- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 02 February 2016 17:27
- Hits: 1071
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
ความกังวลเศรษฐกิจโลก
คาดหุ้นไทยปรับตัวลงวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังจากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมจากสหรัฐ ยูโรโซน และจีนที่อ่อนแอทำให้กลับมาเกิดความวิตกกังวลการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งราคาน้ำมันกลับมาร่วงต่อหลังจากไม่มีสัญญาณใดๆบ่งชี้ว่าจะมีการประชุมของผู้ผลิตน้ำมันเพื่อควบคุมกำลังการผลิต ภายในประเทศก็ไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะหนุนหุ้น
หุ้นเด่นวันนี้ : KTB (Bt17.50; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 21.00 บาท)
บมจ. ธนาคารกรุงไทย คาดว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการลงทุนของภาครัฐเนื่องจาก KTB เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ธนาคารตั้งเป้าการขยายตัวของสินเชื่อที่ 3-4% เป็นไปในทิศทางเดียวกับตัวเลขจีดีพีประมาณการที่ 3-4% ในปี 2559 ธนาคารจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนระยะที่สองในการปิดช่องว่างกับคู่แข่งทั้งในแง่ของกำไร ส่วนแบ่งการตลาด และขีดความสามารถ แผนธุรกิจระยะยาวนี้ประกอบไปด้วยสามส่วน คือ การเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง การปิดช่องว่างกับคู่แข่ง และการเป็นที่ทำงานและธนาคารดิจิตัลที่ดีที่สุด ในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ ถึงแม้ว่าคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจะได้รับผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อแก่ SSI และ SSI UK ประกอบกับความอ่อนแอในกลุ่มธุรกิจ SMEs และรายย่อย แต่เราคาดว่าปัญหาเกี่ยวกับ SSI จะผ่านไปและการปรับตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจน่าจะทำให้สถานการณ์ในกลุ่ม SMEs และรายย่อยดีขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ หุ้น KTB ยังน่าสนใจในแง่ของการประเมินมูลค่า โดยซื้อขายกันที่มูลค่าทางบัญชีที่ถูกที่ 0.9 เท่า อีกทั้ง KTB ยังมีอัตราเงินปันผลตอบแทนที่เหมาะสมอยู่ที่ 5.2% เราคาดกำไรสุทธิจะสูงขึ้น 10.6% และ 12.0% ในปี 59 และ 60 ตามลำดับ Price Pattern ของ KTB ได้กลับมาเกิดความแข็งแกร่งทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง จากการกลับมาเกิดทั้ง Daily & Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ ซึ่งบ่งบอกถึงการ Rebound ระยะสั้นในแนวโน้มหลักที่ยังคงเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) จากการเกิด Monthly Sell Signal ทั้งนี้เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ KTB ที่สามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือเป้าหมายแรกที่ 17.30 บาทไปได้ จึงทำให้คาดว่า KTB น่าจะยังสามารถปรับตัวขึ้นไปได้ต่อเพื่อทดสอบเป้าหมายเบื้องต้นที่ 18.70 บาทต่อไป โดยมีจุด Stop Loss ของ KTB ในรอบนี้อยู่ที่ 16.60 บาท (Resistance: 17.60, 17.80, 17.90; Support: 17.40, 17.30, 17.10)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
อัตราเงินเฟ้อลดลงในเดือน ม.ค. รมว. กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อวานนี้ ซึ่งคำนวณจากราคาสินค้าและบริการ 450 รายการ รายงานกล่าวว่า ดัชนีราคาได้ปรับลดลง 13 เดือนติดต่อกันในเดือน ม.ค. จากการลดลงของราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศและราคาสินค้าเกษตรที่ยังอ่อนแอ ดัชนีราคาได้ปรับลดลง 0.53% YoY ในเดือน ม.ค. ดีขึ้นจากที่ได้ปรับลดลง 0.85% YoY ในเดือน ธ.ค. และ 0.97% ในเดือน พ.ย. (Bangkok Post)
รมว.พาณิชย์ ของบเพิ่มเติม 1.5 พันล้าน รมว. กระทรวงพาณิชย์ได้ของบเพื่อเติมอีก 1.5 พันลบ.สำหรับแผนพัฒนาในสามปีข้างหน้าคามกลยุทธ์กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยแผนดังกล่าวคาดว่าจะนำเสนอและขออนุมัติจากคณะรัฐบาลในวันอังคารหน้า โดยงบจำนวน 620 ลบ. จะใช้สำหรับโครงการของกรมการค้าภายในซึ่งจะรวมโครงการสมาร์ทฟาร์เมอร์ ตลาดชุมชน ศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรและการส่งเสริมสินค้าตามภูมิศาสตร์ (Bangkok Post)
คาด กนง. ไม่ลดดอกเบี้ย นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพรุ่งนี้ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (Bangkok Post)
กสทช. ชี้ผู้ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ชนะน่าจะจ่ายค่าใบอนุญาตได้ คือน่าจะจ่ายเงินงวดแรกและมีค้ำประกันธนาคาร แต่หากทำไม่ได้ จะต้องรับผิดชอบผลทั้งหมดที่เกิดขึ้นและอาจถึงขั้นขาดคุณสมบัติในใบอนุญาตเดิมที่มีอยู่ โดย กสทช.ยืนยันว่าราคาใบอนุญาตจะไม่ถูกแน่นอน หากมีประมูลใหม่ อาจตั้งต้นที่ 7.5 หมื่น ลบ. และหากไม่มีบริษัทเข้าร่วมประมูลก็อาจพิจารณาปรับราคาลดหลั่นลงไป (The Nation, Post Today)
BCP (28.50 บ. ซื้อ ราคาเป้าหมาย 45.50 บ.) ประกาศเข้าซื้อธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นทั้งหมดของกลุ่ม SunEdison ผ่านการเข้าซื้อหุ้นทั้งจำนวน มูลค่า 2.92 พันลบ. ซึ่งประกอบไปด้วยโครงการที่ดำเนินการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์แล้ว 13 เมกะวัตต์ โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 27 เมกะวัตต์ และโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาอีก 158 เมกะวัตต์ (SET) ความเห็น: ดีลดังกล่าวถือเป็นไปตามกลยุทธ์ของ BCP ที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงธุรกิจ เรามีมุมมองเชิงบวกต่อประเด็นดังกล่าว ขณะที่ยังรอรายละเอียดของโครงการข้างต้นเพิ่มเติมก่อนที่จะรวมเข้าไปไว้ในประมาณการของเรา เบื้องต้นยังคงประมาณการและงคำแนะนำ ซื้อ ไว้เช่นเดิม
ต่างประเทศ
ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ภายใต้แรงกดดันในวันนี้ เนื่องจากข้อมูลภาคการผลิตที่หดตัวลงของสหรัฐ จีนและยุโรปก่อให้เกิดความกังวลรอบใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและราคาน้ำมันกลับมาร่วงลงอีกหลังจากผู้แทนจากโอเปกทำลายความหวังเกี่ยวกับการประชุมฉุกเฉินเพื่อสกัดภาวะน้ำมันล้นตลาด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 2/3 ของเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่งด้วยอัตราการเติบโตบวก 0.5% ในเดือนธันวาคม และบวก 3.4% ในปี 2558 (Reuters)
โอเปกและสมาชิกนอกกลุ่มโอเปกยังไม่ตกลงจัดการประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อพยุงราคาน้ำมัน จากคำกล่าวของผู้แทนโอเปก 2 รายเมื่อวันจันทร์ ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์แล้วหลังทางการรัสเซียได้กล่าวว่ารัสเซียจะเจรจากับโอเปก (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐร่วงเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ เมื่อวันจันทร์ จากมุมมองที่ว่าเฟดจะยังไม่สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอและบีโอเจยังใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐล่าสุดลดลง 0.5% อยู่ที่ 99.104 จุด เงินยูโรล่าสุดเพิ่มขึ้น 0.63% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 1.08990 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดอ่อนค่าลง 0.17% เทียบกับเงินเยนอยู่ที่ 120.940 เยน (Reuters)
สหรัฐ :
การขึ้นของราคาหุ้นอัลฟาเบ็ทและเฟซบุ๊กในช่วงท้ายช่วยให้ตลาดวอลล์สตรีทปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อวันจันทร์ หลังจากข้อมูลภาคการผลิตของจีนและราคาน้ำมันที่ร่วงลงทำให้เกิดการเทขายในช่วงแรก หุ้นอัลฟาเบ็ทกลายเป็นหุ้นที่มีมูลค่าสูงสุดในสหรัฐและมีมาร์เก็ตแคปสูงกว่าหุ้นบ.แอปเปิล (Reuters)
ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคในสหรัฐไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนธันวาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพฤศจิกายน การใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.4% ในปี 2558 หลังจากที่เพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2557 (Reuters)
ตัวเลขภาคการผลิตในสหรัฐลดลงในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันแต่แนวโน้มการลดลงดูจะชะลอตัว ISM ประกาศว่าดัชนีกิจกรรมโรงงานเพิ่มขึ้น 0.2 จุด อยู่ที่ 48.2 จุดในเดือนก่อน ตัวเลขต่ำกว่า 50 เป็นสัญญาณว่ากิจกรรมภาคการผลิตหดตัว มีสัญญาณแสดงถึงความมีเสถียรภาพในภาคการผลิตอื่นอีกโดยดูจากรายงานของ Markit ซึ่งชี้ว่าดัชนีภาคการผลิตสหรัฐดีดกลับเมื่อเดือนก่อนจากที่แตะระดับต่ำสุดในรอบ 38 เดือนในเดือนธันวาคม ภาคการผลิตสหรัฐมีมูลค่าเท่ากับ 12% ของเศรษฐกิจสหรัฐ (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันจันทร์ปรับตัวลดลง จากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอทั้งในยูโรโซนและในจีน นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลดลงของราคาหุ้นกลุ่มอุปกรณ์สื่อสาร ท่ามกลางความผิดหวังที่ Nokia และ Samsung ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงประเด็นพิพาททางกฎหมายได้ (Reuters)
การเติบโตของกิจกรรมภาคการผลิตในยูโรโซนชะลอตัวลงในเดือน ม.ค. ผลสำรวจของ Markit ระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ 52.3 ในเดือน ม.ค ทรงตัวจากรายงานเบื้องต้น แต่ลดลงจากระดับ 53.2 เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว แต่ทั้งนี้ยังสามารถยืนเหนือระดับ 50 ได้ (Reuters)
เอเชีย :
Markit/Nikkei รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตญี่ปุ่นเดือน ม.ค. ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 52.3 จากระดับ 52.6 ในเดือน ธ.ค. หลังจากที่ภาคการส่งออกฟื้นตัว ทั้งนี้ดัชนีสามารถยืนเหนือระดับ 50 ได้เป็นเดือนที่ 9 ตืดต่อกัน (Reuters)
กองทุนตลาดเงินของญี่ปุ่นไม่รับเงินทุนก้อนใหม่เพิ่ม หลังจากที่ BOJ ตัดสินใจประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบซึ่งทำให้กองทุนเผชิญกับความยากลำบากในการสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้ (Reuters)
Toyota Motor ประกาศหยุดการผลิตหน่วยประกอบรถยนต์ทั้งหมดในญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว ในระหว่างวันที่ 8-13 ก.พ. หลังจากที่เกิดเหตุระเบิดกับโรงงานเหล็กของ Toyota ซึ่งส่งผลให้วัตถุดิบเหล็กขาดแคลน (Reuters)
ตลาดหุ้นจีนเมื่อวันจันทร์ปรับตัวลดลงมากกว่า 1% หลังจากที่จีนรายงานตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตในประเทศออกมาแย่กว่าคาด (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
น้ำมันดิบร่วง 6% วันจันทร์ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากจีนซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุด กลับหัวจากการปรับขึ้น 4 วันติดสัปดาห์ที่แล้วและโอกาสที่ลดลงของการประชุมฉุกเฉินเพื่อลดการผลิต Brent ส่งมอบ เม.ย. ปรับลง 1.64 ดอลลาร์ (-4.6%) ปิด 34.35 ดอลลาร์ น้ำมันดิบ WTI ร่วง 1.99 ดอลลาร์ (-5.9%) ปิดที่ 31.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
ราคาทองบวกวันจันทร์ ขึ้นต่อเพราะความกังวลเศรษฐกิจโลกและหวังว่าอาจมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายหลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอในเอเชียและยุโรป ราคาทองคำตลาดจรปรับขึ้น 0.6% อยู่ที่ 1,124.37 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำล่วงหน้าส่งมอบ เม.ย. ปรับขึ้น 0.8% อยู่ที่ 1,124.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun (No.49234) Tel: 02 680 5094
Ms. Sukanya Leelarwerachai (No.68790) Tel: 02 680 5331