WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : เก็งกำไรเป็นรอบ
Stock of the town : RP UREKA-W1
หุ้นแนะนำพิเศษ : PTT
หุ้นมีข่าว : INET SYNEX
  SET วานนี้ปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่ได้อานิสงส์ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น ประกอบกับคาดการณ์ว่า FED จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในการประชุมเดือนมี.ค. หนุนให้ SET ปิดที่ 1,297.11 จุด (+5.34 จุด) Volume 3.9 หมื่นลบ. โดย Foreign Net +838 ลบ. , Net TFEX +11,943 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
  + ตลาดหุ้น DJ +79.92 จุด จากคาดการณ์ FED จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดที่ 8,000 ราย สู่ระดับ 285,000 ราย และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐในเดือนธ.ค.ร่วงลง2.9% หนักที่สุดในรอบ 1 ปี
  + โกลด์แมน แซคส์ คาด FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงสามครั้งในปีนี้จากเดิมคาดว่าจะขึ้นสี่ครั้ง และจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม
  +/- กสทช.มั่นใจ JAS TRUE จ่ายค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz งวดแรกได้ทัน 21 มี.ค.
  - ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเล็กน้อยล่าสุด 31.81 USD/Barrel จากแรงขายทำกำไรและความไม่แน่นอนในการลดกำลังการผลิตของผู้ส่งออกน้ำมัน
  - EC คาด GDP ยูโรโซนจะ +1.7% ในปีนี้ ลดลงจาก 1.8% ที่คาดการณ์ไว้ จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด รวมทั้งอัตราการว่างงานที่พุ่งขึ้นถึง 2 หลัก
  - บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศหยุดลงทุนหุ้นทุกตัวในกลุ่มซีพี คาดเป็น CPALL-TRUE-MAKRO และ CPF รวมถึงตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ในเครือซีพีทั้งหมดจนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องธรรมาภิบาล
  - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือนม.ค. ลดลงเหลือ 75.5 จากเดือนก่อน 76.1 เนื่องจากผู้บริโภคกังวลภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวล่าช้า
  การคาดการณ์ FED ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. รวมถึง Fund Flow ต่างชาติพลิกเป็น Net Buy หุ้น+ TFEX เป็นแรงหนุนต่อภาวะตลาด อย่างไรก็ตามความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงเป็นตัวถ่วงดัชนี ดังนั้นคาดว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,290 – 1,310 จุด
  ** ตลาดหุ้นที่หยุดเทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์หน้า ได้แก่ จีน, ไต้หวัน, เวียดนาม หยุด 8-12 ก.พ. ส่วน HK, เกาหลีใต้ หยุด 8-10 ก.พ.

กลยุทธ์การลงทุน
  แนะนำ Selective Buy กลุ่มที่มีปัจจัยบวกและซื้อสะสมหุ้นที่งบเติบโตขึ้น
  - กลุ่ม High Dividend INTUCH ADVANC KTB
  - High season การท่องเที่ยวและต้นทุนน้ำมันปรับตัวลง AOT BA AAV
  - กลุ่มที่คาดว่างบปี 58 และ Q4/58 เติบโตขึ้น EPG FSMART KCE TVT GL BEAUTY BRR EA SYNEX SMPC SPALI ORI UBIS
  - ไทย-อินโดฯ-มาเลย์ จับมือลดปริมาณส่งออกยาง 615,000 ตันในช่วง 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-31 ส.ค.59 บวกต่อ STA TRUBB

ประเด็นข่าวอื่น
  - (ECF) แจ้งว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ECF Tornado Energy ขนาด 1.5 เมกะวัตต์ (MW) ในจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทย่อยได้ร่วมลงทุนนั้น ขณะนี้ได้เดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.58
  - CPALL เตรียมประชุมบอร์ดวันที่ 23 ก.พ. ลุ้นมีพิจารณาเรื่องกรณีที่ผู้บริหารระดับสูงใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น MAKRO

คาดการณ์วันประกาศงบ
  9 ก.พ. IRPC / 10 ก.พ. THCOM / 11 ก.พ. LPN / 12 ก.พ. TOP /
  15 ก.พ. PTTGC / 17 ก.พ. INTUCH / 18 ก.พ. BANPU BCP IVL / 19 ก.พ. PTT / 25 ก.พ. DCON TRUE RML

หุ้นแนะนำพิเศษ
  PTT ราคาปิด 238 บาท PREVIEW Q4
  คาดรายงานกำไรราว 2.2 พันล้านบาท +108%QoQ และ 105%YoY โดยปัจจัยที่กดดันกำไรมาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่ปริมาณขายปรับตัวลงเนื่องจากมีโรงไฟฟ้าหยุดซ่อมบำรุง ด้านธุรกิจโรงแยกก๊าซกำไรถูกกดดันตามราคา HDPE ที่ปรับตัวลงราว 7% QoQ นอกจากนี้ยังมีการบันทึกด้อยค่าในสินทรัพย์จากธุรกิจถ่านหินราว 1.58 หมื่นล้านบาทคอยกดดันผลประกอบการเพิ่มเติม ธุรกิจสถานีจำหน่ายน้ำมันปริมาณขายปรับตัวขึ้นราว 6% ตามปัจจัยฤดูกาลที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว อีกทั้งอัตรากำไรต่อลิตรปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  สำหรับการขายหุ้น SPRC ไม่มีการบันทึกกำไรเนื่องจากราคา IPO ใกล้เคียงต้นทุนของ PTT อีกทั้งมีการจ่ายภาษีส่งผลให้ไม่มีการบันทึกกำไรในการขายหุ้น SPRC

