- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 16 June 2016 16:41
- Hits: 517
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ผันผวนในกรอบ 1,412 -1,430 จุด กลยุทธ์ยังเน้นขายหุ้นแพง (AAV, THAI, SCB, PTTGC) และสะสมหุ้นเติบโตเด่น (WORK, RATCH) หุ้น 2High2Low (ASK, RATCH, TCAP, MCS) และ 2High (ADVANC, GLOW) ยังเลือก Top picks คือ RATCH(FV@B60) และ ADVANC(FV@B189)
Fed มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยเหลือครั้งเดียวในปีนี้
หลังผ่านพ้นการประชุม 2 วัน ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) สรุปให้ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นที่ระดับ 0.25-0.5% ตามเดิม ตามตลาดคาด เนื่องจากมีความกังวลต่อการลงประชามติของสหราชอาณาจักร(Brexit) ในวันที่ 23 มิ.ย. ประกอบกับตลาดแรงงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิตที่ฟื้นตัวแต่ไม่มั่นคง
และเป็นที่สังเกตว่าในรอบนี้ Fed ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในประเทศปี 2559 ลงเหลือ 2.0% จาก 2.2% จากการประชุมรอบ มี.ค. นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในปีนี้ แต่กลับปรับเพิ่มเงินเฟ้อสิ้นปี 2559 เป็น 1.4% จากเดิม 1.2% พร้อมปรับลดประมาณการดอกเบี้ย (Dot plot) ระยะยาว เหลือ 3% จาก 3.3% แต่คงประมาณการดอกเบี้ยสิ้นปีนี้ที่ 0.875% ตามเดิม ทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อยู่ที่ 2 ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามในรอบนี้ มีคณะกรรมการ 6 คน จาก 10 คน ที่มีสิทธิออกเสียง คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้เพียง 1 ครั้ง (เพิ่มจากในครั้งก่อนหน้า ที่มีผู้สนับสนุนขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวเพียง 1 คน) ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อาจจะน้อยลงกว่าที่คาดในอนาคต
ขณะที่วันนี้จะทราบผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) 15-16 มิ.ย. ตลาดส่วนใหญ่คาดว่าจะยืนดอกเบี้ยในระดับต่ำและคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี สะท้อนจากผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ 40 คน ของ Bloomberg พบว่า 27.5 % คาดว่าจะมีมาตรการกระตุ้นในรอบนี้ ขณะที่ 55% คาดว่าจะมีมาตรการในการประรอบรอบ ก.ค. หลังจากญี่ปุ่นประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวช่วงเดือน เม.ย.59 ประกอบกับภาคการบริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว สะท้อนจาก ยอดค้าปลีกที่ชะลอตัวติดต่อกันนาน 7 เดือน และเงินเฟ้อ ล่าสุด ยังคงติดลบ 0.3%
Brexit ยังคงกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์
การรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ ( 10 มิ.ย.) ล่าสุด พบว่า น้ำมันดิบลดลงน้อยกว่าตลาดคาด กล่าวคือลดลง 0.93 ล้านบาร์เรล (VS ตลาดคาด ลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล) แต่ยังเป็นลดลงติดต่อกัน 2 สัปดาห์ เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง เช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันเบนซินที่ลดลงกว่า 2.6 ล้านบาร์เรล หลังจากปรับขึ้นในสัปดาห์ก่อน บ่งชี้ว่าความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ ยกเว้นสต็อกน้ำมันดีเซลที่กลับมาเพิ่มขึ้น 0.78 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่า ( Dollar Index ล่าสุด 94.61 จุด) เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอย่างยูโร ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะเป็นความกังวลการลงประชามติออกจากสหภาพยูโรของอังกฤษ ซึ่งผลจากการสำรวจล่าสุดของ Bloomberg บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่จะออกมีน้ำหนักมากขึ้นเป็น 46% (เพิ่ม +3%) เทียบกับอยู่ต่อ 41.8% (ลด -2%) ขณะที่ยังไม่ตัดสินใจ 12.2% (ลดลง -2.8%) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงคาดว่า จะกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการค้า เนื่องจากอังกฤษก็เป็นผู้นำเข้าสินค้าที่สำคัญของกลุ่มยูโร ซึ่งได้กดดันให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่า เมื่อเทียบกับทุกสกุลหลัก ๆ ของโลก
