- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 22 June 2016 17:00
- Hits: 1822
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
น้ำมันยังมีสัญญาณฟื้นตัวต่อ สวนทาง Dollar Index ที่อ่อนค่า หนุนสินค้าโภคภัณฑ์ต่อ โดยเฉพาะหุ้นน้ำมัน (PTT, PTTEP) บวกกับภาครัฐอัดฉีดเงินช่วยเหลือชาวนา น่าจะส่งผลดีต่อหุ้น leasing จึงเลือกเป็น Top picks คือ S11([email protected]) และ TK(FV@B12) และชอบหุ้นปันผล ผันผวนน้อยกว่าตลาด (TCAP, MCS, ASK)
รัฐอัดฉีดเงินสู่รากหญ้าต่อ หนุน GDP งวด 2H59
ผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมไทย(ส.อ.ท.) เดือน พ.ค. พบว่าฟื้นตัว เป็นครั้งแรก หลังจากหดตัวติดต่อกัน 2 เดือน โดยอยู่ที่ 86.4 จุด เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่น คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 98.7 จุด ซึ่งเป็นผลจากเริ่มมีฝนตก ทำให้ประชาชนคลี่คลายความกังวลปัญหาภัยแล้ง และราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อหลายเดือน อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอ้อย และรัฐได้ออกมาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ฤดูกาลผลิต 2558/2559 ในอัตรา 160 บาท/ตันอ้อย ผ่านกองทุนอ้อยและน้ำตาล วงเงินรวม 1.5 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้น่าจะเป็นผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐตั้งแต่ต้นปี 2559 รัฐบาลได้ดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านด้านการบริโภค (C) ผ่านกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการ SMEs อาทิ อัดฉีดเงินกองทุนหมู่บ้านและตำบล โครงการบ้านประชารัฐ เป็นต้น และวานนี้ รัฐบาลได้ช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติม กล่าวคือ ครม. มีมติช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2559/2560 วงเงินรวม 4.5 หมื่นล้านบาท หลักๆ คือ ช่วยต้นทุนชาวนา ไร่ละ 1 พันบาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ วงเงิน 3.7 หมื่นล้านบาท ช่วยลดหนี้สิน โดยพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี พร้อมลดดอกเบี้ยเงินกู้ 3% วงเงิน 5.4 พันล้านบาท และประกันภัยนาข้าว วงเงิน 3.27 พันล้านบาท เป็นต้น
ความพยายามของภาครัฐที่กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค (C) การลงทุนภาครัฐและเอกชน (I) น่าจะหนุนให้ GDP Growth ปี 2559 ที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 3.5% ยังมีความเป็นไปได้ แม้จะสูงกว่าที่ Consensus ที่คาดเฉลี่ย 3% ทั้งนี้ให้น้ำหนักต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 2H59 อย่างไรก็ตามหากล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่คาด มีโอกาสที่จะปรับลดประมาณการลงได้
หุ้น Leasing น่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐ เด่นสุดคือ S11 และ TK
จากประเด็นดังกล่าว หนุนให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นในสินค้าจำพวกยานยนต์ เช่น มอเตอร์ไซค์ และเครื่องจักรทางการเกษตร อย่าง รถไถ สร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับกลุ่มเช่าซื้อ ทั้ง TK และ S11 ที่ล้วนมีพอร์ตสินเชื่อเป็นรถจักรยานยนต์จำนวนมาก (TK สินเชื่อ ผสมผสานทั้ง กทม. กับต่างจังหวัด สินเชื่อส่วนใหญ่ของ S11 จะอยู่ใน กทม. สัดส่วนอยู่ใน กทม. 70% ที่เหลือ 30% ตจว.ประกอบกับขนาดพอร์ตสินเชื่อของ TK ที่ใหญ่กว่า S11)
เช่นเดียวกับ GCAP และ THANI ที่สินเชื่อส่วนใหญ่จะเป็นพวกเครื่องจักรเพื่อการเกษตร อย่าง รถไถนา รถหัวลาก และรถบรรทุก และธุรกิจสินเชื่อเงินผ่อนสินค้า และขายสินค้า รวมถึง SINGER ก็น่าจะได้รับอานิสงค์จากนโยบายนี้เช่นกัน จากแรงซื้อที่จะเข้ามาในกลุ่มผู้บริโภคก็ ทั้งนี้ เมื่อประเมินตามปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจ หากพิจารณาค่า P/E ต่ำ Dividend Yield สูง และ upside สูง ใน 2 ลำดับแรกคือ คือ TK(FV@B12) มี P/E 10.6x และ Div Yield 4.73% และยัง EPS Growth 14.37% ตามมาด้วย S11([email protected]) มี P/E 11.1x และ Div Yield 3.61% และยัง EPS Growth 30.1% และรองลงมา THANI([email protected]) P/E 13.6x Div Yield 4.40% EPS Growth 11.22% และ GCAP([email protected]) มี P/E 12.9x Div Yield 4.66% ไม่มี EPS Growth
THAI และ AAV สะท้อนข่าวดีหมดแล้วให้ Switch มายัง BA
แหล่งข่าวจากภาครัฐ วานนี้เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบขององค์การความปลอดภัย ด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ เอียซ่า (EASA) ของสายการบินต่าง ๆ ทั่วโลกที่บินเข้าไปยังสภาพยุโรป จาก 19 ประเทศ โดยจะมีการทำการทบทวนทุก 6 เดือน ล่าสุดเมื่อ 16 มิ.ย. 2559 พบว่าไม่มีรายชื่อ THAI ซึ่งเป็นสายการบินแห่งเดียวของไทยที่บินเข้ายุโรป อย่างไรก็ตามการทบทวนในด้านความปลอดภัยได้มีการจัดทำทุก 6 เดือน และถือเป็นแนวทางปฏิบัติตามปกติในด้านความปลอดภัยของสายการบินที่ให้บริการในยุโรป
แต่อย่างไรก็ตามยังมีการตรวจสอบ มาตรการฐานการกำกับดูแลสายการบิน ของกรมการบินระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ แม้ขณะนี้ภาครัฐของไทย ได้แก้ไขเรื่องมาตรการควบคุมความปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว และจะต้องนำมาตรฐานที่ทำเสร็จดังกล่าว ไปออกใบอนุญาตอีกครั้งให้กับทุกสายบินที่ผ่านมาตรฐานนี้ แต่อย่างไรก็ตามยังต้องได้รับความเห็นชอบโดยรวมจาก ICAO อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ราคาหุ้นสายการบินปรับขึ้นเต็มมูลแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ THAI([email protected]) ถือว่าแพงมาก เนื่องจากยังประสบกับภาวะขาดทุนต่อเนื่อง แม้จะเริ่มมีกำไรในช่วง 2 ไตรมาสหลังสุด แต่หากพิจารณาผลการดำเนินงานปกติแล้ว คงจะมีเฉพราะงวด 1Q59 ที่กำไร 5.99 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเพราะผลของฤดูกาลการท่องเที่ยว ที่เป็นปกติทุกไตรมาสแรกของทุกปี มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ส่วนงวด 4Q58 กำไรสุทธิ 5.05 พันล้านบาท เป็นผลจากากรรับรู้รายการพิเศษ 2 รายการหลักคือ กำไรจาก FX 2.1 พันล้านบาท และเงินรับค่าปรับจาก suppliers ที่ผลิตเก้าอี้นั่งไม่ตรงตามที่กำหนดอีก 3.97 พันล้านบาท จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะสามารถทำกำไรปกติ แต่ละไตรมาสได้เท่ากับที่เกิดขึ้นใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่
และแนะนำขาย AAV([email protected]) ราคาหุ้นเกินมูลค่าที่เหมาะสม แม้ล่าสุดมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ หลังจากที่กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ เข้าถือหุ้นใหญ่ (ผ่านการซื้อโดยตรงจากผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นละ 4.2 บาท และ ราคาทำ tender offer ที่ราคาเดียวกัน) ซึ่งแม้จะมีฐานะการเงินมั่นคง แต่คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มธุรกิจในระยะสั้น ที่ยังเผชิญภาวะแข่งขันที่รุนแรงขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ยกเว้น BA([email protected]) ยังแนะนำให้สะสม เพราะแม้ให้บริการสายการบินเช่นเดียวกับ 2 แห่งข้างต้น แต่เป็นสายการบินครบวงจร (premium) และยังกระจายความเสี่ยงไปทำธุรกิจ/ถือหุ้นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องธุรกิจสายการบิน อาทิ สนามบิน (สมุย ถือผ่าน SPF 30% ส่วนสุโขทัย และตราดถือหุ้นตรง 100%) ผูกขาดในหลายสนามบิน จึงได้ประโยชน์เต็มที่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่เกาะสมุย น่าจะหนุนกำไรงวด 3Q59 นอกจากนี้ BA ยังถือหุ้น โรงพยาบาล (ถือหุ้น 7.83%) และราคาหุ้นยังมี upside 28% และยังแนะนำสะสมหุ้น AOT(FV@B450) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสนามบิน ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันขาขึ้น
ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาขายหุ้นไทยเล็กน้อย
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 156 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 265 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 25 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 152 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), และไทยถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 144 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 1.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 1.8 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ตลาดผันผวน เน้นหุ้นปันผลสูง และมี P/E ต่ำ
แม้ผลประกอบการของบริษัทจพดทะเบียนงวด 1Q59 ที่ผ่านมาจะทำได้กว่า 2.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 27% ของประมาณการฯ ทั้งปีที่ 8.4 แสนล้านบาท แต่ประเด็นลบที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ถือเป็น downside risk ที่อาจจะต้องปรับลดประมาณการฯกำไรตลาดลง จาก 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : หลังนักวิเคราะห์กลุ่ม ธ.พ. ได้ปรับลดประมาณการฯ กว่า 8% ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ลงทั้ง MLR และ MRR ในเดือน เม.ย.2559 แต่หลังจากนั้นก็เผชิญกับปัจจัยกดดันหลายประการคือ ต้นเดือน มิ.ย. รัฐบาลเห็นชอบร่าง พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แม้ พรบ. นี้ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป ตามมาด้วย สมาคมธนาคารไทย ได้ประกาศโครงสร้างค่าธรรมเนียมธุรกรรม Electronic Banking ของ ธ.พ. ใหม่ ทั้งในส่วนของการโอนเงินระหว่างบุคคล (P2P) (เริ่มให้บริการ 31 ต.ค.59) ธุรกรรม Bill Payment (เริ่มดำเนินการ ธ.ค.59) และธุรกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตร (EDC) (คาดเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2560) ซึ่ง ธ.พ.ใหญ่ (KBANK, BBL, SCB, KTB) กระทบกว่า ธ.พ.เล็ก จากปริมาณธุรกรรมที่มากกว่า โดยคาดว่าจะกระทบกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปีนี้ ราว 1-2% และปีหน้าจะกระทบเต็มที่ทั้งปีราว 10-12% และ ล่าสุด BBL ยังมีประเด็นกดดันในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของ CTH ซึ่งในกรณีเลวร้ายอาจกระทบกำไรปีนี้ของ BBL ราว 3% แต่อาจเกลี่ยสำรองทั่วไปมาทดแทนได้
กลุ่ม ICT : ปีนี้มีแรงกดดันหลายดาน ทั้งในส่วนของโทรศัพท์มือถือ จากต้นทุนใบอนุญาตที่สูงขึ้นมากจะเริ่มเข้ามาตั้งแต่ 2Q59 เป็นต้นไป นอกเหนือจาการแข่งขันที่รุนแรงกดดันรายได้ในช่วง 1-2 ปีนี้ จึงงคาดหวังการเติบโตที่ลดลง ตามมาด้วยธุรกิจดาวเทียมที่เคยสดใส จากลูกค้าผู้ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิก ผู้ให้บริการทีวีดาวเทียม รวมไปถึงผู้ให้บริการ ทีวีดิจิตอล ล่าสุดส่งสัญญาณที่แย่ลง ทั้งจาก CTH ที่ยกเลิกใช้ดาวเทียมไทยคมรวม 5 ทรานสปอนเดอร์ คิดเป็นผลกระทบต่อรายได้ราวปีละ 400 ล้านบาท รวมทั้งผู้ให้บริการทีวีดิจิตอลหลายรายประสบปัญหาทางธุรกิจไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตได้ เนื่องจากสัดส่วนรายได้ค่าโฆษณาช่องทีวีดาวเทียมมีแนวโน้มลดลงโดยนับจากต้นปี ลดลงเหลือเพียง 4.4% ของเม็ดเงินโฆษณาโดยรวม จากปีก่อนที่มีสัดส่วนสูง 4.7% กระทบผู้ให้ช่องทีวี ดาวเทียมที่มีอยู่อยู่รอดยาก ประเด็นดังกล่าวกระทบต่อ THCOM(FV@B32) ผู้ให้บริการดาวเทียมรายเดียวในประเทศ จึงปรับลดกำไรปีนี้ลงจากเดิม 8% และปรับลดกำไรปี 2560 ลง 20% นอกจากนี้ยังไม่รวม ต้นทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากที่รัฐ มีโอกาสผลักดันให้ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 กลับมาอยู่บนระบบสัมปทานที่ต้องเสียส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐฯแพง 20.5% ของรายได้ จากปัจจุบันที่อยู่บนระบบใบอนุญาตที่มีต้นทุน 5.25% ซึ่งจะกระทบกำไรเดิมราว 8.1% ต่อปี กระทบมูลค่าพื้นฐานราว 2 บาท
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา น่าจะกลับมากดดันต่อ หุ้นกลุ่มสายการบินอีกครั้งหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้น
อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่อการปรับลดประมาณการ น่าจะได้ชดเชยจากกลุ่มพลังงาน ที่มีโอกาสบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมันเข้ามาหนุน ตามแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบโลกที่ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และไม่น่าจะมีการบันทึก stock loss และด้อยค่าสินทรัพย์จำนวนมากเหมือนในปีที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ไว้ตามเดิมที่ EPS 88.7 บาท
ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น ระดับ Expected P/E ที่ 16.1 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค อาทิ จีน 13.4 เท่า อินโดนีเซีย 15.5 เท่า มาเลเซีย 16 เท่า แต่ต่ำกว่าตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ 19.3 เท่า แต่เมื่อเทียบกับการเติบโตของกำไรสุทธิ จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นไทยเติบโตมกถึง 25% สูงกว่าอินโดนีเซีย 21.5% และฟิลิปปินส์ที่ 8% อย่างไรก็ตาม จากประเด็น downside risk ดังกล่าว กลยุทธ์การลงทุน จึงยังแนะนำ selective buy เลือกลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรโดดเด่นในปีนี้ ผสานด้วยหุ้นปลอดภัย dividend yield สูง P/E ต่ำ และราคาหุ้นยังมี upside ในปัจจุบัน
หุ้นผันผวนน้อย P/E ต่ำ และ เงินปันผลสูง
หุ้นปันผลสูง และ upside สูง
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์