WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CIMBบล.ซีไอเอ็มบี : Thailand Trading Picks(PM)

 

SET lndex : แนวโน้มลงทดสอบ 1360 แนวต้าน 1390
      SET lndex : 1381.15 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปทดสอบแนวรับที่ 1380 จุด หลังจากปรับตัวลดลงหลุดแนวรับสำคัญของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1390 จุดลงไป ทำให้ความเสี่ยงของการปรับฐานมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปทดสอบแนวรับถัดไปที่ระดับ 1360 จุดที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน หรืออาจต่ำกว่าระดับ 1350 จุดลงไปทดสอบ 1340 และ 1320 จุด โดยมีแนวต้านที่ 1390-1395 จุดเป็นแนวต้านสำคัญ ถ้ามีการฟื้นตัวในระยะสั้น ควรรอสัญญาณซื้อเมื่อทะลุผ่าน 1410 จุดขึ้นไป
แนวต้าน : 1384 และ 1388
แนวรับ : 1380 และ 1374

ADVANC = 151 / 154, PTT = 298 / 304, IVL = 29.00 / 29.50, SOLAR = 4.20 / 4.50, CPF = 28.00 / 29.00

Minor International (MINT TB; THB 38.75) - ซื้อ
แนวต้าน : 40.00 และ 41.00
แนวรับ : 38.50 และ 38.00
ราคาหุ้นเคลื่อนไหวออกด้านข้างแข็งแกร่งกว่าทิศทางตลาดหลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้นทาจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ในขณะที่โครงสร้างการเคลื่อนไหวยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง
MACD เคลื่อนไหวออกด้านข้างในแดนบวก เครื่องมือทางเทคนิคชี้วัดแนวโน้มขึ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือแนวโน้มลง RSI เคลื่อนไหวเหนือระดับ 50
แนะนำซื้อ MINT โดยมีแนวรับที่ 38.50 และ 38.00 และมีแนวต้านที่ 40.00 และ 41.00 เป็นจุดขายทำกำไร
STOP LOSS ถ้าราคาหุ้นปิดต่ำกว่า 36.00 ลงไป

Samart Corporation (SAMART TB; THB 15.30) - ซื้อ
แนวต้าน : 16.00 และ 16.40
แนวรับ : 15.30 และ 15.20
ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิดสัญญาณซื้อทางเทคนิค พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่องเข้าใกล้จุดต่ำสุดเดิมที่ระดับ 14.40 แต่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้
MACD ปรับตัวเพิ่มขึ้นทดสอบเส้นค่าเฉลี่ยในแดนลบ เครื่องมือทางเทคนิคชี้วัดแนวโน้มลงเคลื่อนไหวเหนือแนวโน้มขึ้น RSI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 40 แนะนำซื้อ SAMART โดยมีแนวรับที่ 15.30 และ 15.20 และมีแนวต้านที่ 16.00 และ 16.40 เป็นจุดขายทำกำไร
STOP LOSS ถ้าราคาหุ้นปิดต่ำกว่า 14.80 ลงไป

Analysts :
Teerasak Tanavarakul +662 657-9231 [email protected]
บล.ซีไอเอ็มบี : Investment Strategy(AM)

