WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดปรับฐานเล็ก ๆ โดยมีปัจจัยกดดันจากการเพิ่มทุนของหุ้นสื่อสาร (TRUE และ JAS) ขณะที่ยังไม่มีประเด็นบวกใหม่ ๆ โดยให้ Switch จาก TRUE และ JAS มายัง DTAC(FV@B40) ซึ่งเลือกเป็น Top pick

เงินเฟ้อไทยยังต่ำ หนุนดอกเบี้ยนโยบายต่ำต่อเนื่อง
      เงินเฟ้อเดือน ม.ค.59 ยังคงติดลบ แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น คือติดลบ 0.53% yoy ติดลบลดลงจาก -0.85% ใน ธ.ค.58 (ยังติดลบติดต่อกัน 13 เดือน และเฉลี่ยทั้งปี 58 ติดลบ 0.9%) สาเหตุหลักจากสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับเพิ่มขึ้น 0.83% (ผักและผลไม้สดปรับเพิ่ม 2.61%) และหมวดยาสูบและหมวดบันเทิงการศึกษา ปรับเพิ่ม 1.78% และ1.16% ตามลำดับ ขณะที่ หมวดน้ำมันเชื้อเพลิงและเคหะสถาน ยังคงติดลบ 15.3% และติดลบ 0.28% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ได้คาด เงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกระหว่าง 1-2% ตั้งแต่ 2Q59 เป็นต้นไป ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบที่ 48-54 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ขณะที่ ASPS ประเมินไว้ว่ายังติดลบ 1.7% ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยงปี 2559 ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล) อย่างไรก็ตามเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำน่าจะทำให้การประชุม กนง. ในวันที่ 3 ก.พ. นี้จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิมจนถึง ปลายปี 2559

      ส่วนของสหรัฐ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิตยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตของ Markit เดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 52.4 (ปรับลดติดต่อกัน 3 เดือน) ประกอบกับเงินเฟ้อที่ยังต่ำที่ 0.7% ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ เริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2559 เนื่องจากกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัว มีโอกาสจะขึ้นดอกเบี้ยรวมไม่เกิน 4 ครั้งตามที่คาดหมายไว้ ซึ่งน่าจะชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก ๆ ของโลก
      เช่นเดียวกับ จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)I ภาคการผลิตเดือน ม.ค. ที่ 49.4 จุด (Makit) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 49.7 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 จุด ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 และเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 3 ปี ( สำนัก Caixin รายงานที่ 48.4 จุด) สะท้อนภาวะหดตัวของภาคการผลิต หนุนการใช้นโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง ผ่านช่องทางการทำข้อตกลงซื้อคืนระยะสั้น 7 วันอัดฉีดเงินเข้าระบบ ซึ่งในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าระบบแล้วกว่า 10 ล้านล้านบาท และยังมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยและอัตราสำรองเงินฝากธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีก แม้ว่าจะยังคงมีความกังวลการไหลออกของเงินทุน และเสถียรภาพของเงินหยวนที่ปรับตัวอ่อนค่าราว 1.3% YTD

     จากการที่ธนาคารทั่วโลกใช้นโยบายผ่อนคลาย จะทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น สร้างสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้นและ หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันดิบให้มีแนวโน้มแกว่งตัวขึ้น ล่าสุดน้ำมันดูไบปิดตลาดที่ 32.02 เหรียญฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 8.54% ขณะที่ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง WIT และ Brent ปรับตัวลดลง 5.95% และ 1.44%

TRUE/JAS หนีไม่พ้นเพิ่มทุน หลังลุยประมูลต้นทุนใบอนุญาตที่สูงเกินเหตุ
     TRUE เพิ่มทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับตั้งแต่มีการประมูลใบอนุญาต 4G (คลื่น 1800 และ คลื่น 900 ต้นทุนใบอนุญาตเฉลี่ย 40,000 ล้านบาท และ 75,000 ล้านบาท ตามลำดับ) เสร็จสิ้นปี 2558 พบว่าหุ้นสื่อสาร ปรับตัวลงแรงมากทุกหุ้น เนื่องจากต้นทุนการประมูลที่สูงเกินไป และเมื่อรวมกับต้นทุนอีกส่วนคือ ส่วนแบ่งรายได้ที่ 5% พบว่าต้นทุนคงที่ทั้ง 2 ส่วนจะค่อนข้างสูง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยผู้ที่ได้ใบอนุญาตใหม่บางรายสูงขึ้นจากต้นทุนที่เป็นอยู่ก่อนการประมูล ดังเช่นกรณีของ TRUE ต้นทุนใบอนุญาต คลื่น 1800 และ 900 MHz ราคาสูงถึง 3.9 และ 7.6 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ เมื่อบวกกับ ส่วนแบ่งรายได้ เฉลี่ยจะสูงถึง 27.1% ของรายได้ ขณะที่ยังมีภาระลงทุนโครงข่ายอีก 3-4 ปีข้างหน้าอย่างน้อย 5.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่มี CFO เพียงปีละ 2 หมื่นล้านบาท จึงทำให้เพียงพอต่อการลงทุนในโครงข่ายเท่านั้น ขณะที่มี net Gearing ที่ 0.7 เท่า (ฐานทุนที่มีอยู่ราว 7.4 หมื่นล้านบาท) TRUE สามารถกู้ยืมเพื่อจ่ายใบอนุญาต แต่ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูง จะเป็นตัวซ้ำเติมให้ TRUE ประสบภาวะขาดทุนมากขึ้น และจะส่งผลให้ Net Gearing ของ TRUE ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ต้องจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz งวดสุดท้าย (2 ใบอนุญาตรวมกันต้องจ่ายมากสุดที่ราว 6.0 หมื่นล้านบาท) ทำให้ net Gearing ของ TRUE จะพุ่งขึ้นมาสูงถึงราว 3.9 เท่า จึงทำให้ TRUE ต้องเพิ่มทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยวานนี้ได้ประกาศเพิ่มทุนแบบจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) จำนวน 6.0 หมื่นล้านบาท (ยังไม่กำหนดราคาและจะกำหนดสัดส่วนการจัดสรรหุ้น โดยจะประกาศ 31 มี.ค. 59) ซึ่งเงินที่ได้หลักๆ จะนำมาจ่ายคืนหนี้ 4.0 หมื่นล้านบาท และเก็บไว้ลงทุน 2.0 หมื่นล้านบาท

      แม้การเพิ่มทุนใหม่ ช่วยลด Net Gearing ของ TRUE ในปี 2563 ลงเหลือต่ำกว่า 1 เท่า ลดความเสี่ยงฐานะการเงินในระยะกลางลงไปได้มาก ในเบื้องต้นคาดว่าจะนำเงินเพิ่มทุนไปชำระหนี้ ซึ่งคาดจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้ราวปีละ 2 พันล้านบาท แต่คาดว่าจะยังไม่สามารถดึงให้ TRUE กลับมามีกำไรได้ใน 3-4 ปีข้างหน้าได้ โดยคาดว่ายังน่าจะต้องเผชิญขาดทุนเกิน 5 พันล้านบาทต่อปีอยู่ คาดว่าจะทำให้ TRUE ต้องใช้โดยกลยุทธ์เชิงรุกในการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขัน โดยเฉพาะ ADVANC และ DTAC แต่เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ ทั้ง 2 รายหลัง ก็มีแผนการตลาดเชิงรุกไว้เช่นกัน

      ในเบื้องต้น ภายใต้สมมติฐานราคาเพิ่มทุนระหว่าง 4 – 6.5 บาท คาดว่า มูลค่าพื้นฐานของ TRUE จะอยู่ที่ 5.7-6.5 บาท ซึ่งจะทำให้เกิด ผลกระทบ Dilution ราว 26%-38% (อ่านรายละเอียด Company Update ของ TRUE ที่ออกบ่ายวานนี้) จึงแนะนำ Switch ไป DTAC(FV@B40) ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ กสทช. จะเรียกคืนคลื่น 2600 MHZ จาก MCOT กลับมาประมูลอีกครั้งปีหน้า ช่วยคลายความกังวล DTAC จะไม่มีคลื่นให้บริการในระยะยาว

      JAS น่าจะมีแนวโน้มเพิ่มทุนเช่นกัน เพราะการเข้าสู่ธุรกิจมือถือนั้น เรียกได้ว่าต้องเผชิญความท้าทายมาก เพราะเสียเปรียบ operator 3 รายเดิมแทบทุกด้าน จากการแย่งชิงลูกค้า โครงข่ายให้บริการที่ต้องลงทุนใหม่ ยังไม่รวมถึงค่าประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีมูลค่าสูงถึง 7.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ช่องทางในการระดมทุนของ JAS ในเบื้องต้นน่าจะมาจากการใช้เงินสดที่เหลือจากการตั้งกองทุน JASIF ราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะนำไปเพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ (JMBB) บริษัทย่อย เป็น 5.0 พันล้านบาท (จากปัจจุบัน 350 ล้านบาท) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่ JMBB ต้องจ่ายงวดแรก ที่ 8.04 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือ 3.04 พันล้านบาท คาดว่าจะมาจากการก่อหนี้ก่อน ขณะที่การจ่ายค่าใบอนุญาตที่เหลือ 6.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด คือ งวดละ 4.02 พันล้านบาทเท่าๆกันในปีที่ 2 และ 3 ภายหลังชำระค่าประมูลงวดแรก ส่วนงวดสุดท้าย คือ มูลค่าคลื่นส่วนที่เหลือจากที่ชำระไปแล้วใน 3 งวดแรก โดยในกรณีของ JAS จะชำระงวดสุดท้ายที่ 5.95 หมื่นล้านบาท) JAS กำหนดทางเลือกแหล่งเงินทุนไว้ 4 ทาง เช่น การนำบริษัทย่อย JMBB เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์, การขายหุ้นเพิ่มทุน JMBB ให้กับพันธมิตรต่างประเทศ, การระดมทุนโดยนำสินทรัพย์โทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มขายให้กับ JASIF รวมทั้งเงินทุนจากการแปลงสภาพ JAS-W3 ซึ่งหากแปลงสภาพทั้งหมด JAS จะได้เงินทุนเข้ามาทั้งสิ้นราว 1.5 หมื่นล้านบาท) ซึ่งมีโอกาสการแปลงสภาพ น้อยเพราะราคาหุ้นที่ต่ำกว่าราคาแปลงสภาพค่อนข้างมาก ซึ่งในแต่ละทางเลือกนั้น ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีความชัดเจน หรือ ไม่สามารถระดมเงินทุนเข้ามาได้ในระยะเวลาอันจำกัด ฝ่ายวิจัยจึงคาดว่าท้ายที่สุด JAS ก็ต้องเพิ่มทุนเหมือนกับ TRUE

      ในส่วนของฐานลูกค้านั้น อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าให้มีลูกค้าอินเตอร์เน็ตเดิมราว 30% ใช้งานบริการมือถือของ JAS โดยเสนอราคาถูก บวกกับการให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มฐานลูกค้า เบื้องต้นคาดว่าจะมี ARPU เฉลี่ย 500 บาทต่อเดือน ซึ่งโดยภาพรวม พอจะประเมินได้ว่า ต้นทุนใบอนุญาต กับส่วนแบ่งรายได้เฉลี่ย 5 ปีของ JAS จะสูงถึง 110% ของรายได้ ภายใต้สมมติฐานให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นมาเป็น 2 ล้านราย เท่ากับลูกค้าที่ใช้อินเตอร์เน็ต ภายในปีที่ 5 ซึ่งอาจทำให้ JAS ต้องเผชิญภาวะขาดทุนไปอีกหลายปี

      ส่วน DTAC ความเสี่ยงลดลง แม้รอบนี้จะไม่ได้ใบอนุญาตใหม่เลย ปัจจุบัน DTAC ให้บริการภายใต้ต้นทุนการให้บริการ (สัมปทานเดิม + ใบอนุญาต 3G คลื่น 2100 ต้นทุน 13000 ล้านบาท) ทำให้ DTAC มีต้นทุนคงที่ (เฉลี่ยทุกประเภท) อยู่ที่ 20% ของรายได้ ซึ่งถือว่าถูกกว่าทั้ง TRUE และ JAS ปัจจุบัน DTAC มีคลื่นจำนวนมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่เป็นคลื่นภายใต้สัมปทานเดิม ซึ่งต้นทุนแพง และ มีอายุเหลืออีก 3 ปี คือ สิ้นสุด 2561 จึงต้องโอนกรรมสิทธิในสิทธิให้คู่สัญญาคือ CAT เมื่อครบกำหนด ขณะที่มีคลื่นใบอนุญาต 3G (2100 เพียง 15 MHz) จึงจุดนี้จึงเป็นความเสี่ยงที่ DTAC อาจจะไม่กล้าลงทุนในคลื่นสัมปทานเดิมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามล่าสุดที่ กสทช จะขอคลื่น 2600 คืนจาก MCOT บางส่วนเพื่อมาประมูลอีกครั้ง น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อ DTAC ที่จะมีทางเลือกในการลงทุนมากกว่าที่ผ่านมา เข้าใจกว่าคลื่นความถื่มีจำกัด ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ชื่นชอบ DTAC เพราะถือว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว

    ADVANC ลอยตัวเหนือปัญหา แม้การประมูลรอบนี้จะได้ใบอนุญาต 4G เฉพาะคลื่น 2100 ด้วยต้นทุน 4 หมื่นล้านบาท แต่ทำให้โดยรวม (ต้นทุนใบอนุญาต + ส่วนแบ่งรายได้) เฉลี่ยอยู่ที่ 10.95% ของรายได้ ซึ่งนับว่าต่ำสุดในอุตสาหกรรม แม้ปีนี้ มีภาระต้นทุนบริหารและจัดการสูงขึ้น จากการที่ต้องพยายามรักษาลูกค้าที่ยังอยู่ที่คลื่น 900 MHz ราว 11 ล้านราย (คิดเป็นรายได้ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปี) เพื่อกีดกันไม่ให้คู่แข่งขันบางรายแย่งชิงไป โดยมีภาระต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดได้ตั้งงบไว้ราว 1.0-1.5 หมื่นล้านบาท (ประกอบด้วย ต้นทุนแจกเครื่องลูกข่ายฟรี (ลูกค้า 2G) ค่าเช่าโครงข่าย 2G จาก TOT เพื่อกีดกันคู่แข่งขัน, งบลงทุน 2100 MHz เดิม เพื่อพิ่มพื้นที่บริการทดแทน 900 MHz (หาก TRUE หรือ JAS จ่ายเงินค่าใบอนุญาต ADVANC จะไม่สามารถให้บริการได้อีกต่อไป หรือ ซิมดับ) ขณะที่มี CFO ปีละกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท เพียงพอต่อการจ่ายใบอนุญาต และ ลงทุน จึงเป็นบริษัทที่ถือว่ามั่นคงมากที่สุด ซึ่งขณะนี้ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างรอสรุปแผนการโอนย้ายลูกค้า 2G แต่ระยะสั้นราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมามาก จึงแนะนำให้ switch ไป DTAC เช่นกัน

ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทย แต่ยังคงซื้อหุ้นเอเชียอย่างต่อเนื่อง
     วานนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 411 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 4 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 217 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 177 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) และอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) สวนทางกับไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ หรือ 798 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 549 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 10,482 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 4,821 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 โดยมียอดซื้อสุทธิรวม 46,234 ล้านบาท) กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าอยู่ที่ 35.59 บาท/ดอลลาร์

เข้าสู่ฤดูกาลจ่ายเงินปันผล เลือกหุ้น SC, PS เป็น Top picks
     หลังการประกาศงบการเงินงวดปี 2558 เสร็จสิ้นลง ก็จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลของการประกาศจ่ายเงินปันผล (ในช่วงปลายเดือน มี.ค. – เม.ย. 2558) โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ จะทยอยประกาศจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ทำให้หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูง จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นเป็นพิเศษ และจะยิ่งน่าสนใจมากขึ้นหากราคาหุ้นนั้นๆ มีการปรับขึ้นก่อนขึ้น XD
ทางฝ่ายวิจัยได้ทำการศึกษาย้อนหลัง 5 ปี โดยการหาผลตอบแทนในช่วงเวลาต่างๆ ก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ของหุ้นที่มี Dividend Yield สูง พร้อมทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside สูง พบว่า หุ้นที่มีประวัติการจ่ายปันผลที่ดี ราคาหุ้นมักจะเคลื่อนไหว หรือ ตอบสนองในด้านบวกก่อนล่วงหน้าประกาศจ่ายเงินปันผลเสมอ อย่างไรก็ตามยิ่งนักลงทุนซื้อหุ้นปันผลใกล้วันขึ้น XD มากเท่าใด ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนลดน้อยลงเป็นลำดับ (รายละเอียดตารางและภาพด้านล่าง) โดยกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัยแนะนำให้ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้นเครื่องหมาย XD ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 10.57% ด้วยความน่าจะเป็นราว 79%

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!