- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 February 2016 17:46
- Hits: 1120
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ภาพตลาดเป็นบวก แต่ควรระวังแกว่ง
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ปรับขึ้น 9.65 จุดปิดที่ 1343.07 โดยนักลงทุนสถาบันเข้าซื้อหุ้นต่อ หลังปรับลดพอร์ตลงทุนตราสารหนี้ (เพราะราคาบอนด์ปรับขึ้นมาก) รวมทั้งมองข้ามชอร์ตไปในปี 2016 และเลือกซื้อหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตดีต่อเนื่อง หรือพลิกฟื้นจากขาดทุนเป็นกำไรได้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.7 พันล้านบาท ต่างชาติขายทำกำไร โดยขายสุทธิ 1.4 พันล้านบาท ส่วนพอร์ตบล.และรายย่อยขายสุทธิแต่ไม่มาก
เราเห็นว่าในการประชุม G-20 ผู้นำประเทศต่างๆ มีความกังวลกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ความผันผวนของค่าเงิน การเทขายหุ้น และการตกต่ำของราคาน้ำมัน & สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างมาก จนทำให้มีการหารือนอกรอบของกลุ่ม G-7 ในการประชุมครั้งนี้ และทุกประเทศประกาศที่จะร่วมมือกันใช้ทุกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดหวังว่าหลายประเทศจะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินกระตุ้นเพิ่มเติม ทั้งจีน ยุโรปและญี่ปุ่น ส่วนสหรัฐก็มีแนวโน้มว่าจะยังไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ด้านกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็อาจจะหารือกันมากขึ้นเพื่อพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ตกต่ำรุนแรงกว่านี้ อย่างไรก็ตาม การพลิกฟื้นของเศรษฐกิจต้องใช้เวลา ดังนั้นเราน่าจะยังเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจใน 1Q16 ไม่มาก แล้วค่อยขยายตัวดีขึ้นใน 2H16 ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็น่าจะเป็นไปในแนวนี้เช่นกัน กลยุทธ์การลงทุนใน Equity : เล่นรอบไม่ควรหวัง Gap กำไรมากเพราะตลาดยังผันผวน ส่วนการลงทุนระยะยาวแนะนำให้ทยอยซื้อเป็น Step หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เลือกเป็น TMT
วิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดโดยรวมเป็นบวก แต่พร้อมเปลี่ยนเป็นลบ แนวต้านระยะสั้น 1350-1360 จุด หรือสูงกว่าถ้ายืน 1350 จุดได้ การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก ค่าลบดูไม่ดี ต่ำกว่า 1310 จุดควรลดพอร์ตตาม สำหรับ SET50 มีแนวต้านระยะสั้น 870-880 จุด Stop loss ถ้าหลุด 830 จุดการ SCAN หุ้นเทคนิคดีมีโอกาสทำ New high พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่เป็น GL, AP, GUNKUL, HMPRO ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ BIG, TKN, MCS,GFPT, CENTEL, KKC
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- กลุ่ม G-7 หารือปัญหาเศรษฐกิจและการเงินโลกนอกรอบในการประชุม G-20 รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่ม G-7ประชุมอย่างไม่เป็นทางการนอกรอบการประชุม G-20 ที่นครเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน เนื่องจากวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงความผันผวนของค่าเงิน การเทขายหุ้นทั่วโลก และราคาน้ำมัน&สินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำมาก
•/+ ที่ประชุมกลุ่ม G-20 เห็นพ้องต้องกันว่าจะใช้เครื่องมือนโยบายทั้งหมดกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การคลัง และนโยบายเชิงโครงสร้าง ทั้งใช้แยกกันและใช้ร่วมกัน เพื่อยกระดับการขยายตัว การลงทุนและเสถียรภาพทางการเงิน
+ สหรัฐ : GDP รอบ 4Q15 เติบโตดีกว่าตัวเลขเบื้องต้น ตัวเลขประมาณการ GDP Growth ประจำ 4Q15 ครั้งที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น +1.0%จากตัวเลขเบื้องต้นที่ +0.7% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเป็น
+0.4% อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตลดลงจาก +2.0% ใน 3Q15 และ+3.9% ใน 2Q15
+ สหรัฐ : การใช้จ่ายและรายได้ผู้บริโภคเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภค +0.5% ในเดือนม.ค.2016 หลัง +0.1% ในเดือนธ.ค.2015 และดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ +0.3% ส่วนรายได้ส่วนบุคคล +0.5%ซึ่งเพิ่มขึ้นมากสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2015
