- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 03 February 2016 19:12
- Hits: 608
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
SET ปรับลงให้เลือกหุ้นทยอยซื้อได้ แล้วถือเพื่อรอ...บวกต่อ!
กลยุทธ์ : SET เริ่มมีจังหวะปรับพักฐานย้อนลบอีกครั้ง หลังจากสัปดาห์ก่อนดัชนีขยับขึ้นมาพอควร แต่ FSS คาดว่าเป็นเพียงการปรับตัวระยะสั้น โดยยังมีลุ้นแรงซื้อกลับเข้ามาช่วยหนุนให้ดัชนีทรงตัวและมีสิทธิรีบาวด์กลับขึ้นอีกครั้งได้ในช่วงถัดไป ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นเข้าซื้อสะสมช่วงตลาดเป็นลบ แล้วเน้นถือเพื่อรอรอบรีบาวด์ตามที่คาดต่อไป
หุ้นเด่นทางเทคนิค : GL, TACC, CPN(buy back)
แนวโน้ม : SET เริ่มปรับพักตัวลงอีกครั้ง หลังสัปดาห์ที่แล้วดัชนีขยับบวกขึ้นมาเร็วพอควร ขณะที่ปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ฟื้นตัวขึ้นมาได้ในช่วงก่อน กลับมาเป็นประเด็นกดดันตลาดหุ้นอีกครั้งหลัง OPEC ระบุว่ายังไม่มีการนัดเจรจาเพื่อลดอุปทานน้ำมัน(supply) ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบกลับย้อนลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 30 ดอลลาร์/บาร์เรลอีก นอกจากนี้ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ อย่างเอ็กซอน โมบิล และ BP ที่ออกมาก็ยังกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานซ้ำอีก ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปเมื่อคืนนี้ปิดปรับตัวลดลงรุนแรงพอควร และกดดันให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดทำการด้วยการเป็นลบกันมากกว่า 1% ด้วย ดังนั้น FSS จึงยังคาดหมายว่า SET จะอยู่ในช่วงแกว่งตัวพักฐานต่อเนื่อง แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาตลาดตอบรับข่าวลบต่างๆ ไปมากพอควรแล้ว และต้องถือว่าปัจจัยกดดันตลาดช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นเดิมๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งไม่ได้เป็นปัจจัยลบใหม่ ทำให้ FSS คาดว่ากรอบลบน่าจะเริ่มจำกัด และยังมีลุ้นแรงซื้อที่จะกลับเข้ามาช่วยพยุงตลาดและดันกลับขึ้นได้ตามคาดอยู่
แนวรับ 1283-1280 , 1277-1275 , 1272-1266 จุด
แนวต้าน 1288-1292 , 1296-1300 จุด
Fund Flow วานนี้เงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$64ล้าน แต่ไหลเข้าแค่ไต้หวันและฟิลิปปินส์ US$138.8ล้าน และ US$1.6ล้าน ตามลำดับ นอกนั้นไหลออกนำโดยเกาหลีใต้ US$37.4ล้าน และไทย US$17.8ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนในภูมิภาคมีทิศทางไหลออกเนื่องจากตลาดกังวลต่อวิกฤติพลังงานเพิ่มขึ้น เมื่อคืนนี้ราคาน้ำมันร่วงหลุดต่ำกว่า US$30/บาร์เรลอีกครั้งจากความกังวลต่ออุปทานที่เพิ่มขึ้น และผลประกอบการของบริษัทพลังงานรายใหญ่ของโลกที่ตกต่ำลง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) น้ำมันลงแรงจากความหวังที่กลุ่มโอเปกและรัสเซียจะเจรจากันได้ลดลง กลุ่มพลังงานถูกดดัน แต่กลุ่มที่เคย Underperform ในช่วงที่น้ำมันปรับขึ้น น่าจะขยับขึ้นมา ได้แก่กลุ่มท่องเที่ยวและสายการบิน รวมทั้งเก็งกำไรสั้นๆ ใน TASCO, VNG, EPG
(+) MINT ปิดดีลโรงแรม Tivoli 7 แห่งที่เหลือที่โปรตุเกสได้แล้วด้วยเงินลงทุน 78.2 ล้านยูโร (ประมาณ 3,000 ล้านบาท) เมื่อรวมกับ Tivoli 7 แห่งเดิมที่มีอยู่ จะเป็นจำนวนห้องทั้งหมดประมาณ 3,000 ห้อง คิดเป็นเงินลงทุน 4 ล้านบาท/ห้อง ถูกกว่าสร้างใหม่ที่สูงกว่า 10 ล้านบาท/ห้อง คาดสร้าง EBITDA ได้ราว 31 ล้านยูโร/ปี คิดเป็น EV/EBITDA 9.5 เท่า ถือว่าค่อนข้างถูกและคุ้มค่า เราอยู่ระหว่างปรับราคาพื้นฐานจากปัจจุบันที่ประเมิน 36 บาท
(+) RS เราคาดกำไรปกติ 4Q15 ฟื้น +61.8% Q-Q, +7.6% Y-Y ตามรายได้จการจัด Event ที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้จากทีวีดิจิตอลที่เพิ่มขึ้นจากขยายเวลาออกอากาศ ถูกหักล้างด้วยรายได้จากทีวีดาวเทียมที่ลดลง เราปรับกำไรปกติปี 2015 ลง 39% เป็นหดตัว 91.7% Y-Y แต่คาดกำไรปกติปี 2016 โตแรง +697% Y-Y จาก Utilization rate ของช่องทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้น ขึ้นค่าโฆษณาได้ประมาณ 20% และการยุติธุรกิจที่ขาดทุน ยังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 13 บาท ทั้งนี้ RS มีโครงการซื้อหุ้นคืนตั้งแต่ 25 ก.พ. วงเงินไม่เกิน 470 ล้านบาท และไม่เกิน 50.7 ล้านหุ้น จะช่วยจำกัด downside ของราคาหุ้นได้
