WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : เขียวสดใส
Stock of the town : TVD UNIQ
Analyst Meeting : BAY
หุ้นมีข่าว : TSE JAS LH
  SET วานนี้ปรับตัวขึ้นตอบรับจีนปรับลดอัตรกันสำรองธนาคาร (RRR) ลง รวมถึงความคาดหวัง ECB จะใช้ QE เพิ่มเติมในการประชุม 10 มี.ค. ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,346.95 จุด (+14.58 จุด) Volume 4.1 หมื่นลบ. โดย Foreign Net -146. ,Net TFEX -5,249 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+ ตลาดหุ้น DJ +348.58 จุด จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน รวมถึงดัชนีภาคการผลิตของ ISM เดือนก.พ.พุ่งสูงสุดในรอบ 6 เดือนอยู่ที่ระดับ 49.5 , การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐเดือนม.ค. +1.5% สู่ระดับ 1.14 ล้านล้านดอลลาร์ สูงสุดตั้งแต่เดือนต.ค.2007
+ ราคาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นล่าสุด 33.9 USD/Barrel หลังจากรัสเซียระบุว่า ใกล้บรรลุข้อตกลงกับกลุ่มโอเปก ในการจำกัดการผลิตน้ำมัน
+ อัตราการว่างงานในยูโรโซนเดือนม.ค. ร่วงลงสู่ระดับ 10.3% ต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง , PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนเดือนก.พ.เพิ่มสู่ระดับ 51.2
+ ธนาคารกลางจีนมีมติลดสัดส่วนการกันสำรอง (RRR) ลง 0.5% เหลือ 17% มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มี.ค.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
+ คาด ECB ใช้มาตรการ QE เพิ่มเติมในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. (ปัจจุบันใช้ QE ที่ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน) หลังจากอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ -0.2%
- Foreign พลิกเป็น Net Sell 3 วันราว 1.5 พันลบ.
ตัวเลขเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯและยุโรปที่แข็งแกร่ง ราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น รวมถึงคาดการณ์ ECB จะใช้ QE เพิ่มเติมในการประชุม 10มี.ค. เป็นปัจจัยบวกต่อภาวะตลาด ดังนั้นคาดว่า SET จะปรับตัวขึ้นโดยมีแนวต้านที่ 1,355 – 1,360 จุด
** คืนนี้ติดตามรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ของ FED


กลยุทธ์การลงทุน
  แนะนำ Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยบวก
  - กลุ่มพลังงาน อานิสงส์ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น
  - KSL KBS KTIS BRR ราคาน้ำตาล + 14%WoW ล่าสุด 14.42 USD. จากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ และภาวะภัยแล้ง
  - AOT กพท. เตรียมเสนอแผนแก้ปัญหาการบินภาพรวมต่อครม.เพื่อปลดธงแดง ICAO , ทอท.เสนอบอร์ด 23 มี.ค. ขยายดอนเมืองเฟส 3 กว่า 1 หมื่นล้าน แล้วเสร็จปี 64 รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี ส่วนอาคาร 2 พร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการ 8 มี.ค.นี้
  - กลุ่ม High Dividend INTUCH ADVANC KTB KKP TISCO

ประเด็นข่าวอื่น
  - กองทุน "เทมเพิลตัน" ซื้อหุ้น WHA 5.77% จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ เหตุมองเห็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ และแผนการจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ ทั้งจัดตั้งกองรีท และนำบริษัทลูกเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปลายปี 59 (ข่าวหุ้น)
  - ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อขายหุ้น 3 บริษัท EMC PAE CIG หลังผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นงบการเงินงวดปี 2558 ทั้งนี้ PAE อยู่ระหว่างพิจารณาฐานะการเงินว่าเข้าข่ายถูกเพิกถอนหรือไม่

Analyst Meeting
  BAY ราคาปิด 31.00 ราคาเหมาะสม consensus เฉลี่ย 32.35
  ผลการดำเนินงานในปี 58 เติบโตสูงมากจากฐานที่ต่างกันหลังจากควบรวมงบการเงินกับ BTMU กรุงเทพฯ ซึ่งทำให้กำไรเติบโต 32% รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต 18% สินเชื่อเติบโต 28.7% และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจาก 29% ในปี 57 เป็น 42% และทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลงเหลือ 4.15% จากเดิม 4.32% ขณะที่ NPL ยังอยู่ในระดับดี %NPL เท่ากับ 2.24% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่เพิ่มเข้ามาเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพดี
  ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อ 5-6% โดยมุ่งเน้นที่ คาด NIM จะลดลงเหลือราว 4% จาก portfolio mix ที่มีสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น เป้าการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมลดลงเหลือ 12% จากฐานที่โตขึ้นโดยเน้นการขยายฐานสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย
BAYมีฐานะเงินกองทุนแข็งแกร่ง มีอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 14.3% ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรอยู่ที่ระดับ "AAA" แนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่"

