WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      แรงกดดันจากปัจจัยภายนอกทำให้การคาดหมายสร้างผลตอบแทนจาก Capital Gain ยากขึ้น ขณะที่ตัวเลือกที่สร้างผลตอบแทนจาก Dividend Yield โดดเด่นขึ้นมา แนะนำทยอยสะสมหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงและมีความต่อเนื่องเข้าพอร์ต ซึ่งมีหลายตัวเลือกไม่ว่าจะเป็น TVO, SC, TK, DRTส่วนนักลงทุนที่ชอบหุ้นใหญ่ ADVANC(FV@B187) ยังเป็นตัวเลือกที่ดี

SET Index 1,280.74
เปลี่ยนแปลง (จุด) -24.00
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 45,363.34

ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ 193.20
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -2,315.19
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 480.97
นักลงทุนรายย่อย 1,641.02

นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
       ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งในช่วงต้นปี IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะชะลอตัวลง นำโดยจีนซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลกถูกคาดการณ์ว่าจะโตเพียง 6.3% เทียบกับปี 2558 ที่โต 6.9% ประกอบกับปัญหาOver Supplyของสินค้าโภคภัณฑ์ กดดันต่อเศรษฐกิจประเทศทั่วโลกทำให้ธนาคารกลางในหลายประเทศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งยังคงยังคงเม็ดเงินซื้อคืนพันธบัตร (QQE) ไว้ที่ปีละ 80 ล้านล้านเยนเช่นเดิม แต่หันกลับมาใช้นโยบายด้านดอกเบี้ยเป็นตัวเสริม ผ่านการลดดอกเบี้ยกระแสรายวันที่ ธ.พ.มาฝากกับธนาคารกลางฯ(BOJ) ลงเป็นติดลบ 0.1% ครั้งแรกในประวัติการณ์ ยุโรป หลังจากเผชิญปัญหาเงินเฟ้อที่ต่ำ 0.4% ทำให้ประธาน ECB ส่งสัญญาณทบทวนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม ในการประชุมรอบถัดไปวันที่ 10 มี.ค ซึ่งอาจจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง หรือขยายวงเงิน QE ต่อเดือนเพิ่มขึ้น อังกฤษ ซึ่งยังเผชิญปัญหาการชะลอตัวในภาคการผลิต ทำให้กระแสที่(BOE)จะมีโอกาสหันกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง

      สวนทางกับที่เคยคาดการณ์ไว้ว่ามีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในปลายปีนี้ จีน หลังจากหันกลับมาเน้นการบริโภค (C) เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนการผลิต โดยมีการลดดอกเบี้ยลงแล้ว 6 ครั้งอยู่ที่ 4.35% และลด RRR ลง 4 ครั้งอยู่ที่ 17.5% ตั้งแต่ พ.ย. 57 และตั้งแต่ต้นปีมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบรวมราว 10 ล้านล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และล่าสุดสวีเดน วานนี้ธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.15% เป็นติดลบ 0.5% (หลังจากคงดอกเบี้ยติดลบ 0.35% ตั้งแต่กลางปี2558) มีเพียงสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดผ่านการขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกที่ยังกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้มีแนวโน้มที่ Fed อาจจะกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg พบว่าโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยรอบ มี.ค. คาดว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย ผลดังกล่าวน่าทำให้ค่าเงิน USDล่าสุดอยู่ที่ 95.56 อ่อนค่าต่อเนื่องและยังมีทิศทางที่อ่อนค่าต่อไปอีกระยะ

รอฟ้าสว่าง นักลงทุนก็พร้อมกลับมายังสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง
      ท่ามกลางสภาวะที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องและ การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายรูปแบบต่างๆ ทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ (Money Supply) สูงขึ้น แต่สภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง รวมทั้งความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตราในแต่ละภูมิภาค ทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว เป็นผลให้สภาพคล่องที่มีอยู่ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง (Risky Assets) ไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัย (Risk-Free Assets) มากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบรรดา Save Haven ได้แก่ ทองคำ (ปัจจุบันราคาขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี จากจุดต่ำสุดที่ 1,050 สู่ 1,250 เหรียญ/ออนซ์), เงินเยนญี่ปุ่น (แข็งค่าสุดในรอบ 15 เดือน) และพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Bond Yield ติดลบครั้งแรกเป็นประวัติการณ์ ในส่วนของพันธบัตรระยะสั้น 1 ปี และระยะกลาง 5 ปี ส่วนระยะยาว 10 ปี ล่าสุดปรับขึ้นมาบวกเล็กน้อย) รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และยุโรป ที่ Bond Yield ลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลไทย Yield ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่เพียง 2.01% ลดลงจากต้นปีที่ 2.61%
     อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในอดีต เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง Bond Yield ลดลงจนนักลงทุนเริ่มที่จะเห็นว่าผลตอบแทนไม่น่าจูงใจแล้ว ขณะที่เริ่มทำใจยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ตลาดหุ้นซึมซับประเด็นข่าวเชิงลบไปมากและ downside risk เริ่มจำกัด ก็เชื่อว่านักลงทุนจึงพร้อมที่จะสลับพอร์ตการลงทุนมายังสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นหากส่วนต่างผลตอบแทนน่าดึงดูด ทั้งนี้จากการติดตามตัวเลข Market Earning Yield Gap ปัจจุบันพบว่าปรับตัวขึ้นมาสูงเหนือ 5% อีกครั้ง ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจากการถือพันธบัตรเข้ามาสู่ตลาดหุ้นต้องใช้ระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งในการที่จะทำให้นักลงทุนกลับมายอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นแลกกับผลตอบแทนที่ดีกว่า Bond Yield

ราคาน้ำมันโลกน่าจะเหลือ Downside จากระดับปัจจุบันไม่มาก
       วานนี้ ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า WTI ปรับตัวลดลง ทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ 26.19 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปี เช่นเดียวกับ Brent ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 30 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง ก่อนจะสามารถฟื้นตัวปิดตลาดที่ 30.06 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหลักยังคงเกิดจากความกังวลปัญหา Supply ที่ยังคงล้นตลาด สะท้อนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง กล่าวคือสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี กว่า 130 ล้านบาร์เรล ทำให้คาดการณ์ปัจจุบันมีอุปทานล้นตลาดประมาณ 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดจะเพิ่มขึ้นอีกเมื่ออิหร่านกลับมาผลิต หลังได้รับการยกเลิกการคว่ำบาตร ขณะที่ฝั่ง Demand ยังคงชะลอตัว กระทบจากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีนผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ระดับปัจจุบัน คาดว่าจะเป็นระดับเหลือ Downside จำกัดแล้ว เนื่องจาก ณ ระดับราคานี้ถือว่าต่ำกว่าต้นทุนของผู้ผลิตแล้ว และเริ่มกดดันให้มีการจำกัดการผลิตของผู้ผลิตกลุ่ม Non-OPEC ขณะที่ กลุ่ม OPEC เริ่มส่งสัญญาณการปรับลดกำลังการผลิต หลังเริ่มมีการหารือกัน ทั้งนี้การลดกำลังการผลิตจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการร่วมมือกันทั้งในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าเช้านี้เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวบ้างเล็กน้อย หลังจากเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าราคาน้ำมันโลกไม่น่าทำจุดต่ำสุดไปมากกว่านี้ เป็นการจำกัด downside risk

Dividend Stock ยังเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ
      ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่มีหลายปัจจัยกดดันตลาด ทำให้โอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น (Capital Gain) ในช่วงเวลานี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก แต่ด้วยกรอบเวลาที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่มีงวดปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม ต้องรายงานผลประกอบการงวดปี 2558 ภายใน 29 ก.พ.2559 และหลังจากนั้นจะตามมาด้วยเทศกาลการประกาศจ่ายเงินปันผล ทำให้โอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) กลับมีความโดดเด่นขึ้นมา ทั้งนี้ฝ่ายวิจัย ASPS ได้คัดกรองหุ้นโดยใช้ Application ASP Smart ซึ่งมีฐานข้อมูลครอบคลุมหุ้นกว่า 90% ของ Market Cap (ลูกค้าของ ASPS สามารถ Download ได้ฟรี ใน App Store และ Play Store) โดยกำหนดเงื่อนไขขึ้นมา 4 ข้อ ได้แก่
1. ที่ระดับราคาหุ้นปัจจุบันต้องให้ Dividend Yield มากกว่า 5%
2. มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 เพื่อที่จะได้หุ้นที่ราคามีความผันผวนต่ำ
3. เป็นหุ้นที่นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแนะนำ ซื้อ
4. ต้องมี Upside เทียบกับ Fair Value มากกว่า 20%
ซึ่งได้หุ้นที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก เช่น TVO, DRT, BJCHI, SPALI, AIT, SC, TK, JMART และ PS เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกสะสมเข้าไว้ในพอร์ตการลงทุนได้

แม้ SET ตกหนัก แต่ต่างชาติได้สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย
       แม้วานนี้ ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ตลาดอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้ว พบว่า วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างหนัก ขณะเดียวกันนั้นต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 175 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 233 ล้านเหรียญ (หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการมา 3 วัน) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิราว 65 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และตลาดหุ้นไทย แม้วานนี้ปรับตัวลง 24 จุด หรือ 1.84% อย่างไรก็ตามต่างชาติได้สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 5 ล้านเหรียญ หรือ 193 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 481 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 24,015 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 2,191 ล้านบาท ซึ่งแรงซื้อตราสารหนี้ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องยังคงยังเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.24 บาท/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: ภราดร เตียรณปราโมทย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!