- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 February 2016 16:47
- Hits: 882
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สัปดาห์นี้ยังไม่มีประเด็นใหม่ หลังตลาดซึมซับงบ 4Q58 ใกล้เคียงกับที่ ASPS คาด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบโลกยังยืนเหนือ 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล และวันศุกร์ SET ปิดที่แนวต้าน 1,343 จุด ทำให้วันนี้ SET น่าจะบวก-ลบ 5-10 จุด ไม่ห่างจากจุดนี้มากนัก ยังเน้นกลยุทธ์ผสมหุ้น Global (PTT, IRPC)+Domestic (P/E ต่ำ ปันผลสูง ADVANC, PS, ASK) เลือก AIT([email protected]) เป็น Top pick
สัปดาห์นี้ขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ขณะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว
สัปดาห์นี้คาดยังไม่มีประเด็นใหม่ที่ช่วยหนุนตลาดเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งยังมีเรื่องของ ราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัว เนื่องจากตลาดมีความหวังว่าจะไม่มี supply ใหม่เพิ่มเติม หลังจากที่ผู้ผลิตทั้ง กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ได้หันมาเจรจา เพื่อการผลิตคงกำลังการผลิต อย่างไรก็ตามติดตามผลการประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้ง กลางเดือน มี.ค. นี้ ซึ่งประเทศ เวเนซุเอลาเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันหลัก ๆ ของโลก ระยะสั้นจึงคาดว่าจะทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกทรงตัวเท่านั้น
สำหรับสัปดาห์นี้ยังต้องติดตามดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่คาดว่ายังคงมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นตลาด โดยเฉพาะการรายงาน ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีน และ ภาคการผลิตและการบริโภคของสหรัฐ ที่คาดว่าจะยังไม่ส่งสัญญานในทางที่ดีนักต่อทิศทางราคาน้ำมันดิบโลก เนื่องจากทั้งจีนและสหรัฐต่างเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ขณะที่การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐล่าสุด ยังคงมีความขัดแย้งกันเช่นเดิม กล่าวคือ รายได้ภาคครัวเรือน(Personal Income) เดือน ม.ค. ขยายตัว 0.5%yoy (ปรับเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ) หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. สำรวจโดย ม.มิชิแกน กระเตื้องขึ้น 1.1% แม้ได้ตัวปรับลดลง 2 เดือนติดต่อกัน แต่ประเด็นนี้ก็ยังมีความขัดแย้งกับผลสำรวจของ สถาบัน(Conference Board) ซึ่งเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. ปรับลดลง 6% ย่ำแย่ลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้า
ด้วยเหตุนี้ ทำให้สหรัฐยังต้องให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และ จะทำให้ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ โดยในการประชุมครั้งถัดไปคือ 15 -16 มี.ค. เชื่อว่าจะไม่มีอะไรใหม่
คาดงบงวด 4Q58 ทำได้ตามเป้าฯ และน่าจะสดใสต่อในปี 2559
จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่าบริษัทจดทะเบียนได้รายงานงบฯ งวด 4Q58 แล้วเกือบ 400 บริษัท คิดเป็น Market Cap รวมกันแล้วกว่า 83% มีกำไรสุทธิรวมกันราว 2.5 แสนล้านบาท มากกว่าที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 2.3 แสนล้านบาท โดยเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา บริษัทที่มี market cap ใหญ่ ได้ประกาศงบ 4Q58 เช่น CK ขาดทุนตามคาดราว 183 ล้านบาท ทั้งนี้ยังเหลืออีกหลายบริษัทที่ยังไม่ได้รายงาน เช่น ค้าปลีก คือ CPALL อาหารส่งออก คือ CPF (คาดกำไรอ่อนตัวตามผลของฤดูกาล) โรงพยาบาล คือ BDMS (คาดกำไรเติบโตโดดเด่นจาก รพ.ใหม่) โรงแรม CENTEL (คาดกำไรหดตัวจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น) และสายการบิน THAI (น่าจะออกมาดีเพราะเป็นผลของฤดูกาล และมีกำไรพิเศษ) เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่ากำไรตลาดปี 2558 น่าจะทำได้ใกล้เคียง 7 แสนล้านบาท
ส่วนแนวโน้มกำไรตลาดปี 2559 คาดมีแนวโน้มสดใสโดยคาด EPS Growth กว่า 20% แต่ก็มีตัวแปรที่ถือเป็นความเสี่ยงบางส่วนคือสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 45 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งยังสูงกว่าราคาปัจจุบัน ขณะที่ได้ปรับลดประมาณการกำไรของ ICT และ Media ตามภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง และการใช้มาตรฐานการบัญชีที่เข้มงวด สำหรับการบันทึกต้นทุนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล และ 4G ซึ่งฝ่ายวิจัยจะนำเข้ามารวมอีกครั้งหลังจากการรายงานงบงวด 4Q58 และมีการปรับปรุงงบปี 2559-2560 เสร็จสิ้น แต่เบื้องต้นประเมินว่า EPS จะอยู่ที่ราว 90 บาท เทียบกับปี 2558 ที่ราว 68-69 บาท
ณ ระดับดัชนีตลาดปัจจุบัน มี Expected P/E ที่ 14.8 เท่า (ลดลงจากกว่า 17 เท่าจากปี 2558) ใกล้เคียงกับภูมิภาคอย่างมาเลเซียที่ 14.5 เท่า แต่ต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ 15.1 เท่า แต่ด้วยการเติบโตในอัตราที่สูงกว่า จึงนับว่าตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจ โดยกลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้นเงินปันผลสูง P/E ต่ำ อาทิ ADVANC, INTUCH, ASK, STPI รวมทั้งหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตสูง เช่น BJCHI, MCS, PS, TASCO เป็นต้น
ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 475 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 385 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 211 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศสลับมาขายสุทธิคือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 15 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และไทยต่างชาติขายสุทธิราว 39 ล้านเหรียญ หรือ 1,373 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 8 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,669 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 18,250 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิสูงถึง 15,350 ล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐยังเป็นปัจจัยหนุนตลาด
หลังจาก คณะรัฐมนตรีมี มติเห็นชอบร่าง พรบ. งบประมาณเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2559 วงเงินรวม 5.6 หมื่นล้านบาท ทำให้งบฯ ปี 2559 เพิ่มขึ้นจาก 2.72 เป็น 2.776 ล้านล้านบาท โดยจะนำเงินจากการประมูลคลื่น 4G (ที่ประมูลในช่วงปลายปี 2558) มาใช้รวม 2 หมื่นล้านบาท แบ่งลงทุนในปี 2559 1.5 หมื่นล้านบาท และอีก 5 พันล้านบาท ปี 2560 เป้าหมายการลงทุน คือ ขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศดังกล่าวข้างต้น และเตรียมเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ เพื่อเป็น ASEAN Digital Hub
ทั้งนี้หน่วยงานรัฐที่จะใช้งบส่วนนี้คือ CAT และ TOT ซึ่งน่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับ AIT([email protected]) และ SAMTEL([email protected]) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้บริการหลักแก่หน่วยงานรัฐทั้ง 2 แห่ง ทั้งนี้คาดว่าการประมูลน่าจะมีความชัดเจนในปีนี้ ขณะที่การเบิกจ่ายเงินจากภาครัฐนั้นได้กำหนดไว้ 2 ช่วง คือ มี.ค. และ ก.ย. 2559 อย่างไรก็ตามเนื่อง SAMTEL ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ คดี ความ ทำให้โอกาสการได้รับงานใหม่ ๆ อาจจะน้อยกว่า AIT ระยะสั้นจึงเลือก AIT เป็น Top pick ทั้งนี้หากพิจารณาผลกำไรในปี 2559 แม้ EPS Growth จะเติบโตเพียง 13% แต่เนื่องจากมี backlog อยู่มากพอที่จะรับรู้รายได้ตลอดปี 2559 จึงทำให้มั่นใจต่อผลการดำเนินงานมากกว่า SAMTEL
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์