- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 04 February 2016 18:24
- Hits: 1046
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Break 1300 Again
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ เปิดย่อตัวลงทดสอบแนวรับ 1,275 จุด กดดันด้วยหุ้น PTT / PTTEP / AOT ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับฐานลงแรงเป็นวันที่ 2 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบเริ่มฟื้นตัวในรอบบ่าย เงินทุนเริ่มไหลกับเข้ากลุ่มธนาคาร / วัสดุก่อสร้าง รวมถึงการฟื้นตัวของ PTT / PTTEP ผลักดันให้ SET INDEX กลับมาปิดบวก 6.47 จุด มาอยู่ที่ 1,291.77 จุด มูลค่าการซื้อขาย 39,655 ล้านบาท
ด้านกระแสเงินทุนต่างชาติเป็นการขายทำกำไรทุกตลาดอีกครั้ง ตลาดหุ้นขายสุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 1,184 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 1,609 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 8 วันทำการ 2,084 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ผลการดำเนินงานของ DTAC ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดถึง 40% พร้อมปรับเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลเป็น 50% ของกำไรสุทธิ จากเดิม 80%
มติเอกฉันท์ของกนง. คงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันที่ 1.50% สะท้อนโอกาสที่กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
ติดตามการประชุม BOE วันนี้ Bloomberg consensus คาด BOE จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% แต่อาจมีการส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินได้
ติดตามผลการดำเนินงาน 4Q58 และเงินปันผลงวด 2H58 ของ ADVANC วันนี้
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดบวก 8% คืนวานนี้
มุมมองต่อตลาด
ตลาดหุ้นไทยวันนี้ อาจเผชิญกับแรงกดดันของราคาหุ้น DTAC หลังงบ 4Q58 ออกมากำไรเพียง 998 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 1,400-1,500 ล้านบาท พร้อมกับปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลจาก 80% ของกำไรสุทธิเป็น 50% เชื่อว่าสถาบันทั้งในและต่างประเทศ จะกลับมาปรับพอร์ตการลงทุนใน DTAC ลงอีกครั้ง หลังจากที่ 2 วันก่อนหน้าราคาหุ้นขึ้นมาอย่างโดดเด่นกว่า 10% โดยทุกๆ 1 บาทของราคาหุ้น DTAC จะส่งผลกระทบต่อ SET INDEX เท่ากับ 0.25 จุด
แต่โดยรวม เราประเมินว่าเงินทุนที่ลดน้ำหนักจาก DTAC หมุนกลับไปเก็งกำไรต่อกลุ่มพลังงาน เมื่อราคาน้ำมันดิบ NYMEX กลับมายืนเหนือ US$30/barrel และกลุ่มธนาคาร หลัง กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย สะท้อนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ ช่วยลดแรงกดดันต่อ NIM ของกลุ่มธนาคาร อีกทั้งในช่วงปลายเดือนก.พ. หุ้นกลุ่มนี้จะทยอยประกาศเงินปันผลงวดปี 2558 หรืองวด 2H58 เอื้อต่อการรับเงินทุนที่ไหลออกจาก DTAC และการกลับเข้าลงทุนของสถาบันภายในประเทศ และพอร์ตโบรกเกอร์
สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่น่าสนใจติดตามในวันนี้คือ ผลการประชุม BoE ในช่วงค่ำ เพราะมีโอกาสที่ BoE จะเลือกผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หลังตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวมากขึ้น แม้ว่า BoE อาจยังไม่ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% แต่เชื่อว่าจะมีการส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลาย หากเป็นไปตามที่เราประเมิน เชื่อว่าตลาดหุ้นยุโรป และสหรัฐฯ ในคืนนี้จะปรับตัวขึ้นเด่น และเป็นบวกต่อตลาดหุ้นในเอเชียวันพรุ่งนี้ได้เช่นกัน เปิดโอกาสเห็นเม็ดเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นในเอเชียเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน
เราประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ระหว่าง 1,285-1,300 จุด และมีโอกาสปิดยืนเหนือ 1,300 จุดได้อีกครั้งในวันนี้
กลยุทธ์การลงทุน
เราแนะนำให้ "นักลงทุนยังสามารถซื้อเก็งกำไรหุ้นเป้าหมายได้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เพื่อรอจังหวะขายทำกำไรบริเวณ 1,300-1,310 จุดในระลอกการฟื้นตัวนี้"
Speculative Buy: PTTGC
Accumulative Buy: KTB
Short: DTAC
