- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 10 May 2016 17:55
- Hits: 3167
บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Market View : ผันผวนในกรอบ
Stock of the town : ABICO SANKO
Analyst Meeting : TCAP
หุ้นมีข่าว : GPSC TOP ADVANC SIRI
SET วานนี้ดีดตัวขึ้นเล็กน้อยจากแรงซื้อกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น รวมถึงแรงซื้อดักผลประกอบการ Q1/59 ที่กำลังทยอยประกาศ ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,394.14 จุด (+3.44 จุด) Vol. 4.3 หมื่นลบ. โดย Foreign Net -1,899 ลบ. , Net TFEX -4,214 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
+ ตลาดหุ้น DJ -34.72 ตามแรงขายกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมันทรุดตัวลงกว่า 2%
+ รมต.คลังยูโรโซนประชุมวันนี้ หวังบรรลุข้อตกลงเงินกู้งวดใหม่แก่กรีซ
+ สนง.สถิติจีนเผยดัชนี CPI เดือนเม.ย.ขยายตัว 2.3%
+ แรงซื้อดักผลประกอบการ Q1/59 ที่จะทยอยประกาศถึง 16 พ.ค.
- ราคาน้ำมันปรับตัวลงล่าสุด 43.1 USD/Barrel จากข่าวซาอุฯปลดรมต.กระทรวงน้ำมัน รวมถึงวิกฤตไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันจากชั้นทราย (oil sand) ในแคนาดา เริ่มบรรเทาลง
- Fund Flow ต่างชาติ Net Sell 2 วันราว 3.2 พันลบ. และ Short TFEX 1.6 หมื่นสัญญา
ภาวะตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นประกอบกับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลง และ Fund Flow ที่เป็น Net Sell หุ้น+TFEX อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีแรงซื้อดักงบ Q1/59 ช่วยพยุงดัชนีในช่วงอ่อนตัว ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,385 - 1,410 จุด
** 11 พ.ค. ติดตามการประชุมกนง. (คาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5%)
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำรอซื้อเก็งกำไรแบบ Selective Buy
- กลุ่มเหล็ก ราคาเหล็กรีดร้อน +53% YTD ล่าสุด 560 USD/Ton (ทั้งนี้ TSTH BSBM ประกาศงบพลิกมีกำไร)
- หุ้นที่คาดว่ากำไร Q1/59 เติบโต AOT BA AAV EPG CPF WORK SMT LPN PTG BJCHI COM7 TWPC TVD XO SPALI RICHY
*** คาดการณ์วันประกาศงบ 10 พ.ค. BCP BANPU KCE / 11 พ.ค. PTTGC / 12 พ.ค. PTT LPN / 16 พ.ค. CK
ประเด็นข่าวอื่น
- ROBINS EGCO มีโอกาสถูกเพิ่มเข้าสู่ดัชนี MSCI Thailand ที่จะประกาศในวันที่ 13 พฤษภาคม (ทันหุ้น)
- JAS ส่งคำเสนอซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไปหุ้นละ 5 บาทจำนวน 1,200 ล้านหุ้นระหว่าง 1 - 10 มิ.ย. 59
หุ้น Analyst Meeting
TCAP (ราคาปิด 34.25 บาท ราคา consensus เฉลี่ย 42 บาท)
- ผู้บริหารชี้แจงใน Analyst meeting ว่าคุณภาพสินทรัพย์ปรับดีขึ้นสวนกระแสของกลุ่มแบงก์ที่มี NPL เพิ่มขึ้น เนื่องจาก 1) NPL ที่ลดลงทำให้ NPL ratio ลดลงเหลือ 2.8% ใน 1Q59 เทียบกับระดับสูงสุดที่ 4.07% ใน 1Q58 2) รถยึดที่นำขายทอดตลาดมียอดขาดทุนลดลง 3) ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญในแต่ละไตรมาสทยอยลดลงต่อเนื่องจากระดับสูงสุดใน 2Q58 โดยมี Credit Cost ลดลงเหลือ 0.7% ใน 1Q59 จากระดับสูงสุด 0.9% ใน 2Q58
- ภาวะตลาดรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวทำให้สินเชื่อโดยรวม ณ ปลายเดือนมี.ค. 59 หดตัว 1.96%YTD ผู้บริหารยังคงเป้า loan growth ที่ 1 - 3% ตามเดิมโดยมีแผนจะปรับกลยุทธ์เข้าสู่ segment ที่มีแนวโน้มดีมีความปลอดภัยสูง
- กำไร 1Q59 เท่ากับ 1,350 ลบ. +5%YoY +1%QoQ จากสถานกาณ์ NPL ที่ปรับดีขึ้นทำให้แนวโน้มกำไรปี 59 น่าจะดีกว่าปี 58 ที่มีกำไรสุทธิ 5,437 ลบ.
