WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     SET ปรับฐานตามหุ้น ธ.พ. หลัง BBL, KBANK นำร่องลดดอกเบี้ย MOR, MRR กดดันประสิทธิภาพการทำไรต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ จึงแนะให้ทยอยปรับลดพอร์ตหุ้นที่มีกำไรออกบ้าง แต่ให้ถือหุ้นที่คาดกำไรเด่น 1Q59 (BDMS, WORK, PTT, IRPC, KCE) เลือก TASCO(FV@B39) หุ้น Laggard และ P/E ต่ำ เป็น Top pick

SET Index 1,423.90
เปลี่ยนแปลง (จุด) 8.94
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 47,307.53

ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ 1,848.85
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 524.56
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 1,795.05
นักลงทุนรายย่อย -4,168.46

หุ้น ธ.พ. กลับกดดันตลาด หลัง BBL, KBANK นำร่องลดดอกเบี้ย MOR, MRR
       ภายหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้นำร่อง ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลง 0.25% เมื่อตอนต้นเดือนที่ผ่านมา โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทนั้น นับว่าส่งผลกระทบต่อส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิ (NIM) ของกลุ่มฯ ทั้งนี้เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อลูกค้าชั้นดีที่กระจุกตัวในกลุ่ม Corporate รวมกันเฉลี่ยสูงถึง 60% ของสินเชื่อรวม ส่งผลให้นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารฯ ของ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรกลุ่มฯปี 2559-60 ลงเหลือเพียง 3.8% yoy ดังที่ปรากฏใน Company Update วันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา
     และ วันนี้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ นำโดย BBL และ KBANK ได้นำร่อง ปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับกลุ่มลูกค้าที่เหลือราว 0.25% คือดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีแต่เป็นเงินทุนหมุนเวียนคือ เงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) และ ดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) (BBL ปรับลด MRR เหลือ 7.625% vs KBANK ปรับลด MRR และ MOR ลง 0.25% เหลือ 7.62% และ 7.12% ตามลำดับ มีผล 25 เม.ย. นี้) ทั้งนี้คาดว่าธนาคารพาณิชย์ที่เหลือ น่าจะปรับลดดอกเบี้ยสินเชื่อดังกล่าวตามลงมา โดยเฉพาะ KTB, SCB, BAY ซึ่งมีฐานลูกค้าสินเชื่อขนาดกลาง และย่อยมาก (SMEs) สัดส่วนมากสุดคือ KTB 65% (SMEs 22% และรายย่อย 43%), SCB 64% (SMEs 19% และรายย่อย 45%), BAY 58% (SMEs 15% และ รายย่อย 43%) ขณะที่ BBL60% (SMEs 31% และรายย่อย 29%), KBANK 71% (SMEs 38% และ รายย่อย 33%)
       คาดว่าผลกระทบต่อการปรับลดดอกเบี้ย MOR, MRR ในรอบนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อประมาณ กำไรของธ.พ.แต่ละแห่ง ลดลงอีกราว 2% ซึ่งก็น่าจะกดดันให้กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในปี 2559 ลดลงในอัตรา 2% เช่นกัน ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อการลดดอกเบี้ยทุกประเภทในการปรับลดลง 2 รอบนี้ น่าจะกดดันให้กำไรสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. น่าจะทำให้มีลักษณะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2558 (จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะเติบโตราว 3.8%) จึงยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้น ธ.พ ต่ำกว่าตลาด โดยยังคงเลือก KBANK(FV@B238) เป็น top pick ในหุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ ส่วนธนาคารพาณิชย์รายย่อยยังชอบ TISCO (FV@B50) เนื่องจากได้ผลกระทบจากดอกเบี้ยขาลงน้อย

