึง 1 ใน 3
การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาซื้อสุทธิมากถึง 2,363 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 896 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเน้นกลุ่มพลังงานอย่างโดดเด่น ขณะที่กลุ่มอาหาร มีประเด็นเชิงบวกต่อ IUU ที่ปรับอันดับไทยขึ้นมาเป็น Tier 2 จากเดิม Tier 3

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลาง
ยอดขายยานยนต์เดือนมิ.ย. เท่ากับ 16.7 ล้านคัน ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 17.3 ล้านคัน และเดือนก่อนหน้าที่ 17.5 ล้านคัน หรือลดลง 4.6% mom เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2558
ดัชนี ISM ภาคการผลิต เดือนมิ.ย. เท่ากับ 53.2 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 51.5 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 51.3 จุด เป็นระดับที่ดีสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเป็น 57.0 จุด เป็นระดับดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากคำสั่งซื้อส่งออกที่เติบโตต่อเนื่อง
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนมิ.ย. เท่ากับ 51.3 จุด ดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 50.7 จุด โดยเป็นคำสั่งซื้อใหม่ที่ดีขึ้น ผ่านคำสั่งซื้อจากภาคการส่งออก

ยุโรป
อัพเดทสถานการณ์ หลังผลประชามติของอังกฤษออกมาเป็น Brexit
นักการเมืองที่มาจากฝั่ง Brexit คุณ Leadsom ยืนยันที่จะเร่งเดินหน้าออกจากการเป็นสมาชิก ทั้งนี้ Leadsom จะเป็นตัวแทนที่จะเข้าเสนอชื่อเป็นนายกฯ แทนนายกฯ Cameron จากพรรคอนุรักษ์นิยม
สำนักงานกฎหมายในลอนดอน Mishcon de Reya เป็นสำนักงานกฎหมายขนาดใหญ่สุดในอังกฤษ ยืนยัน การออกจากการเป็นสมาชิกภาพในกลุ่มอียู จะต้องได้รับการรับรองจากในสภาฯ โดยจะต้องใช้กฎหมายมาตรา 50 ของลิสบอน ด้วยการนำเสนอจากนายกฯ ที่จะเข้ารับตำแหน่งแทนนาย David Cameron
รมว.คลัง อังกฤษ เตรียมเสนอลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 15% เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนยังคงอยู่กับอังกฤษต่อไป จากปัจจุบัน อัตราภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ 20% โดยจะเป็นการปรับลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เดือนเม.ย.ปี 2560 ลดลงเหลือ 19% และ 17% ในปี 2563
สวีเดนปรับเป้าหมายการทำงบประมาณ: รัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เห็นชอบที่จะผ่อนคลายเป้าหมายการเกินดุลงบประมาณ เพื่อเปิดทางให้ใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยปรับเป้าหมายการเกินดุลงบประมาณเป็น 0.33% ของ GDP จากเดิม 1.0% ของ GDP รวมถึงตั้งเป้าระดับหนี้สาธารณะที่ 35% ของ GDP เป้าหมายใหม่นี้จะใช้ตั้งแต่ปี 2562
อัตราเงินเฟ้อในอียูกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง: เดือนมิ.ย. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.1% yoy เป็นการกลับมาเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง เพิ่มขึ้น 0.9% yoy เร่งขึ้นจากเดือนพ.ค.ที่ 0.8% yoy

จีน
รายงาน Beige Book ของจีน ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากระดับต่ำ: คาดการณ์เศรษฐกิจใน 2Q59 จะเติบโตแข็งแกร่ง ภาคบริการและการก่อสร้างเป็นตัวแปรที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กลับมาอยู่ในระดับปานกลางถึงบวกเล็กน้อย สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมจากระดับต่ำสุดใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า โดยให้น้ำหนักกับภาคบริการที่น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนในระยะยาวและอย่างมีเสถียรภาพ
ธนาคารกลางจีนอาจให้เงินหยวนอ่อนค่าเพิ่มเติม: อาจให้อ่อนถึงระดับ 6.8 หยวน/US$ ภายในปีนี้ สอดคล้องกับระดับการอ่อนค่าของเงินหยวนในปีที่แล้ว 4.5% ณ ปัจจุบัน ค่าเงินหยวนซื้อขายที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี ดังนั้นธนาคารกลางจีนต้องให้มั่นใจว่า การอ่อนค่าของเงินหยวนจะไม่ทำให้เกิดเงินทุนไหลออกเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนส่งสัญญาณฟื้นตัว
ดัชนี PMI ภาคการผลิต มิ.ย.เท่ากับ 50.0 จุด สอดคล้องกับที่ Bloomberg consensus คาด แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 50.1 จุด
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือนมิ.ย. เท่ากับ 53.7 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.1 จุด ทั้งนี้การบริกาภายในประเทศเติบโตแข็งแกร่ง จากยอดขายตั๋วชมภาพยนตร์
ทั้งนี้ภาควะการจ้างงานทั้งภาคการผลิตและบริการชะลอตัว โดยภาคการผลิตลดลงเป็น 47.9 จุด ส่วนภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ 48.7 จุด

เอเชียแปซิฟิก
Moody's ลดแนวโน้มธนาคารในสิงคโปร์เป็น "ลบ": จากเดิม "คงที่" เนื่องจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอุตฯ พลังงาน และที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระดับหนี้ต่อทุนที่สูงในภาคเอกชน กลายเป็นจุดที่กดดันแนวโน้มธนาคารในสิงคโปร์ ขณะที่ Moody's ประเมินเศรษฐกิจในสิงคโปร์เติบโต 1.6% ในปีนี้ และ 1.5% ปีหน้า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 4.5% ในช่วงปี 2554-2557
ธนาคารกลางไต้หวันลดอัตราดอกเบี้ย: เป็น 1.375% จาก 1.500% โดยสอดคล้องกับ Bloomberg consensus คาดว่าธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ 12.5bps หลังเศรษฐกิจไต้หวันติดลบตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งความต้องการสินค้าและบริการในตลาดโลกลดลงทุกๆ เดือนนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2558 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไต้หวัน รวมถึงกรณี Brexit ที่จะมีผลกระทบต่อตลาดส่งออกไปอียูในระยะยาว
ธนาคารแห่งชาติ Abu Dhabi ประกาศควบรวมกิจการ: ธนาคาร National Bank of Abu Dhabi PJSC ได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร First Gulf Bank PJSC ส่งผลให้ขนาดสินทรัพย์หลังการควบรวมจะสูงถึง US$1.75 แสนล้าน โดย FGB จะยังคงถือหุ้นสัดส่วน 52% หลังการควบรวม สำหรับการดำเนินการจะอยู่ภายใต้ธนาคาร National Bank of Abu Dhabi ส่วนหุ้นธนาคาร FGB จะถูกออกจากตลาดหลักทรัพย์ อัตราส่วนการแลกหุ้นคือ 1.254 หุ้น NBAD จะเท่ากับ 1.000 หุ้น FGB ด้วยอัตราคิดลด 3.9% ของราคาปิด ณ วันที่ 30 มิ.ย.

ไทย
ยันเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.ผงกหัว การบริโภคภาคเอชนฟื้น: สศค. เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาค เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคเหนือ โดยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากการบริโภค โดยเฉพาะสินค้าคงทนที่ขยายตัวได้ดีตามรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีทุกภูมิภาค รวมทั้งการลงทุนของภาครัฐที่ขยายตัวดีเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวแม้จะชะลอลงแต่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจใน 2Q59 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดย สศค. จะมีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในเดือน ก.ค.
เงินเฟ้อเดือน พ.ค.ของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3: ขยายตัว 0.38% yoy ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ +0.46% yoy และต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด +0.50% yoy เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น 2.80% หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.94% สินค้าที่ราคาลดลง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ลด 9.10% อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อเฉลี่ยใน 1H59 ลดลง 0.09% yoy ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาส 3 คาดว่ายังคงเป็นขาขึ้น เพราะยังไม่มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มทรงตัว ทำให้ฐานปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยจะมีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2559 อีกครั้งในช่วงเดือนส.ค.นี้ แต่ขณะนี้ยังคงยืนยันคาดการณ์เฟ้อทั้งปีที่ระดับเดิม คือ ขยายตัว 0.0-1.0%
ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน: ตามแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่กระเตื้องขึ้น โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนเป็นหลัก ส่วนหนึ่งเพราะกำลังซื้อของครัวเรือนเกษตรเริ่มปรับดีขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นและปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลาย ประกอบกับการใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐกลับมาขยายตัวดี อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าที่ยังคงหดตัวส่งผลให้การผลิตและการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ที่ US$2.23 พันล้าน ลดลงจากเดือนก่อนที่ US$3.16 พันล้าน เทียบกับที่ตลาดคาดที่ US$3.11 พันล้าน

Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!