- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 June 2016 17:25
- Hits: 2643
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
คาดยังมีความผันผวน? ภายใต้ที่ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ คาดการเคลื่อนไหวคล้ายกับวานนี้ และคาดยังมีโอกาสปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ ที่คาดยังถูกกดดัน จาก (1) ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุดประธานเฟดส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หากเศรษฐกิจเติบโตตามเป้าหมาย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในทิศทางที่ดี อาจทำให้เฟดพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยการประชุมเฟดมีขึ้น 14 – 15/6/59 และ (2) ราคาน้ำมัน ที่อาจปรับลดลง หากการประชุมโอเปกในวันนี้ ไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการกำหนดเพดานการผลิต และคาดส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ แนะติดตาม Fund Flow หลังวานนี้ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ
โดยยังแนะติดตามค่าเงินสหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งส่งผล (-) ต่อราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม (+) ต่อกลุ่มส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาท เช่น กลุ่มอาหารและกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย คาดดีขึ้นตามลำดับ ล่าสุดกระทรวงการคลังคาด GDP – 2Q/59 เติบโตมากกว่า 3.2% และคาดสูงสุดใน 3Q/59 ที่ 4.0% จากการลงทุนภาครัฐ และคาดทั้งปี’59 เติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.3% ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมตลาดบ้าง แนะติดตามหุ้นกลุ่ม Domestic Play เช่น ค้าปลีก และรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร การส่งออกได้รับประโยชน์จากแนวโน้มค่าเงินบาทอ่อน เช่น CPF, TKN และ TWPC
(2) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(3) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น EPG
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานในมือที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น SEAFCO และ SYNTEC
(5) กลุ่มพลังงาน ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของค่าการกลั่น เช่น IRPC และ TOP
SET SET50 SET100
1,415.76 -8.52 903.25 -7.86 2,016.99 -16.75
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJIA +2.47, NASDAQ +4.20, S&P +2.37, FTSE -38.86, CAC -30.23 และ DAX -58.30
แม้ได้รับปัจจัยหนุนจากดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ โดย ISM – พ.ค. อยู่ที่51.3% เพิ่มขึ้นจาก 50.8% เมื่อเม.ย. และรายงาน Beige Book ของเฟด ซึ่งระบุว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ มีการขยายตัวในระดับปานกลางนับแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา หลังภาคเอกชนยังคงจ้างงานอย่างต่อเนื่อง และค่าแรงยังเพิ่มขึ้น
แต่ตลาดปรับขึ้นอย่างจำกัด โดยได้รับปัจจัยกดดันจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน – พ.ค. อยู่ที่ 49.2 ลดลงจาก 49.4 เมื่อเม.ย. ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
ขณะที่อยู่ระหว่างรอ (1) ประชุมเฟด 14 – 15/6/59 และ (2) ถ้อยแถลงของประธานเฟด ต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐ ในวันที่ 21/6/59
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ถูกกดดันจากตัวเลขการผลิตของจีนข้างต้น ซึ่งทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มชะลอตัว และอยู่ระหว่างรอผลประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันนี้ (2/6/59)
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. -US$0.09 อยู่ที่ US$49.01 ต่อบาร์เรล โดยอยู่ระหว่างรอผลประชุมกลุ่มโอเปกในวันนี้ (2/6/59) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งคาดโอเปกจะพิจารณากำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน ขณะที่อิหร่านมีแผน เพิ่มการส่งออกน้ำมันให้ได้ถึง 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในช่วงฤดูร้อนนี้ จากปัจจุบันที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.41 1.81 3.37
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 42,857.62
สถาบัน -114.14
บัญชีหลักทรัพย์ 207.28
ต่างประเทศ -428.44
ในประเทศ 335.3
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. -US$2.8 อยู่ที่ US$ 1,214.7 ต่อออนซ์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ข้างต้น ออกมาดี ทำให้ลดความความต้องการซื้อทองซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -428 ล้านบาท สะสม YTD +17,686 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 2 – 3 มิ.ย. 2559
2/6/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ค.
3/6/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.
ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.
ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนเม.ย.
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค.
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง จากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มการแพทย์ ที่มีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง เช่น BDMS
(8) หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT, ERW) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยล่าสุดสภาพัฒน์ฯ ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี’59 อยู่ที่ 33 ล้านคน จากเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%
(9) กลุ่มการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT, BA และ BEM
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.01 อยู่ที่ 1.8% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.01 อยู่ที่ 14.20
หุ้นแนะนำ : CK
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788