- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 03 March 2016 17:46
- Hits: 379
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ต้องระวังแรงขายกดดันให้ปรับลง จึงแนะนำให้รอซื้อช่วงอ่อนตัวดีกว่า!
กลยุทธ์ : แม้ว่า SET ยังขยับบวกต่อได้ดี แต่ก็มีแรงขายกดดันเป็นระยะ ทำให้คาดว่ากรอบบวกจะเริ่มจำกัด และมีลุ้นโอกาสปรับพักตัวลงให้เป็นโอกาสในการเลือกหุ้นเข้าซื้อใหม่ได้ในเร็วๆ นี้ตามคาด ดังนั้นเราจึงยังไม่แนะนำให้รีบกลับเข้าซื้อ โดยน่ารอช่วงตลาดปรับตัวลงก่อนดีกว่า และในจังหวะตลาดแกว่งบวกยังสามารถทยอยขายเพื่อรับรู้กำไรไว้ก่อนได้เช่นเดิม
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LPH, THANI, M(short)
แนวโน้ม : แม้ว่า SET จะยังรีบาวด์ขึ้นต่อเนื่องได้ดี แต่ก็เริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมากดดันให้เห็นบ้างในช่วงท้ายตลาดวานนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนแม้ว่าจะปิดเป็นบวกเล็กน้อย แต่ก็มีแรงขายกดดันในช่วงแรกจนดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงไปเกือบ 100 จุดมาด้วย แสดงถึงแรงขายในตลาดที่ยังมีอยู่พอควร ซึ่งการที่ตลาดหุ้นสหรัฐดีดกลับขึ้นมาได้จากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ดีกว่าคาดในเดือน ก.พ. ก็อาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลประชุมเฟดในช่วงกลางเดือน มี.ค.นี้ได้ โดยคาดว่านักลงทุนบางส่วนยังรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในค่ำวันศุกร์นี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามเช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียค่อนข้างสดใส รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ระหว่างฟื้นตัวแม้ว่าจะแกว่งผันผวนบ้าง โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ EIA เปิดเผยตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ก่อน ทำให้ SET ยังมีลุ้นแกว่งบวกต่อเนื่องได้อีก แต่ FSS คาดว่ากรอบบวกจะค่อนข้างจำกัด และต้องระวังแรงขายทำกำไรที่อาจมีออกมากดดันมากขึ้น หลังดัชนีขยับขึ้นมาตอบรับข่าวบวกต่างๆ ไปพอควรแล้ว
แนวรับ 1360-1354 , 1350-1345 จุด
แนวต้าน 1368-1372 , 1375-1378 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่นและทุกประเทศ US$781 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$356.1 ล้าน ไต้หวัน US$259.3 ล้าน และไทย US$101.3 ล้าน แนวโน้มเงินทุนมีทิศทางไหลเข้านักลงทุนมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการประชุมธนาคารกลางในหลายประเทศ BOJ, ECB และ FED ซึ่งน่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและสภาพคล่อง ขณะที่การประชุมระหว่าง OPEC และ Non-OPEC เรื่องกำลังการผลิตน่าจะออกมาดีเช่นกัน
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) เงินสกุลเอเชียแข็งค่าจาก Fund flow ไหลเข้า หลังมีคาดการณ์ว่า Fed ไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย และ BOJ และ ECB จะกระตุ้นเศรษฐกิจ หุ้นขนาดใหญ่ยังนำตลาดต่อเนื่อง หุ้นที่ยัง laggard ได้แก่ KTB, TMB, ADVANC, DTAC, LH, CK, UNIQ ส่วนหุ้นที่ขึ้น XD วันนี้มีผลกระทบตลาดเพียง 1.22 จุด
(+) CPF หากตัดรายการพิเศษออก ผลการดำเนินงาน 4Q15 ขาดทุนซึ่งผิดไปจากคาด ทำให้กำไรปกติทั้งปีหดตัว 73% Y-Y เพราะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น เราปรับค่าใช้จ่ายดำเนินงานในปี 2016 ให้สูงขึ้นแต่ชดเชยด้วยส่วนแบ่งกำไรจาก CPALL ที่แข็งแกร่ง ทำให้ประมาณการกำไรปีนี้ยังคงเดิมที่ 6.78 พันล้านบาท +320% Y-Y การเติบโตในปีนี้จะมาจากธุรกิจไก่ที่ Oversupply ลดลง ธุรกิจกุ้งที่เริ่มกำไรดีขึ้น และการรวมธุรกิจไก่ที่รัสเซียเต็มปี แต่ปรับลดราคาพื้นฐานจาก 28 บาทเหลือ 24 บาทเพราะปรับลดกำไรของธุรกิจไก่ ยังแนะนำซื้อเพราะผลประกอบการผ่าน bottom แล้ว
(0) MC กำไร 4Q15 ที่กลับมาโตแรง +117% Q-Q, +25% Y-Y เป็น 250 ล้านบาท เป็นเพียงชั่วคราวเพราะได้อานิสงส์จากมาตรการช้อปช่วยชาติปลายปี และการจัดโปรโมชั่นครบรอบ 40 ปีของบริษัท ซึ่งทำให้ Same store sales growth +19.2% Y-Y เทียบกับ 3Q15 ที่ -5.6 % Y-Y แต่อัตรากำไรขั้นต้นลดลงและค่าใช้จ่ายขายและบริหารเพิ่มสูงขึ้นมาก เราปรับลดกำไรปี 2016 ลงเหลือโตเพียง 6.4% Y-Y เพราะกำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ ลดราคาพื้นฐานเป็น 13.50 บาท แนะนำเพียงถือ
