- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 05 April 2016 17:26
- Hits: 3598
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เลือกซื้อ/ถือหุ้นคุณภาพดี”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SCB นำร่องปรับลดดอกเบี้ย MLR ลง 0.15% เป็น 6.375% ตามด้วย KBANK ประกาศลด MLR 0.25% เป็น6.25% บ่งชี้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจยาวนานกดดันลูกค้ามากขึ้น และส่งสัญญาณว่าการแข่งขันด้านราคาของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะมากขึ้นเพราะธนาคารพาณิชย์อื่นก็น่าจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกค้าด้วย ทำให้ NIM ของ SCB และกลุ่มธนาคารมีโอกาสที่จะลดลงในระยะสั้น (ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ NPL Ratio ก็กดดัน NIM อยู่แล้ว) เรามีมุมมองลบระยะสั้นกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์และเป็น Neutral ในระยะกลาง ในทางกลยุทธ์ แนะนำทยอยซื้อสะสมจังหวะราคาหุ้นอ่อนตัว โดย Top Picks ของเราเป็น KBANK และ TCAP ส่วนกลุ่มสื่อสาร ราคาหุ้นอ่อนตัวในระยะสั้นเพราะคาดการณ์กำไร 1Q59 ลดลง (ดูรายละเอียดด้านใน) แต่เชื่อว่ากำไรของ ADVANC จะพลิกฟื้นได้ใน 2H59 และยังให้ Dividend Yield ปีนี้สูงกว่า 6% (เทียบกับราคาปิดวานนี้) จึงแนะนำซื้อ ADVANC ช่วงราคาหุ้นอ่อนตัว
สำหรับ ปัจจัยภายนอก ที่ติดตามคือการเปิดเผยรายงานผลการประชุม FOMC รอบล่าสุด เพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ประธานเฟดสาขาบอสตันเป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมากล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเฟดอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากที่ประธานเฟด 4 สาขาได้ออกมาหนุนให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งก่อนในช่วงเม.ย.หรือมิ.ย.59 และไปปรับขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี สำหรับหุ้นพื้นฐานวันนี้เลือกเป็น SC
วิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดโดยรวมเป็นลบเล็กๆ ให้แนวต้านระยะสั้นของ SET Index ไว้ที่ 1410-1420, 1430 จุด ค่าลบดูไม่ดี ควรลดพอร์ตตามหรือ Stop Loss แนวรับอยู่ที่ 1380-1370, 1360 จุด ส่วน SET50 มีแนวต้าน 910-920 จุด ค่าลบดูไม่ค่อยดีเช่นกัน แนวรับอยู่ที่ 890-880, 870 จุดการเก็งกำไรตามรอบเน้นซื้อตามด้วยค่าบวกของดัชนีและของราคาหุ้น ส่วนการลงทุนระยะยาว แนะนำให้ทยอยซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานดี โดยเฉพาะจังหวะราคาหุ้นอ่อนตัว
สำหรับ การ SCAN หุ้นสัญญาณทางเทคนิคดี มีโอกาสทำ New High พบว่า หุ้นที่เขา้ มาใหม่เป็น TTCL, INET, SCN, LPH ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและยังอยู่ใน List รอจังหวะปรับขึ้นเพื่อขายทำกำไร ประกอบด้วย EPG, TPCH, EGCO, PYLON, GOLD, IRPC, MCS, TPOLY, ANAN, MALEE, ERW
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- สหรัฐ : ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 1.7% ในเดือนก.พ.59 เนื่องจากการส่งออกในภาคโรงงานได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ อุปสงค์ชะลอตัวในต่างประเทศ บริษัทพลังงานลดการลงทุนหลังการทรุดตัวของราคาน้ำมัน
- ตลาดหุ้นสหรัฐ : ปิดลดลง 0.3-0.5% โดยดัชนี DJIA ลดลง 55.75 จุดดัชนี NASDAQ ลดลง 22.74 จุด และดัชนี S&P500 ลดลง 6.65 จุด ตอบรับตัวเลขยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐที่ลดลงในเดือนก.พ.59 และราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอีกระลอก รวมทั้งประธานเฟดสาขาบอสตัน ส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจจะเกิดขึ้นในเวลารวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
- ราคาน้ำมันดิบ : ลดลงต่อ โดยสัญญา WTI และ BRENT ส่งมอบพ.ค.59 ปิดลดลง 1.09 และ 0.98 ดอลลาร์ ปิดที่ 35.70 และ 37.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดประเมินว่าการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันวันที่ 17 เม.ย.ที่กาตาร์อาจจะไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการจำกัดการผลิตน้ำมัน
- อุปทานน้ำมันดิบที่สูงมากยังกดดัน : อิหร่านส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. โดยกระทรวงพลังงานอิหร่านรายงานว่าส่งออกเพิ่ม 250,000 บาร์เรล/วันในเดือนมี.ค.สู่ระดับสูงกว่า 2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ความกังวลเรื่องอุปทานล้นเกินเข้ามากดดันราคาน้ำมันอีกรอบ
- ราคาทองคำ : อ่อนลง สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดลดลง 4.2 ดอลลาร์เป็น 1,219.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากกังวลกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐว่าอาจจะปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เฟดจะเปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุดในวันพุธนี้ (ตามเวลาสหรัฐ)
