- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 24 February 2016 18:07
- Hits: 643
บล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
รัฐเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อาจถูกหักล้างจากหุ้นน้ำมันที่ปรับฐานการอ่อนตัวของราคาน้ำมันดิบโลก และน่าจะกดดัน SET อ่อนตัวทดสอบ 1,315-1,310 จุด กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นปันผลเด่น (ADVANC, INTUCH, PS, ASK) เลือก ASK(FV@B32)&;ADVANC(FV@B187) เป็น Top picks
ตลาดรับรู้กำไรงวด 4Q58 ขณะที่ปี 2559 สดใสขึ้นกว่ามาก
การรายงานงบตลาดฯ งวด 4Q58 ที่ ASPS รวบรวมถึงเย็นวานนี้ พบว่าทั้งสิ้น 160 บริษัท คิดเป็น Market Cap รวมกันราว 64% โดยมีกำไรสุทธิรวมกันได้ถึงกว่า 1.28 แสนล้านบาท เทียบกับที่ ASPS ประเมินไว้ทั้งงวด 4Q58 ที่ 2.3 แสนล้านบาท น่าจะมีความเป็นไปได้ โดยกลุ่มฯ ที่ยังประกาศงบฯ ออกมาไม่มากคือ อสังหาฯ ค้าปลีก โรงพยาบาล ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าน่าจะมีผลกำไรที่ ดีจากแรงส่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิภาครัฐ ที่เกิดขึ้นนับจากปลายปี 2558 และยังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (ดีต่อธุรกิจโรงแรมและโรงพยาบาลที่เน้นคนไข้ต่างชาติ) ยกเว้นกลุ่มรับเหมาฯ ผลกระทบจากการเลื่อนบางโครงการก่อสร้าง ทำให้รับรู้รายได้ล่าช้า
ส่วนแนวโน้มกำไรตลาดปี 2559 น่าจะมีแนวโน้มสดใสกว่าปี 2558 แม้ล่าสุดได้มีการปรับประมาณการกำไรของกลุ่ม Media ไปแล้ว จากการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่รุนแรง และการปรับมาตรฐานการบัญชี การประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่เข้มงวดขึ้น จากเดิมที่ตัดจ่ายตามอายุใบอนุญาตเป็นแบบ Financial Lease ทำให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้นในปีแรก ซึ่งเป็นการปรับลดประมาณการตามหลังกลุ่ม ICT ที่ปรับลงไปก่อนหน้า และแม้อาจจะมีการปรับลดประมาณการกลุ่ม ICT เพิ่มเติม จาการการปรับมาตรฐานการบัญชีในลักษณะเดียวกับกลุ่มบันเทิง แต่คาดว่าจะกระทบต่อ JAS เพียงบริษัทเดียว (โดยรวมกลุ่ม ICT กำไรสุทธิน่าจะติดลบ 10%) ดังที่นำเสนอใน Market Talk วานนี้ โดยคาดว่ากลุ่มที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักคือ กลุ่มพลังงานและโรงกลั่น ซึ่งจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพราะปี 2558 มีฐานกำไรที่ต่ำมากจากการตั้งสำรองฯ การด้อยค่าของน้ำมันเป็นหลัก ส่วนปี 2559 ASPS ได้กำหนดสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 45 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของตลาดที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงเชื่อว่ายังมีความเป็นไปได้ และ โดยภาพรวมผลการดำเนินงานน่าจะผ่านพ้นช่วงที่เลวร้ายไปแล้ว และตามมาด้วยกลุ่มธนาคารพาณิชย์แม้ปี 2559 คาดว่าการเติบโตสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่เนื่องจากไม่ต้องตั้งสำรองฯ จำนวนมากเหมือนปีที่ผ่านมา จึงน่าจะเห็นการเติบโตของกำไรในระดับ 10% อีก
หากอิงกำไรตลาดล่าสุดถึงเมื่อวานนี้ คาดว่า กำไรตลาดต่อหุ้น หรือ EPS จะอยู่ที่ 90 บาท เท่ากับตลาดมีค่า Expected P/E ราว 14.7 เท่า ถือว่าเป็นระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้นปันผลที่มี P/E ต่ำ เช่น ADVANC, INTUCH, PS, ASK, เป็นต้น
ดัชนีเศรษฐกิจโลกยังขัดแย้ง การผลิตชะลอแต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐ ยังคงส่งสัญญาณขัดแย้งกัน กล่าวคือแม้เงินเฟ้อ เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดราว 1.4% เทียบกับ 0.7% ในเดือน ธ.ค. 2558 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และ ยาสูบ ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายการละ 3% ทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อทั้งปี 2559 อาจจะต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ไม่มากนัก โดยสวนทางกับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. สำรวจ Conference Board ปรับลดลง 6% จากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 2 เดือน ติดต่อกัน และภาคการผลิตที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) หดตัวติดต่อกัน 4 เดือน
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก โดยเฉพาะการชะลอตัวจากเศรษฐกิจจีน ทำให้เชื่อว่า Fed ต้องเพิ่มความระมัดระวังการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ หรือ ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ตามเป้าหมาย และน่าจะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index )ผันผวน ในกรอบ 95-100
รัฐเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าและ SMEs
ขณะที่ไทยเบื้องต้นกรมศุลกากรประเมินว่ายอดส่งออกเดือน ม.ค. ยังหดตัว 8%yoy และการนำเข้า ติดลบ 6.5% จึงประเมินว่าปี 2559 ปัจจัยตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะยังมาจาก การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนภาครัฐ จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้ที่ประชุม ครม.อนุมัติ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ได้แก่ มาตรการช่วยผู้ประสบภัยแล้งและเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเกษตรกร 3 โครงการ วงเงินรวม 9.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1) โครงการปรับเปลี่ยน การผลิตของเกษตกรผ่านการให้สินเชื่อให้เกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วม กู้กลุ่มไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% รวมวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
2) เงินกู้ฉุกเฉิน ให้กับเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งรายละไม่เกิน 1.2 หมื่นบาท ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน
3.) โครงการเปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ (1 ตำบล 1 SMEs) รายละไม่เกิน 7.2 หมื่นบาท วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ย 4% นาน 7 ปี
จากการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวคาดจะมีเม็ดเงินเข้าสู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยดังกล่าว เท่ากับช่วยต่อลมหายใจระยะสั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อในระดับท้องถิ่นในการซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซด์ หรือ รถยนต์เพื่อการเกษตร ฝ่ายวิจัยชื่นชอบ ASK ([email protected]) ในฐานะที่ให้บริการสินเชื่อรถบรรทุก ยังได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ยังอยู่ระดับต่ำ บวกกับแผนการขยายไปทำสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และสินเชื่อบุคคล น่าจะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนที่ดีในระยะยาวหากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่ Valuation หุ้นนั้นยังโดดเด่น P/E ต่ำเพียง 8.6 เท่า และจ่ายปันผลปีละครั้งกว่า 7%
รองลงมาคือ TK (FV@B12) พอร์ตสินเชื่อหลักเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (สัดส่วนราว 90% ของสินเชื่อรวม) ที่ชะลอตัวลงในช่วง4Q58 แล้วตามยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศที่หดตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ Spread ยังสามารถเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 28.47% จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงเพียง 3.92% ส่วนแนวโน้มปี 2559 แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต 14%yoy จากการเข้าสู่ตลาดสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่คาดว่าจะเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการบุกสินเชื่อในต่างประเทศทั้งกัมพูชาและลาวที่มีพัฒนาการดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ spread ยังมีแนวโน้มขาขึ้นจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ในแง่ของ Valuation นั้น มี PBV ต่ำเพียง 1.1 เท่า และ div.yield ราว 4%
SAWAD (FV@B65) พอร์ตสินเชื่อหลักคือสินเชื่อรถยนต์ (54%) รถจักรยานยนต์ (18%) บ้าน-ที่ดิน (14%) และ รถเชิงพาณิชย์ (12%) คาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อสุทธิ เป็นผลจากการทยอยสร้างรายได้ของสาขาที่ได้เปิดไปในเชิงรุกก่อนหน้านี้ ส่วนปี 2559 คาดกำไรสุทธิเติบโต 37.9% yoy จากธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ อีกทั้งในช่วง 2H59 มีแผนจะรุกเข้าสู่ธุรกิจขั้นต้น ได้แก่ สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรกลการเกษตร และรถจักรยานยนต์ อย่างจริงจังในพม่า เนื่องจากยังมีศักยภาพเติบโตสูงมาก คู่แข่งน้อย ในส่วนของ Valuation นั้น เชื่อว่าราคาหุ้นยังมีโอกาสที่จะเดินหน้า outperform ตลาดฯ ได้ต่อเนื่องต่อไปตามกำไรที่ยังขึ้นทำ new high ได้ต่อเนื่อง
LIT ([email protected]) พอร์ตสินเชื่อหลักคือ แฟคเตอริ่ง 51% และลิสซิ่ง 28% โดยแรงขับเคลื่อนกำไรปี 2559 มาจากงานภาครัฐเป็นหลัก โดยคาดมูลหนี้แฟคตอริ่งรับซื้อในปี 2559 ถึง 7-8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2558 ซึ่งเป็นความได้เปรียบจากฐานที่ต่ำจึงมีศักยภาพเติบโตอีกมาก รวมถึงความต้องการใช้สินเชื่อ Bid bond ที่หลั่งไหลเข้ามามากเพื่อไป bid งานภาครัฐ ขณะที่ Valuation ระดับ PER 16.5 เท่า นับว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับ MAI ส่วน Dividend Yields ราว 3%
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 6 วันทำการ
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 41 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) โดยซื้อทุกประเทศ ยกเว้น เกาหลีใต้ที่กลับมาขายสุทธิราว 61 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ส่วนที่เหลือยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 78 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) รองลงมาคือ อินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ และไทยซื้อสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ หรือ 950 ล้านบาท จนทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. พลิกกับมาเป็นบวกราว 500 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 792 ล้านบาท
เป็นที่สังเกตว่าในช่วง 6 วันที่ผ่านมา เริ่มมีแรงซื้อจากต่างชาติที่หนาแน่นขึ้น โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมราว 7.1 พันล้านบาท สวนทางกับทางด้านตราสารหนี้ ที่นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิสะสมไปกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท (ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา) โดยน่าจะเกิดจากนักลงทุนต่างชาติได้มีการปรับพอร์ตและย้ายการลงทุนจากตราสารหนี้มาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกว่า อย่างตลาดหุ้น อีกครั้งหนึ่ง หลังจากสัญญาณการใช้นโยบายการเงินผ่อนเพิ่มมากขึ้น จนทำให้สภาพคล่องโลกเพิ่มขึ้น
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
หุ้นที่แนะนำใน Market talk