- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 July 2014 18:04
- Hits: 2291
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ภาพยังเป็น Sideway up แต่จะแกว่งมากขึ้น”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ภาพตลาดวันก่อน : # รีบาวด์ 0.4%...นักลงทุนมองว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นยังจูงใจ แม้ความเสี่ยงด้าน Valuation จะเพิ่มขึ้น เมื่อวานนี้ดัชนีปรับขึ้นด้วยแรงซื้อของหุ้นในกลุ่ม Real Sectors โดยหลักเป็นเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2/57 ปิดตลาด SET Index +5.89 จุดที่ 1530.42(สูงสุด 1534.95) การซื้อขายอยู่ในระดับปานกลางที่ 4 หมื่นกว่าล้านบาท นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้าซื้อสุทธิต่อ 1.4 พันล้านบาท พอร์ตบล.ซื้อสุทธิ 357ล้านบาท ส่วนสถาบันในประเทศและรายย่อยขายสุทธิ
ปัจจัยและกลยุทธ์ : # จับตาผลประชุมบอร์ด BOI ศุกร์ 18 ก.ค.นี้ โดยจะมีการพิจารณาโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนมูลค่าประมาณ 9 หมื่นล้านบาท (หลักๆ เป็นอีโคคาร์เฟส 2 และโรงไฟฟ้า) ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น รับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่น CK, STEC),วัสดุก่อสร้าง (หุ้นเด่น SCC, TASCO), นิคมอุตสาหกรรม (หุ้นเด่น AMATA, ROJNA, HEMRAJ) และแบงค์ใหญ่ (หุ้นเด่น BBL, KTB) ส่วนประเด็นที่มีบทบาทในตลาดต่อเนื่องช่วงนี้ คือ Preview และรายงานผลประกอบการ 2Q57 ของบริษัทบจ.ต่างๆ
# ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งต่อ & มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นดีขึ้น ทั้งนี้เฟดระบุใน Beige Book ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตดีต่อเนื่องในทุกเขต การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นต่อในเดือนมิ.ย.57 ส่วนเศรษฐกิจจีนใน 2Q57 ก็เติบโตดีขึ้นเป็น 7.5%YoY (จาก 7.4%YoY ใน1Q57) ด้านญี่ปุ่นก็มีสัญญาณบวกจาก Demand to Supply Gap ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเดือนมิ.ย.57 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ปัจจัยที่จับตา คือตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ โดยถ้าเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็จะเป็นปัจจัยที่กดดันและอาจทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดกลยุทธ์ทางเทคนิค : ซื้อใหม่เน้นซื้อตามค่าบวก การอ่อนตัวต่ำกว่าแนวฟิวเตอร์ 1510 จุด มีแนวเด้ง 1500+/- จุด ส่วนการปรับขึ้นต่อมีแนวต้านระยะสั้น 1540-1550 จุด สำหรับหุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนวันนี้เป็น STEC
Fundamental Pick
STEC แนะนำซื้อราคาปิด 23.40 บาท เป้าหมาย 26.08 บาท
# ปัจจุบันมีงานก่อสร้างในมือ (Confirmed backlog) จำนวนมากที่ 5 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะได้งานใหม่เข้ามาใน 2H57 อีก 1.2 หมื่นล้านบาท (ใน 1H57 ได้มาแล้ว 3 พันล้านบาท)โดยหลักเป็นงานภาคเอกชน ส่วนงานภาครัฐคาดว่าจะเข้ามาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 58 เป็นต้นไป ซึ่งส่วนนี้ช่วยหนุนแนวโน้มธุรกิจระยะยาวให้สดใสต่อเนื่อง ทั้งนี้การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 แสนล้านบาท/ปี ส่วนภาคเอกชน คาดว่าการเปิด AEC จะช่วยกระตุ้นให้มีการลงทุนใหม่ๆ มากขึ้น
# เราชอบ STEC ที่มีงานในมือมั่นคง มีความสามารถในการทำกำไรดี (ใน 1Q57 ทำอัตรากำไรขั้นต้นได้ 10.4% และมีกำไรสุทธิ 415 ล้าบาท) ฐานะการเงินดีมาก โดยเป็นเงินสดสุทธิ แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายใน SAA Consensus (Update เดือนมิ.ย.-ก.ค.57) เฉลี่ยอยู่ที่ 26.08 บาท
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
+ จีน : เศรษฐกิจ 2Q57 เติบโต 7.5%YoY ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 1Q57 ที่ 7.4%YoY
# ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 2/57 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบรายปีซึ่งกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากอัตรา 7.4% ในช่วงไตรมาส 1/57 สำหรับ 1H57 เศรษฐกิจจีนขยายตัว 7.4%YoY ต่ำกว่าเป้าหมายของปี 57 ที่ 7.5%YoY เล็กน้อย ซึ่งคาดการณ์ว่าใน 2H57จะขยายตัวดีขึ้นและทำให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตตามที่ตั้งไว้ได้
# ยอดขายบ้านในจีนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 33% เป็น 5.912 แสนล้านหยวน ในเดือนมิ.ย.57หลังจากที่บรรดาบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของจีนได้ปรับลดราคาบ้านลงเพื่อส่งเสริมยอดขายอย่างไรก็ตาม ยอดขายบ้านในช่วง 6 เดือนแรกของจีนได้ปรับตัวลดลง 9.2% แตะ 2.56 ล้านล้านหยวนเมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนหน้า
+ ญี่ปุ่น : Demand to Supply Gap กลับมาเป็นบวกในช่วงม.ค.-มี.ค.57 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
# ธนาคารกลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่าช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทาน (Demand to SupplyGap)ในการคาดการณ์ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.57 อยู่ที่ระดับ 0.6% ปรับตัวขึ้นจาก - 0.2% ในช่วง3 เดือนก่อนหน้านี้ บ่งชี้ว่าบริษัทต่างๆจะมีการใช้จ่ายเงินทุนเพิ่มมากขึ้น หรือรับพนักงานมากขึ้นทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในแดนบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2/51 หรือในรอบ 6 ปี ซึ่งขณะนั้นมีความต่างระหว่างอุปสงค์-อุปทานอยู่ที่ 0.7% สถิตินี้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังหลุดพ้นจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่กินเวลายาวนานมากว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งเป็นช่วงที่อุปสงค์ซบเซาไปพร้อมกับราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลง
•/+ สหรัฐ : ดัชนี PPI เดือนมิ.ย.ปรับขึ้นมากกว่าคาดเล็กน้อย ส่วนเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง
# ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4%MoM และ 1.9%YoY ในเดือนมิ.ย.57ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3%MoM และสูงกว่าเดือนพ.ค.ที่ดัชนีหดตัวลง0.2%MoM ปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนี PPI เดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น คือ ราคาพลังงาน โดยราคาน้ำมันเบนซินทะยานถึง 6.4% และราคาที่อยู่อาศัยก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
# รายงาน Beige Book ของเฟดระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกเขตยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่เฟดได้ออกรายงานครั้งก่อน
# ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้น 4 จุดเป็น 53 ในเดือนก.ค.57 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. เนื่องจากตลาดแรงงานแข็งแกร่งขึ้นจนทำให้ผู้สร้างบ้านเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะขายบ้านได้มากขึ้น
# เฟดเปิดเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.2%MoM ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่ขยายตัว 0.5%MoM ในเดือนพ.ค. น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดไว้ที่ 0.3%MoM
+ หุ้น US ปรับขึ้นรับรายงานว่าเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตดีต่อเนื่อง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,138.20 จุด เพิ่มขึ้น 77.52 จุด หรือ +0.45% ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,425.97 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด หรือ +0.22% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,981.57 จุดเพิ่มขึ้น 8.29 จุด หรือ +0.42% ตอบรับรายงานใน Beige Book ที่ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
+ สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงแรง หนุนสัญญาน้ำมัน WTI & BRENT ดีดขึ้น
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 101.2ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอนลดลง 17 เซนต์ ปิดที่ 105.85 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน คือ สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ค. ร่วงแรง 7.5 ล้านบาร์เรล แตะที่ 375 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล
+ สัญญาทองคำ COMEX ปรับขึ้นหลังมีข่าวว่าอินเดียนำเข้าทองเพิ่มในเดือนมิ.ย.57
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กบวกขึ้นเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่าอินเดียนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมิ.ย.57 ปิดตลาดสัญญาทองคำตลาด COMEX (CommodityExchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 2.7 ดอลลาร์ หรือ 0.21% ปิดที่ 1,299.8 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
+ ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เร่งตัวขึ้นในเดือนมิ.ย.57
# ในเดือนมิ.ย.57 มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เท่กับ 132 โครงการ สูงสุดในรอบ 6 เดือน สำหรับ 6 เดือนแรกของปีนี้มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุนแล้ว 534 โครงการลดลง 34.4%YoY มูลค่าเงินลงทุน 3.37 แสนล้านบาท ลดลง 43.7%YoY อย่างไรก็ตาม คาดว่าในครึ่งหลังของปีจะมีโครงการเข้ามาขอรับส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น และทาง BOI คาดการณ์ว่าทั้งปี 57 น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 7 แสนล้านบาทได้
# ในการประชุมบอร์ด 18 ก.ค.นี้ ทาง BOI กล่าวว่ามีโครงการที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการแล้ว 12-15 ราย มูลค่าเงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการโรงไฟฟ้า และอีโคคาร์เฟส 2 ซึ่งหากได้รับอนุมัติการลงทุนจากบอร์ด ก็จะทำให้โครงการที่ผ่านการอนุมัติรวมเป็น 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 26% ของโครงการค้างท่อทั้งหมดที่ 7.6 แสนล้านบาท
# ความเห็น Retail Research DBS : เรามองว่าการลงทุนภาคเอกชนก็เป็นหนึ่งใน Keygrowth ของเศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากการลงทุนโครงการขั้นพื้นฐานของรัฐที่จะเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมได้ในต้นปี 58 (โดยคาดว่าคสช.จะใช้เวลาในการกลั่นกรอง & ทบทวนโครงการลงทุนของกระทรวงต่างๆ ประมาณ 3-4 เดือน แล้วเข้าสู่กระบวนการเปิดประมูล &พิจารณาและต่อรองผลการประมูลอีก 2-3 เดือน) อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนจะเกิดขึ้นล่วงหน้าตั้งแต่มีความคาดหวังและมีข่าวว่าจะมีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น และเมื่อเม็ดเงินใหม่เข้ามาจริงก็ดูอีกทีว่าเป็นไปตามคาดหรือไม่ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ชนะประมูลจะสามารถบริหารจัดการได้ดีแค่ไหน และทำกำไรได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งจะสะท้อนในผลประกอบการในระยะต่อๆ ไป
เรามีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน คือ ธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานลูกค้าCorporate และปล่อยสินเชื่อโครงการรัฐเป็นสัดส่วนที่สูง, รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง และนิคมอุตสาหกรม โดยแนะนำให้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนมาตั้งแต่ต้นเดือนมิ.ย.57 และขณะนี้ยังคงให้รักษาน้ำหนักการลงทุนที่สูงต่อ โดยหุ้น Top Picks ของเราเป็น BBL, KTB, CK,STEC, SCC, TASCO, AMATA, ROJNA, HEMRAJ เป็นต้น
-/• บาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อาจกดดันผลประกอบการ 3Q57 แต่เชื่อว่าจะไม่รุนแรงเพราะปริมาณส่งออกที่เพิ่มใน High seasonมาช่วยชดเชย หุ้นเด่น KCE และ GFPT
# เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นเดือนมิ.ย.57 ที่ 32.85 บาท/US$ ขณะนี้อยู่ที่ 32.08บาท/US$ หรือแข็งขึ้นประมาณ 2.3% ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก Fund Flow ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดเงินของไทย และมีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นได้อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มทุนของ TRUE ให้กับ China Mobile International Holdings 4.4พันล้านหุ้น @ 6.45 บาท/หุ้น หรือประมาณ 890 ล้านเหรียญสหรัฐไหลเข้ามาในช่วงเดือนส.ค.57 (ระยะเวลาชำระค่าหุ้น 28-30 ส.ค.57)
# ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มส่งออกจะถูกกระทบบ้างใน 3Q57 แต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเนื่องจากปริมาณการส่งออกที่สูงขึ้นเพราะเป็นช่วง High season ใน 3Q57 น่าจะช่วยชดเชยได้เป็นส่วนใหญ่ ยังผลให้คาดการณ์ว่าผลดำเนินงานของบริษัทส่งออกที่ธุรกิจแข็งแกร่งอยู่แล้วจะยังอยู่ในเกณฑ์สูงและไปได้ดี การอ่อนตัวของราคาหุ้นในระยะสั้น เป็นจังหวะในการซื้อลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยหุ้น Top Picks ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกเป็น KCE (ราคาพื้นฐานDBS เท่ากับ 46.60 บาท) และ GFPT (ราคาพื้นฐาน DBS เท่ากับ 16.40 บาท)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]