SET....ยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
      หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนได้ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/59 ออกมาหมดเมื่อสัปดาห์ก่อน ตลาดก็ขาดปัจจัยหนุนระยะสั้น ส่งผลให้ตลาดเริ่มเผชิญกับการขายทำกำไรปรับฐานลงหลังจากที่ปรับขึ้นไปทดสอบระดับ 1400 จุดแล้วไม่สามารถยืนได้ นอกจากนั้นแล้วตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐในเดือนเม.ย. ที่ประกาศออกมา +1.1% yoy (+0.4% qoq) ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี 2 เดือน (เป้าหมาย CPI ของ Fed อยู่ที่ 2.0%) บวกกับคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 26-27 เม.ย.เมื่อสัปดาห์ก่อน โดยระบุว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. (14-15 มิ.ย.) หากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเป็นตรงกันว่า หากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ดีขึ้นในไตรมาส 2 รวมทั้งตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และเงินเฟ้อเริ่มเคลื่อนไหวใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% การปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ในการประชุมเดือนมิ.ย.ก็ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม จากผลดังกล่าวทำให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและมีแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศออกมาอย่างต่อเนื่อง
      ปัจจัยที่จะมีผลกระทบกับทิศทางตลาดที่จะต้องติดตามประกอบด้วย 1. การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในวันที่ 14-15 มิ.ย. นี้ 2. การประชุมกลุ่มโอเปกในวันที่ 2 มิ.ย. 3. การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 2 มิ.ย. 4. การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 15-16 มิ.ย. และ 5. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 22 มิ.ย. นี้
โดยปัจจัยที่มีความสำคัญต่อตลาดมากที่สุดคือการประชุม Fed ซึ่งแม้ว่าระยะหลังจะมีความกังวลมากขึ้นว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐจากปัจจุบันที่ 0.50% แต่หากดูการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ 70 คน ที่ Bloomberg ทำการสำรวจจะพบว่า 48 คน (69%) คาดว่า Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ในการประชุมเดือนมิ.ย. ในขณะที่อีก 22 คน (31%) คาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.75% ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะให้โอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เพียง 31% แต่หากย้อนไปเทียบกับการประชุมในครั้งก่อนวันที่ 26-27 เม.ย. จะเห็นได้ว่าโอกาสของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นมาต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าภายในการประชุมเดือนมิ.ย. หรือเดือนก.ค. (26-27 ก.ค.) เราอาจจะได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ครั้งแรกของปีนี้ก็เป็นได้ นอกเหนือจากที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะขึ้นมาอยู่ที่ 1.00%
      จากความน่าจะเป็นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนมิ.ย.หรือก.ค. ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ก็มีการปรับเพิ่มขึ้นมาสะท้อนคาดการณ์การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย โดย Bond yield อายุ 10 ปีของสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.7001 ในช่วงกลางเดือนนี้มาอยู่ที่ 1.8384 ในปลายสัปดาห์ก่อน (ในขณะที่ Bond yield อายุ 10 ปีของไทยก็ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 1.8118 เป็น 2.1186 และ bond yield อายุ 5 ปี ก็ปรับขึ้นจาก 1.5709 เป็น 1.8340 ในช่วงเวลาเดียวกัน) ซึ่งการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและการปรับเพิ่มขึ้นของ Bond yield จะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging market) ทั่วโลก ดังนั้นเราประเมินว่าตลาดหุ้นไทยจะเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศต่อเนื่องในเดือนพ.ค.-มิ.ย. จนกว่าจะมีความชัดเจนว่าเฟดยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
      ในส่วนของการประชุม ECB และ BOJ คาดว่าไม่น่าจะมีนัยสำคัญเนื่องจากธนาคารกลางทั้ง 2 แห่งได้ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบและ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาระยะหนึ่งแล้วและไม่น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปต่ำกว่านี้ ในขณะที่การเพิ่มวงเงิน QE ก็อาจจะทำได้ลำบากเนื่องจากปัจจุบันราคาพันธบัตรก็มีราคาสูงมากแล้วในขณะที่ปริมาณพันธบัตรที่ทั้ง 2 ประเทศจะเข้าซื้อได้ก็มีจำกัด ทำให้การเพิ่ม QE ก็จะไม่ส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก (แต่อาจจะไปส่งผลต่อการเก็งกำไรราคาสินทรัพย์มากกว่า)
     ส่วนการประชุมของ 12 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกหรือโอเปก (OPEC) ในวันที่ 2 มิ.ย. ก็คงไม่มีข้อตกลงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดหรือตรึงกำลังการผลิตเนื่องจากทั้งซาอุฯ และอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 1 และ 2 ของโอเปกแสดงท่าทีชัดเจนว่าจะไม่ลดกำลังการผลิตลงตั้งแต่การประชุมผู้ผลิตน้ำมันในวันที่ 17 เม.ย. แล้ว ดังนั้นเราคาดว่าตลาดน้ำมันจะผิดหวังผลการประชุมและราคาน้ำมันจะถูกแรงเทขายทำกำไรออกมา สอดคล้องกับทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่กลับมาแข็งค่า (เป็นลบกับราคาน้ำมัน)
       ส่วนการประชุมกนง. เราคาดว่ากนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังค่าเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่า, GDP ไตรมาสแรกออกมาดี, การส่งออกมีการฟื้นตัวต่อเนื่องและ bond yield เริ่มกลับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้แรงกดดันการลดอัตราดอกเบี้ยมีน้อยลง กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ เรายังแนะนำให้ทยอยขายทำกำไร หากตลาดมีการรีบาวน์ โดยกลุ่มที่แนะนำให้ขายทำกำไรประกอบด้วย กลุ่มธนาคาร รับเหมาก่อสร้าง โรงแรมและการท่องเที่ยว พลังงาน&ปิโตรเคมี เนื่องจากเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายการขายของนักลงทุนต่างประเทศ ในขณะที่เราแนะนำ ซื้อ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาทหลังค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือนและมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อ อย่างกลุ่มอิเล็คโทรนิคส์ (KCE DELTA SVI) กลุ่มอาหาร (CPF TU GFPT) และหุ้น defensive play ที่น่าจะเป็นเป้าหมายของการพักเงินรอตลาดปรับฐานในรอบนี้ที่ให้อัตราเงินปันผลสูงอย่าง ADVANC (yield 6.4%, ราคาเป้าหมาย 184 บาท), INTUCH (7.5%, เป้าหมาย 60 บาท), LH (6.8%, เป้าหมาย 9.75 บาท), JASIF (9.8%, เป้าหมาย 11 บาท) โดยวันนี้เราให้แนวรับที่ 1374-1380 และแนวต้านที่ 1390-1395 จุด

