WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      การทำ Window Dressing น่าจะหนุนตลาดระยะสั้น ๆ แม้ประเด็น Brexit ยังมีอยู่ กลยุทธ์เน้น Domestic Play ที่มีความผันผวนน้อย ค่า P/E ต่ำ ปันผลสูง (TCAP, RATCH, ASK, TK) และกองทุนที่มีกระแสเงินสดมั่นคง Top picks ยังชอบ RATCH(FV@B60), TFUND([email protected]) และ BJC(FV@B47) และวันนี้เพิ่ม ADVANC(FV@B189) จากผลบวกของการทำ Window Dressing

ผลกระทบจาก Brexit ค่าเงินดอลลาร์ยังแข็งค่า กดดันน้ำมันต่อ
      ผลกระทบจากการทำประชามติของอังกฤษต่อการออกจากสหภาพยุโรป เมื่อ 23 มิ.ย. ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกในวงกว้าง โดยผลกระทบระยะสั้น ค่าเงินปอนด์ ยังมีทิศทางอ่อนค่า แม้ล่าสุด ทั้งเงินปอนด์และยูโรอ่อนค่า 11% และ 3.2% เมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์นับจากวันที่ลงประชามติ และหากพิจารณาค่าเงินของประเทศคู่ค่าหลักอื่น ๆ พบว่า เงินยูโรก็มีแนวโน้มอ่อนค่า อาทิ เงินหยวนของจีน (สัดส่วนการค้า 14.8% ของการสหภาพยุโรป) แข็งค่า 2.23% เมื่อเทียบกับยูโร สวิตเซอแลนด์ (สัดส่วน 7.2%) พบว่าค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งค่า 1.2% รัสเซีย (สัดส่วน 6%) เงินรูเบิล แข็งค่า 0.2% ตุรกี (สัดส่วน 4%) ค่าเงินลีรา แข็งค่า 1%
      ขณะที่สหรัฐ ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป พบว่าค่าเงิน Dollar Index ยังถูกกดดันไปในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง 3% ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันน้ำมันให้ปรับต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามปัจจัย Demand และ supply ที่มีแนวโน้มจะสมดุลมากขึ้นน่าจะมีน้ำหนักประคองราคาน้ำมันดูไบให้อยู่เหนือ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล
      ด้วยเหตุนี้เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ หรืออาจจะลดดอกเบี้ยลง สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg เมื่อวานนี้ คาดว่าการประชุมในรอบ ก.ค. ก.ย. และ พ.ย. จะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย และในเดือน ธ.ค. โอกาสขึ้นเพียง 7% เท่านั้น ตรงกันข้ามมีโอกาสจะลดดอกเบี้ยฯ นอกจากนี้เชื่อว่า ธนาคารกลางทั่วโลกน่าจะ จำเป็นต้องเพิ่มการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง อาทิ ยุโรป อังกฤษ และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นบวกที่จะมาช่วยหักล้าง Brexit ได้ในระยะสั้น ๆ

Window Dressing Plays งวด 2Q59 หุ้นเด่นสุด ADVANC
       จากการศึกษาข้อมูลการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า นักลงทุนกลุ่มสถาบันในประเทศมักจะมีสถานะเป็นผู้ซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือน มิ.ย. ตลอดทั้ง 5 ปี โดยมียอดซื้อสะสมเฉลี่ยอยู่ที่ 1.15 หมื่นล้านบาท แม้เดือน มิ.ย. ปี 2559 นี้ นักลงทุนกลุ่มสถาบันฯขายสุทธิสะสมสูงถึง 1.3 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลถึงวันที่ 27 มิ.ย.) เนื่องจากมีความกังวลต่อประเด็น Brexit จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทย แต่ตลาดน่าจะสะท้อนปัจจัยลบดังกล่าวไปมากแล้ว อีกทั้งสถิติ 5 ปีย้อนหลัง ปรากฏว่า SET มักปรับขึ้นในราว 3 วันทำการสุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาส โดยมีโอกาสถึง 80% ในการปรับขึ้น และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 2.0% โดยมีเหตุผลหลักๆ น่าจะเกิดจากการทำ Window dressing ของนักลงทุนกลุ่มสถาบันในประเทศผ่านกองทุนรวม จึงทำให้เชื่อว่าในช่วง 3 วันที่เหลือนี้ น่าจะมีแรงซื้อของนักลงทุนกลุ่มดังกล่าวกลับเข้ามาหนุนตลาดอีกครั้ง

กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะกระทบจาก Brexit คือ ส่งออก และท่องเที่ยว
      ผลกระทบจาก Brexit ต่อเศรษฐกิจอาจจะไม่มากนักดังที่ได้นำเสนอไปวานนี้ แต่ในแง่ของตลาดหุ้นนั้นเชื่อว่ามีผลกระทบเกิดขึ้นมากน้อยลดหลั่นกันลงไป โดยเฉพาะหุ้นที่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของค่าเงินยูโรและเงินปอนด์ ดังนี้
1. กลุ่มส่งออก : แม้ในระยะยาวยังต้องรอนโยบายการค้าขายระหว่างประเทศของ UK และ EU ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด แต่ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการที่มีรายได้หลักเป็นเงินสกุลยูโร และปอนด์ ในสัดส่วนที่มากกว่าต้นทุนและหนี้สิน หรือไม่ได้มีการทำ Hedging ในสัดส่วนที่สูงมากพอ ย่อมจะได้รับผลกระทบ (ภายใต้สมมติฐานดอลลาร์คงที่)
  1.1 ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ :
  KCE ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง เนื่องจากมีรายได้เป็นเงินยูโรราว 18% แต่ไม่มีต้นทุนและหนี้สินเป็นเงินยูโรเลย (โครงสร้างหลักๆ เป็นเงินบาทและดอลลาร์) ทำให้ส่วนต่างสุทธิของเงินยูโรอยู่ที่ 18%
  SVI ได้รับผลกระทบรองลงมา เนื่องจากรายได้เป็นเงินยูโรราว 15% ต้นทุนเป็นเงินยูโร 9% และไม่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ (โครงสร้างหลักๆ เป็นเงินบาทและดอลลาร์) ทำให้ส่วนต่างสุทธิของเงินยูโรอยู่ที่ 6%
  DELTA ได้รับผลกระทบน้อยสุด เนื่องจากรายได้เป็นเงินยูโรราว 13% ต้นทุนเป็นเงินยูโร 12% ไม่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้เกิด Natural Hedging กันเกือบทั้งหมด
  1.2 ส่งออกอาหาร :
  TU ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง เนื่องจากโครงสร้างรายได้เป็นเงินยูโรราว 24% ต้นทุนเป็นเงินยูโร 15% และหนี้สินเป็นเงินยูโร 3% ส่วนต่างสุทธิของเงินยูโรอยู่ที่ 9% (ไม่รวมหนี้สิน) นอกจากนี้ ยังรายได้เป็นเงินปอนด์ราว 7% ของรายได้รวม แต่ไม่มีต้นทุนและหนี้สินเป็นเงินปอนด์ อย่างไรก็ตามปีนี้ TU มีการ Hedging ราว 90% จึงทำให้ผลกระทบจะไปตกอยู่ที่ปี 2560 เป็นต้นไป
  BR ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง โครงสร้างรายได้เป็นเงินยูโร 31% ต้นทุนเป็นเงินยูโร 23% ไม่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศเลย ส่วนต่างสุทธิของเงินยูโรอยู่ที่ 8% นอกจากนี้ ยังมีรายได้เป็นเงินปอนด์ 3% ของรายได้รวม ไม่มีต้นทุนและหนี้สินเป็นเงินปอนด์
  2. กลุ่มท่องเที่ยว : เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจากยุโรป คิดเป็นสัดส่วน 20% และ UK สัดส่วน 3% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม แม้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินยูโรและปอนด์อ่อนค่าลง จะกระทบต่อการเดินทางมาเที่ยวในไทย แต่เชื่อว่าจำกัดในระยะสั้น เนื่องจากช่วงนี้อยู่ในช่วง Low Season ที่คนยุโรปไม่นิยมเดินทางมาไทย อีกทั้งการท่องเที่ยวไทยยังมีแนวโน้มดีจากตลาดอื่น เช่น จีน และรัสเซีย ผลกระทบจึงไม่มากนัก กล่าวคือ
  MINT ได้รับกระทบน้อยมาก เนื่องจากโครงสร้างรายได้จากสกุลเงินยูโร คิดเป็นเพียง 2% (โครงสร้างหลักๆ เป็นสกุลเงินบาท 56% ตามด้วยดอลลาร์ออสเตรเลียราว 16% และหยวนราว 6%)
  ERW และ CENTEL ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกลุ่มโรงแรมฯ ไม่มีโครงสร้างรายได้และหนี้สินจากสกุลเงินยูโร
  3. ธุรกิจขนส่งทางอากาศ : การอ่อนค่าของเงินยูโรและเงินปอนด์ ส่งผลให้อำนาจซื้อนักท่องเที่ยวจากยุโรปและ UK ลดลงไปด้วย อาจส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคดังกล่าว โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ
  AOT ได้รับผลกระทบน้อย แม้ปัจจุบันนักท่องเที่ยวยุโรปมีสัดส่วนราว 20% และ UK สัดส่วน 3% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม แต่การท่องเที่ยวไทยยังมีแนวโน้มดีจากตลาดอื่นมาชดเชย เช่น จีน และรัสเซีย
  BA กระทบน้อย แม้มีรายได้ค่าโดยสารจากจุดขายในยุโรปและตะวันออกกลางราว 27% ของรายได้ (เป็นการขายร่วมกับสายการบินที่ตกลงทำเที่ยวบินร่วมด้วยกัน ทั้งนี้ ที่รวมตะวันออกกลางด้วย เพราะส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินที่ต่อเครื่องมาจากยุโรป) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรับรู้รายได้ในรูปดอลลาอร์ และ เงินบาทประมาณ 95% ของรายได้ และต้นทุนอยู่สกุลดังกล่าวใกล้เคียงกัน ขณะที่รายได้และ ต้นทุนในรูปสกุลอื่นๆ เช่น หยวน เยน และ ยูโร รวมกันไม่เกิน 5% ของรายได้ จึงถือว่าเป็น Natural Heading
  ยกเว้น THAI ที่ได้ประโยชน์ เนื่องจากมีหนี้สินสกุลยูโรราว 1.9 พันล้านยูโร (40% ของหนี้สินรวม) เพราะเมื่อแปลงหนี้มาเป็นบาททุกๆ สิ้นไตรมาสมูลค่าหนี้สินจะลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะบันทึกกำไรพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสถัดๆไป ทั้งนี้ คาดว่า THAI จะต้องถูกหักล้างบางส่วนจากผลกระทบที่มีรายได้เป็นสกุลยูโรสุทธิต่อปีราว 300 ล้านยูโร (เป็นการคำนวณโดยสุทธิกันระหว่างที่ THAI มีรายได้เป็นสกุลยูโร 11% ของรายได้รวม และมีต้นทุนเป็นสกุลยูโร 4% ของต้นทุนรวม)
  ส่วนผลกระทบต่อกลุ่มอื่น ๆ ให้ติดตามอ่านใน Global Economic Outlook : ผลกระทบของ Brexit ต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย Part 3 ในบ่ายวันนี้