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. KTB : ราคาปิด 17.50 บาท ราคาเหมาะสม 19.30 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะเป็นกลุ่มนำตลาดในวันนี้ จากเม็ดเงินต่างชาติที่ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเซียเกิดใหม่ จาก Dollar Index ที่อ่อนค่าลงถึง -2.0% dod สะท้อนให้เห็นถึงเม็ดเงินที่ไหลกลับเพื่อลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
b) หุ้นกลุ่มธนาคารมี Downside Risk ที่จำกัด เนื่องจากจะเข้าสู่การประกาศเงินปันผลปี 2558 ในช่วงปลายเดือน ก.พ. 2559 โดยคาดว่า KTB จะประกาศเงินปันผลปี 2558 หุ้นละ 0.80 บาท คิดเป็น Dividend Yield 4.5%
c) KTB ได้ประโยชน์โดยตรงจากแผนลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ เนื่องจากมีสัดส่วนการปล่อยกู้ให้กับภาครัฐสูงที่สุดในกลุ่มธนาคาร และรุกเข้าสู่ธุรกิจสินเชื่อ SME ดังนั้น MBKET คาดว่ามีโอกาสที่สินเชื่อปี 2559 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ผู้บริหารวางไว้
d) คาดกำไรสุทธิปี 2559 เติบโต +10% yoy เป็น 3.03 หมื่นล้านบาท และมี Upside Risk ที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการ คือ การกลับรายการหนี้สูญจากการขายที่ดินกรณีกฤษดามหานครที่ศาลตัดสินในปีที่ผ่านมาอีกสูงถึง 10,000 ล้านบาท
e) Valuation ถูก ซื้อขายระดับ PER2559 ที่ 7.9 เท่า และ PBV2559 ที่ 0.9 เท่า ช่วยจำกัด Downside Risk ของราคาหุ้น
และ "ซื้อเก็งกำไร" ได้แก่
2. PTTGC : ราคาปิด 51.00 บาท ราคาเหมาะสม 60.00 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะตอบรับเชิงบวก หลังราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวขึ้นเด่นถึง +8% dod เนื่องจาก Dollar Index อ่อนค่าลง -2% dod และแรงเก็งกำไรหลังรัสเซียให้ความเห็นว่าพร้อมเจรจากับกลุ่ม OPEC เกี่ยวกับการการผลิตน้ำมัน
b) PTTGC จะกลับมา Outperform หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เนื่องจากสายการผลิตปิโตรเคมีเป็น Gas Base ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว จะส่งผลให้ Spread Margin ธุรกิจปิโตรเคมีของ PTTGC เร่งตัวขึ้นได้เร็วกว่าโรงกลั่นอื่นๆในกลุ่ม
c) คาดการณ์กำไรสุทธิ 4Q58 ที่ 4.69 พันล้านบาท พลิกกลับจากขาดทุน -5,116 ล้านบาท ใน 4Q57 และขยายตัว +289% qoq จากแรงหนุนของธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจอะโรเมติกส์
d) Downside Risk ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากซื้อขายระดับ PBV2559 เพียง 0.85 เท่า เทียบกับ BCP ที่ 1.04 เท่า, TOP ที่ 1.30 เท่า และ IRPC ที่ 1.03 เท่า
e) คาดการณ์เงินปันผล 2H58 หุ้นละ 0.77 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 2% และปี 2559 หุ้นละ 2.63 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 5%
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
กลับมาขายสุทธิ US$284 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$101 ล้าน
และเป็นการขายสุทธิทั้ง 6 ตลาด
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติขายทำกำไรทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันอีกครั้ง
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 เร่งขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น 1,184 ล้านบาท รวม 3 วันทำการ ซื้อสุทธิ 2,614 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิทะลุ 10,000 ล้านบาทอีกครั้ง เท่ากับ 10,581 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 3 แต่ลดลงเหลือ 1,609 สัญญา รวม 3 วันทำการ Short สุทธิ 10,913 สัญญา คาดเป็นการปิดสถานะ Long เพื่อทำกำไรรอบสั้นต่อเนื่อง เมื่อ S50H16 ยังไม่ผ่าน 810 จุดต่อเนื่อง ส่งผลให้ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็น 11.42 จุด จากวันก่อนหน้า Discoun เท่ากับ 10.75 จุด ส่งผลให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิลดลงอีกเล็กน้อยเป็น 59,597 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 8 วันทำการ 2,084 ล้านบาท จากตลอด 7 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 50,159 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าราว 5-10 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายวานนี้ ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยขยับขึ้นเด่นอีกครั้ง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีลดลงเป็นวันที่ 4 อีก 4,11bps จากวันก่อนหน้าลดลงเพียง 0.54bps ปิดที่ 2.278%
