WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

May copyบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์วันนี้ Sideways


ตลาดหุ้นวานนี้:
    ตลาดหุ้นไทยวานนี้ SET INDEX เปิดยืนเหนือ 1,280 จุด และ GDP ใน 4Q58 ของไทยออกมาดีกว่าคาดที่ 2.8% yoy ทำให้หุ้นกลุ่มธนาคารฟื้นตัวเด่น ตามกลุ่มพลังงานที่ได้แรงบวกจากราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้ SET INDEX ปิดบวกเด่น 11.91 จุด มาอยู่ที่ 1,288.40 จุด มูลค่าการซื้อขาย 30,612 ล้านบาท
      ด้านกระแสเงินทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย 308 ล้านบาท คงการ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 อีก 5,931 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 5 อีก 2,788 ล้านบาท แม้ว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ตาม

ปัจจัยสำคัญวันนี้
กลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคารยังคงน่าสนใจ หลัง GDP ใน 4Q58 ของไทยออกมาดีกว่าคาด พร้อมสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ติดตามการประชุม ครม.วันนี้
รองนายกฯ ดร.สมคิด ประเมินผลการดำเนินงานของ THAI ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
รมว.น้ำมัน ของซาอุฯ และ รัสเซีย เตรียมหารือที่กรุงโดฮา วันนี้ ถึงเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลก

มุมมองต่อตลาด
เราประเมินภาพ SET INDEX วันนี้ กลับมาแกว่งในกรอบแคบระหว่าง 1,280-1,295/1,300 จุด ทั้งนี้แนะนำให้นักลงทุนติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หากทรงตัวถึงแข็งค่าจะเป็นการส่งสัญญาณถึงกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าไทยต่อเนื่อง ช่วยจำกัด Downside risk มากขึ้น
อีกทั้ง GDP ใน 4Q58 ของไทยที่ออกมาดีกว่าคาด โดยการใช้จ่าย / การลงทุน ภาครัฐที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ต่อยอดกับภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตโดดเด่น แม้ว่า สศค.ประเมิน GDP ในปีนี้จะเติบโต 2.8-3.8% หรือเฉลี่ย 3.3% ลดลงจากประมาณการก่อนหน้า 3.5% เนื่องจากการปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้จากเดิมคาดเติบโต 3.0% เป็น 1.2% จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่เติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่หากพิจารณาจากเครื่องจักรผลักดันเศรษฐกิจ อย่างการท่องเที่ยว การลงทุนจากภาครัฐ ที่ สศค. ยังมั่นใจว่าจะเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการปรับประมาณการใช้จ่ายภาครัฐในปีนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเล็กน้อย เราเชื่อว่า หากการใช้จ่ายภาครัฐ เติบโตต่อเนื่อง การผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ย่อมนำมาสู่การลงทุนจากภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวตามมา และท้ายที่สุดจะเป็นการบริโภคภายในประเทศที่จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ด้วยประเด็นบวกจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ส่งสัญญาณเป็น "กลางถึงบวก" เช่นนี้ เราเชื่อว่าเงินทุนต่างชาติจะทยอยกลับมาเลือกลงทุนในหุ้นไทยเป็นลักษณะ"Selective Buy" รวมถึงแนวโน้มที่จะปรับมุมมองการลงทุนในหุ้นไทยเป็น "กลางถึงบวก" ในระยะถัดไป หากเป็นไปตามคาด เชื่อว่าสถาบันภายในประเทศ จะทยอยสะสมหุ้นหลักของไทยเช่นกัน
และล่าสุดทิศทางราคาน้ำมันดิบ NYMEX กลับมายืนเหนือ US$30/barrel อย่างแข็งแกร่ง เมื่อรมว.น้ำมันของซาอุฯ และ รัสเซีย จะมีการหารือถึงภาวะตลาดน้ำมันในวันนี้ที่กรุงโดฮา เป็น Sentiment เชิงบวกต่อทิศทางราคาน้ำมันดิบ และกลุ่มพลังงาน /ปิโตรเคมีในวันนี้ อย่างไรก็ตาม เรายังไม่คาดหวังว่าจะเห็นแนวทางการลดกำลังการผลิตเพื่อนำไปสู่การขยับขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในระยะเวลาอันสั้นนี้ได้เช่นกัน ราคาน้ำมันดิบจะยังมีความผันผวนไปตามข่าวสารดังกล่าว

กลยุทธ์การลงทุน
     เราแนะนำให้ "นักลงทุนเข้าเก็งกำไรเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย หากราคาหุ้นเป้าหมายย่อตัวระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย เพื่อรอขายทำกำไรบริเวณ 1,300 จุด +"

Speculative Buy: PTTGC
Accumulative Buy: KTB

Stock Pick of the Day

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "สะสม" ได้แก่
1. KTB : ราคาปิด 17.40 บาท ราคาเหมาะสม 21.00 บาท
a) MBKET คงมุมมองเชิงบวกต่อ NIM ที่ดีขึ้นในปีที่ผ่านมา อีกทั้ง KTB มีโอกาสที่จะลดต้นทุนทางการเงินลงได้อีก เพื่อเพิ่ม NIM รวมถึงการปรับพอร์ตสินเชื่อไปสู่กลุ่มลูกค้าที่ให้ดอกเบี้ยสูง อย่าง SMEs
b) นอกจากนี้ KTB ยังเป็นธนาคารที่ได้ประโยชน์ทางตรงจากการเร่งรัดการใช้จ่ายจากภาครัฐ ซึ่งเชื่อว่าสินเชื่อในปีนี้ของ KTB จะเติบโตเด่น เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมที่เห็นสัญญาณบวกมาตั้งแต่ 4Q58
c) เราประเมินกำไรสุทธิของ KTB ในปีนี้ไว้ที่ 3.39 หมื่นล้านบาท เติบโต 12% yoy
d) ขณะที่ปัจจัยระยะสั้น ในช่วงปลายเดือนก.พ. เราคาดว่า KTB จะประกาศจ่ายเงินปันผลงวดปี 2558 เท่ากับ 0.80 บาท ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดในหุ้นธนาคารหลักรอบนี้ที่ 4.5%
e) ด้าน Valuation หลังปรับประมาณการครั้งนี้ ทำให้ราคาหุ้นของ KTB กลับมาซื้อขาย PER59 เท่ากับ BBL ที่ 7.2x ต่ำสุดในบรรดาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่
และ "ซื้อเก็งกำไร"
2. PTTGC : ราคาปิด 53.00 บาท ราคาเหมาะสม 60.00 บาท
a) PTTGC รายงานกำไรสุทธิ 4Q58 ที่ 4,690 ล้านบาท พลิกกลับจากขาดทุน -4,780 ล้านบาท ใน 4Q57 และเติบโต +289% qoq ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของตลาดที่ 4,600 - 4,700 ล้านบาท
b) คาดราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวก หลังประกาศจ่ายเงินปันผล 2H58 หุ้นละ 1.30 บาท ขึ้น XD 25 ก.พ. คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 2.5% สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่หุ้นละ 0.80 บาท
c) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เช้านี้ที่แกว่งตัวเหนือระดับ US$30.00/barrel เชื่อว่าจะเป็นบวกต่อ Sentiment การลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานให้ไต่ระดับขึ้นได้ต่อ
d) Valuation น่าสนใจ เนื่องจากซื้อขายระดับ PBV2559 ที่ 0.9 เท่า ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย -1SD และหุ้นในกลุ่ม ได้แก่ TOP 1.2x, SPRC 1.3x และ BCP 1.1x

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ขายสุทธิ US$193 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$40 ล้าน

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกัน
นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยอีกครั้งเพียงเล็กน้อย 308 ล้านบาท ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิสะสมลดลงเล็กน้อย เป็น 14,276 ล้านบาท เมื่อ GDP ใน 4Q58 ของไทยออกมาดีกว่าคาด
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 2 เร่งขึ้นเป็น 5,931 สัญญา รวม 2 วันทำการ Long สุทธิ 9,400 สัญญา คาดเป็นการเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง เมื่อ SET50 Index กลับมาปิดยืนเหนือ 810 จุดได้อีกครั้ง กดดันให้ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบลงเป็นวันที่ 2 เหลือ 5.04 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 6.78 จุด ผลักดันให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 90,000 สัญญา เป็น 90,436 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 ลดลงเหลือ 2,788 ล้านบาท รวม 5 วันทำการ ซื้อสุทธิ 19,006 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นอีก 5.78bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 4.72bps ปิดที่ 2.119% และค่าเงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ +/- ตลอดชั่วโมงการซื้อขาย

Short-Selling วานนี้
ลดลงเหลือ 513 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,414 ล้านบาท

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 เน้นกลุ่มหลักพลังงาน และธนาคาร
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิเร่งขึ้นเป็น 806 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 122 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการกลับมาสะสมหุ้นหลักในกลุ่มพลังงาน และธนาคารอย่างโดดเด่น สรุปภาพรวมได้ดังนี้
1. กลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิสูงสุด 201 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 147 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ 174 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 272 ล้านบาท กลุ่ม ICT ซื้อสุทธิ 126 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 64 ล้านบาท และกลุ่มไฟแนนซ์ ซื้อสุทธิ 77 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มขนส่ง ขายสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 แต่ก็เพียง 46 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 192 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา

ไม่มี

ยุโรป
ราคาบ้านในลอนดอนเพิ่มขึ้นโดดเด่น: เดือนก.พ. ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.4% yoy เป็น GBP643,843 โดยราคาบ้านภายในลอนดอน เพิ่มขึ้นเกือบ 8.0% yoy เป็น GBP848,000 เป็นระดับสูงสุดใหม่ สำหรับราคาบ้านเฉลี่ยทั่วประเทศอังกฤษ เพิ่มขึ้น 2.9% mom ภาพรวม 2558 มียอดการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้น 5.0% แต่ยอดผู้ซื้อบ้านหลังแรกเพิ่มขึ้น 10.0% ทำให้ราคาบ้านเพิ่มขึ้นโดดเด่น
ประธาน ECB ยืนยันออกมาตรการหากมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ: ยืนยันที่จะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายการเงินจะทำให้เศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมาย หากความเสี่ยงจากตลาดเงินจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง ECB จะมีการวิเคราะห์ถึงนโยบายการเงินต่อระบบการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ปัจจัยทั้ง 2 หากมีความเสี่ยงต่อทิศทางอัตราเงินเฟ้อ ECB จะไม่ลังเลที่จะเข้าแก้ไขทันที

จีน
ตัวเลขการส่งออก - นำเข้าเดือนม.ค.ออกมาต่ำกว่าคาด
การส่งออกเดือนม.ค. ลดลง 11.2% yoy ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับเดือนธ.ค.ที่ -1.4% yoy เท่านั้น
การนำเข้าหดตัวแรง 18.8% yoy เป็นเดือนที่ 15
ดุลการค้าเดือนม.ค. เกินดุล US$6.33 หมื่นล้าน

เอเชียแปซิฟิก
ดัชนีราคาค้าส่งของอินเดียหดตัวต่อเนื่อง: เดือนม.ค.ลดลง 0.9% yoy หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -0.73% yoy และลดลงมากกว่าที่ Bloomberg consensus คาด -0.13% yoy
ยอดขายบ้านในสิงคโปร์ยังคงตกต่ำ: ยอดขายบ้านในเดือนม.ค. เท่ากับ 322 ยูนิต ลดลง 16% mom จากเดือนธ.ค.ที่ 384 ยูนิต ภาพปี 2558 ยอดขายบ้านในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเพียง 2.0% เป็น 7,440 ยูนิต คิดเป็นเพียง 50% ของยอดขายปี 2556 ที่เป็นระดับสูงสุดของยอดขายบ้านในสิงคโปร์ และทำให้ราคาเฉลี่ยลดลง 3.7% ในปี 2558 เป็นการลดลงต่อเนื่องจากปี 2557 ที่ราคาเฉลี่ยลดลง 4.0%
ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์ชะลอตัวลง: เพิ่มขึ้น 2.9% yoy ในเดือน ธ.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ +4.6% yoy และต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดขยายตัว 3.6% yoy อย่างไรก็ตามหากไม่รวมรายการรถยนต์ยอดค้าปลีกหดตัว 3.6% yoy จากเดือนก่อนที่หดตัว 1.1% yoy
ยอดส่งออกอินโดนีเซียหดตัวลงแรง: เดือน ม.ค.ลดลง 20.72% yoy จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 17.46% yoy เทียบกับ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 15.20% yoy ทั้งนี้การส่งออกไปยังจีน, สหรัฐฯและกลุ่มอียูหดตัว 27.7%, 7.0% และ 5.6% mom ตามลำดับ รวมถึงในอาเซียนลดลง 9.9% mom ด้านการนำเข้าหดตัว 17.15% yoy ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยที่ US$51 ล้าน
ดัชนี Tertiary Industry ของญี่ปุ่นหดตัว: ลดลง 0.6% mom ในเดือน ธ.ค. เทียบกับเดือนก่อนที่หดตัว 0.9% mom แต่ต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด -0.1% mom

ไทย
สศช.ปรับ GDP ปี 2559 โต 3.3%: สภาพัฒน์ ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีปี 2559 จากเดิม 3.5% เป็น 3.3% สูงขึ้นจาก 2.8%ในปี 2558 โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเร่งขึ้นของเม็ดเงินการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ แรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ประกาศเพิ่มเติมในเดือนกันยายน 2558-มกราคม 2559 การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุน โดยงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำรวมอยู่ที่ 2.54 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายโดยรวมในปีงบ 2559 ที่ 93.4% สำหรับมูลค่าการส่งออกชะลอ 1.2% เนื่องจากการค้าโลกขยายตัวจาก 3.8% เหลือ 3.2% เพราะแนวโน้มเงินบาทยังอ่อนค่า การส่งออกหลายประเทศติดลบอย่างมาก

Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!