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวเด่น
• กองทุนอสังหาริมทรัพย์ & REIT : ราคาหุ้น GVREIT เข้าซื้อขายวันแรกเมื่อวานนี้ (4 เม.ย.59) ราคาขึ้นไปปิดที่ 14.50 บาท (+45% จากราคาIPO ที่ 10.00 บาท) ซึ่งทำให้คาดการณ์ Dividend Yield ปี 59(Annualized) ลดลงเหลือ 6%...สำหรับกองทุนฯที่ DBS Vickers ทำการวิเคราะห์ และให้เป็น Top Pick ที่ยังมี Yield ปี 59-60 สูงกว่า 7% คือLHHOTEL (ราคาพื้นฐาน 13 บาท), WHART (ราคาพื้นฐาน 11.60 บาท),JASIF (ราคาพื้นฐาน 11 บาท)
• SIM : จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ไม่ใช่มือถือมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกมือถือแข่งขันกันสูงมากโดยเฉพาะจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เอง ทางบริษัทจึงปรับแผนกลยุทธ์เพิ่มรายได้ที่ไม่ใช่มือถือเป็น 50% ในระยะยาว(ปัจจุบันอยู่ที่ 20%) โดยเล็งไว้ว่าจะเป็น Digital Commerce ที่เจาะลูกค้าSME โดย 1 พ.ค.นี้จะเปิดแนะนำ Website “Thailand Mall” บนสายการบินทุกแห่ง และจะขยายธุรกิจค้าปลีกไปส่วนการเป็นศูนย์ซ่อมมือถือทุกแบรนด์, โอเปย์, รับชำระบิลทุกประเภท, ตู้เติมเงิน, ร้านกาแฟ & เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
•/- กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : SCB นำร่องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MLRตามมาด้วย KBANK โดย SCB และ KBANK ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง 0.15% และ 0.25% เป็น 6.375% และ 6.25% ตามลำดับเพื่อให้ลูกค้าเดินหน้าต่อและส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่ม ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยใหม่ของ SCB มีผลตั้งแต่ 5 เม.ย.59 ส่วนของ KBANK 7 เม.ย.59 เป็นต้นไปความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : คาดว่าธนาคารพาณิชย์อื่นๆ จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียวทำให้ NIM ของธนาคารจะลดลงในระยะสั้น แต่ก็ต้องทำเพื่อพยุงสถานะของลูกค้าเอาไว้ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวยาวนาน โดยรวมคาดว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะมีความกดดันด้าน NIM มากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งจากการแข่งขันด้านราคา (อัตราดอกเบี้ย) และจาก NPL Ratio ที่ขยับขึ้น (ทาง KBANK ประเมินว่า NPL จะค่อยๆปรับขึ้นและไปสูงสุดในช่วง 2Q-3Q59 แล้วทรงตัวระยะหนึ่งก่อนที่จะทยอยลดลงในปี 60)
ในระยะสั้นเรามีมุมมองเป็นลบ (Negative) กับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และมีมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ในระยะกลาง โดยเห็นว่าในระยะสั้นการดำเนินธุรกิจมีความท้าทายมากและการเติบโตของกำไรจำกัด แต่เชื่อว่าทุกธนาคารจะผ่านพ้นภาวะกดดันนี้ไปได้ และพร้อมที่จะเติบโตเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นในอีก 3-4 ไตรมาสข้างหน้า กลยุทธ์ : แนะนำทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว หุ้น Top Picks ของฝ่ายวิจัยฯ DBS Vickers เป็น KBANK (ราคาพื้นฐาน 211 บาท) และ TCAP (ราคาพื้นฐาน 42 บาท)
•/- กลุ่มสื่อสาร : ราคาหุ้นอ่อนตัวลงมารับผลประกอบการ 1Q59 ที่ไม่สดใส เนื่องจากอุตสาหกรรมมีการแข่งขันตัดราคาสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพิ่มขึ้น และมีผลขาดทุนจากการขายเครื่องโทรศัพท์มือถือมากขึ้นด้วยเพื่อจูงใจให้มีการย้ายจาก 2G มา 3G รวมทั้งจูงใจให้ลูกค้ามีการย้ายค่าย
ฝ่ายวิจัยฯ DBS Vickers คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิ 1Q59 ของ ADVANC จะลดลง 15%YoY และ 22%QoQ เป็น 8.3 พันล้านบาท (รายได้ทรงตัวที่ 30พันล้านบาท) ส่วนของ DTAC คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 1Q59 หดตัวแรงถึง61%YoY และ 13%QoQ เป็นเพียง 820 ล้านบาท เพราะมีค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายสูงถึง 5.5 พันล้านบาทซึ่งเป็นไปตามการเร่งตัดตามอายุสัมปทานที่เหลือน้อย ซึ่งจะหมดสัมปทานส.ค.61 และมีการลงทุน 20พันล้านบาทในปี 59 (รายได้ที่ไม่รวม IC ทรงตัวที่ 6.6 พันล้านบาท)
คาดว่าผลประกอบการ ADVANC ใน 2H59 จะดีขึ้น โดยประเมินว่าผลขาดทุนจากการขายเครื่องจะลดลงจากที่ขาดทุนส่วนนี้ใน 1Q59 เท่ากับ 3.5พันล้านบาท และคาดว่าจะขาดทุน 2-2.5 พันล้านบาทใน 2Q59 แต่ในส่วนของ DTAC จะยังมีแรงกดดันจากการตัดค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายสูงมากต่อใน 2H59 และมีโอกาสสูงที่ DTAC จะไม่เข้าประมูลใบอนุญาต 4G ย่าน900 MHz ที่กสทช.จะเปิดประมูลใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เนื่องจากมองว่าราคาสูงเกินไป
แนะนำซื้อ ADVANC โดยให้ราคาพื้นฐาน 193 บาท (คาดการณ์ DividendYield ปีนี้ 6.3% บนราคาหุ้น 175 บาท) และแนะนำถือ DTAC ราคาพื้นฐาน40 บาท (คาด Yield ปี 59 เท่ากับ 4% บนราคาหุ้น 38 บาท)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค– [email protected]