หุ้นมีข่าว
- GPSC (ราคาปิด 30.75 ราคาเหมาะสม 30.70) รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/59 มีกำไรสุทธิ 871 ล้านบาท +64%YoY และ+ 160% QoQ เนื่องจากการการขายไฟฟ้าให้ลูกค้ารายใหม่ และ ความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มสูงในช่วงฤดูร้อน รวมทั้งบริษัทได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานของโรงไฟฟ้า (Plant optimization) เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย อีกทั้งรับรู้ปันผลจากราชบุรีเพาเวอร์อีก 180 ล้านบาทด้วย
- TOP (ราคาปิด 62 ราคาเหมาะสม 178) รายงานกำไรไตรมาส 1/59 ที่ 4.73 พันล้านบาท+26%QoQ และ +5%YoY
- ADVANC (ราคาปิด 151 ราคาเหมาะสม 68) รายงานกำไรไตรมาส 1/59 ที่ 8,072 ล้านบาท -25%QoQ และ -18%YoY จากรายได้ที่ลดลงและค่าใช้จ่ายในการขายและบริการที่เพิ่มขึ้นจากการอุดหนุนเครื่องโทรศัพท์มือถือจาก 2G มายัง 3G
- ประเด็นบวกกลุ่มรับเหมา - "รฟม." เร่งสรุปร่าง TOR รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง วงเงินรวม 1.05 แสนล้านบาท ย้ำมิ.ย.นี้ได้เปิดประมูลแน่นอน ประธานกรรมการมาตรา 35 ยอมรับลงนามไม่ทันปีนี้จริง แต่ไม่ใช่ความล่าช้า เพราะตาม Action Plan วางเป้าเซ็นสัญญาเม.ย. 2560
- SIRI (ราคาปิด 1.59 ซื้อ ราคาเหมาะสม 2 บาท) ผู้บริหารคาดยอดโอนแนวราบไตรมาส 1/59 พุ่งกว่า 3,000 ลบ. ด้านยอดขาย (Presale) ของโครงการแนวราบในช่วง Q1/59 อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ย้ำเป้ายอดโอน-ยอดขายแนวราบปี 59 โต 20% แตะ 14,000 ลบ. (ที่มา : ข่าวหุ้น)
ความเห็น : ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปกติในช่วง 1Q59 ราว 534 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ YoY และ QoQ ที่เป็นกำไรสุทธิแต่หากไม่นับรวมรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการขายที่ดินใน 1Q58 จะเห็นกำไรปกติ +288%YoY แต่ลดลง 73% จากระดับสูงสุดใน 4Q58 คาดผลประกอบการครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกและจะโดดเด่นใน 4Q59 หลังเปิดตัวคอนโดหรูที่ถ.วิทยุมูลค่า 8.5 พันลบ.ราวเดือนต.ค.และโอนบางส่วน
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -34.72 จุด
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 พ.ค.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,705.91 จุด ลดลง 34.72 จุด หรือ -0.20% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,750.21 จุด เพิ่มขึ้น 14.05 จุด หรือ +0.30% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,058.69 จุด เพิ่มขึ้น 1.55 จุด หรือ +0.08% หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงกว่า 2% ซึ่งฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานอ่อนแรงลงด้วย อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี NASDAQ และ S&P 500 ปิดในแดนบวก เนื่องจากตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด
ตลาดน้ำมัน NYMEX -1.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 2.7% ปิดที่ 43.44 ดอลลาร์/บาร์เรล จากข่าวที่ว่า รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ปลดนายอาลี อัล-ไนมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมัน หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะราคาน้ำมันตกต่ำ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า วิกฤตไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันจากชั้นทราย (oil sand) ในแคนาดา เริ่มบรรเทาลงแล้ว
ปัจจัยบวก
(+) เยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีในเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้น 1.9% ทำสถิติปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มประเทศนอกสหภาพยุโรป
(+) ยูโรโซน สถาบันวิจัย Sentix เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ปรับตัวขึ้นในเดือนพ.ค. โดยดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 6.2 จากระดับ 5.7 ในเดือนเม.ย.
