- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 26 April 2016 17:10
- Hits: 681
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ทิศทางตลาด
Sideway? โดยคาดการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะเดียวกับวานนี้ คาดยังแกว่งตัวในกรอบแคบ คาดตลาดฯ อยู่ระหว่างรอ (1) ผลประชุมเฟด – เช้า พฤ. ตามเวลาไทย โดยเฉพาะสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่คาดในครั้งนี้เฟดยังคงอัตราดอกเบี้ย หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงมีความผันผวน และ (2) การประชุม BOJ วันที่ 27 – 28/4/59 ซึ่งคาดอาจมีการขยายการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยคาดอาจมีการปรับลดอัตราดดอกเบี้ยจากระดับ -0.1% ลงอีกสำหรับเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ BOJ
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ ทางด้าน Fund Flow ยังมีความผันผวนบ้าง แต่อย่างไรก็ตามยังมุมมองที่ดีจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ ทำให้คาด Fund Flow ยังมีโอกาสไหลกลับเข้ามาในภูมิภาค รวมถึงไทย รวมถึงแรงเก็งกำไรผลการดำเนินงาน – 1Q/59 ที่คาดมีต่อเนื่องถึงกลางเดือน พ.ค.
นอกจากนี้คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ของภาครัฐ (1) การเร่งรัดเปิดประมูลโครงการต่อเนื่อง ในช่วง 2Q – 3Q/59 เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี) เป็นต้น ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
(2) การปรับโครงสร้างภาษี (มีผลต่อภาษีในปี’60) เช่น เพิ่มค่าลดหย่อน จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น คาดช่วยเพิ่มอำนาจซื้อ และคาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มค้าปลีก
และกลุ่มที่อยู่อาศัย เช่น PS และ LPN เป็นต้น ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการบ้านประชารัฐ และในระยะสั้นจากมาตรการกระตุ้นอสังฯ ของภาครัฐ ที่จะหมดอายุลงปลายเดือนนี้ คาดช่วยเร่งให้มีการโอนเร็วขึ้น รวมถึงการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร ที่คาดเป็นปัจจัยหนุนในระยะกลาง – ยาว
นอกจากนี้ยังแนะจับตา
(1) กลุ่มการบินและสนามบิน เช่น AOT, BA, AAV
(2) กลุ่มพลังงาน PTT และ PTTEP ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกิน
(3) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, TOP และ SPRC จะได้รับผลบวกจากค่าการกลั่นที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในช่วง 1Q/59 และคาดจะไม่มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมันจำนวนมากอีก
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJIA -26.51, NASDAQ -10.44, S&P -3.79 FTSE -49.52, CAC -23.54 และ DAX -79.14
ภายใต้การซื้อขายที่เป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนทราบผลประชุมเฟด (เช้า พฤ.ตามเวลาไทย) พร้อมกับแถลงการณ์หลังการประชุมเพื่อดูทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ขณะที่ได้รับปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน และตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ – มี.ค. ลดลง1.50% อยู่ที่ 511,000 ยูนิต ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 520,000 ยูนิต
ส่วนทางด้านตลาดยุโรป ได้รับปัจจัยลบเพิ่มหลังจากสถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี – เม.ย. อยู่ที่ 106.6 ลดลงเล็กน้อยจาก 106.7 เมื่อมี.ค. แต่สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 107.0
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$1.09 อยู่ที่ US$42.64 ต่อบาร์เรล หลังรายงานของมอร์แกน สแตนลีย์ ระบุว่า การผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไป ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งในตลาดเกิดใหม่ จะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันและยังได้รับปัจจัยกดดันจากรายงานของ Genscape ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลด้านตลาดน้ำมัน ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ ล่าสุด เพิ่มขึ้นกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
20.74 1.85 3.37
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 30,406.10
สถาบัน -331.15
บัญชีหลักทรัพย์ -567.58
ต่างประเทศ -3.57
ในประเทศ 902.3
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TPIPL
(5) หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT, CENTEL)
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง จากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.01 อยู่ที่ 1.90% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.86 อยู่ที่ 14.08
หุ้นแนะนำ : SCC
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788