- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 12 May 2016 19:06
- Hits: 692
บล.เคทีซีมิโก้ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
สรุปภาวะตลาดวันทำการก่อนหน้า
ตลาดหุ้นไทย ปิดลบ โดยอ่อนตัวแรงในช่วงบ่าย ตามตลาดหุ้นยุโรปที่เปิดตลาด แดนลบ จากการขายทำกำไรหลังวันก่อนพุ่งแรงรับข่าวบวกเรื่องเจรจาหนี้กรีซ ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบตามรายงานผลกำไรบจ. กลุ่มค้าปลีก อ่อนแอ ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เปิดลบตามตลาดสหรัฐ, และดอลล์กลับมาอ่อนค่า
คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้
คาดดัชนีฯ อ่อนตัว ทดสอบแนวรับ 1380/1370 จุด แนวต้าน 1395 จุด ความผันผวนของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รายงานผลกำไรบจ. ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มผันผวนในกรอบจำกัด และเลือกลงทุนหุ้น Eai Play มากขึ้น ปัจจัยลบ คือ แรงขายต่างชาติที่มีต่อเนื่อง และพอร์ต โบรกเกอร์เริ่มขายทำกำไร (YTD พอร์ตโบรกเกอร์ยังมียอดซื้อสุทธิอยู่สูงถึง 1.25 หมื่นล้านบาท, ต่างชาติ 8.2 พันล้านบาท) เพราะวิตกต่อ Sell i May ส่วนปัจจัยบวกจะมาจากการกลับมาอ่อนค่าของดอลลาร์หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เราคาดว่า หุ้นขนาดเล็ก-กลาง จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นบลูชิพในช่วงนี้ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโตดีขึ้น
สัญญาณเทคนิคระยะสั้น อ่อนแอลง แต่ยังเคลื่อนไหวในกรอบ 1380-1432 จุด หากต่ำกว่า 1380 จุดลงไปจะเป็นสัญญาณขาย ยืนยันการปรับฐานรอบใหญ่
ประเด็นสำคัญวันนี้
1) + ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าวานนี้ ส่งผลดอลลาร์อ่อนค่าลง และหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดย WTI ปิดบวก 3.5% ที่ 46.23 ดอลลาร์/บาร์เรล ประกอบกับได้ แรงหนุนจาก EIA รายงานสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง 3.4 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 540 ล้านบาร์เรล
2) หุ้นที่ประกาศงบวานนี้
+ดีกว่าตลาดคาด QH TICON RS GLOBAL IVL ANAN BEAUTY NYT
-แย่กว่าตลาดคาด MCOT MONO BKD CKP TWPC JWD
ใกล้เคียงตลาดคาด (+/-5%) BJC ROBINS EASTW PS CPALL TTW PTTGC ICHI COM7 VGI (ดูตารางประกอบในเล่ม)
เติบโตสูง YY (>20%) QH LRH UPOIC GOLD BAFS PS TICON MATCH RS TYCN TOG ACAP GLOBAL IVL BKD ANAN BEAUTY XO COM7 (ดูตารางประกอบในเล่ม)
3) ผลการประชุมกนง. วานนี้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.50% ตามที่ตลาดคาด
4) วันนี้จับตาผลการประชุม BE คาดคงนโยบายการเงิน
กลยุทธ์
Selective Buy เพื่อรอขายเหนือ 1400 จุด (ตัดขาดทุนหาก<1380 จุด)
หุ้นแนะนำ
เก็งกำไรระยะสั้น (Trading Buy)
หุ้นกลาง-เล็กโมเมนตัมบวก TPIPL LIT GL SF BAFS ACAP
หุ้นแนะนำทางเทคนิค
BEM
ปิด 6.40 บาท +0.20 บาท (+3.23%)
ราคาขยับตัวขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 6.50 บาทแล้ว เท่ากับชี้ให้เห็นถึงความพร้อมของราคา และการขึ้นเพื่อทำ New Hih โดยราคายังคงมีนัยจะปรับตัวขึ้นไปได้อีก ก่อนที่ RSI จะเกิด Ovebuht
คำแนะนำ: ซื้อเก็งกำไร
แนวรับ: 6.10 / 5.65 บาท
แนวต้าน: 6.50 / 6.80 บาท
BANPU
ปิด 13.50 บาท +0.60 บาท (+4.65%)
ราคาจะฟื้นตัวขึ้นไปได้ไกล หากราคาผ่านแนวต้าน 14.40 บาท โดยมีสัญญาณ Psitive Diveece จาก RSI หนุน และ Vlume ที่หนาแน่น ในระยะสั้นจึงคงคาดว่าราคาจะขึ้นมาทดสอบแนวต้านได้เป็นอย่างน้อย
