WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดยังถูกกดดันจาก Brexit และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มลดลงตามนโยบายรัฐ กระทบธนาคารขนาดใหญ่ (SCB, KBANK, KTB) กลยุทธ์ยังแนะขายหุ้นแพง (TOP, PTTGC, SCB, ROBINS, HMRPO) แนะสะสมหุ้นที่มี upside + ปันผลสูง PTT(FV@B342) และ ADVANC(FV@B189) เป็น Top picks

การตัดสินใจออกจากยุโรป ของอังกฤษยังคงกดดันตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก
  ในช่วงนี้ตลาดให้น้ำหนักต่อประเด็นการลงประชามติของสหราชอาณาจักร(Brexit) ในสัปดาห์หน้า 23 มิ.ย. หลังจากโพลสำรวจในหลายสื่อล่าสุดออกมาสูสีกันแต่น้ำหนักไปทางออกจาก EU มากกว่า อาทิ ของ Bloomberg พบว่า 46% อยากออก ขณะที่ 42% อยู่ต่อ และ 12% ไม่ลงความเห็น แตกต่างจากผลสำรวจก่อนหน้าที่ยังอยู่ต่อมีสัดส่วนมากกว่า ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ราว 2.18% จากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
  ทั้งนี้ก่อนที่ผลการลงประชามติในวันที่ 23 มิ.ย. จะเป็นอย่างไร นั้น การที่อังกฤษาออกจากสหภาพยุโรป มีผลดี – ผลเสียอย่างไร ลองมาประเมินในเบื้องต้นกันดังนี้
  ข้อดี ที่เห็นได้ชัดเคือ อังกฤษสามารถควบคุมและใช้กฎหมายในประเทศได้อิสระ โดยเฉพาะกฏหมายจ้างงานและความปลอดภัยสาธารณสุข โดยไม่ต้องขึ้นกับ EU
  และสามารถลดค่าใช้จ่ายหลัก ๆ คือ ค่าสมาชิกการอยู่ในกลุ่ม EU 1.4 พันล้านปอนด์/เดือน (เทียบเท่ากับ 1.68 หมื่นล้านปอนด์/ปี) รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายการรับผู้อพยพ ซึ่งมีต้นทุนสูงและควบคุมได้ยาก เป็นต้น
  ส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นกับอังกฤษคือ ผลประโยชน์ทางการค้าที่ลดลง เนื่องจากปัจจุบันอังกฤษส่งออก ไปยังยุโรปสัดส่วนกว่า 50% ของการส่งออกทั้งหมด (รองลงมาคือ สหรัฐราว 11%) ซึ่ง หากออกจากกลุ่มยูโรโซนก็จะต้องเผชิญกับกำแพงภาษี (ในอัตราปกติ เหมือนประเทศนอกสมาชิกยุโรป) จากปัจจุบันที่เป็นอัตราพิเศษระหว่างสมาชิก ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าจากอังกฤษแพงขึ้น นอกจากนี้อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ (FDI) จากปัจจุบันอังกฤษเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ของภูมิภาค
  ผลกระทบในวงกว้าง ต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐ และ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอังกฤษ ส่วนผลกระทบต่อไทย แม้มูลค่าส่งออกของไทย ไป อังกฤษ มีสัดส่วนน้อยราว 2% (อาทิ ไก่แปรรูป อาการทะเลกระป๋อง กุ้งสด ข้าว ผลไม้กระป๋อง) แต่คาดว่าน่าจะมีผลกระทบทางอ้อม ทั้งด้านจิตวิทยา
  และวันนี้วันแรกของการประชุมการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) 14-15 มิ.ย. คาดว่ายังไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน พ.ค. ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดเชื่อว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future รอบ มิ.ย คาดโอกาสขึ้นเป็น 0% ไปแล้ว และให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วง 4Q59 เป็นต้นไป สอดคล้องกับความเห็นของ ASPS