+/• ญี่ปุ่น : ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมม.ค.เพิ่ม 3.7%MoM โดยหลักมาจากดัชนีสต็อกสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 100 (อยู่ที่112.0) ส่วนดัชนีผลผลิตโรงงานและเหมืองแร่อยู่ที่ 99.8 และดัชนีภาคขนส่งอุตสาหกรรมเท่ากับ 97.9
- ตลาดหุ้นสหรัฐวันศุกร์อ่อนลง ยกเว้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ขยับขึ้นได้เล็กน้อย โดยดัชนีดาวโจน์ปิด -0.34% แต่ดัชนี Nasdaq ปิด +0.18%หลังมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และราคาน้ำมันกลับมาปรับลดลงอีกครั้ง
• ราคาน้ำมันดิบอ่อนลงเล็กน้อย ปิดตลาดสัญญา WTI และ BRENTส่งมอบเม.ย.ลดลง 0.29 และ 0.19 ดอลลาร์ปิดที่ 32.78 และ 35.10ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ตลาดยังคาดหวังว่าประเทศผู้ผลิตจะร่วมมือกันตรึงปริมาณการผลิตน้ำมันเพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำลงไปมากกว่านี้
ด้านเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานในวันศุกร์ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐที่มีการใช้งานลดลงอีก 13 แท่น สู่ระดับ 400 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี (สูงสุดอยู่ที่กว่า 1,400 แท่น)
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเม.ย.ปิด -18.4 ดอลลาร์ มาที่1,220.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นหลัง GDPประจำ 4Q15 เติบโตมากกว่าคาดและดีกว่าประมาณการเบื้องต้น รวมทั้งรายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลในสหรัฐเดือนม.ค.ก็ขยายตัวดีขึ้นด้วย
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวเด่น
• กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : สินเชื่อม.ค.2016 หดตัว 0.3%MoM โดยBBL เป็นธนาคารเดียวที่สินเชื่อเติบโต (+0.5%MoM) โดยการลดลงของสินเชื่อเพราะมีการชำระคืนหนี้มาก ส่วนหนึ่งเป็นไปตามปัจจัยฤดูกาลด้วย สินเชื่อที่คาดว่าจะเติบโตได้ในปีนี้เป็นสินเชื่อรายใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน 4G และสินเชื่อเพื่อการลงทุน แต่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์คาดว่าจะยังซบเซา ซึ่งเป็นไปตามยอดขายรถยนต์ในประเทศที่อ่อนแอ ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงให้ KBANK (ราคาพื้นฐาน 211 บาท) เป็นหุ้น TopPick เนื่องจากมีการกระจายความเสี่ยงของโครงสร้างรายได้และพอร์ตสินเชื่อที่สมดุล คุณภาพสินทรัพย์ดี ส่วนแบงค์เล็ก เราชอบ TCAP (ราคาพื้นฐาน 42 บาท) ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่และ SME 32% ช่วยลดความเสี่ยงจากการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ
+ กำไรสุทธิ 4Q16 ฟื้นตัวดีขึ้น ปี 2016 เติบโตในอัตราสูงจากฐานต่ำโดยกลุ่มพลังงานพลิกจากขาดทุน 67 พันล้านบาทใน 3Q15 เป็นกำไรสุทธิราว 16 พันล้านบาทใน 4Q16 (เฉพาะหุ้นที่ประกาศผลประกอบการถึงวันศุกร์ที่ 26 ก.พ.) กลุ่มปิโตรเคมีก็พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรเช่นกัน กลุ่มสื่อสารและอสังหาริมทรัพย์โชว์กำไรที่แข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และQoQ ใน 4Q16 โดยภาพรวมแล้วกำไรสุทธิตลาดใน 4Q15 ดีขึ้นมาก ส่วนปี2016 ประมาณการว่าจะเติบโตในอัตราที่สูงจากปี 2015 ซึ่งเป็นฐานที่ต่ำมาก โดยกลุ่มที่เราคาดว่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตสูงในปี 2016 คือ พลังงานปิโตรเคมี ไฟแนนซ์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ขนส่ง และท่องเที่ยว
# พลังงาน : หุ้นเด่น BCP, PTT
# ปิโตรเคมี : หุ้นเด่น PTTGC
# ไฟแนนซ์ : หุ้นเด่น GL, MTLS
# ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ : หุ้นเด่น KCE รองลงมาเป็น SVI, HANA
# ขนส่ง : หุ้นเด่น AOT
# ท่องเที่ยว : หุ้นเด่น CENTEL, MINT
+ TMT (ราคาปิด 9.45 บาท) : คาดกำไรสุทธิ 1Q16 เติบโตก้าวกระโดดมากที่ 102%YoY และ 20%QoQ เป็น 141 ล้านบาท เนื่องจากราคาเหล็กในประเทศเพิ่มขึ้นสวนตลาดโลก หลังจากอุปทาน HRC ตึงตัวเนื่องจากชะลอการนำเข้าเพราะยังไม่มีความชัดเจนเรื่อง AD และ SSIผลิตน้อยลง อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 11.3% จากระดับปกติที่ 7-8%บริษัทประกาศจ่ายปันผลปี 2016 เท่ากับ 0.65 บาท/หุ้น กำหนด XD 2 มี.ค.2016 ชำระเงิน 12 เม.ย.2016 คิดเป็น Dividend Yield 6.9% ส่วนของปี2016 คาดการณ์ไว้ที่ 0.75 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 7.9% แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 11.80 บาท - ดูรายละเอียดใน Company Guide วันนี้