คำแนะนำ: ซื้อเก็งกำไร
แนวรับ: 12.80 / 11.50 บาท
แนวต้าน: 14.40 / 15.80 บาท
TPIPL
ปิด 2.58 บาท +0.12 บาท (+4.88%)
ราคาสามารถเด้งตัวขึ้นจากบริเวณแนวรับ พร้อมทั้ง Vlume ซื้อที่หนาแน่น จึงทำให้ราคามีความหวังที่จะดีดตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากผ่านแนวต้าน 2.64 บาทได้ ซึ่งอาจทำให้ราคาเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นได้ด้วย
คำแนะนำ: ซื้อเก็งกำไร
แนวรับ: 2.40 / 2.26 บาท
แนวต้าน: 2.64 / 2.90 บาท
ข่าวบริษัทจดทะเบียน และกลุ่มอุตสาหกรรม (ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)
TKN
TKN ปลื้มผลงานไตรมาส 1/2559 โตก้าวกระโดด 213% ทะลุ 160 ล้านบาท แถมโกยรายได้กว่า 1,018 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เตรียมสร้างโรงงานใหม่อัพกำลังการผลิตเพิ่ม รับไฮซีซั่นของการขายขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ชั้นนำในระดับเอเชียและโกลบอลแบรนด์ตามแผนที่วางไว้ ด้านกูรูส่องอนาคตไกล
PTT
PTT ร่อนงบไตรมาส 1/2559 วันนี้ (12 พ.ค. 59) ลุ้นกำไรพุ่ง 23,664 ล้านบาท หลังยอดขายน้ำมันเพิ่ม 7.5% บวกกำไรจากค่าเงินบาทช่วยหนุน ขณะแนวโน้ม 2/2559 ยังโตต่อเนื่อง ใส่เกียร์ขยายปั๊ม 1,600 แห่ง ด้วยงบลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท ฟาก PTTGC โชว์กำไร 4,707 ล้านบาท
AMC
AMC แย้มงบ Q1/2559 โตสดใส หลังราคาเหล็กพุ่งเกิน 20% แถมออเดอร์ท่อเหล็กกลุ่มยานยนต์ที่ให้มาร์จิ้นสูงเกิน 10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาร์จิ้นแค่ 1.74% ขานรับภาครัฐเข็นกฎหมายยุติตั้งโรงงานเหล็กแห่งใหม่หวังสกัดเหล็กล้นตลาด ส่วนมาตรา AD ช่วยเปิดช่องขยายตลาดสู่กลุ่มโมเดิร์นเทรด หุ้นต่ำบุ๊กแวลู 3.18 บาท ด้าน PAP Q1/2559 พลิกกำไรหลายเท่าตัว
KSL
KSL เด่นเข้าตากองทุนจ้องเก็บ ระบุพื้นฐานแกร่ง-น้ำตาลโลกฟื้น คาดชัดเจนเร็วๆ นี้ บิ๊ก "ชลัช ชินธรรมมิตร์" อัดฉีดงบ 1 พันล้านบาท อัพเกรดเครื่องจักร หวังลดต้นทุนดันมาร์จิ้นพุ่ง ด้านโบรกเกอร์ แนะ "เก็งกำไร" อนาคตไกล 5.10 บาท
SAPPE
SAPPE โดดรับไฮซีซันหนุนผลงาน Q2/2559 กระหึ่ม พร้อมการันตีปี 2559 รายได้พุ่ง 15% จากปีก่อน อานิสงส์พอร์ตลูกค้าโตต่อเนื่อง แถมล่าสุดปิดโรงงานที่บางชันชี้เซฟต้นทุนได้อื้อ ฟากนักวิเคราะห์แนะ "ซื้อ" เป้าหมาย 21.90 บาท ฟันธงโค้งแรกกำไรพอง 38%
BANPU
BANPU เล็งซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในจีน รวม 78.5 เมกะวัตต์ มูลค่าราว 93 ล้านดอลลาร์ จ่ายไฟกลางปี 2559 โบรกชี้การซื้อโรงไฟฟ้าช่วยสร้างโอกาสเติบโตในระยะยาว มากกว่าธุรกิจถ่านหินที่อ่อนตัวลง แนะนำ "ถือ" เป้าหมาย 14.20 บาท
THCOM
THCOM เริงร่าเผยไตรมาส 1/2559 กำไรสุทธิ 700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1/2558 ที่มีกำไรสุทธิ 540 ล้านบาท ด้าน "ไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์" ลั่นโกยรายได้จากการขาย-บริการของธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจอินเทอร์เน็ตและสื่อเต็มมือ แถมบริษัทในเครือหนุนฐานโตแกร่ง
DNA
บอร์ด DNA ไฟเขียวให้บริษัทย่อย "มายเน็ตเวิร์ค แอนด์ โซลูชั่น" ซื้อหุ้น 51% ใน AEK Sle C.,Lt. ปักหมุดลุยธุรกิจให้บริการด้าน ICT แบบครบวงจร ในสปป.ลาว ด้านผู้บริหาร "สามารถ ฉั่วศิริพัฒนา" ระบุวางเป้าขึ้นแท่น TOP3 ในสปป.ลาว ภายใน 2 ปี
IRCP
"IRCP" แง้มผลงานไตรมาส 1/2559 มีเซอร์ไพร์ส พุ่งทะลุเป้าที่ตั้งไว้ 50% หลังส่งมอบงานได้เพียบ แถมบุ๊กรายได้บริษัทลูกสิงห์คอมส่งซิกเตรียมคว้างานจากภาครัฐอีกหลายโปรเจ็กต์มูลค่าเฉียด 2 พันล้านบาท โบรกชี้ปีนี้ขึ้นแท่นปีทองของ IRCP หลังรุกหนักตั้งบริษัทย่อยหลายธุรกิจ หนุนรายได้-กำไรในอนาคตสดใสโบรกส่องต้าน 6.50 บาท
XO
XO มาตามนัด โชว์ผลงาน Q1/2559 กำไรโตสวย 56.46% แตะ 34.78 ล้านบาท นับเป็นไตรมาสที่ผลประกอบการดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ส่วนรายได้โตอยู่ที่ 221.12 ล้านบาท คาด Q2/2559 โตต่อเนื่องหลังเปิดเกมรุกธุรกิจ ขยายตลาดอย่างจริงจัง แถมออเดอร์จ่อเข้าเพียบ ครึ่งปีหลังอาจมีการปรับเป้ารายได้เพิ่ม
ข่าวเศรษฐกิจ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 11 พ.ค.59 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน แต่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศ
อย่างไรก็ดี ภาวะการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (plicy space) รวมทั้งยังต้องติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินโดยรวมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (seach f yiel)
คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างเพียงพอ และต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อดูแลภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ กนง. กล่าวว่า การคงอัตราดอกเบี้ย เพราะ กนง.เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทุกกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำยังหดตัว และการลงทุนภาคเอกชนยังยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัญญาณอ่อนแรงลง ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภัยแล้งที่ภาคเกษตรมีรายได้ที่ลดลง
"กนง.ยังคงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 59 ไว้ที่ 3.1% เท่ากับที่ประเมินไว้ครั้งก่อน แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัจจัยในประเทศ โดย กนง.ให้น้ำหนักไปที่ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่งผลต่อการบริโภค แต่เชื่อว่าภัยแล้งจะเริ่มคลี่คลายในเดือน พ.ค. ขณะที่นโยบายการเงินที่ผ่านมา ได้ผ่อนคลายไปมากแล้วการใช้นโยบายดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถช่วยการบริโภคและการลงทุนให้เพิ่มขึ้น"นายจาตุรงค์ กล่าว
นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเปราะบาง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งอาจไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเท่าที่ควร โดย กนง.ยืนยันได้ว่ามีเครื่องมือเพียงพอที่จะเข้าไปดูแลค่าเงินบาทในกรณีที่มีความผันผวน โดยเฉพาะกรณีจากความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินในประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น
นายจาตุรงค์ กล่าวว่า ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกในเดือน เม.ย. 59 ตามฐานราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและราคาอาหารสดที่เร่งตัวขึ้นชั่วคราว ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว ซึ่ง กนง.ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยปรับขึ้นตามผลของฐานราคาน้ำมันที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แต่ยังเผชิญความไม่แน่นอนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและอุปสงค์ในประเทศที่มีสัญญาณอ่อนแรงลง
ข่าวเศรษฐกิจ
สถาบัน If ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกได้สดใสขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสนี้ ทั้งนี้ ดัชนี If สำหรับเศรษฐกิจโลก ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 90.5 ในไตรมาส 2 จากระดับ 87.8 ในไตรมาส 1 และอยู่ใกล้ระดับ 96.0 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในระยะยาว
"ถึงแม้มุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้อ่อนแอลงเล็กน้อย แต่การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงกว่าไตรมาสที่แล้ว" นายคลีเมนส์ เฟสท์ ประธาน If กล่าว นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัว 2.0% ในปีนี้ และการฟื้นตัวจะอยู่ในระดับปานกลาง
ข่าวเศรษฐกิจ
นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า BOJ จำเป็นจะต้องรอต่อไปอีกหลายเดือน เพื่อดูผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นที่จะมีต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง อย่างไรก็ดี เขาเสริมว่า BOJ อาจผ่อนคลายนโยบายต่อไป หากมีความจำเป็น คำกล่าวของนายฮารุฮิโกะบ่งชี้ว่า BOJ ไม่มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายในระยะนี้
นายคุโรดะระบุก่อนหน้านี้ว่า BOJ จะไม่ลังเลที่จะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น เช่น หากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเกิดความผันผวนอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยน ข่าวเศรษฐกิจ นางโซลิตา มาร์เซลลี นักวิเคราะห์ของเจพีมอร์แกน ระบุว่า ราคาทองจะยังคงดีดตัวขึ้นในปีนี้ ขณะที่ทางบริษัทแนะนำให้ลูกค้าปรับโพสิชั่นรับภาวะกระทิงที่ยาวนานของทอง ทั้งนี้ หลังจากที่ปรับตัวลงติดต่อกัน 3 ปี ราคาทองก็ได้พุ่งขึ้นถึง 20% แล้วในปีนี้ และมีแนวโน้มว่าจะยังคงดีดตัวขึ้นต่อไป นางมาร์เซลลีคาดว่าราคาทองจะแตะ 1,400 ดอลลาร์/ออนซ์ในปีนี้
เขาระบุว่า จากการที่ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกพากันใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ จึงทำให้นักลงทุนหันเข้าซื้อทองในฐานะการลงทุนทางเลือก นางมาร์เซลลีคาดว่าทองจะยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าดึงดูด จากการที่นักลงทุน และธนาคารกลางเข้าซื้อเพื่อเป็นสินทรัพย์ประกันความผันผวนในตลาด
ความเห็นของนางมาร์เซลลีสอดคล้องกับทางโกลด์แมน แซคส์ ที่ประกาศปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยได้ผลบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ โกลด์แมน แซคส์ประกาศปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน และ 12 เดือนข้างหน้า สู่ระดับ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์, 1,180 ดอลลาร์/ออนซ์ และ 1,150 ดอลลาร์/ออนซ์ตามลำดับ จากระดับ 1,100 ดอลลาร์, 1,050 ดอลลาร์ และ 1,000 ดอลลาร์ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดี โกลด์แมน แซคส์เตือนว่า ราคาทองไม่มีช่องว่างมากนักที่จะปรับตัวขึ้นต่อไป เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสน้อยที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทั้งนี้ ราคาทองพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงต้นเดือนก.พ. ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2015 โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ขณะนี้ราคาทองได้ทรงตัวอยู่เหนือระดับ 1,250 ดอลลาร์ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ : ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270