WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      วันนี้ คาด SET มีโอกาสขึ้นทดสอบ 1,342 จุด หลังจากวานนี้สามารถผ่านแนวต้าน 1,330 จุด โดยมีแรงหนุนของ Fund Flow กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นปันผลเด่น (ADVANC, INTUCH, PS, ASK) เลือก IRPC([email protected]) และ ADVANC(FV@B187) เป็น Top picks

สภาพคล่องโลกสูงยังหนุน fund flow เข้าสินทรัพย์เสี่ยง
     วานนี้ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐยังส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. หดตัว 6% จากเดือนก่อนหน้า(mom) เป็นเวลา 2 ดือนติดต่อกัน และเช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคบริการของมาร์กิต เดือน ก.พ. ติดลบ 6.3% mom เป็นการชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เดือน สอดคล้องกับภาคการผลิตที่ยังฟื้นตัวล่าช้า โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) หดตัวติดต่อกัน 4 เดือน ล่าสุดพบว่าภาคบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ม.ค.หดตัว 5.2%yoy ซึ่งดัชนีชี้นำเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นการตอกตย้ำของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว และน่าจะทำให้ Fed ต้องเพิ่มความระมัดระวังการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ หรือไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ตามเป้าหมาย ซึ่งคาดไว้ 4 ครั้ง

      เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น หลังจากเผชิญเงินเฟ้อต่ำต่อเนื่องมานานนับปี จนล่าสุดอยู่ที่ 0.2% ทำให้ตลาดประเมินว่า ในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 15 มี.ค. น่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินอ่อนตัวเพิ่มเติม โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ย ทั้งนี้หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับลดดอกเบี้ยกระแสรายวัน (ดอกเบี้ยที่ธนาคารกลาง จ่ายให้กับธนาคารพาณิชย์ที่ฝากเงินไว้กับธนาคารกลาง) เป็นติดลบ 0.1% ครั้งแรกในประวัติการณ์
แนวโน้มดอกเบี้ยโลกที่ลดลง น่าจะกดดันให้สภาพคล่องโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น น่าจะหนุน fund flow ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซีย รวมถึงทองคำ เป็นต้น

Fund flow ยังมีแนวโน้มเข้าตลาดหุ้นต่อ
      แนวโน้มดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง กดดันให้ผลตอบแทนจากตลาดพันธบัตรมีแนวโน้มลดลง และสร้างความผันผวนต่อตลาดเงินและตลาดทุน โดยผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง ทำให้เม็ดเงินลงทุนในตลาดพันธบัตรมายังทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น สะท้อนจากกระแส Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่มีการไหลออกจากตราสารหนี้ของไทยในรอบ 5 วันทำการหลังสุดกว่า 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกันกว่า 8 พันล้านบาท ส่งผลให้ในเดือน ก.พ. นี้ นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาเป็นซื้อสุทธิสะสมแล้วกว่า 1.9 พันล้านบาท

      ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ แม้จะมีการย่อตัวลงมา แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 1,230 เหรียญ/ออนซ์ และมีโอกาสขึ้นทดสอบ 1300 เหรียญ/ออนซ์ ส่วนราคาน้ำมันดิบโลก แม้จะยังมีปัญหา oversupply แต่เงินดอลลาร์ที่ยังแกว่งตัวไม่แข็งค่าไปมากกว่านี้ รวมทั้งประเด็นเจรจาควบคุมการผลิต จึงยังเป็นปัจจัยที่ช่วงประคองราคาน้ำมันไว้

     ทั้งนี้ หากเทียบระดับ P/E ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค พบว่า อยู่ที่ราว 14.7 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นมาเลเซีย (14.2 เท่า) แต่ต่ำกว่าตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ 15.10 เท่า แต่ตลาดหุ้นไทยยังโดดเด่นกว่าจากคาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิปี 2559 กว่า 20% สูงเป็นลำดับต้นๆ จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจอยู่ โดยยังเน้นไปที่หุ้นผลประกอบการเติบโตโดดเด่น มี Div. yield ในระดับสูง P/E ต่ำ

น้ำมันฟื้นตัวระยะสั้น หลังสต๊อกน้ำมันเพิ่มน้อยกว่าคาด
     วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 19 ก.พ. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 (หลังจากปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์) ส่งผลให้สต็อกน้ำมันดิบอยู่ที่ 507.6 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 86 ปี สวนทางกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปลดลงมากกว่าตลาดคาด โดยหากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์พบว่า สต็อกน้ำมันเบนซิน ลดลง 2.23 ล้านบาร์เรล ลดลงครั้งแรกในรอบ 14 สัปดาห์ และสต็อกน้ำมันกลั่น (Heating Oil +น้ำมันดีเซล) ลดลง 1.66 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นราว 5.2% เมื่อเทียบกับสัปดาห์เดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้แม้ปัญหา Over supply ยังคงมีอยู่ แต่การที่ผู้ผลิตในกลุ่ม OPEC และ NON-OPEC มีการเจรจาการเพื่อควบคุมการผลิต น่าจะลดความกังวลต่อ Over Supply ลงได้ระดับหนึ่ง แต่เป็นการสะท้อนถึงราคาน้ำมันดิบโลกผ่านจุดต่ำสุด

     ทั้งนี้ ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้ากลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากปรับฐานวานนี้ โดยพบว่าราคาน้ำมัน Brent ปิดที่ 34.41 เหรียญฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นราว 1.14 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากวันก่อนหน้า เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน WTI ล่าสุดที่ 32.24 เหรียญฯต่อบาร์เรลปรับขึ้นเล็กน้อย (0.3%) ยกเว้นราคาน้ำมันดูไบตลาด Spot ปรับตัวลดลง 1.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ปิดตลาด 28.03 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในสถานการณ์นี้ยังแนะนำสะสมหุ้น ผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยมที่ราคาหุ้นยัง laggard และ P/E ต่ำ และ upside สูง เลือก PTT เป็น Top pick

ต่างชาติมีโอกาสสลับพอร์ตการลงทุนจากตราสารหนี้มาสู่ตลาดหุ้น
     วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 14 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศคือ ไต้หวันขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 29 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 38 ล้านเหรียญ หรือ 1,363 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมราว 8.5 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,089 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิราว 2,211 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิสูงถึง 16,137 ล้านบาท สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากผลตอบแทนของพันธบัตรเริ่มไม่น่าจูงใจ โดยสังเกตได้จาก Bond Yield ของไทย อายุ 10 ปี ตอนต้นปี 59 อยู่ที่ 2.79% ลดลงจนล่าสุดอยู่ที่ 2.07% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับต่างประเทศอย่างอเมริกาและญี่ป่น โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่วานนี้ Bond Yield อายุ 10 ปี ติดลบ 0.055% และถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้นักลงทุนพร้อมที่จะสลับพอร์ตการลงทุนมายังสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อที่จะแลกกับผลตอบแทนที่ดีกว่า Bond Yield
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!