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค –[email protected]
Equity Trading Strategy : ความหวังจะมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมพยุงตลาด
• ที่ประชุม G-20…วิตกเศรษฐกิจและการเงินโลกแต่ก็จะร่วมมือกันไม่ให้เกิดวิกฤตอีกรอบ เราเห็นว่าในการประชุม G-20 ผู้นำประเทศต่างๆ มีความกังวลกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ความผันผวนของค่าเงิน การเทขายหุ้น และการตกต่ำของราคาน้ำมัน &สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างมาก จนทำให้มีการหารือนอกรอบของกลุ่ม G-7 ในการประชุมครั้งนี้ และทุกประเทศประกาศที่จะร่วมมือกันใช้ทุกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่งตลาดคาดหวังว่าหลายประเทศจะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินกระตุ้นเพิ่มเติม ทั้งจีน ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนสหรัฐก็มีแนวโน้มว่าจะยังไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ด้านกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็อาจจะหารือกันมากขึ้นเพื่อพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ตกต่ำรุนแรงกว่านี้และมีโอกาสที่จะพลิกฟื้นได้ในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้าทั้งนี้ประเทศ G-20 มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 90% ของทั้งโลก และมีประชากรรวมกันราว 2 ใน 3 ของโลก ซึ่งประกอบด้วย 19ประเทศและ 1 องค์กร คือ กลุ่ม G-7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐ) ผนวกกับ 12 ประเทศ (อาร์เจนตินาออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ และตุรกี) และอีก 1 องค์กร คือ สหภาพยุโรป (EU)
• การพลิกฟื้นเศรษฐกิจต้องใช้เวลา แต่ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจและ Core Profit ของบริษัทจดทะเบียนที่จะเติบโตจำกัดในหลายประเทศขนาดใหญ่ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2016 ยังมีความเสี่ยงขาลง โดยกำลังซื้อของจีนและประเทศในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ยังซบเซา และบางประเทศ เช่น รัสเซีย บราซิล ฯลฯ ก็เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจไปแล้ว ราคาน้ำมันที่ตกต่ำทำให้อุปสงค์และการลงทุนของกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันชะลอลง ซึ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการพลิกฟื้น
• ในช่วง 1H16 คาดว่าตลาดหุ้นและตลาดเงินจะยังผันผวนมาก ในเอเชียก็จะเป็นค่าเงินหยวนของจีนและเยนญี่ปุ่นที่เป็นตัวชี้นำหลักซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินกันว่าค่าเงินหยวนมีโอกาสอ่อนค่าได้อีก ซึ่งเป็นไปตามภาวะการณ์เศรษฐกิจและการไหลออกของเงินลงทุน (ปี 2015มีเงินทุนไหลออกจากจีนราว 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ขึ้นกับมาตรการของทางการจีนด้วยว่าจะ Aggressive มากแค่ไหน สัปดาห์ก่อนมีกระแสข่าวว่าทางการจีนอาจออกมาตรการควบคุมเงินไหลออกเพิ่มเติม จึงมีการเทขายหุ้นออกมาแรง แต่รัฐบาลจีนได้ปฎิเสธเรื่องนี้ไปแล้วส่วนเยนญี่ปุ่นก็แข็งขึ้นสวนกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ
• กลยุทธ์การลงทุน : เน้นหุ้นคุณภาพ โดยทยอยเพิ่มพอร์ตในจังหวะที่ราคาร่วงแรงตามตลาดรวม ทั้งนี้เราเลือกหุ้นประเภทนี้เพราะมองว่าในยามที่เศรษฐกิจซบเซา เราต้องเลือกหุ้นที่สามารถเติบโตสวนเศรษฐกิจได้ หรือหุ้นที่ธุรกิจมั่นคง สายป่านยาว กระแสเงินสดและฐานะการเงินแข็งแกร่ง ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และบริหารงานอย่างโปร่งใส สามารถจ่ายปันผลได้อย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ ซึ่งหุ้นเด่นได้แก่ BBL,CENTEL, CPN, CPTGF, DIF, GL, KCE, LH, MTLS, PTT, PTTGC, TU เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : [email protected]
# Turnover List Watch: ไม่มีหลักทรัพย์ใดเข้าเกณฑ์ 6 สัปดาห์
• ตลาดฯไม่ได้ประกาศหลักทรัพย์ใดเข้าเกณฑ์ 6 สัปดาห์ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
• ส่วนหลักทรัพยที่กลับมาใช้มาร์จิ้นได้วันแรกคือ AMATAV, JTS และ JWD หลังตลาดฯไม่ได้ประกาศขยายเวลาการใช้ Cash Balanceในวันศุกร์ที่ผ่านมา
• ด้านหลักทรัพย์หมดอายุการใช้ Cash Balance อังคาร 1 มี.ค. 59 คือ WAVE และศุกร์ 4 มี.ค.59 คือ ATP30 และKOOL อาจมีการเก็งกำไรล่วงหน้า แต่อาจต้องระมัดระวังการที่ตลาดฯอาจกลับมาต่ออายุการใช้ Cash Balanceได้
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]