ด้วยเหตุนี้ทำให้ดอลลาร์กลับมีแนวโน้มแข็งค่าเกินความเป็นจริง สถานการณ์นี้จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นๆ จนกว่าจะมีการลงประชามติ แต่อย่างไรก็ตามกดดันให้สินค้าโภคภัณฑ่ออนตัว
SCB, BAY, KBANK กระทบหนัก...ธปท. ลดค่าธรรมเนียมการโอน
เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการปรับฐานของหุ้น ธนาคารพาณิชย์ จากผลกระทบของนโยบายของธนาคารแห่งประเทศ ที่ต้องการให้ธนาคารจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชนลดน้อยลง ทั้งค่าธรรมเนียมผ่าน electronic banking และ การรูดผ่านเครื่อง EDC ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารฯ ของ ASP ประเมินผลกระทบต่อการกำไรกลุ่มอยู่ที่ราว 3% ในปีนี้
โดยในส่วนของบริการโอนเงินระหว่างบุคคลถึงบุคคล จะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในเดือน ต.ค. 59 นี้ จากนั้น จะเริ่มเปิดให้บริการจ่ายบิลชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆ (Bill Payment) ในเดือน ธ.ค. 59 ส่วนธุรกรรม EDC (การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จับจ่ายซื้อของ) คาดจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงปี 2560 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้เคยนำเสนอถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างค่าธรรมเนียมฯ ใหม่ ของระบบธนาคารพาณิชย์ ภายใต้สมมติฐานในกรณีเลวร้าย คือ 1) ถอดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ จากบริการบัตรเดบิตและบริการอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีสัดส่วนรายได้ 17.3% ของรายได้รวม ออกไป 50% (ยังไม่รวมบริการด้าน ATM) และคิดผลกระทบเพียงครึ่งปี และ 2) ถอดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ จากบริการบัตรเครดิต (ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมรายปี ค่าปรับผิดนัดล่าช้า และเครื่อง EDC) ที่มีสัดส่วนรายได้ 18.5% ออกไป 50%
ภายใต้กรอบระยะเวลาดังกล่าว สามารถประเมินถึงผลกระทบต่อประมาณการกำไรกลุ่ม ธ.พ. ได้ดังนี้
บริการโอนเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล (P2P) เริ่ม ต.ค. 59 คาดกระทบกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2559 ราว 2%
ส่วนบริการจ่ายบิลชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆ (Bill Payment) เริ่ม ธ.ค. 59 กระทบกำไรกลุ่มฯ ราว 1%
ธุรกรรม EDC (การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จับจ่ายซื้อของ) คาดเริ่มปี 2560 กระทบกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2560 ราว 6%
โดยผลกระทบส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับ ธ.พ.ใหญ่ที่มีสัดส่วนรายได้จากบริการอิเล็กทรอนิกส์ และบัตรเครดิต (BBL, BAY, SCB, KBANK) สูงกว่า ธ.พ.เล็ก ประกอบกับระยะสั้นยังไม่มีปัจจัยบวกหนุน จึงแนะนำให้ switch ออกจากหุ้น ธ.พ.ใหญ่ ดังกล่าว ไปยัง ธ.พ.เล็ก ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า หรือ อาจจะได้ประโยชน์ ในกรณีของการให้บริการตู้ ATM เพราะปัจจุบันธนาคารขนาดเล็ก ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ธนาคารขนาดใหญ่ กรณีที่ลูกค้าไปใช้ตู้ ATM ของธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ TCAP ([email protected]) ที่มีความโดดเด่นจากผลตอบแทนเงินปันผลในระดับสูงกว่า 4% upside สูง 33% และ TISCO (FV@B50) แม้ upside อาจเหลือไม่มากนัก ราว 11% แต่ชดเชยได้จากอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงกว่า 6%