หุ้นมีข่าว
  ปัจจัยบวกต่อ TSE (ราคาปิด 3.82) อนุมัติการลงทุนและทำสัญญา Master EPC Agreement กับ Prospec Holding Inc. ประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 6,500 ล้านเยน เทียบเท่า 1,960 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 17.5 MW กำลังการผลิตเสนอขาย 13.5 MW


     ปัจจัยลบต่อ JAS (ราคาปิด 2.78) กสทช.ปิดช่อง JAS ทยอยแบ่งจ่ายค่าไลเซนส์ 4G คลื่นความถี่ 900 MHz “ฐากร” ระบุชัด “ทำไม่ได้แน่นอน”ขณะที่ BBL-SCB เผย JAS ยังไม่ได้ส่งแผนธุรกิจฉบับใหม่ (ที่มา : ข่าวหุ้น)
  LH (ราคาปิด 8.65 ซื้อ เป้า Consensus เฉลี่ย 9.70 ) ผลการดำเนินงานในช่วง 4Q58 เติบโตทั้งยอดขาย presale (+48%YoY +34%QoQ) รายได้ (+11%YoY +55%QoQ) และกำไรสุทธิ (+3%YoY +129%QoQ) ไตรมาสนี้มีรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการขายสินทรัพย์ 1,189 ล้านบาท กำไรทั้งปี 58 เท่ากับ 7,920 ลบ. -6% เนื่องจากรายได้เท่ากับ 2.4 หมื่นลบ. -7% จากภาวะตลาดอสังหาฯที่ไม่เอื้ออำนวยจึงเลื่อนเปิดขายโครงการใหม่ 8 โครงการ เปิดเพียง 9 โครงการมูลค่ารวม 2.7 หมื่นลบ.) อัตรากำไรขั้นต้นลดเหลือ 33.9% จาก 35.4% ในปี 57 ขณะที่ส่วนแบ่งรายได้จากเงินลงทุน +10% และอัตราส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ลดเหลือ 11.1% จาก 11.6% ในปี 57 จุดเด่นอยู่ที่ yield สูงเหมาะถือยาวรับปันผล เงินปันผล 2H58 หุ้นละ 0.35 บาทรวมจ่ายทั้งปี 0.60 บาทต่อหุ้น สูงกว่าคาดที่ 0.52 บาท payout ratio 93% yield 7%

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : +348.58 จุด
  ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,865.08 จุด พุ่งขึ้น 348.58 จุด หรือ +2.11% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,689.60 จุด เพิ่มขึ้น 131.65 จุด หรือ +2.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,978.35 จุด เพิ่มขึ้น 46.12 จุด หรือ +2.39% โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงยอดใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 8 ปี และภาคการผลิตที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดในเดือนก.พ. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน

ตลาดน้ำมัน NYMEX : +0.65 ดอลลาร์/บาร์เรล
  สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดบวก 65 เซนต์ หรือ 1.9% แตะที่ 34.4 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากทางการรัสเซียระบุว่า ใกล้มีการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในการจำกัดการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ ตลาดยังคงขานรับข่าวธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อกระตุ้นสภาพคล่องและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ปัจจัยบวก

+ สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.5% ในเดือนม.ค. สู่ระดับ 1.14 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2007
+ สหรัฐเผยผลการสำรวจระบุว่าภาคธุรกิจขนาดย่อมมีการขยายตัวในเดือนก.พ.สู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี ทั้งนี้ ดัชนีธุรกิจขนาดย่อม Paychex IHS ดีดตัวขึ้นในเดือนก.พ. สู่ระดับ 100.75 เพิ่มขึ้น 0.10% จากเดือนม.ค.
+ สหรัฐ ผู้ผลิตรถยนต์รายงานยอดขายที่สดใสในเดือนก.พ. ขณะที่ลูกค้ากลับเข้าซื้อรถยนต์ หลังเผชิญภาวะอากาศหนาวจัดในเดือนม.ค. ทั้งนี้ ฟอร์ดรายงานยอดขายพุ่งขึ้น 20% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่เฟียต ไครสเลอร์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 12% ส่วนนิสสันเพิ่มขึ้นเกือบ 11%
+ ยูโรโซน เผยผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 51.2 ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับรายงานเบื้องต้นที่ 51.0 และตัวเลขเดือนม.ค.ที่ 52.3 ทั้งนี้อัตราการผลิต ยอดคำสั่งซื้อใหม่ การส่งออก และการจ้างงานนั้น ได้ชะลอตัวลงทั้งหมด โดยฝรั่งเศสและเยอรมนีเริ่มใกล้ภาวะซบเซา ขณะที่กรีซกลับไปหดตัวอีกครั้ง
+ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในยูโรโซนร่วงลงสู่ระดับ 10.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปีครึ่ง หรือนับตั้งแต่เดือนส.ค.2011 จากระดับ 10.4% ในเดือนธ.ค. ปัจจัยที่หนุนการปรับตัวลงของอัตราการว่างงานคือการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาด
+ อิรักเปิดเผยว่า การส่งออกน้ำมันดิบเฉลี่ยของอิรักอยู่ที่ระดับ 3.225 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนก.พ. ซึ่งต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ โดยมูลค่าการส่งออกน้ำมันอยู่ที่ระดับ 2.2 พันล้านดอลลาร์ในเดือนที่แล้ว โดยอิงจากราคาเฉลี่ยที่ 23 ดอลลาร์/บาร์เรล
+ รัสเซียระบุว่า ใกล้มีการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในการจำกัดการผลิตน้ำมัน ขณะที่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะมีขึ้นในการประชุมในเดือนนี้ โดยเห็นพ้องกับข้อตกลงในการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน โดยรัสเซียจะไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในปีนี้
ปัจจัยลบ

- สหรัฐ ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ระดับ 49.5% ในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 48.2% ในเดือนม.ค. แต่ยังคงหดตัว
- ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคญี่ปุ่นในเดือนม.ค.ลดลง 3.1% เมื่อเทียบรายปี หลังจากร่วงลง 4.4% ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว
- กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.พ.59 อยู่ที่ 105.62 หดตัว -0.50% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.58 และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ม.ค.59) ขยายตัว 0.15% มีผลให้ CPI เฉลี่ยช่วง 2 เดือนแรก หดตัว -0.52%
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เตรียมปรับลดเป้าหมาย GDP ไทยปีนี้ หลังจากส่งออกเดือนมกราคมทรุดหนักสัญญาณไม่ดี ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจไม่สดใส และภัยแล้งหนัก ด้านสภาผู้ส่งออกประเมินไตรมาสแรกส่งออกส่อติดลบ 5% รับสภาพว่าจะกระตุ้นให้ปีนี้เป็นบวกเรื่องยาก


ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ

สัปดาห์แรก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
สัปดาห์ที่สอง ศูนย์วิจัยทองคำแถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน / ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
7 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
7-8 มี.ค. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงาน SET Thai Corporate Day 2016: Driving Economy with Sustainable Growth
9-10 มี.ค. ประเทศไทยป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue – ACD)
11 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
กลางมี.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์/ กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
21 มี.ค. ครบกำหนดจ่ายเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz งวดแรกของผู้ชนะประมูล
23 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 2/2559
23-26 มีนาคมประชุมสรุปร่างรธน.นัดสุดท้ายนอกสถานที่ที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งมอบให้ครม.นำไปทำประชามติต่อไปในวันที่ 29 มี.ค.
24-27 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีนำภาคเอกชนไปโรดโชว์เกาหลีใต้
สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง (คาดจะปรับลดประมาณการ GDP)
29 มี.ค. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำหนดจัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้าย
30 มี.ค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
31 มี.ค. ธปท.แถลงข่าวรายงานนโยบายการเงิน / รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน / ธปท. เตรียมปรับลดเป้า GDP หลังจากเศรษฐกิจไทยในเอนม.ค. มีทิศทางแผ่วลง การส่งออกติดลบ 9.3%
31 ก.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (เบื้องต้น)


ต่างประเทศ

จับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) 10 มี.ค. ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
2 มี.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนก.พ./ ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือน ก.พ. /สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
3 มี.ค. (ช่วงเช้า) สหรัฐรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์/ ประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยขั้นสุดท้ายในไตรมาส 4/2558/ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.พ./ ดัชนีภาคบริการเดือนก.พ.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)/ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนม.ค.


อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.พ.
เยอรมนีเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการก.พ.
จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.พ.
4 มี.ค. สหรัฐเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ./ ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค.
5 มี.ค. จีนประชุมประจำปีคณะกรรมการถาวรในสภาประชาชนแห่งชาติของจีน (NPC)
15 – 16 มี.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ
23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติว่า “อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่”
เยอรมนีเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการก.พ


Analyst : วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
     ชัยยศ จิวางกูร
     บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!