WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ราคาน้ำมันดิบโลกยังฟื้นตัวต่อและถือเป็นปัจจัยชี้นำตลาดฯ หลัก และจะทำให้ SET มีแนวโน้มทดสอบ 1,345-1,350 จุด เนื่องจากปัญหา Over supply ที่เริ่มชะลอตัวลง หนุนหุ้นน้ำมัน (PTT, PTTEP) กลยุทธ์ยังชื่นชอบหุ้นปันผลเด่น PTT(FV@B310) และ ADVANC(FV@B187)

รัฐยังเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่อในปี 2559
      หลังจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐฯ ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2559 วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท (ได้จากการประมูล 4G)เพื่อรองรับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ทั้ง Digital Economy, ช่วยเหลือ SMEs และ ระดับรากหญ้า เป็นต้น
       ในการประชุม ครม.วันนี้ (23 ก.พ.) คาดว่าจะเสนออีก 3 มาตรการเพิ่มเติม แต่ส่วนใหญ่มุ่งช่วยเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง คือ 1) สินเชื่อให้เกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการปลูกพืชชนิดอื่น วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท 2) สินเชื่อเกษตรกรเพิ่มเติมวงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท 3) โครงการเปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ (1 ตำบล 1 SMEs) วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีมาตรการลดหย่อนภาษี ผ่านการซื้อสินค้า OTOP ซึ่งยังไม่ระบุรายละเอียด)


การเร่งกระจายเม็ดเงินสินเชื่อเข้าสู่เศรษฐกิจฐานรากดังกล่าว น่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการสินเชื่อเช่าซื้อ โดยฝ่ายวิจัยชื่นชอบ ASK ([email protected]) เนื่องจากปัจจัยขับเคลื่อนของธุรกิจหลัก คือ สินเชื่อรถบรรทุก ซึ่งเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและการขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านตามการเติบโตของ AEC โดยคาดว่าสินเชื่อสุทธิในปี 2559 จะเติบโตที่ราว 12% yoy นอกจากนี้ ยังมีแผนการรุกสินเชื่อไปทำสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และสินเชื่อบุคคล น่าจะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนที่ดีในระยะยาวหากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ และ สภาพดอกเบี้ยต่ำ น่าจะหนุน spread ให้ทรงตัวในระดับสูง ส่วนทางด้านมูลค่าหุ้นนั้น ASK นอกจากจะมี P/E ต่ำแล้ว ยังมี Dividend Yield กว่า 7% (จ่ายปันผลปีละครั้ง สูงกว่ารายอื่น อย่าง THANI ที่ให้ yield 6% และ TK ที่ 3.9%) ขณะที่ PBV ต่ำเพียง 1.5 เท่า (ขณะที่ SAWAD และ MTLS สูงถึง 7.6 เท่า 6.7 เท่า ตามลำดับ)

มาตรฐานการบัญชีเข้มงวด กดดันธุรกิจทีวีดิจิทัล
      เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดน้ำหนักกลุ่มบันเทิง เหลือ น้อยกว่าตลาด จากเดิมเท่ากับตลาด เพื่อสะท้อนมาตรฐานการบัญชีที่เข้มงวดขึ้น กล่าวคือ การตัดจ่ายใบอนุญาตทีวีดิจิทัล (ที่เกิดจากการประมูลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา) จากเดิม ให้บันทึกค่าประมูลใบอนุญาต ทั้งหมดเป็นสินทรัพย์และทยอยตัดจำหน่ายเท่ากันทุกปีเป็นระยะยาว 15 ปี โดยให้เปลี่ยนมาเป็นบันทึกบัญชีค่าใบอนุญาต โดยวิธี Financial Lease แทน คือ ต้องคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของเงินผ่อนชำระ 6 ปี โดยใช้อัตราส่วนลด (Discount Rate) ที่เหมาะสม มาเปรียบเทียบกับเงินประมูลที่ต้องจ่ายทั้งหมด ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจาก2 รายการ ให้ถือเป็นดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชี (ต้องตัดจำหน่ายภายใน 6 ปี) ส่วนมูลค่าปัจจุบันฯ ที่คำนวณได้ ให้ถือเป็นสินทรัพย์ใบอนุญาต และตัดจำหน่ายเป็นเส้นตรง 15 ปี ตามวิธีเดิม ซึ่งวิธีใหม่ทำให้ ค่าใช้จ่ายโดยรวมใน 6 ปีแรก (ประกอบไปด้วย 2 รายการ) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่จะลดลงตั้งแต่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นผลให้นักวิเคราะห์ ASPS จะต้องปรับลดประมาณการกลุ่มบันเทิงนับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป (ราว 50-100 ล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2559-2562) ทั้งนี้ มาตรฐานบัญชีใหม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่ งวด 4Q58 จึงต้องทำงบย้อนหลังไปถึงปี 2557-2558
การแข่งขันในธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หลังประมูลใบอนุญาต ทำให้ผู้ประกอบการบางราย ไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตงวด 4-6 ได้ ขณะนี้ กสทช. กำลังศึกษาแนวทางที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยให้สามารถคืบใบอนุญาต (ออกจากอุตสาหกรรม) โดยไม่มีบทลงโทษ (จะไม่นำใบอนุญาตเหล่านี้มาประมูลใหม่) หากเป็นเช่นนี้จริงจะทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มลดลง ยิ่งทำให้ผู้ที่มี rating ดีๆ หรืออยู่ในลำดับต้นทุนยิ่งมีโอกาสอยู่รอดสูง ได้แก่ WORK (FV@B50) และ RS ([email protected]) และพร้อมจะทบทวนปรับเพิ่มคำแนะนำ หากมีพัฒนาการเชิงบวกที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

   ขณะเดียวกันถือว่าจะช่วยลดแรงกดดัน ต่อกลุ่มสถาบันการเงิน ในฐานะเจ้าหนี้หลัก เช่น กรณีของ BBL ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หลัก ช่องไทยทีวี และ โลกา ของเครือทีวีพูล ที่ได้ยุติออกอากาศไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีทีวีดิจิตัล อีกหลายช่อง ได้แก่ สปริงนิวส์ วอยทีวี ไบรส์ทีวี และ MCOT Family เป็นต้น มีกระแสข่าวว่าพร้อมจะ ยุติการให้บริการ หาก กสทช. มีมาตรการช่วยเหลือ

มาตรฐานการบัญชีเข้มงวดกับใบอนุญาต 4G กระทบหุ้น ICT จำกัด
      คาดว่ามาตรการฐานการบัญชีที่เข้มงวดจะถูกนำมาใช้กับใบอนุญาน 4G เช่นเดียวกับทีวีดิจิทัล โดยคาดว่าน่าจะเริ่มต้นในปี 2559 แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีผลกระทบในวงจำกัด โดยเฉพาะ ADVANC, DTAC ซึ่งจะกล่าวในย่อหน้าถัดไป ทั้งนี้นักวิเคราะห์กลุ่ม ICT ของ ASPS ได้ทำการประเมินผลกระทบในเบื้องต้น คาดว่าผลกระทบโดยรวมไม่มากนัก แต่หากพิจารณาเป็นรายบริษัทอาจจะเห็นภาพที่แตกต่างกัน ดังนี้
   ADVANC(ซื้อ:FV@B187) คาดว่าจะมีผลทำให้กำไรหายไปราว 200 ล้านบาทต่อปี เทียบกับกำไรปีละ 3.1 หมื่น ล้านบาท ถือว่าน้อยมาก ตามมาด้วย TRUE(Switch:[email protected]) แม้ประเมินว่าจะขาดทุนเพิ่มขึ้นราว 2,000 ล้านบาท แต่หากเพิ่มทุนสำเร็จตามแผน (6 หมื่นล้านบาท) จะสามารถนำเงินมาชำระหนี้สิน และช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลดในที่สุด จึงคาดว่ากระทบไม่มากนัก ขณะที่ JAS (ขาย:[email protected]) จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะกระทบกำไรลดลงลง 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะยิ่งกดดันให้ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากประมาณการปัจจุบันที่คาดว่าจะขาดทุน 3.6 พันล้านบาท เพิ่มเป็นขาดทุน 5.2 พันล้านบาท จึงน่าเป็นห่วงที่สุด และทำให้โอกาสเพิ่มทุนมากขึ้น
ทั้งนี้ยกเว้น DTAC(ซื้อ:FV@BB40) ที่จะไม่มีผลกระทบเลยเนื่องจากมิได้มีการประมูลใบอนุญาต 4G แต่ผลกระทบอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่คาดหวังว่าใบอนุญาตจะไม่แพงเหมือนที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัว...ลดกังวล Over supply
        ราคาน้ำมันโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ยังมีปัญหา Over supply อยู่ แต่น่าจะได้รับ sentiment เชิงบวก จากการที่ผู้ผลิตรายได้ของโลก ทั้งกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC หันหน้าเข้าแก้ไขปัญหา แม้ยังไม่มีข้อสรุปขณะนี้ก็ตาม นอกจากนี้ การรายงานยอดการผลิตน้ำมันของผู้ผลิตน้ำมันที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ Shale oil และ Shale gas ประสบปัญหาขาดทุน จากราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเป็นเท่าตัว ส่งผลต้องทยอยปิดกิจการลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนหลุมขุดเจาะที่ลดดลง 26 หลุม เหลือ 413 หลุม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจำนวนต่ำสุดในรอบ 6 ปี (จากสูงสุดกว่า 1,609 หลุม ในปี 2557) และทำให้มีการประมาณการปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกส่วนนี้ลงราว 6 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปี 2559 และ ลดลงอีก 2 แแสนบาร์เรลต่อวันในปี 2560 (จากกลุ่ม Non-OPEC รายงานโดย IEA (International Energy Agency) เท่ากับช่วยลด Over Supply น้ำมันดิบลง


ล่าสุดราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า WIT ปรับขึ้นกว่า 6.22% (ล่าสุด 33.44 เหรียญฯต่อบาร์เรล) เช่นเดียวกับราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 5.08% (ปิดตลาด 34.69 เหรียญฯต่อบาร์เรล) และเช่นเดียวกับราคาน้ำมันล่วงหน้าดูไบที่ยังคงยืนเหนือ 30 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล (ยกเว้นตลาด spot ที่ลดลง 0.67 เซนต์ เหลือ 29.50 เหรียญฯต่อบาร์เรลในเช้าวันนี้) ถือว่ายังคง หนุนหุ้นผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยม ทั้ง PTTEP, PTT ยังแนะนำให้สะสมหุ้น PTT เนื่องจากมี P/E ต่ำ และ upside สูง


ตรงกันข้ามกับค่าการกลั่นที่ย่อตัวลงมาแกว่งตัวในระดับ 6 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่ที่ 6.34 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล แม้จะลดลงอย่างมากจาก ที่เคยเคลื่อนไหวในระดับ 0-11 เหรียญฯต่อบาร์เรล นับจากปลายปี 2558-ปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงต่ำสุด และผลของฤดูกาล (ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นในช่วง 1H59) แต่อย่างไรก็ตามพบว่าค่าการกลั่นในช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) ยังอยู่ที่ 8.6 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งยังคงสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อนที่เฉลี่ยราว 7.86 เหรียญฯต่อบาร์เรล อยู่ประมาณ 9.3% และเมื่อเทียบกับสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดค่าการกลั่นไว้ที่ 6.5 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ทรงตัวจากปี 2558 (อ้างอิงจากตลาดสิงคโปร์) ยังคงเหลือหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเครมีที่ราคาหุ้นยังมี upside สูง ได้แก่ PTTGC และ IRPC

ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
       เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ตลาดหุ้นไทยจะปิดทำการ เนื่องจากเป็นวันมาฆบูชา แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 48 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ไต้หวันและเกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 81 ล้านเหรียญ และ 7 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ตรงข้ามกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่ขายสุทธิราว 40 ล้านเหรียญ และ 2 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 180 ล้านเหรียญ แต่เป็นการขายสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ อินโดนีเซีย ขายสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 114 ล้านเหรียญ รองลงมาคือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 78 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ และไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 41 ล้านเหรียญ หรือ 1,454 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวม 6,190 ล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 3,018 ล้านบาท

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!