WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : พักตัว
Stock of the town : SCI TNP
หุ้นแนะนำพิเศษ : KTB
หุ้นเด่นรายวัน : STPI BCP

      SET วานนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยจากแรงกดดันตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนม.ค.ของจีนหดตัวลงทั้งคู่ ประกอบกับแรงขายหุ้น TRUE จากข่าวเพิ่มทุน 6 หมื่นลบ. ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,297.34 จุด (-3.64 จุด) Volume 5 หมื่นลบ. โดย Foreign Net -798 ลบ. , Net TFEX -4,470 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
- ตลาดหุ้น DJ -17.12 จุด จากความกังวลภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ,ราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงแรง อีกทั้ง PMI ภาคการผลิตของ ISM เดือนม.ค.อยู่ที่ 48.2 ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงอยู่ในภาวะหดตัว
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงล่าสุด 31.37 USD/Barrel หลังจากโอเปกยังไม่มีการจัดประชุมฉุกเฉิน รวมถึงผลิตน้ำมันพุ่งแตะ 32.60 ล้านบาร์เรล/วัน สูงสุดในรอบหลายปี
- ECB เตือนความเสี่ยงขาลงเศรษฐกิจยุโรปรุนแรงขึ้น จากความปั่นป่วนในตลาดเกิดใหม่
- CHINA จีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนม.ค.ลดลงแตะ 49.4 และ PMI ภาคบริการเดือนม.ค.ลดลงแตะ 53.5
+ BOJ มีมติคงนโยบายการเงินและใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ -0.1% โดย BOJ จะเรียกเก็บดอกเบี้ยที่อัตรา -0.1% สำหรับเม็ดเงินที่สถาบันการเงินต่างๆนำมาสำรองฝากไวักับ BOJ

ปัจจัยลบความกังวลเศรษฐกิจโลกหดตัวหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจของฝั่งสหรัฐฯและจีนชะลอตัวรวมถึงราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงอีกครั้ง เป็นแรงกดดันต่อภาวะตลาดในวันนี้ อย่างไรก็ตามแรงซื้อดักงบและปันผลปี 58 จะเป็นตัวพยุงไม่ให้ดัชนีทรุดตัวลงแรง ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,290 - 1,310 จุด
** ติดตามการประชุมกนง.ในวันที่ 3 ก.พ. (คาดคงดอกเบี้ย 1.5%)

กลยุทธ์การลงทุน

แนะนำซื้อเก็งกำไรกลุ่มที่มีปัจจัยบวกและซื้อสะสมหุ้นที่งบเติบโตขึ้น
- กลุ่ม High Dividend INTUCH ADVANC KTB
- High season การท่องเที่ยวและต้นทุนน้ำมันปรับตัวลง AOT BA AAV
- กลุ่มที่คาดว่างบปี 58 และ Q4/58 เติบโตขึ้น EPG QTC FSMART KCE TVT GL BEAUTY BRR EA SYNEX SMPC SPALI ORI

ประเด็นข่าวอื่น
- CPF ลุ้น Q4/58 มีกำไรสุทธิ 1,665 ล้านบาท โต 106% คาดบุ๊คกำไรจากการขายหุ้น CPALL กว่า 1,068 ล้านบาท ดันทั้งปี 58 มีกำไรสุทธิ 11,176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เล็งปันผลครึ่งหลังอีก 0.45 บาท (ที่มา...ข่าวหุ้น)
- TRUE เพิ่มทุนจำนวน 1.5 หมื่นล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 4 บาท หวังระดมทุน 6 หมื่นล้านบาท จ่ายค่าคลื่น 4G มูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท (ที่มา...ทันหุ้น)

คาดการณ์วันประกาศงบ
3 ก.พ. DTAC / 4 ก.พ. ADVANC / 9 ก.พ. IRPC / 10 ก.พ. THCOM /
11 ก.พ. LPN / 12 ก.พ. TOP / 15 ก.พ. PTTGC / 17 ก.พ. INTUCH /
18 ก.พ. BCP IVL / 25 ก.พ. DCON TRUE RML