หุ้นมีข่าว
  INET (ราคาปิด 4.40 ซื้อเก็งกำไร) เต็งหนึ่งลุ้นคว้างานวางระบบอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านทั่วไทย 2 หมื่นล้านบาท แถมเด้งรับอานิสงส์เปิด 4G หนุนยอดบริการทะยาน พร้อมจับตาแผนแตกไลน์ธุรกิจใหม่ เจาะงานดาต้าเซ็นเตอร์ บุกตลาด CLMV ดันผลงานปี 2559 พุ่งแรง(ที่มา: ทันหุ้น)
  SYNEX (ราคาปิด 4.82 แนะนำซื้อ5.30) แย้มงบไตรมาส 1/59 สวยกว่าไตรมาส 1/58 ตั้งเป้าปั๊มรายได้ปีนี้ 2.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 8% รุกตลาดสินค้าเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและต่างประเทศครอบคลุมลูกค้าทุกช่องทาง (ที่มา:ข่าวหุ้น)

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : +79.92 จุด
  ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,416.58 จุด เพิ่มขึ้น 79.92 จุด หรือ +0.49% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,509.56 จุด เพิ่มขึ้น 5.32 จุด หรือ +0.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,915.45 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด หรือ +0.15%เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบและกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากมุมมองที่ว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์และช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทข้ามชาติให้ฟื้นตัวขึ้น

ตลาดน้ำมัน NYMEX : -0.56 ดอลลาร์/บาร์เรล
  สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 56 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 31.72 ดอลลาร์/บาร์เรล
  เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแข็งแกร่งในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด รวมทั้งความไม่แน่นอนที่ว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่

ปัจจัยบวก
(+) ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ BoE ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์
(+) สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัว 2.3% ในปีนี้ และ 2.7% ในปีหน้า รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจรายไตรมาสประจำฤดูหนาวของ NIESR ระบุว่า แม้ว่าตลาดการเงินเผชิญกับความปั่นป่วนตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ย.
(+) โกลด์แมน แซคส์ออกรายงาน ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. จากก่อนหน้าคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง

ปัจจัยลบ
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งขึ้นมากกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 285,000 ราย โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 280,000 ราย อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 48 ติดต่อกัน
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตร ลดลงในไตรมาส 4 รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการผลิตลดลง 3.0% ในไตรมาสที่ 4 โดยปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2014 หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 2.1% ในไตรมาส 3
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลงหนักที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนธ.ค. โดยร่วงลง 2.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2014 หลังจากที่ลดลง 0.7% ในเดือนพ.ย.
(-) คณะกรรมาธิการยุโรป คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนจะขยายตัว 1.7% ในปีนี้ ลดลงจาก 1.8% ที่คาดการณ์เมื่อเดือนพ.ย. หลังจากที่เผชิญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด รวมทั้งอัตราการว่างงานที่พุ่งขึ้นถึง 2 หลัก
(-) การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียมีแนวโน้มชะลอออกไป หลังจากที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน (CDB) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนทางการเงินต่อโครงการดังกล่าว แสดงความกังวลต่อช่วงเวลาในการดำเนินโครงการ
(-) สมาชิกสหภาพแรงงานกรีซจำนวนหลายหมื่นคนพากันผละงานประท้วงทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาคการขนส่ง ทั้งการบิน และเรือเฟอร์รี่ เป็นอัมพาต ขณะที่มีการปิดโรงเรียน และศาล ส่วนโรงพยาบาลเปิดให้บริการเพียงผู้ป่วยฉุกเฉิน
(-) มอร์แกน สแตนเลย์ ประกาศปรับลดคาดการณ์ราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบเบรนท์ในปีนี้ สู่ระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่ระดับ 49 ดอลลาร์/บาร์เรล
(-) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ระดับ 75.5 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 64.4 โดยมีปัจจัยลบมาจากความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การที่ก.คลังปรับคาดการณ์ GDP ปี 59 เหลือ 3.7% จากเดิม 3.8% การส่งออกของไทยในปี 58 ติดลบ 5.78% ราคาพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย ขณะที่ผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยบวก ได้แก่ สศค.เผย GDP ปี 58 ขยายตัว 2.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง

ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
- 8-9 ก.พ. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จัดประชุมเพื่อให้สมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรธน.ร่างแรกเพื่อรวบรวมความเห็นส่งกลับไปยังกรธ.ภายใน 15 ก.พ.
- 14-18 ก.พ.นายกฯ จะเดินทางไปสหรัฐเข้าร่วมประชุมระดับผู้นำพิเศษอาเซียน-สหรัฐ ครั้งที่ 1
- 15 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 4/58 / ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ประเทศไทย) หรือ TFEX เริ่มซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (RSS3 Futures) เป็นสินค้าแรก
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน / สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง/ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
- 29 ก.พ. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน / วันสุดท้ายในการส่งงบปี 58 ในกรณีที่ไม่ส่งงบ Q4 ของบริษัทจดทะเบียน
- 31 ก.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (เบื้องต้น)

ต่างประเทศ
- 5 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค./ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนธ.ค.
- เยอรมนีเปิดเผยคำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนธ.ค.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนม.ค./ ดัชนีภาวะทางธุรกิจเบื้องต้นเดือนธ.ค.
- 6 ก.พ. สหรัฐเปิดเผยสินเชื่อผู้บริโภคเดือนธ.ค.
- 8 ก.พ. ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดการปล่อยกู้ภาคธนาคารเดือนม.ค./ดุลการชำระเงินเดือนธ.ค./จำนวนบริษัทล้มละลายเดือนม.ค./ผลสำรวจภาวะธุรกิจเดือนม.ค.
- 9 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนธ.ค.

Analyst : วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
     ชัยยศ จิวางกูร
     บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!