Fed คงอัตราดอกเบี้ย หนุน Fund Flow ไหลกลับมามากขึ้น
แรงกดดันต่อตลาดหุ้นโลกเริ่มผ่อนคลายลง หลังจากที่ประธาน Fed ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งหนุนให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชียมากขึ้น โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 99 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) แต่เป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 18 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) และเกาหลีใต้ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 110 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิวันที่ 2) และไทย 25 ล้านเหรียญ หรือ 897 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันที่ขายสุทธิสูงถึง 2.1 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 2.1 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 609 ล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 2)
กลยุทธ์การลงทุน เลือกหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด : RATCH, TCAP, ADVANC, GLOW
ดังที่กล่าวไปแล้วเมื่อวานนี้ ถึงแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทย ที่ระดับปัจจุบัน ใกล้เคียงกับดัชนีเป้าหมายปี 2559 (อิง EPS และ Target P/E 16.3 เท่า) ขณะที่ยังคงขาดปัจจุบันหนุน ที่สำคัญ ยังถูกกดดันจากปัจจัยภายนอกทั้งเรื่อง Brexit และ แนวโน้มจะปรับลดกำไรของตลาดหุ้นจากผลกระทบของ ธ.พ. ดังกล่าวข้างต้น กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย คือ
หุ้นการบิน ซึ่งส่วนใหญ่เต็มมูลค่า AAV และ THAI และ ให้ switch มายัง BA ซึ่งนอกจากราคาหุ้นปัจจุบันมี upside ที่สูงกว่าแล้ว แนวโน้มการทำกำไรยังโดดเด่นกว่าสายการบินทั้ง 2 แห่ง จากที่ BA เป็นสายการบิน premium และ ยังมีการกระจายรายได้ไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินทำให้ ประสิทธิการทำกำไรที่ดีกว่าเช่น
ธนาคารพาณิชย์ แนะนำขายเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ BAY, SCB, KBANK ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงข้างต้นมากสุด และ ให้ switch มายังหุ้นได้รับผลกระทบน้อยสุดคือ TISCO, TCAP
หุ้นโรงไฟฟ้า พบว่า EGCO เต็มมูลค่าแล้ว แนะนำให้ขาย และมาเข้า RATCH และ GLOW ซึ่งมี upside มากกว่ามาก ๆ
หุ้นระบบรถไฟฟ้า/ขนส่งมวลชน แนะนำขาย BEM เชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันตอบรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้ว ขณะที่การบันทึกบัญชี ค่าสัมปทานที่จ่ายให้รัฐในงบกำไรขาดทุนต่ำกว่าที่จ่ายจริง ยังเป็นความเสี่ยงที่จะกดดันผลการดำเนินงานในอนาคตใช้ จึงให้ switch มายัง BTS แทน ซึ่งมีโอกาสเติบโตจากการขยายโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ไม่แพ้ BEM
ขณะเดียวกันแนะนำให้ทยอยสะสมหุ้น และสะสมหุ้นเติบโตเด่นเช่น WORK, RATCH หรือ หุ้น ที่จ่ายเงินปันผลสูง ราคาหุ้นมี upside สูง แต่มีค่า P/E ต่ำ และ ความผันผวนน้อย (2High2Low) เช่น ASK, RATCH, TCAP, MCS หรือ หุ้นที่เน้นเงินปันผลสูง และราคาหุ้นยังมี upside (2High) คือ ADVANC, GLOW ยังเลือก Top picks คือ RATCH(FV@B60) และ ADVANC(FV@B189)
หุ้นผันผวนน้อย แต่เงินปันผลสูง คือ เป็นหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำกว่า 12 เท่า, Beta ต่ำกว่า 1 เท่า, Dividend Yield ตั้งแต่ 4% มี upside ตั้งแต่ 14% ขึ้นไป และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ โดยเลือก RATCH เป็น Top pick
หุ้นปันผลสูง และ upside สูง คือ หุ้นที่มี Dividend Yield ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป มี upside ตั้งแต่ 14% ขึ้นไป และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์