หุ้นแนะนำพิเศษ

KTB ราคาปิด 17.50 บาท ราคาพื้นฐาน 20 บาท/หุ้น
- กำไรปี 58 = 2.8 หมื่นล้านบาท (-14%YoY) กดดันจากการตั้งสำรองหนี้สูญกลุ่มลูกหนี้ SSI ราว 2.3 หมื่นล้านบาท
- คาดกำไรปี 59 = 3.18 หมื่นลบ. (+12% YoY) จากสินเชื่อที่เติบโตขึ้น 3-4% ได้ประโยชน์จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐปี 2559 เนื่องจากมีสินเชื่อภาครัฐสัดส่วนสูง
- AQ (เดิม KMC) ศาลฯสั่ง KMC จ่าย 1 หมื่นลบ.คืน KTB
- โดดเด่นที่ Yield สูงราว 5% และฐานะเงินกองทุนแกร่งที่ 15.83%

หุ้นเด่นรายวัน
- STPI (ราคาปิด 10.30 แนะนำซื้อเก็งกำไร) คว้าสัญญางานเพิ่มโครงการก่อสร้างโมดูลอีก 85 ล้านดอลลาร์ ดันมูลค่างานในมือล้น โบรกเกอร์ชี้มีลุ้นโกยงานใหญ่ทะลุหมื่นล้านบาทเสริมฐานรายได้ ซดกำไรกินยาวต่อเนื่อง (ที่มา:ข่าวหุ้น)
- BCP (ราคาปิด 29.25 แนะนำซื้อ 42) ทุ่มงบ 2,915 ล้านบาท ส่ง "บีซีพีจี" ซื้อกิจการ "ซันเอดิสัน เจแปน" ลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 198 MW เร่งเสริมแกร่งพอร์ตลงทุนธุรกิจไฟฟ้า ย้ำแผนเข้าจดทะเบียนในตลท.ปี 59 (ที่มา:ข่าวหุ้น)
ความเห็น : การนำ "บีซีพีจี" เข้าจดทะเบียนจะเป็นการช่วยปลดล็อกมูลค่าหุ้นบางจากเนื่องจากธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มีการซื้อขายที่ P/E สูงกว่าธุรกิจโรงกลั่น

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ

ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -17.12 จุ
- ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,449.18 จุด ลดลง 17.12 จุด หรือ -0.10% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,620.37 จุด เพิ่มขึ้น 6.41 จุด หรือ +0.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,939.38 จุด ลดลง 0.86 จุด หรือ -0.04%
เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากราคาน้ำมันร่วงลงไปกว่า 6% รวมทั้งรายงานที่ระบุว่า ภาคการผลิตของสหรัฐและจีนหดตัวลงในเดือม.ค. อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย ขณะที่ NASDAQ ปิดในแดนบวก เพราะตลาดได้แรงหนุนในช่วงท้าย จากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

ตลาดน้ำมัน NYMEX -2.00 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 6% ปิดที่ 31.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่มีการจัดประชุมฉุกเฉิน แม้ว่าราคาน้ำมันยังคงอยู่ในทิศทางขาลงก็ตาม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไร หลังจากสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดบวกติดต่อกันหลายวันทำการก่อนหน้านี้

ปัจจัยบวก
(+) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคทรงตัวในเดือนธ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย.
(+) สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค. และหนุนให้การใช้จ่ายในปี 2015 พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี ก่อนหน้านี้ การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐลดลงในเดือนต.ค.และพ.ย.ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า ทางธนาคารกลางได้อัดฉีดเม็ดเงินมากกว่า 1.5 ล้านล้านหยวน (2.29 แสนล้านดอลลาร์) เข้าสู่ตลาดผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF), โครงการเงินกู้ระยะสั้น (SLF) และ โครงการจัดสรรเงินกู้เพิ่มเติม (Pledged Supplementary Lending) หรือ PSL ในเดือนม.ค.
(+) ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย คาดว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 3 ก.พ.นี้มีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% เช่นเดิม โดยจากรายงานการประชุม กนง.ครั้งที่ผ่านมา ธปท.ยังคงมองว่าระดับการผ่อนคลายทางการเงินอยู่ในระดับที่สมควรแล้ว จากการที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับค่าเงินของคู่ค้าเป็นส่วนใหญ่
(+) ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย ประเมินว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และวงเงินที่ BOJ จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเดิมที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปีจะส่งผลบวกต่อไทยในสองด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและด้านตลาดทุน โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจของบีโอเจจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งนโยบายดังกล่าวก็ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นด้วย และเมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ดี ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลในเชิงบวกด้วย คาดว่าอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลบวกมากสุด คือ ภาคยานยนต์

ปัจจัยลบ
(-) สหรัฐ พบว่า ภาคการผลิตของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนม.ค. ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ ISM ขยับขึ้นสู่ระดับ 48.2% ในเดือนม.ค. จากระดับ 48 ในเดือนธ.ค. โดยการร่วงลงของดัชนีได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ และการแข็งค่าของดอลลาร์
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดลง 0.1% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน แต่เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2014
(-) ประธานธนาคารกลางยุโรป ระบุเตือนว่า ความเสี่ยงในช่วงขาลงที่เศรษฐกิจยุโรปกำลังเผชิญอยู่ ได้เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะปั่นป่วนในตลาดเกิดใหม่ อีกทั้งความเสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่แน่นอน นับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.
(-) ยูโรโซนเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ 52.3 ในเดือนม.ค.2559 ซึ่งทรงตัวจากรายงานเบื้องต้น แต่ลดลงจากระดับ 53.2 เมื่อเดือนธ.ค.2558
(-) การผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) พุ่งขึ้นในเดือนม.ค. แตะระดับ 32.60 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบหลายปี การพุ่งขึ้นของการผลิตน้ำมันของโอเปก มีสาเหตุมาจากการกลับสู่ตลาดน้ำมันของอิหร่าน หลังจากชาติมหาอำนาจยุติมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน หลังบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ ส่งผลให้อิหร่านเร่งผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยกับช่วงที่ขาดหายไปก่อนหน้านี้ระหว่างที่ถูกคว่ำบาตร
(-) กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ 105.46 หดตัว -0.53% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.58 และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ธ.ค.58) หดตัว -0.26% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ 106.18 ขยายตัว 0.59 % เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.58 และขยายตัว 0.07 % เมื่อเทียบกับ ธ.ค.58

ปัจจัยที่ต้องจับตา

ในประเทศ
- สัปดาห์ที่แรก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- 2 ก.พ. จับตาการประชุมครม. กระทรวงการคลังจะเสนอ 3 มาตรการบรรเทาภัยแล้งโดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 93,000 ล้านบาท / การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
- สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.)จะเสนอขออนุมัติใช้งบกลางจากรัฐบาลวงเงินประมาณ 250 ล้านบาทว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ (CAAI) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบินและปลดล็อกธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) รวมทั้งขออนุมัติโครงสร้างอัตราเงินเดือนและเร่งจัดสรรบุคลากรตามโครงสร้างเพื่อให้องค์กรใหม่เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้
- 3 ก.พ. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชี้แจงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะเปิดให้สมาชิกได้ซักถามแต่ไม่สามารถอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้ / กำหนดประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งที่ 1/2559
- สัปดาห์ที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- 8-9 ก.พ. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จัดประชุมเพื่อให้สมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรธน.ร่างแรกเพื่อรวบรวมความเห็นส่งกลับไปยังกรธ.ภายใน 15 ก.พ.
- 15 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 4/58
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน /สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง/ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
- 29 ก.พ. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
- 31 ก.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (เบื้องต้น)

ต่างประเทศ
- 2 ก.พ. สหรัฐเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนม.ค.
- อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค./อัตราว่างงานเดือนธ.ค.
- เยอรมนีเปิดเผยอัตราว่างงาน-จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานม.ค.
- 3 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนม.ค./สต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ / ตัวเลขจ้างงานเดือนม.ค.จาก ADP / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค./ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
- ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค./ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.
- จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค.
- ญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานการประชุม
- 4 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์/ประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้นในไตรมาส 4/2558/ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดขายรถยนต์นำเข้าเดือนม.ค.
- 5 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค./ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนธ.ค.
- เยอรมนีเปิดเผยคำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนธ.ค.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนม.ค./ดัชนีภาวะทางธุรกิจเบื้องต้นเดือนธ.ค.
- 6 ก.พ. สหรัฐเปิดเผยสินเชื่อผู้บริโภคเดือนธ.ค.

Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!