- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 14 July 2014 15:02
- Hits: 2666
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Sideway up (เงินทุนต่างชาติไหลกลับ)
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ รีบาวด์ หลังตลาดหุ้นโลกฟื้นตัว คลายกังวลต่อปัญหาหนี้แบงก์โปรตุเกส ระดับหนึ่ง
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ EU Industrial Production พ.ค. คาด 1.4%m-m (Vs 0.5%) / Singapore 2Q57F GDP คาด 3.1%y-y(Vs 4.9%)/ Japan Industrial Production พ.ค.
+Weekly Fund Flow (3-9 ก.ค.) ต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 และ HSBC เพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยเป็น Overweight
+วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อ +3.69 พันลบ. (ซื้อสะสม 8 วัน ใน 9 วันทำการล่าสุดรวม +1.49 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาซื้อ +156 ลบ. (จากขาย -699 ลบ.)
+/- การเมือง จับตา การยื่นแผนงานของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญๆ เช่น การท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ Sideway Up แนวต้าน 1520/1532 จุด จากกระแสเงินทุนต่างชาติไหลกลับ และมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ+ผลกำไรบจ.ตั้งแต่ 2H57F เป็นต้นไป
กลยุทธ์: ซื้อสะสมหุ้น Top pick KBANK SCB SIRI LPN PS PTTEP 2Q57F เก็งกำไรหุ้น High earnings Play แนะนำ TWS TMB KTB SCCC IVL GOLD ส่วนหุ้นคาดจ่ายปันผลระหว่างกาล แนะนำ INTUCH, SNC, ADVANC, LALIN, LH ,BOL, UEC, JMART, BTS
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ TSR TWS SIRI PS ICHI BMCL AP PAE หุ้นที่ลงกว่า 5.0% ได้แก่ KC TWZ NCH ABC PRECHA APURE KTP
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+1064 SCB+472 TRUE+215 PTT+198 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ INTUCH-129 MINT-60
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 81 THCOM 30
TISCO เป็นหุ้นตัวแรกที่ประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 2/57 โดยมีกำไร 992 ลบ. (+9.0% QoQ -12.1% YoY) ใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาด
Market Outlook
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ Zig-Zag Up แนวต้าน 1520/1532 จุด แนวรับ 1498/1485 จุด แรงหนุนมาจาก การเข้าซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ และสัญญาณเชิงบวก หากผลกำไรบจ.ไทย สหรัฐฯดีกว่าคาด ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตาคือ การแถลงต่อสภาคองเกรสกลางสัปดาห์ของประธานเฟด ความคืบหน้าของหนี้แบงก์โปรตุเกส
คาดดัชนีฯสัปดาห์นี้ Zig-Zag Up แนวต้าน 1520/1532 จุด แนวรับ 1498/1485 จุด แรงซื้อจากต่างชาติยังคงเป็นปัจจัยหนุนตลาด (สัปดาห์ก่อนซื้อสุทธิเกือบ 1 หมื่นลบ. และคาดมีแรงซื้อต่อเนื่อง หลังจากบางโบรกเกอร์ต่างชาติ HSBC ปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนตลาดหุ้นไทยเป็น Overweight และอิงเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้า Global Emerging Market Funds สูงขึ้น) ขณะที่รายงานผลกำไรบจ.ทั้งสหรัฐฯ และไทย จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทิศทางดัชนีฯสูงสุดในสัปดาห์นี้ (สัปดาห์นี้จับตา กำไรของแบงก์ใหญ่ หลังจาก TISCOประกาศรายแรกออกมาใกล้เคียงคาดการณ์ 992 ลบ. (Vs KTZ 989 ลบ.และ BB คาด 1050 ลบ.)
ปัจจัยต่างประเทศ มีแนวโน้มผันผวนสูง โดยจะให้ความสนใจต่อ ความคืบหน้าของปัญหาหนี้สถาบันการเงินโปรตุเกส (อาจวิตกต่อการลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ) การแถลงต่อสภาคองเกรส ของประธานเฟด Jellen วันอังคาร-พุธ (บ่งบอกเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวและทิศทางดอกเบี้ยฯ ที่จะมี Exit Strategy ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น การจ้างงานเติบโตช้า จะเป็นประเด็นสอบถามเพิ่มเติม) รายงานผลกำไรบจ. สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกผันผวน (ขึ้นหรือลง ตามรายงานผลกำไร-ดูตารางในเล่ม) ทั้งนี้ตลาดคาดว่า USA GDP จะเติบโต 3%q-q ใน 2Q57 และเฉลี่ย 3.2%q-q ใน 3Q-4Q57F ส่วนในเอเชีย จับตาวันพุธ China: 2Q57F GDP คาดเติบโต 7.4%y-y (Vs 7.4%)
ปัจจัยในประเทศ ความชัดเจนที่เพิ่มขึ้นของแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (กลุ่มพลังงานทางเลือก GUNKUL SOLAR EA SPCG) อาจกลับมาเก็งกำไรรอบใหม่ หลังจากประธานคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน ระบุว่า อาจเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน รวมถึงโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) บนหลังคาศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของหัวหน้า คสช. ที่ต้องการ เน้นโครงการด้านพลังงานทดแทน ส่วนกลุ่มแบงก์ และหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโตดี (TMB KTB SCB PTTEP) จะเป็นตัวเลือกลงทุนหลักๆ ในสัปดาห์นี้ (ดู Earnings Theme) ส่วนกลุ่มรับเหมาฯ วัสดุฯ คาดอ่อนตัวจากโครงการรถไฟรางคู่เลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ขณะที่กลุ่มอิงการท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน (AOT AAV MINT CENTEL) คาดมีโมเมนตัม บวกจากแผนกระตุ้นของทศท. ที่จะนำเสนอต่อคสช. กลางเดือนนี้
ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นไทย:
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ช่วยหนุนความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจตั้งแต่ 3Q57F ผ่านพ้นจุดต่ำสุด ขณะทีความเสี่ยงการเมืองลดลงอย่างมีนัย ส่วนปัจจัยผลกำไรบจ.คาดว่าจะมี Upward Revision โดยเฉพาะกลุ่ม Domestic Play หลังจากสร้างจุดต่ำสุดใน 2Q57E Earnings (ทยอยประกาศตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป) หนุนการเกิด Re-rate PER (เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการรัฐประหารปี 06หรือวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา)
Event Plays:
1) Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ TMB KTB PTTEP SCCC IVL GOLD ANAN CSS JUBILE MINT SVI THANI THCOM
2) High Dividend Play: หลักทรัพย์ที่มีประวัติการจ่ายปันผลสูงรายปีเฉลี่ยสูงกว่า 3.5% และจ่ายปันผลระหว่างกาลสม่ำเสมอในช่วงกลางปี รวมถึงมี % Upside ต่อราคาเป้าหมาย ได้แก่ INTUCH, SNC, ADVANC, LALIN, LH ,BOL, UEC, JMART, BTS TNITY CSL BTS INTUCH ADVANC DTAC TTW TRT PTTGC SAMTEL
3) หุ้น Turnarond/โตก้าวกระโดด ปี 57/58 CFRESH, GOLD, MJD, THRE, TPOLY, TTA, VNG (turnaround) APCO, CSS, DCON, IFEC, IVL (โตก้าวกระโดด)
4) หุ้นที่มีประเด็นบวกต่างๆ : MFEC RASA TRUE (โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่) JAS (ซื้อหุ้นคืน)
Investment Strategy: เราคาดว่าโอกาสสูงที่ดัชนีฯ จะเกิด Re-rate PER เหมือนที่เคยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทุกครั้ง (ดูภาพ การทำรัฐประหารปี 2006 ส่งผลให้ระดับ PER เพิ่มขึ้นจาก 10.17 เท่าขึ้นไปแตะระดับ 16.84 เท่าในรอบ 1ปี) จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่มีสัญญาณฟื้นตัว (ผ่านจุดต่ำสุดใน 1H57) และเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ย10ปีที่ 4% ในปี 58F หนุนผลกำไรบจ. ปรับสูงขึ้นกว่าคาด (ปัจจุบัน คาดกำไรปี 58F เติบโต 13.5% Vs ปี 57F เติบโต 10.3%) ผลักดันราคาหุ้นปรับสูงขึ้น โดยสถิติการทำรัฐประหารปี 2006 พบว่า กลุ่มอิงเศรษฐกิจโลก พลังงาน ปิโตรเคมี ปรับเพิ่มขึ้นดีกว่าตลาดรองลงมาคือ กลุ่มมิเดีย (Laggard Plays ต่อเศรษฐกิจฟื้นตัว) ขณะที่กลุ่มICT แบงก์ ปรับขึ้นในอัตราน้อยกว่าตลาดฯ
KTZ ปรับเพิ่มเป้าหมายดัชนีฯ ปีนี้เป็น 1537 จุด อิงระดับ PER ที่คาดว่าจะ Re-rate ไปซื้อขายที่ระดับ PER 15.5 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +1.0 SD) และ 57F EPS Growth ที่ 10.3% Vs เดิม 1440 จุด อิง P/E 14.4 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +0.5 SD) 57F EPS Growth 11.7%) ส่วนวิธี Bottom Up approach มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่อง อิงการ Roll-over ไปใช้มูลค่าเหมาะสมปี58F โดยล่าสุดอยู่ที่ 1584 จุด (Vs เดิม 1553 จุด)
KTZ คาดว่า หุ้นกลุ่มอิง Domestic Play ที่ได้รับผลบวกจากนโยบายคสช. รวมถึงการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนประเทศ จะเป็นกลุ่มนำตลาดในช่วง 1-3 เดือนอิงการคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช.
เทคนิค : ขึ้นทดสอบแนวต้าน โดยมีจุดขายตัดขาดทุนหากหลุด 1507/1498 จุด
การสามารถยืนเหนือแนวต้านจิตวิทยาที่ 1500 จุดต่อเนื่องได้เป็นสัปดาห์ที่สอง และการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบ Up Channel ที่หนุนดัชนีฯ ขึ้นต่อไปทดสอบแนวต้านต่อไปที่ 1520/1532 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1498/1482 จุด โดยมีสัญญาณสนับสนุนจากการเรียงตัวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่เรียงตัวแบบ Bullish Signal ถือว่าเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อทิศทางดัชนีฯสัปดาห์ฯนี้ อย่างไรก็ดี การเข้าสู่เขต Overbought Area ที่ใกล้ระดับสูงสุดเดิม ของ Stoch, MACR, RSI ส่งผลให้ดัชนีฯ อาจมีสัญญาณอ่อนตัว ตามมาในเร็วๆนี้ เช่นกัน ดังนั้นควรพิจารณาขายทันทีหากดัชนีฯหลุดเส้น SMA5/10 วันที่ 1507/1498 จุดตามลำดับ
สัปดาห์ที่ผ่านมา : ตลาดหุ้นไทย ปรับขึ้นดีสุดเป็นอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย และค่าเงินบาทแข็งค่าสุดรอบ 4 เดือน
- ตลาดหุ้นโลก: ตลาดหุ้นยุโรปนำลงสัปดาห์ที่ผ่านมา DAX -3.42%w-w CAC40 -3.41%w-w โดยปรับลดลงแรงช่วงปลายสัปดาห์ จากวิตกปัญหาหนี้สถาบันการเงินโปรตุเกส ก่อนรีบาวด์วันศุกร์ หลังจาก ธนาคารบังโค เอสปิริโต ซานโตซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสได้ยืนยัน เกี่ยวกับเสถียรภาพการเงินของธนาคาร โดยเปิดเผยว่า การขาดทุนที่เกี่ยวกับบริษัทเอสปิริโต ซานโต ไฟแนนเชียล กรุ๊ปซึ่งเป็นบริษัทแม่นั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อธนาคาร ขณะที่สหรัฐฯ มีแรงขายทำกำไร หลังฤดูรายงานผลกำไรบจ.สหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นแล้ว ALCOA รายงานกำไรดีกว่าคาด แต่ Wells Fargo รายงานกำไร ลดลงครั้งแรกในรอบ 18 ไตรมาส
ส่วนตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.48%w-w (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า+0.85%w-w) ดีสุดเป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย +2.58%w-w (ผลเลือกตั้งประธานาธิบดี คาดนายวิโจโจ ได้รับชัยชนะ) ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยได้แรงหนุนจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าอย่างหนาแน่นในช่วงสัปดาห์ล่าสุด (อาจมีการทำ Euro Carry Trade จากแนวโน้มการทำ QE ในอนาคต) เน้นหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ที่เป็นกลุ่ม Domestic Play และ Laggards Play
กลุ่มอุตฯ ที่ปรับขึ้นสูงสุด กลับมาเป็น กลุ่ม ICT +3.35%w-w อสังหาฯ +3.13% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ +1.79% พลังงาน +1.76% ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้างฯ ให้ผลตอบแทนแย่สุด -0.61%w-w
- ตลาดโภคภัณฑ์: ราคาน้ำมันดิบ ดิ่งลงแรงสุด 3.1-3.6%w-w และลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 จากคลายกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบโลก หลังลิเบียสามารถเจรจากลุ่มกบฎ เตรียมส่งออกน้ำมันดิบเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ราคาทองคำ ปรับขึ้นเล็กน้อย +1.2%w-w จากวิตกปัญหา EU Debt Crisis รอบใหม่อาจเกิดขึ้น ส่วนค่าระวางเรือ กลับมาดิ่งลงแรง -8.8%w-w อิงปัจจัยฤดูกาล ที่ค่าระวางเรือจะอ่อนตัวลงในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.
+ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : บาทแข็งค่าเทียบดอลล์ จากมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องอีก 0.74% เทียบดอลล์ มาปิดที่ 32.13 บาท/ดอลล์ แข็งค่าสุดนับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม เป็นต้นมา จากมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และล่าสุด HSBC เพิ่มมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น Overweight (จาก Underweight)
ส่วนทิศทางค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันศุกร์ หลังธนาคารบังโค เอสปิริโต ซานโตซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสยืนยันเกี่ยวกับเสถียรภาพการเงินของธนาคาร ทั้งนี้ ดอลลาร์ทรงตัวที่ 101.33 เยน และแทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.3609 ดอลลาร์ ส่วนดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.07% เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสู่ 80.185 จุดสนใจของตลาดในสัปดาห์หน้าจะอยู่ที่การแถลงนโยบายของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสในวันอังคารหน้า
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตาแนวทางการตั้งสภาปฏิรูป และกำหนดเวลานำไปสู่การเลือกตั้ง
ประเด็นการเมือง (Update):
คสช.คาดนำร่างธรรมนูญชั่วคราวขึ้นทูลเกล้าฯสัปดาห์นี้,ไม่ตอบ "ประยุทธ์" เป็นนายกฯ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ของคสช. คาดว่า สัปดาห์นี้จะนำ ร่างธรรมนูญการปก.ค.รองฉบับชั่วคราวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือน ก.ค.นี้ หลังจากนั้นจะมีการตั้งสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.)ในเดือน ส.ค. จากนั้น สนช.จะแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะมี นายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย. นี้
+2. Fund Flow: 3-9 ก.ค. ตลาดหุ้นไทยมีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 (ดูรายงาน Fund Flow Weekly Report)
แนะนำ บจ.คาดว่ารายงานกำไรเติบโตดีหรือมีปันผลระหว่างกาล ได้แก่ KBANK KTB TMB PTTEP ADVANC TRUE MINT
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (3-9 ก.ค.. 57) ยังคงซื้อ Bonds & Equities Funds พร้อมกันสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกยังคงซื้อต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Equities Funds มีแรงซื้อเพิ่มขึ้นเป็น +$5.4bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$1.3bn. -$0.6bn. +$12.6bn. สะสม YTD +$75bn.) เป็นแรงซื้อในตลาดหุ้น DM +$4.1bn. ส่วน Bond Funds มีแรงซื้อต่อ+$3.5bn. (สัปดาห์ก่อนหน้า +$4.9bn. +$4.7bn. -$2.3bn. +$1.6bn. ตามลำดับ สะสม YTD+$107.7bn.)
ตลาดหุ้น USA มีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่7 จำนวน +$3.7bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$3.1bn. +$1.5bn.+$5.3bn. +$10bn.) ส่งผล YTD มีแรงซื้อสะสม +$77.7bn. ขณะที่ตลาดหุ้น Europe มีแรงซื้อลดลงมากเหลือ +$0.3bn. (เป็นการซื้อสัปดาห์ที่ 53 ในรอบ 54 สัปดาห์) Vs สัปดาห์ก่อน +$1.3bn. -$1.2bn. +$1.4bn.) สะสมสุทธิ $100.4 bn.
ส่วนกองทุน GEM มีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 13 ในรอบ 15 สัปดาห์ ด้วยปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น +$1.2bn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$500mn. +$445mn +$643mn. ตามลำดับ) สะสมสุทธิ +$17bn. นับตั้งแต่มีแรงซื้อกลับมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค. เป็นต้นมา (Vs ขายสุทธิ -$44bn. รอบ 1 ปีสิ้นสุด มี.ค. 57)
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 9 ด้วยปริมาณสูงสุดใกล้เคียงสัปดาห์ก่อหน้าสำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 9 ด้วยปริมาณสูงขึ้น +$2.1bn. (Vsสัปดาห์ก่อนหน้า+$2.0bn. +$240mn. +$1.6bn. ตามลำดับ) โดยมีแรงซื้อกลับเข้ามาใน ตลาดหุ้นอินเดีย +$1.4bn.สูงสุดรอบ15สัปดาห์ และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 2 +$410 mn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$1bn.) ส่วนตลาดหุ้นไต้หวัน กลับมาถูกขายสุทธิเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางกพ. -$24mn. (Vs ซื้อ20 สัปดาห์ สะสม $10.8bn.) ส่วนตลาดหุ้นกลุ่ม TIPs มีแรงซื้อต่อเนื่องรวมกันกว่า +$343mn. (ตลาดหุ้นไทยมีแรงซื้อคืนอีก +$192mn. Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$151mn..อินโดนีเซีย มีแรงซื้อ +$135mn. ฟิลิปปินส์ +$19mn.ตามลำดับ)
EFPR รายงาน ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินไหลเข้ากองทุนไทย +$28.6mn. จากสองสัปดาห์ก่อนที่มีเงินกองทุนไหลออกสุทธิรวม -$27.9mn. โดยได้อานิสงส์หลักจากเงินทุนที่ไหลกลับเข้ากองทุน GEM เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ต่างชาติเริ่มกลับเข้าลงทุนหุ้นไทย แนะซื้อสะสมหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ HSBC เพิ่มน้ำหนักลงทุนในหุ้นไทยเป็น Overweight, มองความเสี่ยงการเมืองคลี่คลาย
ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของอังกฤษ ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (Overweight) จากเดิมที่ลดน้ำหนักการลงทุน (Underweight) ในตลาดหุ้นไทย หลังมองความเสี่ยงการเมืองในประเทศ เริ่มคลี่คลาย ขณะที่มองว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในปีนี้ จะดีกว่าคาด HSBC ระบุว่า รัฐบาลโดยการนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้สถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม กลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยเร่งเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ และแต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจชุดพิเศษ เพื่อ พิจารณาโครงการที่สำคัญ HSBC ระบุด้วยว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้ปรับลดคาดการณ์กำไรของบจ. ในตลาดหุ้นไทยปีนี้ เป็นการมองในแง่ลบเกินไป โดยล่าสุดคาดการณ์การเติบโตของกำไรบจ.ที่ 10.6% ทั้งนี้ HSBC เชื่อว่าการเติบโตของกำไรบจ.จะออกมาดีกว่าที่คาดกันไว้
KTZ คงคำแนะนำ ซื้อสะสมหุ้นบลูชิพ อิงกระแสเงินทุนต่างชาติ ที่ไหลกลับเข้ามาเก็งกำไร แนะนำกลุ่มธนาคาร อสังหาฯ พลังงาน สื่อสาร (top pick KBANK SCB PS LPN SIRI PTTEP ADVANC INTUCH)
+3. พลังงานทางเลือกยังน่าลงทุน แนะซื้อสะสม GUNKUL IFEC
ประธานฯ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน เผยอาจเดินหน้าโครงการโซลาร์ชุมชน-โซลาร์รูฟท็อป
พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก และเลขาธิการคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน ระบุว่า อาจเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน รวมถึงโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) บนหลังคาศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของหัวหน้า คสช. ที่ต้องการ เน้นโครงการด้านพลังงานทดแทน
การประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ วันพฤหัสฯ ได้ทบทวนโครงการที่จะดำเนินการ ในปีงบประมาณ 56-57 จำนวน 23 โครงการ มีเม็ดเงินลงทุนรวมประมาณ 8 พันล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเสนอให้ยกเลิกโครงการ เพราะกังวลต่อการใช้งบประมาณ ที่อาจไม่ทันตามกำหนด และบางโครงการต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดด้วย ขณะที่การประชุมในวันนี้ได้เห็นชอบ 2 โครงการ ได้แก่ การส่งเสริมงานวิจัย และพัฒนาด้านโครงการอนุรักษ์พลังงาน และด้านโครงการพลังงานทดแทน วงเงินรวม 400 ล้านบาท
สัปดาห์นี้ จะมีการทบทวนโครงการ โดยโครงการที่อาจ จะทำต่อ เช่น โซลาร์ชุมชน โครงการโซลาร์รูฟท็อป โครงการพลังงานจากขยะ
เรามองว่า กลุ่มพลังงานทางเลือกยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากอยู่ในแผนพัฒนาด้านพลังงานระยะยาวของรัฐบาล โดยหุ้นที่เราชอบที่สุด คือ GUNKUL นอกจากนี้ มองว่า IFEC มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจมาทำพลังงานทางเลือกอย่างเต็มตัว มีโอกาสโตก้าวกระโดด
4. Earnings Results: กำไรสุทธิ 2Q57 ของ KTB, TMB และ BAY มีแนวโน้มโตดีกว่าธนาคารอื่นๆ
เราคาดธนาคารที่เราศึกษาจะมีกำไรสุทธิรวม 5.1 หมื่นล้านบาท ใน 2Q57 (+3% ทั้ง YoY และ QoQ) คาดสินเชื่อยังขยายตัวได้ดี 6% YoY แต่ค่อนข้างทรงตัว QoQ ขณะที่ NIM ค่อนข้างทรงตัว YoY (ยกเว้น BBL, TMB, BAY และ TCAP) และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ ขณะที่การตั้งสำรองปกติสำหรับธนาคารส่วนใหญ่น่าจะยังสูงอยู่ทั้ง YoY และ QoQ เพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยง NPL ที่สูงขึ้น จากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่หลายธนาคารเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น (น่าจะได้แก่ KTB, KKP, และ TISCO) จึงมีแนวโน้มตั้งสำรองพิเศษ เผื่อรับมือกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และเพื่อการประเมิน NPL เชิงคุณภาพใน 2Q57 ขณะที่กำไรสุทธิรวมทั้งกลุ่มใน 1H57 น่าจะยังชะลอตัว คาดติดลบ 1% YoY เป็นกำไรรวมที่ประมาณ 1.02 แสนล้านบาท
เราคาดว่า 3 ธนาคาร (KTB, TMB และ BAY) จะมีกำไรสุทธิโตแข็งแกร่งขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ซึ่งส่วนหนึ่งคาดจะเป็นผลมาจากฐานกำไรสุทธิต่ำใน 2Q56 ที่ธนาคารดังกล่าวมีการตั้งสำรองหนี้พิเศษสูงเผื่อรับมือเศรษฐกิจชะลอตัว
ส่วนธนาคารที่น่าจะมีแนวโน้มกำไรสุทธิลดลงแรงกว่ากลุ่มฯ YoY ได้แก่ กลุ่มที่มีรายได้มาจากธุรกิจสินเชื่อรถยนต์และตลาดทุนในสัดส่วนสูง โดยเฉพาะ KKP, TISCO และ TCAP โดยคาดธนาคารดังกล่าวจะเห็นสินเชื่อหดตัวลงทั้ง YoY และ QoQ รวมทั้งยังมีแนวโน้มตั้งสำรองหนี้ในระดับสูงต่อเนื่อง จากคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอจากภาคสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว อนึ่ง ปริมาณขายเฉลี่ยต่อวันของ SET ใน 2Q57 อยู่ที่ 40.8 พันล้านบาท ลดลง 47% จาก 58.6 พันล้านบาท ใน 2Q56 แต่เพิ่มขึ้น 17% จาก 30.8 พันล้านบาท ใน 1Q57
คุณภาพสินทรัพย์ยังอ่อนแอลง QoQ
คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารใน 2Q57 น่าจะอ่อนแอลง QoQ สะท้อนถึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน โดยเฉพาะสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มือสอง, สินเชื่อผู้บริโภคแบบไม่มีหลักประกัน และสินเชื่อ SME ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เราคาดว่าสถานการณ์ NPL จะยังอยู่ในระดับบริหารจัดการได้ และน่าจะเห็นความเสี่ยง NPL ลดลง โดยเฉพาะในปี 58 จากแนวโน้มเศรษฐกิจและการเมืองปรับตัวดีขึ้น
ส่วนประมาณการของ Bloomberg คาด 2Q57F ที่จะทยอยประกาศบงบการเงินสัปดาห์นี้ นำโดยกลุ่มแบงก์ ส่วนบจ.กลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงินจะทยอยประกาศในสัปดาห์ต่อไป นำโดย DCC BIGC PTTEP TTW PSL
สหรัฐฯ: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ Citigroup(14/7) Goldman Sachs, J&J ,Intel, Yahoo (15/7) Bank of America, EBay (16/7) Google, Morgan Stanley, IBM (17/7) GE, Honeywell (18/7)
+/- 5.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตาการแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด Jellen วันอังคาร-พุธ /China 2Q57F GDP คาดเติบโต 7.4%y-y
วันจันทร์ 14 ก.ค. EU Industrial Production พ.ค. คาด -1.2%m-m (Vs 0.8%) / Singapore 2Q57F GDP คาด 3.1%y-y (Vs 4.9%)/ Japan Industrial Production พ.ค.
วันอังคาร 15 ก.ค. USA ประธานเฟดแถลงนโยบายการเงินต่อ Senate ยอดค้าปลีก มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs 0.3%)/ Germany ZEW Survey Ecnomic Sentiment ก.ค. คาด 28.5 (Vs 29.8) / Japan BOJ Meeting คาดคงดอกเบี้ย
วันพุธ 16 ก.ค. USA ประธานเฟดแถลงนโยบายการเงินต่อสภาคองเกรส Industrial Production มิย คาด 0.3%m-m (Vs 0.6%) ดัชนีราคาบ้าน ก.ค. คาด 50 (Vs 49) FED Beige Book / EU Trade Balance พ.ค. คาด +15.5bn EUR(Vs +15.8bn) /China: 2Q57F GDP คาดเติบโต 7.4%y-y (Vs 7.4%)
วันพฤหัสฯ17 ก.ค. USA Housing Starts มิย คาด 1020k(Vs 1001k) Phil Fed Survey ก.ค. คาด 16 (Vs 17.8) EUR: CPI มิย คาด 0.5%y-y
วันศุกร์ 18 ก.ค. USA Michigan Survey ก.ค. คาด 83 (Vs 82.5) EUR ดุลบัญชีเดินสะพัด พ.ค. คาด +21 bn EUR(Vs +21.5bn.)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
อินโดนีเซีย – Event Play จากการได้รับชัยชนะของโจโควี และนโยบายปฎิรูปประเทศครั้งใหญ่อาจหนุน GDP เพิ่มกว่าคาด
อินโดนีเซีย: ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อเป้าหมายเติบโต GDP ปีนี้และปีหน้าที่ 5% หลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 9 ก.ค. นาย Joko Widodo (โจโควี) ชนะอย่างไม่เป็นทางการด้วยคะแนนโหวต 54% ต่อ 46% โดยจะรับเข้าตำแหน่งในเดือนตค. เห็นได้จากการแข็งค่าของค่าเงินรูเปียะห์หลังจากร่วงลงไป 5% ในช่วงเมษายนถึงมิถุนายน และตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ที่ปรับขึ้นแรงตลาดคาดว่า การปฎิรูปครั้งใหญ่ โดยเฉพาะนโยบายปราบคอรัปชั่น การเร่งลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน การผ่อนคลายการควบคุม/การแทรกแซงโดยเฉพาะตลาดแรงาน จะเกิดขึ้น และสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในนโยบายระยะยาว
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงคือ นายโจโควี ไม่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารองค์ขนาดใหญ่และความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ ขณะที่การจัดตั้งรัฐบาลผสม เนื่องจากพรรค PDI-P ของนายโจโควี ได้รับคะแนนเพียง 20% ของการโหวตในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ฝรั่งเศสเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงเกินคาด 1.7% ในเดือน พ.ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (INSEE) ของฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมดิ่งลง 1.7% ใน เดือนพ.ค. จากเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2%
ญี่ปุ่นเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. สำนัก.ค.ณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือน มิ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นสำหรับครัวเรือนทั่วไป ซึ่งรวมถึงมุมมองเกี่ยวกับรายได้และ การจ้างงาน อยู่ที่ระดับ 41.1 ในเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นจาก 39.3 ในเดือน พ.ค.
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวหลังคลายกังวล Portugal Debt Problem
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดบวก หลังดิ่งลงแรงวันพฤหัสฯ โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 28.74จุดหรือ 0.17% สู่ระดับ 16,943.81 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขึ้น 2.89จุดหรือ 0.15% สู่ระดับ 1,967.57จุด Nasdaq ปิดบวก 19.29จุด หรือ 0.44% สู่ระดับ 4,415.49 จุด จากการแรลลี่ของหุ้นกลุ่มอินเตอร์เน็ต Amazon.com +5.6% Ebay +2.3% คาดผลการดำเนินงานเติบโตดี ส่วน Wells Fargo ราคาร่วงลง 0.6% หลังรายงาน EPS เติบโตลดลงเป็นครั้งแรก ในรอบ 18 ไตรมาส ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาด 2Q57F Earnings เพิ่มขึ้น 4.5%q-q Sales +3.1%q-q (Vs เมื่อเมษายน คาด Earnings +7.3%q-q Sales +3.7%) ทั้งนี้ กลุ่มการเงิน คาดรายงานกำไร -3.9%q-q ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวที่คาดว่าจะรายงานกำไรลดลง
ตลาดหุ้นสหรัฐ สัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาปิดลดลง นำโดย Nasdaq –1.57%w-w แย่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. รองลงมา คือ S&P 500 -0.9%w-w DJIA-0.73%w-w ร่วงลงหลังจากทำสถิติสูงสุดในวันจันทร์ และ VIX Index +17%w-w วิตก Valuation ที่ PER สูงถึง 18 เท่า สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 ส่งผลให้หุ้นนำตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาเป็น กลุ่ม Utilities
+ ตลาดหุ้นยุโรป รีบาวด์หลังรัฐบาลโปรตุเกาสสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคาร
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดขึ้นเล็กน้อย หลังดิ่งลงแรงวันพฤหัสฯ FTSE ปิดบวก 17.80 จุด หรือ 0.27% สู่ 6,690.17 จุด ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่มขึ้น 15.24 จุด หรือ 0.35% สู่ 4,316.50 จุด และ DAX ปิดบวก 7.21 จุด หรือ 0.07% สู่ 9,666.34 จุด เป็นผลจาก การกลับมาปรับสูงขึ้นของตลาดหุ้นโปรตุเกส +0.67% หลังจากวันพฤหัสฯร่วงลงไป 4% กังวลปัญหาสภาพบันการเงิน ผิดนัดชำระหนี้ระยะสั้น
-ราคาน้ำมันดิบ ปิดลดลงวันเดียว สูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ส.ค. ปิด ดิ่งลงอีก 2.01 ดอลลาร์ สู่ 106.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ส.ค. ดิ่งลงอีก 2.10 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 100.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังอุปทานลิเบียส่อกลับสู่ตลาดท่ามกลางอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ
-ราคาทองคำ กลับมาอ่อนตัวเล็กน้อย หลังจาก.ค.ลายกังวลต่อปัญหาแบงก์โปรตุเกส
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด กลับมาอ่อนตัวลงเล็กน้อย 1.80 ดอลล์ สู่ 1,337.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยูโรโซนและความกังวลต่อปัญหาภาคธนาคารในโปรตุเกส
- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลงอีก 22 จุด มาปิดที่ 814 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุด เมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270