WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : พักบ้างไรบ้าง
Stock of the town : CHO SIS
หุ้นแนะนำพิเศษ : KCE
หุ้นมีข่าว : VGI PTSC MAX TACC

       SET วานนี้แกว่งตัวในกรอบแคบๆเนื่องจากปัจจัยด้านเทคนิคติดแนวต้าน 1,430 จุด แม้ว่าสศค.จะเผยว่าเศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย.ส่งสัญญาณดีขึ้นจากการบริโภคและการลงทุน ทั้งนี้ SET ปิดที่ 1,424.28 จุด (+0.16 จุด) Vol. 6.7 หมื่นลบ. โดย Foreign Net +1,608 ลบ. , Net TFEX +7,235 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
- ตลาด DJ -86.02 จุด เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้แก่การใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐเดือนเม.ย. +1.0% , ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐในเดือนมี.ค.+5.4% ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
+/- ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงล่าสุด 49 USD/Barrel ก่อนการประชุมกลุ่มโอเปกในวันที่ 2 มิ.ย.
+/- โกลด์แมน แซคส์ประเมินความเป็นไปได้ 70% ที่จะรวมหุ้นเอของจีนเข้าในดัชนี MSCI
+/- "เอไอเอ-พรูเดนเชียล" สนใจซื้อหุ้น "ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต" 49% จากแบงก์แม่คาดกระบวนการขายหุ้นเริ่มQ3/59
- PMI ภาคบริการของจีนเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับ 53.1 ชะลอตัวจากเดือนเม.ย.ที่ระดับ 53.5 , PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.ทรงตัวที่ 50.1
- เงินเฟ้อเบื้องต้นในกลุ่มยูโรโซนเดือนพ.ค. อยู่ที่ -0.1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายูโรโซนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด
- ความกังวล FED อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการะประชุมเดือนมิ.ย.,ก.ค.

       ภาวะตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน ประกอบกับนลท.จะรอรายงาน Beige Book ของ FED ในวันพรุ่งนี้เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัว 1,420 - 1,430 จุด

*** 1 มิ.ย. กสทช.เตรียมสรุปเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมกรณีแจสโมบายฯ บริษัทลูกของ JAS ไม่มาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz
*** 2 มิ.ย. ติดตามรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ของ FEDและการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)

กลยุทธ์การลงทุน

แนะนำซื้อเก็งกำไรในกลุ่มที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน
- กลุ่มเหล็ก ราคาเหล็กรีดร้อนทำ High ล่าสุด 607 USD/Ton (+66% YTD)
- IVL ราคาฝ้าย +15% YTD ล่าสุด 63.9 USD/Tons
- หุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET 50 รอบใหม่ SPRC GPSC KCE SUPER และ SET 100 GLOBAL TVO IFEC BCH JWD BAY BIGC
- CHO LOXLEY ร่วมประมูลโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ยื่นซอง 8 มิ.ย.
- กฟน. เตรียมเปิดประมูลย้ายสายไฟฟ้าลงดินโครงการช่องนนทรี มูลค่า 2,500 ล้านบาท ภายในเดือนก.ค. DEMCO-NWR-UNIQ-LOXLEY-ITD-ILINK-EMC มีลุ้นคว้างาน (ข่าวหุ้น)

หุ้นแนะนำพิเศษ

KCE ราคาปิด 81.25 บาท ราคาพื้นฐาน 91 บาท
- ปี 59 คาดกำไรก้าวกระโดดเป็น 2,792 ล้านบาท +24%YoY จากการเปิดใช้โรงงานใหม่เฟส 2 ตั้งแต่ 1Q59 ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนและสามารถผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ได้ประโยชน์จาก PCB ที่ใช้ในอุตฯยานยนต์มีการเติบโตและ Demand สูง เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้ระบบ Electronic แทนระดับ Mechanic ทั้งนี้KCE มีลูกค้าในกลุ่มยานยนต์ราว 70%
- เตรียมลงทุน 35 ล้านUSD. เดินเครื่องโรงงานเฟส 3 ในช่วง 3Q59
- คาดเข้าคำนวณ SET 50 รอบใหม่ที่จะประกาศกลางมิ.ย.

หุ้นมีข่าว
- VGI เตรียมทำเทนเดอร์หุ้น MACO หลังซื้อเพิ่มเป็น 37.42% จากผู้ถือหุ้นรายย่อยระหว่างวันที่ 3 มิ.ย.-8ก.ค.59
- PSTC ลงทุน 150 ลบ.เข้าซื้อหุ้น 55% ในโรงไฟฟ้า"เวลล์ โคราชฯ"เล็งออก BE ไม่เกิน 200 ลบ.
- MAX ชี้แจงการเพิ่มทุน 20,328 ล้านบาทเพื่อขายให้ PP และ PO เพื่อนำเงินไปใช้ในโปรเจกต์ใหญ่โรงไฟฟ้าและอสังหาริมทรัพย์ประเภทรายได้คงที่ ตั้งเป้าหมายสร้างกำไรระยะยาว
- TACC ไปโรดโชว์ที่สิงคโปร์ 1-2 มิ.ย. โชว์ผลงานไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 46% จากพันธมิตร 7-11 ให้เพิ่มจุดจำหน่ายกาแฟเย็นลาเต้เป็น 5,000 สาขาในร้าน ผู้บริหารตั้งเป้าติดตั้งตู้กดเครื่องดื่มร้อนครบ 750 เครื่อง ภายในปีนี้ ปี 60 มั่นใจช่วยผลักดันรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 15%
- "กฟน." เตรียมเปิดประมูลย้ายสายไฟฟ้าลงดินโครงการช่องนนทรี มูลค่า 2,500 ล้านบาทภายในเดือนก.ค. "DEMCO-NWR-UNIQ-LOXLEY-ITD-ILINK-EMC" มีลุ้นคว้างาน ส่วนปีหน้าเล็งประมูลเพิ่มอีก 2 โครงการใหญ่ "พระราม 3-รัชดาภิเษก" มูลค่ารวม 14,700 ล้านบาท
- เปิดโผ 3 หุ้นเด่น "BEM-GPSC-KCE" จ่อเข้าคำนวณดัชนี SET50 "SUPER-IFEC-BIG" มีลุ้นถูกคัดเลือกติดดัชนี SET100 โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 59 (ข่าวหุ้น)
- JAS ซื้อหุ้นคืน 1,200 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาทระหว่าง 1-10 มิ.ย.59

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -86.02 จุด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,787.20 จุด ลดลง 86.02 จุด หรือ -0.48% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,948.06 จุด เพิ่มขึ้น 14.55 จุด หรือ +0.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,096.96 จุด ลดลง 2.10 จุด หรือ -0.10% เนื่องจากนักลงทุนมองว่า ข้อมูลเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืน ซึ่งรวมถึงการใช้จ่ายผู้บริโภคที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 6 ปีนั้น อาจจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ

ตลาดน้ำมัน NYMEX -0.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 23 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 49.10 ดอลลาร์/บาร์เรล ทำสถิติปิดลบติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด และระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 2 มิ.ย.นี้

ปัจจัยบวก
(+) สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 1.0% ในเดือนเม.ย. หลังจากทรงตัวในเดือนมี.ค. โดยได้ปัจจัยบวกจากการที่ภาคครัวเรือนเข้าซื้อรถยนต์ รวมทั้งสินค้าและบริการอื่นๆ
(+) สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนมี.ค.
(+) สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.4% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี เท่ากับระดับการเพิ่มขึ้นของเดือนก.พ.
(+) เยอรมนีเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค.ของเยอรมนีดีดตัวขึ้น 0.1% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนเม.ย.
(+) ญี่ปุ่นรายงานว่า ตัวเลขการเริ่มก่อสร้างบ้านที่ญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.0% จากปีก่อนหน้า แตะ 82,398 หลัง ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ การเริ่มสร้างบ้านเพื่อปล่อยเช่า การก่อสร้างคอนโดมิเนียม และการเริ่มก่อสร้างบ้านเพื่อการอาศัย
(+) ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาดมูลค่า 5.5 หมื่นล้านหยวน (8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อบรรเทาสภาพคล่องที่ตึงตัว
(+) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ หลังจากได้ผ่านการปรับแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล โดยให้กรรมการ ผู้บริหาร เครือญาติ จำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดการถือหุ้นล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความโปร่งใส และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
(+) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนเม.ย. 59 อยู่ที่ 99.59 มีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง 1.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดแนวโน้มดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ค.59 น่าจะยังดี ขณะที่คงเป้าทั้งปี 59 โต 2-3% และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตที่ 1.5-2.5%

ปัจจัยลบ
(-) สหรัฐ เผยผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลงเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนพ.ค. โดยอยู่ที่ระดับ 92.6 หลังแตะระดับ 94.2 ในเดือนเม.ย.
(-) สหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเขตชิคาโก ร่วงลงเกินคาดสู่ระดับ 49.3 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 50.4 ในเดือนเม.ย.
(-) ยุโรป เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเบื้องต้นในกลุ่มยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -0.1% ในเดือนพ.ค. จากระดับ -0.2% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายูโรโซนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด
(-) เยอรมนีเผยยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ตกลง 0.9% จากเดือนที่แล้ว สวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้น และตลาดแรงงานแข็งแกร่งก็ตาม
(-) จีนเผยดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ชะลอลงแตะ 53.1 ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.ทรงตัวที่ 50.1 ดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว สรุปได้ว่าภาคการผลิตและภาคบริการของจีนขยายตัวในอัตราชะลอตัว
(-) แบงก์ชาติมองช่วงไตรมาส 2 เศรษฐกิจไทยยังไม่เห็นการฟื้นตัวโดดเด่นและยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งใน-นอกประเทศอยู่มาก ส่วนภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.ยังคงขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ระบุลงทุนอยู่ระดับต่ำร่วม 10 ปี ห่วงฉุดความสามารถการแข่งขันของไทย พบมีเงินทุนไหลออกไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
(-) สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกเดือนเม.ย. 59 ที่ติดลบ 8% ผิดจากคาดมาก มูลค่าส่งออกน้อยที่สุดรอบ 6 ปี ทั้งติดลบต่อกันเป็นเดือนที่ 17 4 เดือนแรกส่งออก ลบ 1.24% หากหักทองคำและอาวุธ จะลบ 5.36% ส่งออกเดือนเม.ย.ติดลบมากจนน่าตกใจ เพราะการค้าและเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว ปัญหาเศรษฐกิจในจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) รวมถึงการไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐสะท้อนว่าเศรษฐกิจยังมีปัญหา การจะออกจากอียูของอังกฤษ การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งทางการเมืองในหลายภูมิภาค ล้วนเป็นปัจจัยบั่นทอนญี่ปุ่น เปิดเผย การผลิตรถยนต์,รถบรรทุก และรถโดยสารของญี่ปุ่นในเดือนเมษายน 2559 ลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ปัจจัยที่ต้องจับตา

ในประเทศ
- 1 มิ.ย. กสทช.เตรียมสรุปเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมกรณีแจสโมบายฯ บริษัทลูกของ JAS ไม่มาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz และส่งหนังสือแจ้ง JAS หากไม่มาชำระจึงจะส่งเรื่องฟ้องศาลต่อไป
- 2 มิ.ย. เวลา 10.30 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งคดีที่สหภาพแรงงานฯบมจ.ทีโอที ยื่นฟ้องกสทช.กรณีไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องสิทธิการใช้คลื่นความถี่ 900 MHZ ที่บมจ.ทีโอที ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่แต่กลับจำกัดสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 900 MHZ ให้สิ้นสุดการใช้งาน พร้อมกับอนุญาตให้ADVANC ให้บริการ เป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
- 20-21 มิ.ย. ยื่นซองประมูลสุวรรณภูมิเฟส 2
- 6 ส.ค. รถไฟฟาสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เปิดให้บริการ
- 7 ส.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (คสช.ต้องเตรียมหาทางออกหากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ โดยจะหยิบรธน.ปี 40 หรือ 50 ฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ไม่ได้)

ผลของประชามติมีแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ
1) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ ลำดับต่อไปคือปรับแก้บทเฉพาะกาลในร่างรธน.ให้สอดคล้องคำถามพ่วงประชามติ
2) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ก็ต้องตกไป ทำให้กรธ.พ้นสภาพต้องหาผู้ดำเนินการร่างใหม่
3) หากร่างรธน.ไม่ผ่านแต่คำถามพ่วงฯผ่าน ผู้ร่างรธน.คนต่อไปต้องคำนึงถึงเสียงของประชาชนจากการลงประชามติครั้งนี้ด้วย

ต่างประเทศ
- 1 มิ.ย.สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค. / ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค./การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนเม.ย.
- อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
- เยอรมนีเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
- จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตภาคบริการพ.ค.
- 2 มิ.ย. (ช่วงเช้า) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนเม.ย./ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์/ ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนพ.ค.
- อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย./ ธนาคารกลางยุโรปประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติดอกเบี้ย
- ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.
- 2 มิ.ย.การประชุมกลุ่มโอเปกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียประเด็นการตรึงการผลิตน้ำมัน
- 3 มิ.ย.สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค./ยอดนำเข้า, ส่งออก และดุลการค้าเดือนเม.ย./ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ค./ ดัชนีภาคบริการเดือนพ.ค. / ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเม.ย.
- อียูเปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ค./ ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.
- เยอรมนีเปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ค.
- จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ค.
- 6 มิ.ย. เยอรมนีเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเม.ย.
- 14 - 15 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ สถานการณ์ล่าสุดโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย.
- 23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติ (Brexit)นายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีคลังอังกฤษชี้การถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) อาจจะทำให้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรถดถอยยาวนานถึง 1 ปี และตลาดแรงงานอาจจะมีการสูญเสียตำแหน่งงานไปถึง 820,000 ตำแหน่งภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU กล่าวว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 10 ปี หลังออกจาก EU จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าอยู่ใน EU ต่อไปในสัดส่วน 4% เนื่องจากอานิสงส์ต่างๆจากอัตราภาษีที่ลดลงสำหรับการนำเข้าจากนอก EU
- 8 พ.ย. กำหนดเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์

 

 

loading...

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!