WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      การฟื้นตัวของราคาน้ำมันโลก และประเด็น Brexit ที่ตลาดรับรู้ไปมากแล้ว น่าจะหนุน SET ปรับขึ้นต่อ แต่แนวต้าน 1,440-1,450 จุด ทำให้ upside มีจำกัด กลยุทธ์ยังเน้น Domestic Play ที่มีความผันผวนน้อย ค่า P/E ต่ำ ปันผลสูง (TCAP, RATCH, ASK, TK) Top picks เลือก ADVANC (FV@B189) หุ้นเด่น Window Dressing และ BJC (FV@B47) ได้ประโยชน์จากเงินยูโรอ่อนค่า

ประเด็น Brexit ที่ผ่อนคลาย หนุนราคาน้ำมันฟื้นตัว
     แม้การลงประชามติออกจาก EU ของ UK จะสร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกในระยะกลางและยาว อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางหลายแห่งน่าจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10 ล้านล้านเยน (3.45 ล้านล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือกลุ่ม SMEs และเกาหลีใต้ เตรียมเพิ่มงบประมาณรายจ่ายขึ้นอีก 10 ล้านล้านวอน (3 แสนล้านบาท) ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ วานนี้มีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. แม้จะเพิ่มขึ้น 6% อยู่ที่ 98 จุด แต่เป็นผลการสำรวจก่อน Brexit คาดว่าหลังจากนี้มีโอกาสลดลง จึงเชื่อว่า Fed อาจจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไป หรืออาจลดดอกเบี้ยลงเพื่อรับมือกับผลกระทบของ Brexit อย่างไรก็ตาม ประเด็น Brexit ที่ผ่อนคลาย หนุนให้ดอลล่าร์กลับมาอ่อนค่าหลังจากแข็งค่าราว 3% หลังทำประชามติ บวกกับคาดการสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงราว 4 ล้านบาร์เรล ผลจากการประท้วงหยุดงานของคนงาน Norwegian oil and Gas (นอร์เวย์ มีกำลังผลิต 1.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่ากับ 2.1% ของโลก) ขณะที่ Demand น้ำมันสหรัฐเริ่มเพิ่มขึ้นก่อนวันชาติสหรัฐ (4 ก.ค.) โดยรวมน่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันฟื้นตัว สร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับหุ้นกลุ่มพลังงาน แต่ระยะสั้นยังมีความเสี่ยงมากจากความผันผวน

ครม. อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ SMEs ดีต่อ TMB, KBANK
      ที่ประชุม ครม. วานนี้ มีมติอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการช่วยเหลือกลุ่ม SMEs โดยได้อนุมัติโครงการสินเชื่อ Soft Loan เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท โดยกลไกการอัดฉีดเงินเข้าระบบยังเหมือนกับการอัดฉีดสินเชื่อ Soft Loan ใน 2 ครั้งแรก (1 แสนล้านบาท และ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 มิ.ย.59) คือให้ ธ.ออมสิน เป็นผู้ให้สินเชี่อ Soft Loan แก่ ธ.พ.และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการ คิดอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี ขณะที่ให้ธนาคารนำสินเชื่อไปปล่อยต่อให้แก่ผู้ประกอบการ SME โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% p.a. ระยะเวลาปล่อยกู้ 7 ปี สิ้นสุดโครงการถึงวันที่ 31 ธ.ค.59 หากพิจารณาวงเงินช่วยหลือในครั้งนี้จะแตกต่างจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา ที่ช่วยเหลือ SMEs ที่ขาดสภาพคล่อง แต่ในครั้งนี้เน้นช่วยเหลือ SMEs รายใหม่ที่ต้องการขยายธุรกิจหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
      ประเด็นดังกล่าวถือว่าเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะ KBANK (มีสัดส่วนลูกค้ากลุ่ม SME 38% ของสินเชื่อรวม) และ TMB (37% ของสินเชื่อรวม) ที่มีสินเชื่อ SME ขนาดกลาง-ย่อมเป็นจำนวนมาก และน่าจะเข้ากับเงื่อนไขที่ ครม. กำหนด ขณะที่ BBL แม้สัดส่วนลูกค้า SME อยู่ที่ 31% ของสินเชื่อรวม แต่ลูกค้า SME ส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง-ใหญ่ ไม่น่าจะเข้าเงื่อนไขดังกล่าว จึงอาจไม่ได้ผลบวกมากนัก
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารน้อยกว่าตลาด เนื่องจากเชื่อว่าภาพใหญ่ยังถูกดดันด้วยปัจจัยของแนวโน้มการปรับโครงสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ใหม่ในปี 2560 ซึ่งจะกดดันให้กำไรสุทธิลดลงจากประมาณการปัจจุบันราว 10-12% โดยฝ่ายวิจัยเชื่อว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง-เล็กยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า อาทิ TCAP ([email protected]) และ TISCO (FV@B50)

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย แม้ภาพรวมยังขายหุ้นในภูมิภาค
     วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 186 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 335 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 8 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 52 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยไต้หวัน 46 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทย 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.9 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับทางด้านสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.6 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิสูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท

ตลาดยังมี upside จำกัด เน้นหุ้น Domestic : TCAP, ASK, TK, RATCH, SC
       แม้ตลาดหุ้นไทยจะสามารถฟื้นตัวได้ โดย SET ปรับขึ้นใกล้เคียงกับช่วงก่อนเหตุการณ์ Brexit สะท้อนว่าตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรปที่ฟื้นตัวได้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากกระแสเงินมีการเคลื่อนย้ายจากสินทรัพย์ปลอดภัยเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ความผันผวนในระยะต่อไปยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะในตลาดเงิน ทั้งค่าเงินยูโรและปอนด์ที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวเกลับไปยังจุดเดิม อีกทั้ง ณ ดัชนีระดับปัจจุบันที upside ที่จำกัด ในช่วงสั้นจึงยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้น Global ที่เสียประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินยูโร/เงินปอนด์ และยังให้เน้นมาที่หุ้น Domestic Play ดังนี้
     - หุ้นที่มีความผันผวนต่ำ มีค่า P/E อยู่ในระดับต่ำ และมี dividend yield สูง หรือมีกระแสเงินสดมั่นคง พร้อมเงินปันผลสูง อาทิ RATCH (FV@B60), TCAP ([email protected]), ASK ([email protected])
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ อาทิ ความคืบหน้างานก่อสร้าง และการให้เงินช่วยเหลือภาคเกษตร เช่น CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20), TK (FV@B12), S11 ([email protected])
- กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีกระแสเงินสดมั่นคงและจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (กองทุนได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคล) โดยกองทุนเด่นเลือก CPNRF และ TFUND

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!