ประมูลโรงโซลาร์สหกรณ์มาแต่กระแส..บวกต่อบริษัทจดทะเบียนน้อยกว่าคาด
       วานนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยผลการจับสลากโซลาร์ฟาร์ สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตร ปรากฏว่ามีผู้ได้รับคัดเลือก 67 โครงการ กำลังการผลิตรวม 281.32 เมกะวัตต์ (ต่ำกว่าแผนที่กำหนดไว้ 300 เมกะวัตต์ เพราะติดปัญหาสายส่งซ้ำซ้อนกัน ส่วนที่เหลือ 18.68 เมกะวัตต์ จึงน่าจะนำมารวมกับจับสลากในรอบที่ 2 ต่อไป)
     ประเด็นดังกล่าว แม้จะเป็น sentiment เชิงบวก ต่อหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทน แต่หากพิจารณาผู้ที่ได้รับคัดเลือกเฉพาะที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีเพียง 11 ราย กำลังการผลิตรวม 89 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นเพียง 31% เท่านั้น (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) ซึ่งถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก จึงมีแนวโน้มที่ผลประกอบการในปี 2559 อาจจะต่ำกว่าประมาณการ
     ทั้งนี้ GUNKUL (switch : [email protected]) ได้เพียง 5 เมกะวัตต์ ซึ่งอาจจะทำให้ประมาณการกำไรปี 2559 ต่ำกว่าคาดได้ จึงอาจจะต้องหาโครงการอื่น ๆมาชดเชย ซึ่งยังมีความหวังกับการประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ที่คาดว่าจะเปิดประมูลในช่วงเดือน มิ.ย. 2559 กำลังการผลิตราว 30-40 เมกะวัตต์ รวมทั้งการขยายโซลาร์ที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มอีก 114 เมกะวัตต์ ภายในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ราคาปัจจุบันเหลือ upside จำกัด จึงแนะนำ Switch ไปลงทุนใน EA (FV@B26) แทน จาก backlog ที่มีอยู่ในมือแข็งแกร่งสุดในกลุ่มฯ ส่งผลให้แนวโน้มกำไรสุทธิในช่วง 3 ปี ข้างหน้า ยังคงทำ new high อย่างต่อเนื่อง ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ชนะการประมูล แนะนำเพียงเก็งกำไรช่วงสั้น (อ่านรายละเอียดใน Industry Update วันนี้)

ปัจจัยภายนอกยังไม่เปลี่ยน สหรัฐ/ยุโรป ยังเน้นนโยบายการเงินผ่อนคลาย
    ผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB) วานนี้เป็นไปตามที่ตลาดคาด และคาดว่าตลาดน่าจะรับรู้ประเด็นนี้ไปแล้ว กล่าวคือ ECB ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับติดลบ 0.4% คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0%และยังคงวงเงิน (QE) ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน
     ขณะที่ฝั่งสหรัฐ มีการรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก รายสัปดาห์ (ถึง 16 เม.ย.) หรือInitial Jobless Claims ลดลง 6 พันรายจากสัปดาห์ก่อนหน้า สู่ระดับ 2.47 แสนราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับในรอบ 42 ปี (หากคิดเฉลี่ย 4 สัปดาห์ลดลง 4.5 พันราย สู่ระดับ 2.6 แสนราย) จะเห็นว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนกำลังซื้อภาคการครัวเรือน ตลอดช่วงที่ผ่านมา ทั้งยอดขายบ้านและยอดค้าปลีก แต่อย่างไรก็ตามระยะหลายเดือนที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญานการชะลอตัวใน 2 ดัชนีดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับภาคการผลิตที่ยังฟื้นตัวล้าช้า
นอกจากนี้พบว่าอัตราเงินเฟ้อยังยังทรงตัวในระดับต่ำที่ 1% ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว น่าจะทำให้ Fed เพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ตลาดคาดว่าการประชุมของ Fed ในสัปดาห์หน้า 26-27 เม.ย. น่าจะยังคงดอกเบี้ยฯตามเดิม และยังไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ จนกว่าจะถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ ซึ่งประเด็นนี้ถือว่ายังคงเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยง ปัจจัยหนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น น้ำมันและทองคำ เป็นต้น

Money Supply ยังคงหนุน Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาค
    Money Supply โลกที่เพิ่มขึ้น จากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในหลายประเทศทั่วโลก ยังคงช่วยหนุนให้ Fund Flow ทยอยไหลกลับเข้าในตลาดหุ้นภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับวานนี้ที่นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่ากว่า 489 ล้านเหรียญ โดยซื้อเกือบทุกตลาดยกเว้นฟิลิปปินส์ที่ขายสุทธิ แต่เล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ ตลาดที่ซื้อ นำโดย ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 254 ล้านเหรียญ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 153 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) อินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 53 ล้านเหรียญ หรือ 1.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1.8 พันล้านบาท
    ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.2 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 2.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: ภราดร เตียรณปราโมทย์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!