แม้ต่างชาติยังขายหุ้นไทย แต่กลับมีแรงซื้อของสถาบันฯ เข้าหนุนช่วงสั้น
  ควันหลงจากประเด็น Brexit ยังคงกดดันให้วานนี้ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคอยู่ราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยมีเพียง 2 ประเทศที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 58 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 107 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทย 37 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท
  และหากพิจารณาผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค โดยปรับตัวขึ้นถึง 10.6% ซึ่งสูงกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่าง อินโดนีเซีย, ไต้หวัน และเกาหลีใต้ที่เพิ่มขึ้น 5.3%, 2.2% และติดลบ 1.8% ตามลำดับ ส่วนฟิลิปปินส์เป็นเพียงประเทศเดียวปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าไทยเล็กน้อยอยู่ที่ 11.0% จึงเชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปี ต่างชาติน่าจะหันไปให้ความสนใจลงทุนในตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคมากขึ้น
  อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นๆ ก่อนสิ้นเดือน มิ.ย. คาดว่าจะแรงซื้อจากการทำ Window Dressing ของนักลงทุนสถาบันฯเข้ามาช่วยหนุนตลาดได้ สังเกตได้จากวานนี้นักลงทุนสถาบันฯเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 4.5 พันล้านบาท ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 5.6 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 2.0 พันล้านบาท

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!