WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดหุ้นอาจจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน หลังจากผู้ผลิตน้ำมันเริ่มหันหน้ามาคุยกันเพื่อลดกำลังการผลิตส่วนเกิน และ Dollar Index ที่อ่อนค่า หนุนน้ำมันระยะสั้น แต่เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลจ่ายเงินปันผล จึงแนะนำให้สะสมหุ้นปันผลเด่น และ P/E ต่ำ เช่น SC([email protected]) แต่วันนี้เลือก PS(FV@B38) เป็น Top pick

สหรัฐมีแนวโน้มชะลอขึ้นดอกเบี้ย กดดัน Dollar Index อ่อนลง
      วานนี้สหรัฐ รายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในส่วนของตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง กล่าวคือ กล่าวคือยอดการจ้างงานภาคเอกชน เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 2.05 แสนรายสูงกว่าที่คาดที่ 1.95 แสนราย (หนุนอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 5%) ยกเว้น ภาคการผลิตยังส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของมาร์กิต ปรับลดติดต่อกัน 3 เดือน และเงินเฟ้อที่ยังต่ำที่ 0.7% ซึ่งประเด็นหลังน่าจะกดดันให้ Fed กลับมาทบทวนการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย หลังจากมีขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 0.5% เมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐ ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ว่าอาจเป็นการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ล่าสุด ผลสำรวจของ Bloomberg ปรับลดคาดการณ์ถึงโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ลง โดยคาดว่าการประชุมเดือน มี.ค. มีผู้ที่คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ เหลือเพียง 12% ของผู้ตอบทั้งหมด (เดิมคาดที่ 50%) ส่วนการประชุมรอบถัดไป คือเดือน เม.ย.และ มิ.ย. เหลือ 13.5% และ 25.7% ตามลำดับ ลดลงจากเดิมเดิมคาดที่ 56.3% และ 74% ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ Dollar Index อ่อนค่าลง มาแตะ 97 จุด หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดที่ 100 จุด ซึ่งถือเป็นแนวต้านที่สำคัญ การที่ dollar index อ่อนค่าน่าจะหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวรอบใหม่
      ขณะที่ไทย วานนี้การประชุม กนง. เป็นไปตามที่คาดคือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่ เม.ย.58) โดยฝ่ายวิจัยเชื่อว่า กนง.จะยืนดอกเบี้ยนโยบายต่ำจนถึงปลายปี 2559 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม และน่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐหลายรูปแบบ ตั้งแต่การกระตุ้นระดับรากหญ้า SMEs อสังหาริมทรัพย์ และมาตรการทางภาษี ซึ่งได้ดำเนินการไปตั้งแต่ปลายปี 2558 เป็นต้น

สต็อกน้ำมันดิบสูงกว่าคาด แต่ราคาน้ำมันฟื้นจาก Dollar Index ที่อ่อนค่า
      วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 29 ม.ค. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ราว 7.8 ล้านบาร์เรล สูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 4.8 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้สต็อกน้ำมันดิบอยู่ที่ 502.7 ล้านบาร์เรล เช่นเดียวกับ สต็อกน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มเฉพาะสต๊อกน้ำมันเบนซิน โดยเพิ่มขึ้น 5.9 ล้านบาร์เรล ยกเว้นน้ำมันดีเซลที่ลดลง 7.7 แสนบาร์เรล เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในทวีปอเมริกา หนุนการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขื้น
     ทั้งนี้ แม้ว่าปัญหา Over supply ที่มีอยู่ก็ตาม แต่มีปัจจัยหนุนระยะสั้นก็คือ ทางฝั่งผู้ผลิตทั้ง OPEC และ Non-OPEC มีแนวโน้มจะหันหน้ามาคุยกันถึงปัญหาราคาน้ำมันที่ตกต่ำ น่าจะลดแรงกดดันระยะสั้น นอกจากนี้ Dollar Index ที่อ่อนค่าราว 1.75% นับจากต้นสัปดาห์ และเป็นการอ่อนค่าสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี (ล่าสุดที่ 1.10 ดอลลาร์ต่อยูโรอ่อนค่าราว 2.28% ytd) จากความกังวลจากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ และมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยกว่าคาดดังกล่าวข้างต้น ทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นกว่า 8% ทั้ง WIT และ Brent ล่าสุดที่ 32.29 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ 35.45 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดูไบตลาดล่วงหน้าสามารถปรับตัวขึ้นเหนือ 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดที่ 31.62 เหรียญฯต่อบาร์เรล น่าจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อหุ้นที่ผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยมอย่าง PTT, PTTEP เป็นต้น ยังชื่นชอบ PTT ซึ่งราคาหุ้นอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ฐานรายได้มีการกระจายตัวที่ดี

ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค
     วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 281 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) และเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 180 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ ไต้หวันขายสุทธิราว 54 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 7 วัน) สุดท้ายคือ ไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 33 ล้านเหรียญ หรือ 1,184 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,047 ล้านบาท
    ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 21,206 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 2,084 ล้านบาท
 หุ้นมือถือพุ่งแรง อานิสงส์จากฤดูกาลจ่ายปันผล DTAC ยังมี upside สูงสุด
นับจากต้นปีถึงปัจจุบัน SET เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน ขึ้น-ลง สลับวัน จึงทำให้ดัชนีไม่สามารถขยับไปไหนได้ ติดลบอยู่เล็กน้อย -0.17% ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายกลุ่ม จะพบว่ากลุ่มที่ underperform เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา สามารถพลิกกลับมา outperform ได้ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม ICT ที่สามารถปรับขึ้นได้ถึง 6.5% หลังจากปรับลงนับตั้งแต่การประมูลใบอนุญาต 4G คลื่น 1800 MHz เมื่อกลางเดือน พ.ย. ต่อเนื่องถึงการประมูลคลื่น 900 MHz เดือน ธ.ค. ที่ทำให้ภาวะอุตสาหกรรมมือถือ มีแนวโน้ม การแข่งขันที่ดุเดือดรุนแรงมากขึ้น กดดันผลประกอบการให้ลดลง อย่างไรก็ตาม การที่ราคาหุ้นในกลุ่มปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงนี้ โดยเฉพาะ ADVANC, DTAC หรือแม้แต่ INTUCH ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลจ่ายเงินปันผล ซึ่งหุ้นดังกล่าวข้างต้นมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง ทั้งยังมีการจ่ายอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ปี นอกจากนี้ หากพิจารณาสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี จะเห็นว่าราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้นล่วงหน้าก่อนวันขึ้น XD ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ยและความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง (รายละเอียดดังภาพด้านล่าง)
ผลตอบแทนและความน่าจะเป็นของหุ้นกลุ่ม ICT หากซื้อก่อนขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายในวันที่ขึ้น XD

     ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายหุ้น จะพบว่า ADVANC (FV@B165) ราคาปัจจุบันปรับขึ้นมามากจนเกิน upside แล้ว หากนักลงทุนยังมีหุ้นอยู่ก็สามารถถือเพื่อรับปันผลได้ หรืออาจสลับมา DTAC (FV@B40) อาจได้รับแรงกดดันจากการรายงานงบงวด 4Q58 ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นเนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศ แต่จากการที่ DTAC เตรียมแผนลงทุน 4G มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่กสทช มีนโยบายที่จะให้จะมีการประมูลใบอนุญาตเพิ่มเติม โดยส่วนหนึ่งจะนำคลื่นความถึ่ 2600 MHz ที่จะขอคืนจาก MCOT มาประมูลอย่างน้อย 60 MHz ส่งผลให้คาดการประมูลคลื่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นปีหน้า ช่วยให้ DTAC มีโอกาสประมูลคลื่นระบบใบอนุญาต หลังจากที่ไม่ได้คลื่นจากการประมูลคลื่นรอบที่ผ่านมา จึงต้องกลับไปพึ่งคลื่นสัมปทานที่ต้นทุนสูงและอายุบริการสั้น 3 ปี ทำให้มีโอกาส 4G ได้มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับคู่แข่ง โดยคาดว่าจะแบ่งใบอนุญาตเป็น 3 ใบ ใบละ 20 MHz แม้คาดว่าผู้ประกอบการมือถือทั้ง 4 รายจะเข้าร่วมประมูลทั้งหมด แต่เชื่อว่า DTAC น่าจะเป็น 1 ในผู้ชนะ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน จึงทำให้ DTAC ประกาศจะลดอัตราการจ่ายเงินปันที่ 80% เหลือ 50% เพื่อนำไปลงทุนขยายโครงข่าย นับว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวก นอกจากนี้ INTUCH (FV@B66) และ THCOM (FV@B41) ยังเป็นอีกทางเลือกที่มีทั้ง Div. Yield และ upside ในระดับสูง

