- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 13 June 2016 16:49
- Hits: 702
บล.ฟิลลิป : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นวันนี้ : ปรับฐานจากปัจจัยภายนอก
เตรียมรับการปรับฐานจากแรงกดดันภายนอก: ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งหนักในคืนวันศุกร์จากความกังวลเรื่องการลงประชามติของชาวอังกฤษที่จะตัดสินใจว่าออกจาก สหภาพยุโรป (Brexit) หรือไม่ รวมทั้งน้ำมันดิบ WTI ที่ร่วงลงแรงกว่า 3% หลังเบเกอร์ ฮิวจ์เผยจำนวนแท่นที่ใช้งานในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้มีอุปทานส่วนเกินเพิ่มขึ้น
ประเมินตลาดด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น: หลังต้นสัปดาห์ก่อนตลาดขึ้นมาจากสองปัจจัยหลัก คือ เรื่องคาดการณ์เลื่อนการปรับดอกเบี้ยของเฟด และราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวที่ช่วยดันตลาดขึ้นไปทดสอบ 1450 จุด แต่ก็ไม่สามารถผ่านได้ ทางฝ่ายมองตลาดซื้อขายแบบ “เทรดดิ้ง” sentiment ระยะสั้นพาตลาดขึ้นไป แต่ปัจจัยในเชิงพื้นฐานยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น วันนี้ปัจจัยที่เคยนำพาตลาดไป จะกลับมาเป็นตัวฉุดตลาดให้ปรับฐานลงมาแรงด้วยเรื่องน้ำมัน, เฟด และปัจจัยใหม่ คือ Brexit
ปรับฐานก่อน: ปัจจุบันตลาดซื้อขายที่ FWD’ P/E 15.3 เท่าซึ่งไม่ถูกนัก ซึ่งขึ้นมาจากนักลงทุนต่างชาติ และบัญชี บล. หากตลาดเกิด Panic ทางฝ่ายคาดว่าอาจต้องรอเข้าซื้อแถว FWD’ P/E 14.6 เท่า (เทียบ 1360 จุด) ซึ่งเป็นจุดที่สถาบันกลับมาซื้อหุ้นอีกครั้ง กรอบวันนี้ 1400,1412 – 1435 จุด
กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น: ทยอยตั้งรับเมื่อดัชนีปรับตัวแรง โดย “เน้น” เลือกซื้อหุ้นรายตัว
1) หุ้นท่องเที่ยวฟื้นตัว: AOT
2) Selective trading: ถือ CHG และ TK และ Short THAI
วิเคราะห์เชิงเทคนิค: ถึงเวลาพัก
เคลื่อนตัวลงปิดต่ำกว่า EMA-75 ของกราฟ 60 นาที แม้เครื่องมือจะลงมาอยู่ในเขต Oversold แต่ควรรอให้เกิดสัญญาณซื้อขึ้นก่อนค่อยกลับเข้าตลาด เบื้องต้นอาจลงมารอที่ 1420-1415 จุด ปรับแนวต้านลงเป็น 1435-1440 จุด
หุ้นปัจจุบันที่ถืออยู่ในพอร์ต*
Long AOT (440), CHG (3.04), TK (10.70)
Short THAI (16.50)
*(ราคาเป้าหมายระยะสั้น)
คาดการณ์หุ้นติด Cash Balance
หุ้นที่ครบเกณฑ์ Cash Balance*: ---
หุ้นที่มีโอกาสติด Cash Balance*: ---
*หากตัวแม่ติด Cash Balance ตัวลูกก็จะติดด้วยเช่นกัน
หุ้นเด่นประเด็นเทคนิค
หุ้น แนะนำ แนวรับ แนวต้าน Cut
DTAC Trading 36.25 40.00, 42.00 35.50
PLAT Trading 6.60 7.00, 7.20 6.50
ESSO Trading 5.90 6.20-6.30 5.80
ปัจจัยน่าติดตาม
15 มิ.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
16 มิ.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่น แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
22 มิ.ย. ไทย: กนง.แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
23 มิ.ย. ลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)