(-) JAS ราคาหุ้นที่ขึ้นแรงวานนี้ไม่สอดคล้องกับปัญหาต่างๆที่รุมเร้า ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องหาแบงก์การันตีให้ได้ภายใน 21 มี.ค. ขณะที่ข่าวจาก BBL คือไม่ปล่อยกู้เต็มจำนวนยกเว้นจะเพิ่มทุน แต่การเพิ่มทุนอาจไม่สำเร็จเพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (เราคาดบริษัทขาดทุนไม่ต่ำกว่า 3 ปีและไม่จ่ายปันผล) การหาพันธมิตรเป็นไปได้แต่ไม่ง่าย หากยอมคืนไลเซนส์ 4G ให้กสทช. แลกกับถูกปรับ 644 ล้านบาทและชดใช้ความเสียหายซึ่งกสทช.ไม่ชัดเจนว่าเท่าไร วิธีนี้เสี่ยงเกินไป หาก JAS หันมาทำธุรกิจ Fixed broadband ตามเดิมแต่ก็ลำบากเพราะ 4G เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว กำไรปกติปีก่อน -27% Y-Y ตลาดเริ่มอิ่ม ลูกค้าเพิ่มขึ้นน้อยลงแต่มีค่าเช่าโครงข่ายที่ต้องจ่ายให้ JASIF มากขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตคือ JAS จ่ายปันผลเพิ่มขึ้นคิดเป็น Payout เกือบ 90% ทั้งที่กำลังใช้เงิน เราไม่เห็นเหตุผลในการซื้อ JAS
หุ้นขึ้น XD วันนี้ PTT (4 บ.), AMATAR (0.20 บ.), FPI (0.07 บ.) OGC (3.13 บ.), TNP (0.03 บ.) กระทบ SET 1.22 จุด
หุ้นขึ้น XD พรุ่งนี้ ERW (0.04 บ.), GOLDPF (0.168 บ.), KPNPF (0.126 บ.), MJLF (0.26 บ.), MTI (6.30 บ.), NKI (32:1), ROBINS (1 บ.), THANI (0.18 บ.), TMI (0.015 บ.), TREIT (00.094 บ.) กระทบ SET 0.22 จุด
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาขยับขึ้นได้เล็กน้อยจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ.ที่เพิ่มมากกว่าคาดรวมถึงราคาน้ำมันที่ขยับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศวันศุกร์
(+) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังปิดบวกได้ต่อเนื่องจากแรงหนุนของราคาน้ำมัน รวมถึงการพุ่งขึ้นของหุ้นในกลุ่มธนาคารและเหมืองแร่
(+) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง จากบรรยากาศการลงทุนที่ยังค่อนข้างสดใส
(0) ค่าเงินบาทแกว่งตัวออกข้างค่อนมาทางแข็งค่า ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40-35.55 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ขยับขึ้น 0.26 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 34.66 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA เปิดเผยว่าสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลง ซึ่งช่วยลดแรงกดดันจากปัจจัย Oversupply
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 11.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,241.80 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ทีอ่อนค่า รวมถึงจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศพรุ่งนี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3-มี.ค. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.พ.)
- จีน: Caixin China PMI Composite (ก.พ.)
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ม.ค.), ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.พ.)
4 มี.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน (ก.พ.)
7-มี.ค. - ตลาดหุ้นอินเดียปิดทำการ เนื่องในวัน Saka New Year
7-8 มี.ค. - ไทย: ตลาดฯ จัดงาน “Thai Corporate Day 2016”
8 มี.ค. - จีน: ดุลการค้า (ก.พ.)
- ญี่ปุ่น: 4Q15 GDP
- ยูโรโซน: 4Q15 GDP
9 มี.ค. - ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดทำการ เนื่องในวัน Saka New Year
10-มี.ค. - จีน: ยอดสินเชื่อใหม่รายเดือน (ก.พ.)
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- ยูโรโซน: ECB ประชุม
12-มี.ค. - จีน: Industrial Production, ยอดค้าปลีก (ก.พ.)
14-มี.ค. - ญี่ปุ่น BOJ ประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ก.พ.), NAHB Housing Market Index (มี.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch