- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 01 June 2016 17:28
- Hits: 711
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้แกว่งในกรอบแคบระหว่าง 1,420-1,425 จุด หุ้นหลักเริ่มเผชิญกับแรงขายทำกำไร ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ MSCI มีความโดดเด่น ทั้งราคา และมูลค่าการซื้อขาย ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวกเล็กน้อย 0.16 จุดมาอยู่ที่ 1,424.28 จุด มูลค่าการซื้อขายมากถึง 67,210 ล้านบาท
กระแสเงินทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 5 เร่งขึ้นเป็น 1,608 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 5 อีก 7,235 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 เพียง 702 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติที่หนาแน่นในตลาดหุ้นไทยวานนี้ คาดว่าเป็นผลจากการปรับดัชนี MSCI
ติดตามรายงาน Beige Book คืนนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย. ภาคการท่องเที่ยว ยังคงคงแข็งแกร่ง
ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปีขึ้นแรงอีกครั้ง 17.23bps เป็น 2.336% วานนี้ อาจกลับมากดดันหุ้นปันผล / กองทุน Property Fund / REIT / IFF อีกระลอก
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 7)
เราประเมินว่า SET INDEX จะกลับมาแกว่งแคบ พร้อมเผชิญกับแรงขายทำกำไรมากขึ้น เพราะขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนการลงทุน นักลงทุนต่างระมัดระวังต่อผลกระทบจากประเด็นที่เฟดอาจพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิ.ย. หรือ เดือนก.ค. กรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ คาดระหว่าง 1,415-1,430 จุด ด่าน 1,430 จุด ยังไม่น่าผ่านในช่วงสั้นนี้
กลุ่มที่คาดว่าจะเผชิญกับแรงขายทำกำไรมากขึ้นในช่วงนี้คือ กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT / PTTEP และกลุ่มโรงกลั่น เพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแกว่งกรอบแคบ เพื่อรอผลการประชุมโอเปกในคืนวันพรุ่งนี้ อีกทั้งราคา ณ ปัจจุบัน เหลือ upside gain จากราคาเหมาะสมจำกัด หรือสูงกว่าราคาเหมาะสมที่ตลาดประเมินไว้แล้ว
กลุ่มหุ้นปันผล / กองทุน Property Fund / REIT / IFF อาจเผชิญกับแรงขายอีกระลอก หลังผลตอบแทนพันธบัตรไทยกลับมาขยับขึ้นเด่นอีกครั้ง เพื่อเป็นการปรับสมดุลย์ระหว่าง Safe haven อย่างพันธบัตร และ Risk Asset อย่างหุ้นปันผล และกองทุน Property fund / REIT/ IFF
ภาพรวมของกลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุน ทยอยขายทำกำไรหุ้นหลักในพอร์ต และกลับมาถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่อีกครั้ง เน้นเก็งกำไรหุ้นขนาดกลางและเล็กอีกครั้ง
Stock Pick of The Day
1. สะสม TPIPL : ราคาปิด 2.30 บาท ราคาเหมาะสม 2.85 บาท
a) MBKET คาดว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวก หลังการประชุมนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนวานนี้ ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าส่วนเกินทุนจากการตีราคา 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ต้องตั้งค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นปีละ 1.3 พันล้านบาท จะกระทบงบการเงินเพียงระยะสั้น
b) เนื่องจาก TPIPL มีโอกาสที่จะปรับปรุงรายการดังกล่าวออกจากงบการเงิน หลัง TPIPP เข้า IPO และทำให้ส่วนทุนของ TPIPL เพิ่มขึ้นจากรายการส่วนเกินทุนจากการขายหุ้น IPO
c) คงมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ ที่มีกำไรเติบโตสูงถึง +280% yoy และ +68% qoq เป็น 621 ล้านบาทใน 1Q59 และเชื่อว่าการนำ TPIPP เข้า IPO จะช่วยเพิ่ม Market Cap ให้กับ TPIPL อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากถือหุ้นใน TPIPP (หลัง IPO) ในสัดส่วน 70%
2. เก็งกำไร TVT : ราคาปิด 2.02 บาท ราคาเหมาะสม 2.70 บาท
a) MBKET เชื่อว่าหุ้นขนาดกลาง - เล็ก จะเคลื่อนไหว Outperform ตลาด เนื่องจากหุ้นกลุ่มหลักพักฐาน เพื่อรอดูผลการประชุม OPEC และการประชุมเฟด เนื่องจากจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติ
b) คาดกำไรสุทธิ 2Q59 จะเติบโตสูง yoy จากผลตอบรับที่ดีของรายการ Hidden Singer และ Take me out และมีประเด็นบวกที่เป็น Catalyst หากสามารถปิดดีลซื้อกิจการได้ทันภายใน 2Q59
c) ซื้อขายที่ระดับ PER2559 ที่ 22.8 เท่า เทียบกับหุ้นกลุ่มสื่อที่ 25-30 เท่า ขณะที่กำไรสุทธิปี 2559 คาดว่าจะเติบโตก้าวกระโดด +41% yoy เป็น 71 ล้านบาท เทียบเท่าระดับ PEG เพียง 0.5 เท่า
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 อีก US$259 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$607 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 3 และหนาแน่นขึ้น
นักลงทุนต่างชาติคงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 5 เร่งขึ้นเป็น 1,608 ล้านบาท อาจเป็นผลจากการปรับดัชนี MSCI ณ ราคาปิดวานนี้ รวม 5 วันทำการซื้อสุทธิ 5,596 ล้านบาท และผลักดันให้ YTD ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 18,115 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 5 ขยับขึ้นเช่นกัน เป็น 7,235 สัญญา รวม 5 วันทำการ Long สุทธิ 36,693 สัญญา คาดว่าจะเป็นการทยอยเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง ทำให้ยอดสุทธิ QTD สถานะคงการ Long สุทธิขยับขึ้นเป็น 25,078 สัญญา และกดดันให้ S50M16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 2 เท่ากับ 1.81 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 0.71 จุด
และนักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 แต่ลดลงเหลือเพียง 702 ล้านบาท รวม 3 วันทำการ ซื้อสุทธิ 24,645 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงเป็นวันที่ 5 โดยพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 5 สูงถึง 17.23bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 5.71bps ปิดที่ 2.336%
Short-Selling วานนี้
ทรงตัวที่ 726 ล้านบาท ใกล้เคียงวันก่อนหน้าที่ 722 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12 อย่างหนาแน่น เน้นกลุ่มโรงพยาบาล และ ICT อย่างโดดเด่น
การซื้อขายผ่าน NVDR คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12 มากถึง 2,976 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,598 ล้านบาท รวม 12 วันทำการซื้อสุทธิ 13,452 ล้านบาท ทั้งนี้ NVDR เลือกเน้นสะสมกลุ่มโรงพยาบาล และ ICT โดดเด่น เหนือกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคาร
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด
- รายได้ส่วนบุคคล เดือนเม.ย. ขยายตัว 0.4% mom เท่ากับที่ตลาดคาดและเดือนก่อนหน้า
- การใช้จ่ายส่วนบุคคล เดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.0% mom สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 0.7% mom และเดือนก่อนหน้า 0.0% mom โดยเป็นยอดขายยานพาหนะที่แข็งแกร่ง รวมถึงราคาน้ำมันเบนซินที่ฟื้นตัว
- ดัชนีราคาบ้าน S&P CS เดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 0.9% mom ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 0.7% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.7% mom โดยราคาบ้าน 19 ใน 20 เมืองเพิ่มขึ้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพ.ค. เท่ากับ 92.6 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 97.0 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 94.7 จุด ทั้งนี้สัญญาณบวกที่ดีขึ้น ความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคตยังคงแข็งแกร่ง
ยุโรป
เงินเฟ้อในอียูยังคงติดลบ: เดือนพ.ค. อัตราเงินเฟ้อ -0.1% yoy เป็นการติดลบเดือนที่ 4 แต่สอดคล้องกับที่ Bloomberg consensus คาดการณ์ และติดลบ 0.2% mom
อัตราการว่างงานเยอรมันทำระดับต่ำสุดใหม่: เดือนพ.ค. ตำแหน่งการว่างงานลดลง 11,000 ตำแหน่ง เป็น 2.695 ล้านตำแหน่ง ออกมาดีกว่า Bloomberg consensus คาดลดลงเพียง 5,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงเป็น 6.1% เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การรวมประเทศ
จีน
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนเกิน 50 จุดเป็นเดือนที่ 3: อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ในเดือน พ.ค. เท่ากับเดือนก่อนหน้า Bloomberg Consensus คาด 50.0 จุด อีกทั้งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 จุด สะท้อนถึงภาคการผลิตที่ขยายตัว
เอเชียแปซิฟิก
เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาด: ใน 1Q59 ขยายตัว 7.9% yoy สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 7.5% yoy และเร่งตัวขึ้นจาก 4Q58 ที่เติบโต 7.2% yoy โดยภาครวมด้านเกษตร ขยายตัว 2.3% yoy ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -1.0% yoy ภาคการผลิต เติบโตชะลอตัวจาก 11.5% yoy ใน 4Q58 เป็น 9.3% yoy แต่การบริโภคกลับขยายตัวเร่งขึ้นจาก 6.2% yoy เป็น 7.4% yoy ทั้งนี้ รมว.การคลัง คาดเศรษฐกิจอินเดียปีนี้ ขยายตัว 7.6% ขยับขึ้นจากการประเมินก่อนหน้าที่ 7.2%
ไทย
ธปท.ประเมินเศรษฐกิจเม.ย.เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน เม.ย.2559 ยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีแรงส่งจากภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตยังขยายตัวค่อนข้างต่ำ เพราะการ ส่งออกสินค้ากลับมาหดตัว ในหลายหมวดสินค้า จากประเทศคู่ค้าชะลอตัว ได้แก่ จีนและอาเซียน ส่วนกำลังซื้อภายในประเทศได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่งผลต่อเนื่องให้การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลงเล็กน้อยจากที่เร่งตัวในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยว ยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัว 9.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อย จากอุตสาหกรรมรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การผลิตเพื่อส่งออกโดยรวมยังไม่ดี
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530