- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 13 May 2016 17:53
- Hits: 1429
บล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Market View : ผันผวน ..ชวนเล่นสั้น
Stock of the town : CHOW SPA
หุ้นแนะนำพิเศษ : CPN
หุ้นมีข่าว : PTT BCP BEM CPF PS ANAN
SET วานนี้ปรับตัวขึ้นแรงจากแรงซื้อกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีหลังจากราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นยืนเหนือ 45 USD/Barrel ประกอบกับแรงซื้อเก็งกำไรงบ Q1/59 หนุนให้ SET ปิดที่ 1,399.31 จุด (+16.90 จุด) Vol. 4.3 หมื่นลบ. โดย Foreign Net -879 ลบ. , Net TFEX +9,166 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
+ MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออก ในการคำนวนดัชนี ซึ่งจะมีผล 31 พค 59
MSCI Global Standard Index (หุ้นเข้า) ROBINS EGCO (หุ้นออก) ไม่มี
MSCI Global Small Cap index (หุ้นเข้า) DNA GL S
(หุ้นออก) EFORL SAMART SRICHA SAT TIPCO TTCL
+ ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นล่าสุด 46.1 USD/Barrel หลังจาก IEA เพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันทั่วโลก Q1/59 ขึ้นสู่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากความต้องการที่สูงขึ้นในประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย
- ตลาดหุ้น DJ +9.38 จุด หลังจากตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 294,000 ราย รวมถึงเฟดสาขาบอสตันสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ธปท.ชี้แนวโน้มการเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อการลงทุน ภัยแล้งในประเทศกระทบส่งออก
- เงินบาทอ่อนค่าลงล่าสุด 35.3 Bath/USD กดดันต่อ Fund Flow รวมถึง Foreign Net Sell 5 วันราว 6.4 พันลบ.
ภาวะตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวก/ลบคละเคล้า โดยราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเป็นบวก แต่ถูกปัจจัยลบจาก Fund Flow ต่างชาติ Net Sell หุ้น 5 ต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นแรงกดดัน ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,390 - 1,410 จุด
** 16 พ.ค. ครบกำหนดส่งงบการเงิน Q1/59 ของบริษัทฯ
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำรอซื้อเล่นรีบาวด์ช่วงอ่อนตัวแบบ Selective Buy
- ราคาน้ำตาลดีดตัวขึ้นล่าสุด 17.2 USD/Ton
- กลุ่มเหล็ก ราคาเหล็กรีดร้อน +53% YTD ล่าสุด 568 USD/Ton (ทั้งนี้ TSTH BSBM SAM CSP ประกาศงบพลิกมีกำไร)
- หุ้นที่คาดว่ากำไร Q1/59 เติบโต AOT EPG SMT
*** คาดการณ์วันประกาศงบ 13 พ.ค. RATCH QTC TPBI / 16 พ.ค. CK
หุ้นแนะนำพิเศษ
CPN ราคาปิด 55.25 บาท ราคาพื้นฐาน 65 บาท
ผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีกให้เช่าที่มีแผนเปิดสาขาใหม่ต่อเนื่องปีละ 2-3 แห่ง
คาดกำไรปี 59 เติบโตราว 15% เป็น 9.8 พันลบ. จากการรุกธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่อขาย
ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างสาขาในประเทศ 3 แห่งที่จ.นครศรีธรรมราช จ.นครราชสีมา และจ.ภูเก็ต เฟส 2 และที่ต่างประเทศคือมาเลเซีย 1 สาขา ปี 61 จะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อขายในทำเลใกล้กับศูนย์การค้าสาขาเชียงใหม่ ระยอง และขอนแก่น
หุ้นมีข่าว
PTT (ราคาปิด 305 ราคาเหมาะสม 322) รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1 ที่ 2.37 หมื่นล้านบาทสูงกว่าที่เราไว้ เพิ่มขึ้น 5 %YoY และเพิ่มขึ้น 12,422%QoQ
BCP (ราคาปิด 29.75 ราคาเหมาะสม 36.00 ) รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1 ที่ 46.6 ล้านบาทดีกว่าที่เราคาดไว้ว่าจะรายงานขาดทุนลดลง 95 %YoY แต่เพิ่มขึ้น 125%QoQ
BEM (ราคาปิด 6.35 ราคาเหมาะสม 5.70) รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1 ที่ 702 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 22%YoY แต่ลดลง 29%QoQ
ประเด็นบวกกลุ่มรับเหมา – ครึ่งปีหลัง 2559 หลังรัฐไฟเขียวลงทุนต่อเนื่อง ล่าสุดอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 2.4 แสนล้านบาท
CPF (ราคาปิด 28 ราคาเหมาะสม consensus เฉลี่ย 28) 1Q59 มีกำไรสุทธิ 3,764 ลบ. +27%yoy แม้มีรายได้ 105,513 ลบ. +10%yoy แต่มาร์จิ้นปรับดีขึ้นเป็น 15.6% จาก 12.6% ใน 1Q58 ซึ่งมีปัจจัยหลักจากธุรกิจสัตว์น้ำที่ฟื้นตัวดีมากเติบโต 23% ฟาร์มกุ้งไม่มีปัญหาโรค EMS ทำให้ supply ปรับดีขึ้น EBITDA มาร์จิ้นเพิ่มขึ้นเป็น 9.5% จาก 5.2% ใน 1Q58 และมีอัตรากำไรสุทธิปรับดีขึ้นเป็น 3.6% จาก 3% ใน 1Q58แนวโน้มในอนาคตยังดีต่อเนื่อง จากราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจสัตว์น้ำที่พลิกฟื้น โดยจะเห็นการเติบโตแบบ inorganic (ซื้อกิจการ)เมื่อมีโอกาส ตั้งเป้าเพิ่มส่วนยอดขายตปท.จากปัจจุบัน 60% เป็น 70% เชื่อว่านักวิเคราะห์มีแนวโน้มปรับเพิ่มปรับประมาณการและราคาเหมาะสม
PS (ราคาปิด 25 ซื้อ ราคาเหมาะสม 36) แจ้งกำไร 1Q59 เท่ากับ 744 ลบ. เพิ่มขึ้น 33%yoy แต่ลดลง 43%qoq จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใน 4Q58 ปลายมี.ค.59 มียอดขายรอโอน (backlog) 2.5 หมื่นลบ. และคาดจะโอนภายในปลายปีจำนวน 1.44 หมื่นลบ. ผู้บริหารแจ้งใน analyst meeting ว่าได้ปรับเป้ารายได้เพิ่มจากเดิม 5.2 หมื่นลบ.เป็น 5.3 หมื่นลบ.
ANAN (ราคาปิด 3.40 ราคาเหมาะสม consensus เฉลี่ย 46) ผู้บริหารเปิดเผยในงานanalyst meeting ว่า 1Q59 มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 2,179 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 34% และเพิ่มขึ้น 81%yoy มีกำไรสุทธิ 149 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 102%y ขณะที่ยอดขายโอน(backlog) ณ สิ้น 1Q59 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 38,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนที่จะโอนภายในปลายปีนี้ 9,543 ล้านบาท จึงปรับเพิ่ม 0.4% โดยมีเป้ารายได้ 15,000-16,000 ล้านบาท
MSCI ประกาศหุ้นเข้า/ออกในการคำนวณดัชนี MSCI Global Standard Index หุ้นเข้า - ROBINS EGCO หุ้นออก – ไม่มี MSCI Global Small Cap index หุ้นเข้า - DNA GL S หุ้นออก EFORL SAMART SRICHA SAT TIPCO TTCL มีผลในวันที่ 31 พ.ค. 59
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : +9.38 จุด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,720.50 จุด เพิ่มขึ้น 9.38 จุด หรือ +0.05% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,737.33 จุด ลดลง 23.36 จุด หรือ -0.49% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,064.11 จุด ลดลง 0.35 จุด หรือ -0.02% ขณะที่ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดอ่อนแรงลงหลังจากหุ้นแอปเปิลดิ่งลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของยอดขายไอโฟน
ตลาดน้ำมัน NYMEX : +0.47 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 46.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันดิบทั่วโลกจะฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังคงขานรับรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว
ปัจจัยบวก
(+) ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติเอกฉันท์ 9-0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ใน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ BoE ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์
ปัจจัยลบ
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 294,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 7 พ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ของปีที่แล้ว
(-) ยุโรป เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนมี.ค. ปรับตัวลดลง 0.8% จากเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการร่วงลงอย่างหนักติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนยังคงซบเซา
(-) ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ สู่ระดับ 2.0% จากเดิมที่ 2.2% ส่วนในปี 2017 มีการปรับลดลงสู่ระดับ 2.3% จากระดับ 2.4% และในปี 2018 มีการปรับลดลงสู่ระดับ 2.3% จากระดับ 2.5%
(-) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสตัน กล่าวว่า ตลาดการเงินกำลังประเมินต่ำเกินไปเกี่ยวกับช่วงจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และมองในแง่ลบมากเกินไปเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ
(-) ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้แนวโน้มการเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อการลงทุน ภัยแล้งในประเทศกระทบส่งออก พร้อมปรับเป้า GDP หลังเศรษฐกิจโลกผันผวน ยันกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อมีความยืดหยุ่น
(-) ทริสฯ ระบุเศรษฐกิจปีนี้ยังอ่อนแรงคาดโตได้แค่ 2.7-3% จากปัจจัยเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่ำและภัยแล้ง กลุ่มที่รับผลกระทบได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ที่อยู่อาศัย รถยนต์ เกษตร
(-) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 59 เหลือเติบโต 3% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3.5-4% โดยปัจจัยลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ได้แก่ ภัยแล้งยาวนาน หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
เดือนพ.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจเตรียมเสนอที่ประชุมครม. พิจารณาการออกกฎหมายพิเศษสำหรับควบคุมการปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยจะมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยเงินกู้นอกระบบ
11-13 พ.ค. กระทรวงคมนาคมหารือโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 10
16 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 1/59
16 พ.ค. กำหนดวันสุดท้ายของบจ.ในการส่งงบการเงิน 1Q59
19 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ-เปิดยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวครั้งที่ 3/2559 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน
สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม / ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
23 พ.ค. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เริ่มจัดส่งร่างรธน.
26 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
27 พ.ค. กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รอบใหม่ กำหนดราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท
สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
31 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
20-21 มิ.ย. ยื่นซองประมูลสุวรรณภูมิเฟส 2
6 ส.ค. รถไฟฟาสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เปิดให้บริการ
7 ส.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (คสช.ต้องเตรียมหาทางออกหากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ โดยจะหยิบรธน.ปี 40 หรือ 50 ฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ไม่ได้)
ผลของประชามติมีแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ
1) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ ลำดับต่อไปคือปรับแก้บทเฉพาะกาลในร่างรธน.ให้สอดคล้องคำถามพ่วงประชามติ
2) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ก็ต้องตกไป ทำให้กรธ.พ้นสภาพต้องหาผู้ดำเนินการร่างใหม่
3) หากร่างรธน.ไม่ผ่านแต่คำถามพ่วงฯผ่าน ผู้ร่างรธน.คนต่อไปต้องคำนึงถึงเสียงของประชาชนจากการลงประชามติครั้งนี้ด้วย
ต่างประเทศ
13 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย./ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย./ ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย./ สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค./ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.
อียู / เยอรมนี เปิดเผยจีดีพี ไตรมาส 1/2559
14 พ.ค. จีนเปิดเผยยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนเม.ย./ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย./ ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.
16 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนพ.ค./ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.
ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
17 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน-การอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย./ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย./อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเม.ย./ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.
อียูเปิดเผยดุลการค้าเดือนมี.ค.
ญี่ปุ่นเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.
18 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์
อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.
จีนเปิดเผย ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย.
ญี่ปุ่นเปิดเผยประมาณการ GDP Q1/59/การผลิตภาคอุตสาหกรรมมี.ค.
19 พ.ค. (ช่วงเช้า) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมของวันที่ 26-27 เม.ย.
14 – 15 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ตลาดให้น้ำหนักของโอกาสที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. เพียง 13%
23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติ (Brexit) ว่า “อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดการเงินโลก ทั้งนี้ S&P สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าชาวอังกฤษจะลงประชามติเห็นชอบต่อการอยู่ใน EU ด้วยคะแนนเสียงที่ชนะอย่างฉิวเฉียด และเตือนว่าความเสี่ยงในการถอนตัวออกจาก EU จะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือของอังกฤษ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU กล่าวว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 10 ปี หลังออกจาก EU จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าอยู่ใน EU ต่อไปในสัดส่วน 4% เนื่องจากอานิสงส์ต่างๆจากอัตราภาษีที่ลดลงสำหรับการนำเข้าจากนอก EU
8 พ.ย. กำหนดเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
Analyst : วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์