หุ้นอสังหาฯ ยัง laggard แล้วยังมี P/E + ปันผลสูง : PS, SC
      แม้ในช่วงนี้ SET Index จะค่อนข้างแกว่งตัวผันผวน นับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันดัชนีปรับขึ้นได้เพียง 0.3% หลังจากในช่วงปี 2558 ที่ผ่านไปนั้น SET Index ปรับตัวลดลงถึง 14% โดยหุ้นกลุ่มที่ปรับลดลงหนักในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ ICT -39%, ธ.พ. -29%, สื่อ-บันเทิง 22%, พลังงาน -21%, ส่งออกอาหาร -12%, ยานยนต์ -12%, อสังหาฯ -11% และค้าปลีก -8% แต่พอมาในรอบปีนี้ บางกลุ่มที่เคยปรับลดลงหนักสามารถพลิกฟื้นขึ้นมาได้ อาทิ ICT 5.8%, ธ.พ. 4.4%, ค้าปลีก 2.3% ขนส่ง 3% แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ยัง laggard ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอสังหาฯ ที่ผลตอบแทนปีนี้ยังลดลง -4.3% ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างมาก เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการงวด 4Q58 ของหลายๆ Developer จะขึ้นทำจุดสูงสุดในไตรมาสนี้ จากอานิสงส์มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐบาลในช่วงปลายปี และมีผลสืบเนื่องมายังผลการดำเนินงานงวด 1Q59 ที่น่าจะดีต่อเนื่องด้วย บวกกับอัตราตอบแทนเงินปันผล (dividend yield) ที่สามารถคาดหวังในระดับสูง ยิ่งเสริมความน่าดึงดูดให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ ที่ฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ มีค่า P/E ต่ำ และราคายัง laggard ได้แก่ PS (FV@B38), SPALI ([email protected]), LPN ([email protected]) ส่วน SC ([email protected]) แม้ราคาจะปรับขึ้นมาได้แรงวานนี้ แต่ dividend yield ที่อยู่ในระดับสูง และ upside ที่ยังเปิดกว้าง จึงเชื่อว่าจะสามารถ outperform ได้อย่างต่อเนื่อง

แนะนำให้สะสมหุ้นปันผลสูงก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD เด่นคือ SC/PS
      ในสถานการณ์ตลาดผันผวน และ การประกาศงบการเงินงวดปี 2558 ใกล้สิ้นสุด ก็จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลของการประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี ครึ่งปี หรือ ไตรมาส (ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในช่วงปลายเดือน มี.ค. – เม.ย. 2558) ซึ่งเป็นเหตุผลประการสำคัญทำให้หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงได้รับการตอบรับทางด้านบวก ซึ่งจากการศึกษาของนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูล ย้อนหลัง 5 ปี หุ้นที่มีประวัติการจ่ายปันผลที่ดี ราคาหุ้นมักจะเคลื่อนไหว หรือ ตอบสนองในด้านบวกก่อนล่วงหน้าประกาศจ่ายเงินปันผลเสมอ (เท่ากับได้ผลตอบแทน 2 ต่อคือ เงินปันผลจ่าย และ capital gain) แต่อย่างไรก็ตามผลตอบแทนจะมีแนวโน้มลดลง เมื่อใกล้วันขึ้นเครื่องหมาย XD รายละเอียดตารางและภาพด้านล่าง
โดยสรุปกลยุทธ์การลงทุนในสถาการณ์ตลาดปัจจุบัน แนะนำให้มีหุ้นปันผลสูงติดพอร์ตไว้บ้าง โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสภาพคล่องในบางช่วงเวลา หรือ ในช่วงเกษียณ โดยแนะนำซื้อหุ้น ก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้นเครื่องหมาย XD ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 10.57% ด้วยความน่าจะเป็นราว 79% อย่างเช่น SC (FV@B 4.56), PS (FV@B38) และ MCS ([email protected]) และเลือกเป็น Top picks ในกลุ่มเงินปันผล

     ผลตอบแทนและความน่าจะเป็นของกลุ่มหุ้นปันผลสูงหากซื้อก่อนขึ้น XD และขายในวันขึ้น XDผลตอบแทนและความน่าจะเป็นรายหุ้น
หากซื้อก่อนขึ้น XD 2 เดือน และขายในวันขึ้น XD

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!