Short-Selling วานนี้
ขยับขึ้นเป็น 1,215 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 901 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR คงการขายสุทธิเป็นวันที่ 2 เน้นกลุ่มขนส่งเป็นหลัก
การซื้อขายผ่าน NVDR ขายสุทธิขยับขึ้นเป็น 610 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 12 ล้านบาท โดยเป็นการลดน้ำหนักกลุ่มขนส่งอย่าง AOT - BEM อย่างโดดเด่น หลังราคาหุ้นแข็งแกร่งกว่าภาพรวมของตลาด สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มขนส่งถูกขายสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 572 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 372 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ขายสุทธิ 190 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 338 ล้านบาท และกลุ่มวัสดุก่อสร้างขายสุทธิ 92 ล้านบาท
2. ขณะที่กลุ่มพลังงานถูกซื้อสุทธิสูงสุด 180 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 76 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอาหาร ซื้อสุทธิ 106 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 190 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลาง
ยอดการจ้างงานภาคเอกชน เดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 2.05 แสนตำแหน่ง ออกมาดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 1.90 แสนตำแหน่ง และเดือนก่อนหน้าที่ 2.67 แสนตำแหน่ง
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือนม.ค. เท่ากับ 53.2 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 53.7 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 54.3 จุด คำสั่งซื้อใหม่ ทำระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน ขณะที่ Backlog ลดลงเป็นเดือนที่ 6
ดัชนี ISM ภาคบริการ เดือนม.ค. เท่ากับ 53.5 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 55.5 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 55.8 จุด ทั้งผลผลิตและการจ้างงานชะลอตัว
ยุโรป
ไม่มี
จีน
จีนผ่อนคลายหลักเกณฑ์การให้เงินทุนต่างชาติไหลออก: เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งเข้าและออกได้สะดวกมากขึ้น โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะใช้กับกองทุนที่ผ่านเกณฑ์ Qualified Foreign Institutional Investor Program ซึ่งจะมีการกำหนดโควต้าการนำเงินเข้าลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของจีน พร้อมกับผ่อนคลายช่วงเวลาห้ามการไถ่ถอนเงินลงทุนในกองทุน QFII และให้สถาบันการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้นในการนำเงินเข้าลงทุนในประเทศจีน
ดัชนี PMI ภาคบริการของจีนทำระดับสูงสุดใน 6 เดือน: เดือนม.ค. เท่ากับ 52.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ 50.2 จุด และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน สะท้อนถึงอุปสงค์การใช้บริการในภาคธุรกิจใหม่ๆ ยังมีความแข็งแกร่ง
ตลาดคาดเศรษฐกิจจีนเติบโต 6.5-7.0% ปีนี้: การสำรวจล่าสุดของ Bloomberg consensus คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.5-7.0% ในปีนี้ ชะลอตัวจากปี 2558 ที่ 7.0% โดยแรงกดดันที่สำคัญจะเกิดขึ้นใน 1Q59 ตามนโยบายของรัฐบาลจีนที่ต้องการควบคุมกำลังการผลิตส่วนเกินในอุตฯ และการจัดการกับบริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไร
เอเชียแปซิฟิก
ประธาน BoJ ส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่ม: ให้ความเห็นต่อนโยบายการเงินของ BoJ ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม และเตรียมลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบมากยิ่งขึ้น หากเครื่องมือทางการเงินในปัจจุบันไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และยืนยันว่า นโยบายการเงินของ BoJ ยังไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการผ่อนคลาย
ไทย
กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: มติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2559 ยังคงขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ในขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกสูงขึ้น ทั้งด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย และอัตราแลกเปลี่ยน
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530