(-) ICHI แนวโน้มกำไร 4Q15 แผ่วแรง -38.5% Q-Q, -64.7% Y-Y จากกำลังซื้อในประเทศที่ยังไม่ดี และเริ่มรับรู้ผลขาดทุนจากธุรกิจเครื่องดื่มในอินโดนีเซียที่บริษัทเพิ่งเข้าไปรุกตลาด เราคาดว่าธุรกิจที่อินโดนีเซียจะยังไม่สามารถทำกำไรได้ในปีนี้ ช้ากว่าที่เคยคาด จึงปรับกำไรปี 2016 ลง 7% เหลือเติบโต 12% Y-Y ฟื้นจากปีก่อนที่คาดหดตัวถึง 23% Y-Y ปรับลดราคาพื้นฐานลงเป็น 14.40 บาท จากเดิม 16.20 บาท (PE 20 เท่า) แม้มี Upside กว่า 10% แต่แนวโน้มกำไรที่ไม่สดใสใน 4Q15-1Q16 จึงแนะนำถือตามเดิม
(+) PTTGC เราเริ่มต้น Coverage อีกครั้งด้วยคำแนะนำซื้อ เพราะ Valuations ที่ถูก ราคาหุ้นที่ปรับลงมาคิดเป็น PBV เพียง 0.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 1.24 เท่า และ EV/EBITDA 5.1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 7.8 เท่า ขณะที่คาดเงินปันผล 2H15 ที่ 0.55 บาท/หุ้น (yield 1.1%) และปีนี้ 2.56 บาท/หุ้น (yield 5.2%) สำหรับกำไร 4Q15 คาดฟื้นทั้ง Q-Q และ Y-Y ตามค่าการกลั่นและส่วนต่างราคาอะโรมาติกส์ที่เพิ่มขึ้น แม้จะมี stock loss แต่ชดเชยได้จากกำไร Oil hedging ส่วนกำไรสุทธิปี 2016 คาดฟื้น +27.6% Y-Y หนุนโดยโรงกลั่นและส่วนต่างราคาอะโรมาติกส์ที่ยังดีเพราะราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำ แต่ธุรกิจหลักคือโอเลฟินส์ คาดทำได้เพียงทรงตัว ราคาพื้นฐานประเมินที่ 60 บาท แนะนำซื้อ
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดลบเฉลี่ยราว 2% หลังราคาน้ำมันร่วงหลุดระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรลอีกครั้งซึ่งกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่อ่อนแอ
(-) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดลบแรงเช่นกันจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงแรง 2 วันติดต่อกัน
(-) ซึ่งจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงเช่นกัน
(-) ค่าเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าค่อนข้างเร็ว ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.75-36.85 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ร่วงลง 1.74 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 29.88 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีข้อมูลว่าสต้อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการผลิตน้ำมันเดือนม.ค.ของรัสเซียที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.80 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,127.20 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยราคาทองคำปรับลงจำกัดจากราคาน้ำมันดิบและตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจภาคแรงงานในสัปดาห์นี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3-ก.พ. - ไทย: กนง.ประชุม, DTAC ประกาศผลประกอบการ
- จีน: Caixin China PMI Composite (ม.ค.)
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ม.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
4 ก.พ. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.), ADVANC ประกาศผลประกอบการ
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ธ.ค.)
5-ก.พ. - อินโดนีเซีย: 4Q15 GDP
- สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ม.ค.) (ตลาดคาดจ้างงานเพิ่ม 1.9 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่เพ่ม 2.75 แสนราย)
8 ก.พ. - ไทย: 2015 GDP (ตลาดคาดทั้งปี +2.7% Y-Y)
- อินเดีย: 2015 GDP
10 ก.พ. - จีน: ยอดสินเชื่อเดือน ม.ค.
11-ก.พ. - ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลางประชุม
12-ก.พ. - สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ม.ค.)
- ยูโรโซน: 4Q15 GDP, Industrial Production (ธ.ค.)
15 ก.พ. - จีน: ดุลการค้า (ม.ค.)
- ญี่ปุ่น: 2015 GDP (ตลาดคาด -1.2%)
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch