WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asiawealthบล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook

 

ขึ้นดอกเบี้ย Fed ป่วนตลาด
  คาดว่า SET จะซื้อขายลดลงในวันนี้สอดคล้องกับตลาดเอเชียส่วนใหญ่ที่เปิดลบในเช้านี้ เพราะรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐทำให้ Fed มีเหตุผลที่จะขึ้นดอกเบี้ยได้มากขึ้น เจ้าหน้าที่ Fed ก็เห็นว่าน่าจะขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นใน มิ.ย. หรือ ก.ค. อย่างไรก็ดี ขาลงยังจำกัดด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นซึ่งหนุนหมวดพลังงาน ข่าวในประเทศไม่ได้มีประเด็นสำคัญและไม่น่าจะสวนกระแสลบของโลกได้

หุ้นเด่นวันนี้ : GLOBAL (ราคาปิด 11.80 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย AWS ปี 59 13.30 บาท)
 บมจ. สยามโกลบอลเฮ้าส์ เป็นหุ้นแนะนำวันนี้ เนื่องจากเป็นหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของจีดีพีและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐซึ่งรวมถึงโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ GLOBAL ยังมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่องโดยจะเปิดสาขาภายในประเทศเพิ่มอีก 8-12 สาขาในปีนี้และบริษัทคงมองหาการลงทุนในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งยังล้าหลังในโครงสร้างพื้นฐานอยู่มาก ในไตรมาส 1/59 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายและอัตรากำไรปรับตัวดีขึ้นอย่างน่าประทับใจโดยหลักเป็นผลจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมถึง 2.5% ดีขึ้นจาก 0.4% ในไตรมาส 1/58, การเปิดหกสาขาใหม่ในปีที่แล้ว และผลจากการที่บริษัทประสบความสำเร็วในการปรับกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าสินค้าเฮ้าส์แบรนด์และสินค้านำเข้าที่ให้อัตรากำไรที่สูงกว่า ปัจจัยเชิงบวกเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัทในช่วงที่เหลือตลอดทั้งปีนี้ เราประมาณการกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้จะเติบโต 23% และเติบโตชลอลงเป็น 11 % ในปี 60 สำหรับรูปแบบราคาของ GLOBAL ขณะนี้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างแข็งแกร่งโดยเกิดสัญญาณซื้อทั้งรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน หากราคาสามารถปิดตลาดเหนือ 12.00 บาทซึ่งเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่งได้ ราคาหุ้นน่าจะปรับตัวขึ้นไปเพื่อทดสอบเป้าหมายถัดไปที่ 13.30 บาท และ 14.70 บาท ตามลำดับ โดยมีจุด Stop Loss อยู่ที่ 11.40 บาท(แนวต้าน: 11.90, 12.00, 12.20; แนวรับ: 11.70, 11.60, 11.40)

ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
  ภัยแล้งทำราคาข้าวพุ่ง ก.พาณิชย์ระบุว่าราคาข้าวอยู่ในช่วงขาขึ้นเนื่องจากอุปทานของโลกต่ำลงรวมถึงสภาวะภัยแล้งที่คาดว่าจะกระทบผู้ผลิตหลักทั้งอินเดียและเวียดนาม จากอุปทานต่ำลงดังกล่าวทำให้การประมูลข้าวของรัฐบาลล่าสุด 1.2 ล้านตันค่อนข้างคึกคักด้วยผู้ประสงค์จะซื้อข้าว (Bangkok Post)
  กสทช. เดินหน้าประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ แม้จะมีแค่ ADVANC (159.50 บาท, ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 195.00 บาท) เข้าร่วมประมูล หุ้น ADVANC พุ่งขึ้นไป 13 บาทแตะ 159.50 บาทและติดอันดับมูลค่าซื้อขายสูงสุด (Bangkok Post) ความเห็น: แนวโน้มเป็นผลบวกต่อ ADVANC ตามที่เราคาด เนื่องจากน่าจะได้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ราคาต่ำสุดของการประมูลโดยไม่มีคู่แข่งคือ 7.565 หมื่น ลบ. และจากการที่บริษัทมีฐานลูกค้าใหญ่กว่าทำให้ต้นทุนค่าคลื่นต่อเลขหมายต่ำกว่าด้วย โดย TRUE มีต้นทุนรายปีอยู่ที่ 25 บาท ต่อเลขหมายต่อ 1 เมกะเฮิร์ตของแบนด์วิธ ในขณะที่ ADVANC จะอยู่ที่ 17 บาทคิดจากราคาที่น่าจะชนะประมูล นับว่าต่ำกว่าต้นทุนของ TRUE มาก แม้จะใช้สมมติฐานเชิงอนุรักษ์นิยมว่าช่วงคลื่นของ ADVANC 10 เมกะเฮิร์ตซ์จะใช้ได้แค่ 7.5 เมกะเฮิร์ตซ์ก็ตาม เราคงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 195 บาท
  ภาษีจูงใจเพื่อให้บริษัทจ้างแรงงานผู้สูงอายุ รมว.กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาการให้ภาษีจูงใจแก่บริษัทที่จ้างแรงงานสูงอายุเพื่อช่วยลดภาระทางการคลังในอนาคตในการดูแลผู้สูงอายุจากการเข้าเริ่มเข้าสังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ รายละเอียดของผลประโยชน์ทางภาษียังไม่ได้รับการเปิดเผย (Bangkok Post)
     น้ำมันไบโอดีเซล บี10 อาจนำมาใช้ภายในปี 61 ตามข้อมูลสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้กำหนดนโยบายได้เตรียมผลักดันการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี10 ซึ่งมีส่วนประกอบน้ำมันปาล์ม 10% และ น้ำมันดีเซล 90% ภายในปี 61 แผนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือกให้ถึง 30% ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายใน 2-3 ปีข้างหน้า เพิ่มจากปัจจุบันอยู่ที่ 12% นอกจากนี้ สำนักฯ ยังกำลังพิจารณามาตรการภาษีจูงใจผู้ขับรถยนต์ในใช้บี 10 ด้วยเช่นกัน (Bangkok Post)
  BTS (9.05 บ., ซื้อ, ราคาเป้าหมาย AWS ปี 59 10.00 บ.) ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้ง A (tha) จากฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ด้วยมุมมองคงที่ สนับสนุนจากการดำเนินงานของบริษัทที่อยู่ในพื้นที่ยุทธ์ศาสตร์ของกรุงเทพและยังมีรายได้จากธุรกิจโฆษณาที่สม่ำเสมอ (Bangkok Post)

ต่างประเทศ
  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสหรัฐเพิ่มขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันอังคาร หลังจากมีข้อมูลราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ผลักดันให้เทรดเดอร์คำนวณรวมว่ามีโอกาสมากขึ้นที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีเพิ่มขึ้น 0.04% จากเมื่อวันจันทร์อยู่ที่ 0.823% ราคาพันธบัตรอ้างอิงอายุ 10 ปี ลดลง 2/32 ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.760% เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากวันจันทร์ โอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 20% จากก่อนหน้านี้ที่ 5% (Reuters)
  ดอลลาร์สหรัฐซื้อขายทรงตัวเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน หลังจากเทรดเดอร์กังวลว่าข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐประจำเดือนเม.ย. ที่แข็งแกร่งจะดันให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น และมีความไม่แน่นอนก่อนการประชุม G7 ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับเงินยูโรหลังมีข้อมูลราคาผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ในเดือนเม.ย. โดยเงินยูโรแตะระดับต่ำสุดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1303 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)
  การประชุมของผู้นำทางการเงินในกลุ่ม G7 ในช่วงสุดสัปดาห์นี้อาจก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้ง ในประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่นโยบายการคลังและนโยบายเกี่ยวกับสกุลเงินภายในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว นาย Jack Lew รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด และนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบี จะเข้าร่วมประชุมผู้นำทางการเงินในกลุ่ม G7 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเซ็นได ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 20-21 พ.ค. นี้ ญี่ปุ่นล้มเหลวในการเชื่อมความแตกต่างกับสหรัฐในเรื่องเงินเยน เนื่องจากสหรัฐไม่สนใจต่อความกังวลของญี่ปุ่นว่าการแข็งค่าของเงินเยนในช่วงไม่นานมานี้มากเกินไปและผลักดันข้อตกลงแทนการแทรกแซงค่าเงินเยน (Reuters)

สหรัฐ :
  ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดลดลงเมื่อวันอังคาร จากความคาดหวังเพิ่มขึ้นว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้หลังจากราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 3 ปีในเดือนเม.ย. นอกจากนี้หุ้นโฮม ดีโปท์ ฉุดตลาดหลังจากราคาหุ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แม้ว่าผลประกอบการไตรมาส 1/59 ดีกว่าที่คาด (Reuters)
  ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 3 ปีในเดือนเม.ย. เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงและค่าเช่าเพิ่มขึ้น ชี้ว่าเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดัชนี CPI สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4% MoM ในเดือนเม.ย. หรือ 1.1% YoY หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% MoM หรือ 0.9% YoY ในเดือนมี.ค. นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.3% MoM และเพิ่มขึ้น 1.1% YoY ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (core CPI) ซึ่งไม่รวมอาหารและค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.2% MoM หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนมี.ค. ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักเพิ่มขึ้น 2.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมี.ค. เฟดตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ 2% และปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.6% (Reuters)
ความเห็นเป็นไปในทางขึ้นดอกเบี้ย ผู้ดำเนินนโยบายของ Fed รายหนึ่งระบุว่าจะผลักดันให้ขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค. และอีก 2 คนเห็นว่าดอกเบี้ยน่าจะขึ้นได้มากสุดถึง 3 ครั้งในปีนี้ เปิดทางให้ปรับทิศนโยบายการเงินในเร็วๆ นี้ (Reuters)
  การสร้างบ้านใหม่ในสหรัฐปรับตัวขึ้นกว่าคาดใน เม.ย. เพราะผู้ผลิตเริ่มเพิ่มการก่อสร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวและหลายครอบครัว หนุนมุมมองว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาในไตรมาส 2/59 โดยตัวเลขสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 6.6% คิดเป็นตัวเลขรายปีปรับผลของฤดูกาลเท่ากับ 1.17 ล้านยูนิต ตัวเลขเดือน มี.ค.ปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.1 ล้านยูนิตจากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 1.09 ล้านยูนิต นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้น 1.13 ล้านยูนิตในเดือนที่แล้ว (Reuters)
  ตัวเลขการให้ใบอนุญาตก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 3.6 % เป็น 1.12 ล้านหน่วย ในเดือนเมษายน 2559 ใบอนุญาตสำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ของครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น 1.5 % ในเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารหลายครอบครัว สูง 8.0 %

ยุโรป :
  หุ้นยุโรปคงที่วันอังคาร ด้วยบริษัทที่เป็นบวก เช่น Vodafone ตามด้วยประเด็นบวกล่าสุดและการวิ่งขึ้นของหุ้นเหมืองแร่ที่กลบภาคยานยนต์ที่อ่อนแอลง (Reuters)

เอเชีย :
  เศรษฐกิจของญี่ปุ่นรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาส 1/59 โดยขยายตัว 1.7 % YoY จากการส่งออกและวันทำงานใน ก.พ. เพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน เทียบกับประมาณการตัวเลขเบื้องต้นของ GDP คาดขยายตัวที่ 0.2 % ในการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ สำนักข่าวรอยเตอร์ โดยมีการแก้ไขเป็น 1.7 % YoY ใน 4Q58 ถือว่าหลบการหดตัวมาได้สองไตรมาสติดต่อกันแล้ว เลี่ยงเกิดภาวะถดถอยตามนิยามทางเทคนิคได้ เทียบแล้วก็ยังมีเศรษฐกิจขยายตัว 0.4 % ในไตรมาส 1/59 (Reuters)
  หุ้นจีนปรับตัวลดลงในวันอังคารท่ามกลางความกังวลว่าปักกิ่งอาจลดการกระตุ้นทางการเงิน ในขณะที่จะก้าวไปการปฏิรูปทางโครงสร้างและทางการเงินแทน แม้ในขณะที่ เศรษฐกิจต้องการการฉุดให้ดีขึ้น ประธานาธิบดี สีจิ้นผิงกล่าวเมื่อวันจันทร์ ว่าจีนจะผลักดัน การปฏิรูปด้านอุปทาน หลังจากที่ ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังสำหรับเดือนเมษายน ประกาศ การออกมาประกาศนี้ก่อให้เกิดความผิดหวัง หลังจากคาดหวัง ว่าปักกิ่งคงต้องใช้การกระตุ้นทางการเงิน กระตุ้นการเติบโต (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์ :
  ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่สองในวันอังคารกับ ฟิวเจอร์ส ของสหรัฐ ปรับขึ้นสูงสุดในรอบเจ็ดเดือน บนความคาดหวังของการลดลงของสต๊อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯ และไฟป่าเป็นภัยคุกคามใหม่ในการผลิตน้ำมันของ แคนาดา WTI เพิ่มขึ้น 59 เซนต์ (+ 1.0 % ) เป็น 48.31 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบเบรนท์ ปิด เพิ่มขึ้น 31 เซนต์ปิด ที่ 49.28 เหรียญฯ สูงสุดในรอบหกเดือน มาอยู่ที่ 49.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (Reuters)
  ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในวันอังคาร รีบาวด์จากการลงไปก่อนหน้านี้ หลังจากที่เงินดอลลาร์ปรับตัวลดลงและตลาดหุ้นปรับตัวลง ส่งแรง กระตุ้นไปสู่การซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยของโลหะมีค่า เช่น ทองคำ โดยปรับตัวขึ้น 0.4 % สูง ที่ 1,278.7 เหรียญฯ ต่อออนซ์ โกลด์ฟิวเจอร์ สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.55 % อยู่ที่ 1,281.20 เหรียญฯ ต่อออนซ์ (Reuters)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!