WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,280-1,260 จุด ขณะที่รอผลการประชุม FED ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่การรายงานผลประกอบการงวด 4Q58 ของภาคการผลิต ยังมีผลกระทบต่อหุ้นรายบริษัท และ หลังจากนี้จะเป็นเรื่องการจ่ายเงินปันผล จึงแนะหุ้น low Beta+Low P/E +high dividend EASTW([email protected]) และ SCC(FV@B595) เป็น Top Picks

ตลาดหวัง Fed อาจลดดอกเบี้ย กดดัน Dollar แต่หนุนหุ้นน้ำมัน
      คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในลักษณะผันผวน โดยน่าจะยังรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในระหว่างวันที่ 26-27 ม.ค.2559 (โดยจะทราบผลในเช้าวันที่ 28 ม.ค.58 ตามเวลาของประเทศไทย) ทั้งนี้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุดยังคงส่งสัญญานการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการบริโภคภาคครัวเรือน ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3 เช่นเดียวกับยอดขายบ้านใหม่และยอดขายบ้านมือสอง ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากตลาดแรงงานทื่ฟื้นตัวต่อเนื่อง (อัตราการว่างงานอยู่ที่ 5% ใกล้เคียงกับก่อนวิกฤติในปี 2551-2552) ทั้งนี้ยกเว้น PMI ภาคบริการที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เช่นเดียวกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตล่าสุดที่ปรับลดลง 3.1% ในเดือน ธ.ค.58เทียบกับ พ.ย.58 (ลดลงติดต่อกัน 2 เดือนติด) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับโดยล่าสุดอยู่ที่ 0.7% (เทียบกับปี 2557 เฉลี่ย 1.6%) ซึ่งทำให้เชื่อว่าอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานเป็นปี กว่าที่จะเข้าใกล้เป้าหมายที่ FED ประเมินไว้ที่ 2%
     ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว น่าจะมีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะจากจีนและยุโรปที่ยังฟื้นตัวล่าช้า หรือแม้แต่ญี่ปุ่นที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว ทำให้ทั้ง 2 ประเทศหลัง ยังต้องการมากตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE อยู่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของสหรัฐ หรืออาจจะทำให้สหรัฐเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์/นักเศรษฐสาตร์ในสหรัฐ เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ การใช้นนโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 0.5%ในปลายปี 2558 (เป็นการขึ้นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี) อาจเป็นความผิดพลาด โดยคาดว่าอาจจะไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีนี้ อย่างไรก็ตามได้มีการประเมินว่าดอกเบี้ยของ Fed ณ สิ้นปี 2559 อาจอยู่ที่ 0.88% และขึ้นเป็น 1.6% ในปี 2560 และ 2.58% ในปี 2561 ซึ่งลดลงจากการประชุมในรอบ ธ.ค. 2558
     อย่างไรก็ตามความคิดเห็นที่แตกแยกมากขึ้น ต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของสหรัฐ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มทรงตัว ถึงอ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลของคู่ค้าหลัก ๆ โดยเฉพาะยูโร (ล่าสุดค่าเงินยูโร ทรงตัวที่ 1.0861 ดอลลาร์สหรัฐ โดยทรงตัวใกล้เคียงในรแะดับนี้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา) นอกจากนี้ ประเด็นที่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ทั้งอิหร่าน และ รัสเซีย กำลังหาทางที่จะลดการผลิตน้ำมันดิบโลกลง ถือว่าเป็นปัจจัยที่ลดแรงกดดันในเรื่องของปริมาณผลผลิตเกินความต้องการ (Over supply) แม้ว่าระยะสั้น ๆ over supply จะยังมีอยู่ก็ตาม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกน่าจะผ่านจุดต่ำสุด ซึ่งวันนี้ตลาดน่าจะได้ sentiment เชิงบวกนี้ โดยหุ้น PTT, PTTEP อาจกลับมานำตลาดอีกครั้ง

การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังมีอยู่ ตราบที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
     ดังที่ทราบกันว่าเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ทำให้ธนาคารกลางจีน อัดฉีดเงินเข้าระบบต่อเนื่อง นับจากปี 2558 จนถึง ปัจจุบัน โดยล่าสุด วานนี้ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มเติม ราว 440 พันล้านหยวน (67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทำให้มีเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าระบบในเดือนนี้กว่า 1.6 ล้านล้านหยวน เพื่อรองรับการใช้จ่ายในช่วง เทศกาลไหว้พระจันทร์ในวันจันทร์ที่ 8 ก.พ.นี้ นอกจากนี้ธนาคารจีนยังมีแนวโน้มทำการลดอัตราเงินสำรองธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพิ่มเติม ทั้งนี้จากผลสำรวจ Bloomberg ล่าสุด คาดว่าจะมีการปรับลด RRR ถึงระดับ 15.5% หรือลดลง 2% (หลังจากปี 2558 ลด RRR ไปแล้ว 4 ครั้งรวม 2.5% เหลือ 17.5%) ขณะที่อาจจะไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ 4.35% (หลังปรับลดจากระดับสูงสุดในปี 2558 5.6%) แม้เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำ 1.6% เมื่อสิ้นปี 2558 เนื่องจากปัญหาเงินหยวน ที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า (ตามเงินทุนไหลออก)
เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ดังที่ได้นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางมาเลเซีย ได้ปรับลดอัตราเงินสำรองธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% เหลือ 3.5% (นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554) เช่นเดียวกับ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ที่ได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เหลือ 7.25% (การปรับลดครั้งแรกในรอบ 11 เดือน ) โดยยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 7.5% ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าการประชุมวันที่ 3 ก.พ. น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม 1.5% (ลดจากระดับสูงสุดที่ 2% ) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ (ล่าสุดอยู่ที่ -0.85% เดือน ธ.ค. 2558)
แต่เป็นที่สังเกตว่าค่าเงินในภูมิภาคเอเชียเริ่มความผันผวน กล่าวคือ ส่วนใหญ่ยังมีทิศทางอ่อนค่า เช่น ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ค่าเงินยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่า 4% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) ยกเว้นเงินรูเปียะห์ ของอินโดที่ยังทรงตัวเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2558 ส่วนเงินริงกิตแข็งค่า 3.2%ytd และ เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า ราว 1.6% ytd เป็นต้น ซึ่งอาจจะบ่งบอกถึงทิศทางตลาดหุ้นที่ชะลอการตกต่ำได้ระดับหนึ่ง

แรงขายหุ้นต่างชาติชะลอตัว แต่ยังมีแรงซื้อตราสารหนี้หนุนเงินบาทแข็งค่าขึ้น
     วานนี้ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 337 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) แต่ยังซื้อสุทธิอยู่ 1 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 172 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) รองลงมาคือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 140 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยต่างชาติขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ หรือ 285 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 83 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 27,310 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 2,437 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยมียอดซื้อสุทธิรวม 12,071 ล้านบาท) แรงซื้อตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ บวกกับมีแรงขายหุ้นที่เริ่มเบาบางลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น สังเกตได้จากในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีจุดสูงสุดอยู่ที่ 36.50 บาท/ดอลลาร์ (ในวันที่ 21 ม.ค. 59) และปัจจุบันแข็งค่าขึ้นราว 1.83% โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.83 บาท/ดอลลาร์

กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้น low P/E, High Div Yield, Low Beta
      ท่ามกลางสภาวะตลาดหุ้นที่แกว่งตัวผันผวน ปรับขึ้น-ลงสลับวันกัน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเริ่มเบาบางลง บวกกับกระแสเงินทุนจากต่างชาติที่ยังไม่ไหลเข้ามา ทำให้การซื้อขายของนักลงทุนเป็นการเล่นกันเองของนักลงทุนสถาบันในประเทศกับพอร์ตโบรกเกอร์ ทำให้ SET Index ขาด direction ที่ชัดเจนและไม่มีแรงขับเคลื่อน ในส่วนของราคาน้ำมันนั้น แม้เงินดอลลาร์จะเริ่มลดการแข็งค่า ช่วยหนุนราคาน้ำมัน แต่ปัญหา oversupply ที่ยังมีอยู่ ทำให้การปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบยังเป็นไปได้จำกัด ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นขึ้นไปได้จำกัดเช่นกัน ฉะนั้น ภายใต้สภาวะผันผวนเช่นนี้ การเลือกลงทุนในหุ้นจึงจำเป็นต้องมีความพิถีพิถัน ฝ่ายวิจัยแนะนำเลือกหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่ง กล่าวคือ เป็นหุ้นที่มี Dividend Yield สูง กว่า 4% ค่า P/E ต่ำกว่าตลาด มีค่า Beta น้อยกว่า 1 และ laggard กว่าตลาด ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้ Application ASP Smart ในการค้นหาหุ้นแข็งแกร่งดังกล่าว โดยมีรายชื่อดังตารางด้านล่าง ทั้งนี้ หุ้นฝ่ายวิจัยชื่นชอบและแนะนำให้ลงทุนระยะยาว มีดังนี้


TISCO (FV@B50) แนวโน้มผลการดำเนินงานโดยรวมในปี 2559 เป็นไปในทิศทางบวกขึ้นจากปี 2558 เชื่อว่าจุดต่ำสุดของธุรกิจได้ผ่านไปแล้ว โดยสินเชื่อสุทธิมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น และ NIM ที่ยังเพิ่มขึ้นได้อีกในงวด 1Q59 ส่วน credit cost น่าจะปรับตัวลดลงสู่เป้าหมายปกติ พร้อมกับ NPL ที่จะลดลงไปต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม ทั้งยังมีจุดแข็งทั้งในเรื่องของ valuation ที่ถูกมาก พร้อมปันผลที่จ่ายปีละครั้งกับคาดการณ์ div yields สูงเฉลี่ยถึง 5% p.a. ภายใต้ payout ratio ที่ 40%
PS (FV@B38) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q58 เติบโตถึง 69%qoq และ 47%yoy เนื่องจากมียอดโอนคอนโดฯ สูงเกินเป้าจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ภาครัฐ ทั้งแนวโน้ม Gross Margin ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มกำไร ปี 2558-59 ขึ้นจากเดิม 17% และ 15% ตามลำดับ โดยปี 2559 คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 3% จาก Backlog ที่รอโอนฯ กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และยอดขายโครงการใหม่แนวราบที่มีระยะเวลาก่อสร้างสั้น บวกกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ หนุนให้ยอดโอนปีนี้ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
SCC (FV@B595) คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 4Q58 เพิ่มขึ้น 16%qoq จากเงินปันผลรับของธุรกิจลงทุน แต่ธุรกิจปูนซีเมนต์ปรับตัวลดลงตามภาค Residential ที่ซบเซา รวมทั้งธุรกิจปิโตรเคมีไม่โดดเด่นจาก spread PP-Naphtha ที่ลดลง ทั้งยังมี Stock loss เกิดขึ้นกดดันกำไรในงวดนี้ ส่วนปี 2559 คาดจะได้แรงหนุนจากการลงทุนโครงการภาครัฐกระตุ้นความต้องการใช้ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างอื่นๆตั้งแต่ 2H59 เป็นต้นไป สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีเชื่อยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในช่วงปี 2559-2563

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!