Analysts : Kiatkong Decho +662 657-9236 [email protected]
บล.ซีไอเอ็มบี : Trend Spotter(PM)

Morning Market Summary...
SET ช่วงเช้าปิดที่ 1,381.15 จุด ลดลง 4.71 จุด (-0.34%) มูลค่าการซื้อขาย 17,163.73 ล้านบาท หุ้นไทยเช้านี้ปรับลง แต่ดัชนียังไม่หลุด 1380 จุด ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่หนุน ด้านตลาดภูมิภาคแกว่งบวก-ลบ นักลงทุนยังจับตาสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงทิศทางราคาน้ำมัน

Afternoon Perspective...
      แนวโน้มตลาดบ่าย ภาพรวม SET มีสัญญาณขายหลายสัญญาณ คือ 1) ค่าเงินบาทกลับมามีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด 2) การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในประเทศไทย เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น เหล็ก ปูน รวมถึงภาวะภัยแล้งก็มีส่วนทำให้ราคาสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ ซึ่งจะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง 3) ทางเทคนิค SET ปรับตัวลงหลุดแนวรับในกรอบแนวโน้มขาขึ้นที่ 1390 จุดลงมา รวมถึงเกิดสัญญาณ Bearish Divergence (ดูเพิ่มที่ weekly idea) ทำให้ระยะสั้นเกิดสัญญาณขายและมีโอกาสปรับตัวลงต่อ ซึ่งในกรณีที่ไม่สามารถปรับตัวกลับไปยืนเหนือระดับ 1390 จุดได้ มีอากาสที่ SET จะปรับตัวลงต่อไปที่ระดับ 1352 จุด และ 1327 จุด โดยจะยืนยันสัญญาณขายถ้า SET ปรับตัวหลุดต่ำกว่าระดับ 1380 จุดลงไป และ SET จะเข้าสู่ภาวะตลาดหมี ระยะสั้นจำเป็นต้องลดพอร์ตลง โดยเฉพาะถ้า SET เกิดเทคนิเคลรีบาวน์กลับไปใกล้บริเวณ 1395 จุด ส่วนกลยุทธ์ในช่วงนี้จะยังเน้นการเล่นรอบทำกำไรและลงไปในหุ้นกลาง-เล็ก รายตัว ซึ่งหลักๆจะเน้นหุ้นกลุ่มส่งออก ซึ่งจะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง โดยจากมมุมองดังกล่าวเราชอบหุ้น DELTA (รับ 60 บาท, ต้าน 66 บาท) ,SVI (รับ 4.84 บาท, ต้าน 5.05 บาท),TU(รับ 21.50 บาท, ต้าน 23 บาท), TWPC (รับ 7.00, 7.30 บาท, ต้าน 7.60 บาท), GFPT รับ 11.80 บาท, ต้าน 12.50 บาท), TASCO (รับ 24.50 บาท, ต้าน 25.25 บาท)

Technical Pick (PM) & Cash Balance...
Minor International (MINT TB; THB 38.75) - ซื้อ
Samart Corporation (SAMART TB; THB 15.30) - ซื้อ

Analysts :
Teerawut Kanniphakul +66(2) 657 9233 - [email protected]/ [email protected] 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!