(+) จีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ขยายตัว 2.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเดียวกับเดือนมี.ค.
ปัจจัยลบ
(-) จีน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดต้นทุนราคาสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวลง 3.4% เมื่อเทียบรายปี ในเดือนเม.ย.
(-) การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน เสร็จสิ้นแล้วโดยที่ประชุมยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้งวดใหม่ให้แก่กรีซ หลังจากที่บรรดารัฐมนตรียูโรกรุ๊ปได้ประชุมร่วมกันโดยเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
(-) ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงส่งผลลบเชิงจิตวิทยาในการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน
(-) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประเมินบรรยากาศด้านนโยบายในประเทศไทยยังไม่ดีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนอย่างมากทางการเมือง โดยครบรอบ 2 ปีหลังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 รัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นว่าจะปฏิรูปประเทศไปในทิศทางใด และแม้ว่าจะมีความคาดหวังเพียงเล็กน้อยที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจากโครงการสาธารณูปโภคและระบบการศึกษา คงมีเพียงบรรยากาศการลงทุนและความเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีถึงร้อยละ 3 เมื่อสิ้นปี 2558 ทั้งนี้ S&P ยังให้เครดิตประเทศไทย ที่ BBB+แนวโน้มคงที่มาตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 2558
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
- เดือนพ.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจเตรียมเสนอที่ประชุมครม. พิจารณาการออกกฎหมายพิเศษสำหรับควบคุมการปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยจะมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยเงินกู้นอกระบบ
- 10 พ.ค. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ / รถไฟฟ้าสายสีม่วงทดลองวิ่ง
- 11 พ.ค. กำหนดประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2559 (คาดกนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อรอประเมินผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ)
- 11-13 พ.ค. กระทรวงคมนาคมหารือโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 10
- 16 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 1/59
- 16 พ.ค. กำหนดวันสุดท้ายของบจ.ในการส่งงบการเงิน 1Q59
- 19 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ-เปิดยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวครั้งที่ 3/2559 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน
- สัปดาห์ที่ 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน / สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม / ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- 23 พ.ค. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เริ่มจัดส่งร่างรัฐธรรมนูญ
- 26 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
- 27 พ.ค. กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รอบใหม่ กำหนดราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
- 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
- 20-21 มิ.ย. ยื่นซองประมูลสุวรรณภูมิเฟส 2
- 6 ส.ค. รถไฟฟาสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เปิดให้บริการ
- 7 ส.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (คสช.ต้องเตรียมหาทางออกหากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ โดยจะหยิบรธน.ปี 40 หรือ 50 ฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ไม่ได้)
ผลของประชามติมีแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ
1) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ ลำดับต่อไปคือปรับแก้บทเฉพาะกาลในร่างรธน.ให้สอดคล้องคำถามพ่วงประชามติ
2) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ก็ต้องตกไป ทำให้กรธ.พ้นสภาพต้องหาผู้ดำเนินการร่างใหม่
3) หากร่างรธน.ไม่ผ่านแต่คำถามพ่วงฯผ่าน ผู้ร่างรธน.คนต่อไปต้องคำนึงถึงเสียงของประชาชนจากการลงประชามติครั้งนี้ด้วย
ต่างประเทศ
- 10 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค.
- เยอรมนีเปิดเผยยอดส่งออก นำเข้า และดุลการค้าเดือนมี.ค./ ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมี.ค./ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.
- จีนเปิดเผยยอดปล่อยกู้ล็อตใหม่สกุลเงินหยวนเดือนเม.ย./ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนเม.ย./ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย./ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
- 11 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
- 14 - 15 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ตลาดให้น้ำหนักของโอกาสที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. เพียง 13%
- 23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติ (Brexit) ว่า "อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่" ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดการเงินโลก ทั้งนี้ S&P สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าชาวอังกฤษจะลงประชามติเห็นชอบต่อการอยู่ใน EU ด้วยคะแนนเสียงที่ชนะอย่างฉิวเฉียด และเตือนว่าความเสี่ยงในการถอนตัวออกจาก EU จะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือของอังกฤษ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU กล่าวว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 10 ปี หลังออกจาก EU จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าอยู่ใน EU ต่อไปในสัดส่วน 4% เนื่องจากอานิสงส์ต่างๆจากอัตราภาษีที่ลดลงสำหรับการนำเข้าจากนอก EU
- 8 พ.ย. กำหนดเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์