หุ้นธนาคารพาณิชย์ยังถูกดดันต่อเนื่อง แนะขายหุ้นใหญ่ SCB, KBANK, KTB สะสมหุ้นเล็ก
  นอกจากจะถูกกดดันจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เอง เป็นผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการยึดทรัพย์ กรณีที่ลูกค้าผิดชำระ (อยู่ในรายการทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA) ซึ่งจะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นที่ดินเปล่า ที่ดินเกษตรกรรม หรือ พาณิชย์กรรม อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กำหนดสมมติฐานของการใช้อัตราภาษีสูงสุดสำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภทบนมูลค่าของ NPA สุทธิจากค่าเผื่อการด้อยค่า ณ สิ้นปี 2558 ตามที่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (กรณีที่เกิดขึ้นจริงจะไม่สูงขนาดนี้) พบว่ากรณีเลวร้ายจะกระทบกำไรกลุ่มฯ ในปี 2560 เพียง 1.7% ของคาดการณ์ปัจจุบัน 2.16 แสนล้านบาท
  นอกจากนี้ประเด็นที่กระทบต่อกลุ่ม ธนาคารคือ รายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งมีแหล่งที่ได้มาจากหลายส่วน คือ 1) ธุรกรรม digital banking รวมกันราว 25% ของรายได้ค่าธรรมโดยรวม (Electronic Banking และ ATM น่าจะสัดส่วนใกล้เคียงกัน) ส่วนนี้ คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ตามแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้ใช้เงินสดล
  (ธุรกรรม Any ID) และ 2) ค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บจากร้านค้า ในการติดตั้งเครื่อง EDC (เป็นเครื่องรูดเพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกค้าที่ใช้ใบเครดิต และบัตรเดบิต) ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดลงจากอัตราสูงสุดที่ 3% เหลือ 1.5% ปัจจุบันรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนที่ 2 นี้คิดเป็น ราว 20% ของรายได้ค่าธรรมเนียมโดยรวม (ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมรายปี และค่าธรรมเนียมจากการจัดเก็บเครื่องรูด EDC สัดส่วนจะหนักมาทางที่ EDC มากกว่า)
  ทั้งนี้หากรวมทั้ง 2 รายการคาดว่ากำไรของธนาคารพาณิชย์น่าจะหายไปไปอีกราว 5% (ขณะนี้นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารพาณิชย์กำลังปรับปรุงประมาณการอยู่ ติดตามรายละเอียดได้ในเร็ว ๆ นี้) ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่จะถูกกระทบยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ คือ SCB, KBANK, KTB (ผ่านการถือหุ้น KTC) ส่วน BBL กระทบไม่มากเหมือนคู่แข่งขันเพราะมีสัดส่วนในการให้บริการบัตรเครติดน้อยสุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยรวมทำให้กำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปี 2559 มีแนวโน้มหดตัวจากปี 2558 ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยกดดันกำไรตลาดหุ้นในปีนี้
  กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารพาณิชย์น้อยกว่าตลาด และยังแนะนำให้ขายหุ้นใหญ่ทุกแห่ง ยกเว้น BBL มาซื้อหุ้นขนาดเล็ก ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยข้างต้นน้อย คือ TISCO, TCAP เป็นต้น

PTTGC ควรปรับลดชั่วคราว นอกจากราคาเต็มมูลค่าแล้ว ยังหยุดผลิตชั่วคราว
  ภาวะที่ตลาดมีแต่ข่าวร้ายรบกวน ไม่เว้นแม้แต่ PTTGC หลังจากผลประกอบการ 1Q59 ออกมาในระดับต่ำ เนื่องจากมีการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงโรงงานโอเลฟินส์ ขณะที่ 2Q59 ในเบื้องต้นคาดว่าธุรกิจโอเลฟินส์จะดีขึ้นจากการกลับมาเดินเครื่องผลิตเต็มกำลัง แต่ล่าสุดก็เกิดปัญหาขึ้น โดยวานนี้ PTTGC แจ้งว่าได้หยุดเดินเครื่องฉุกเฉินโรงงานโอเลฟินส์หน่วยที่ 3 กำลังการผลิตเอทิลีน 1 ล้านตันต่อปี เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายจากกรณีไฟฟ้าดับ โดยคาดว่าจะเริ่มกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ 66% ช่วงกลางเดือน มิ.ย. และเต็ม 100% ภายใน ส.ค. นี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่า utilization rate ของโอเลฟินส์งวด 2Q59 และ 3Q59 จะลดลงเหลือ 84% และ 92% ตามลำดับ
  ทั้งนี้ การหยุดเดินเครื่องโรงงานโอเลฟินส์ดังกล่าว ส่งผลต่อปริมาณขายปีนี้ลดลง 7 หมื่นตัน รวมทั้งค่าซ่อมแซมเครื่องจักรส่วนใหญ่จะตกใน 2Q59 ทำให้แนวโน้มผลการดำเนินงานอ่อนตัวลงจาก 1Q59 ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2559 ลงราว 8% แต่โดยรวมปีนี้คาดกำไรสุทธิยังเติบโตได้ราว 18%yoy โดยคาดว่าจะไม่มีแผน shut down ในช่วง 2H59 อย่างไรก็ตาม แม้ประมาณการใหม่จะไม่กระทบต่อ Fair Value ปีนี้ แต่ช่วงสั้นน่าจะมี sentiment เชิงลบต่อราคาหุ้น จึงแนะนำเข้าซื้อลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว

แรงขายหุ้นในภูมิภาคได้หวนกลับมาอีกครั้ง
  ประเด็นแวดล้อมทั้งการลงประชามติ Brexit รวมถึงการประชุม Fed ยังคงกดดันตลาดหุ้นในภูมิภาค และทำให้แรงขายหุ้นในภูมิภาคได้หวนกลับมาอีกครั้ง สังเกตได้จากวานนี้ต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ ด้วยมูลค่าสูงถึง 367 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 167 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 148 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 วัน), อินโดนีเซีย 30 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 12 ล้านเหรียญ หรือ 436 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่ขายสุทธิสูงถึง 3.1 พันล้านบาท
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 5.6 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!