WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       มาตรการกระตุ้นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบรอบใหม่ของธนาคารกลางโลก น่าจะหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวรอบใหม่ ทำให้ดัชนียังแกว่งตัวขึ้นทดสอบ 1,280-1,295 จุดอีก วันนี้เลือกหุ้นใหญ่มี Beta สูงกว่า 1 คือ PTT(FV@B310) และ KBANK(FV@B240) เป็น Top Picks

นโยบายการเงินผ่อนคลายโลกยังมีอยู่ตราบที่จีนเข้าสู่ภาวะชะลอตัว
       ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ยังคงหนุนให้ทำให้ธนาคารกลางสำคัญ ๆ ของโลกหันมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม ทั้งนี้นอกจาก จีน ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ของเอเชีย ได้เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบต่อเนื่อง รวม 4 ครั้งตั้งแต่ต้นปี 2559 และ ครั้งล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบกว่า 4 แสนล้านหยวน หรือ 4.8 หมื่นล้านเหรียญ (ถือว่าเป็นวงเงินขนาดใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี) และมาเลเซีย ได้ลดอัตรากันสำรองของธนาคาร (RRR) จาก 4% เหลือ 3.5% นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน Market talk วันศุกร์ 22 ม.ค.59)ปรากฏว่าธนาคารกลางอื่น ๆ ส่งสัญญาณในลักษณะเดียวกัน คือ
      ธนาคารกลางยุโรป โดยนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB เผยว่าอาจจะทบทวนการใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมรอบหน้า (10 มี.ค.59) หลังจากใช้มาตรการ Q.E. เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร ระยะเวลาโครงการ มี.ค.58 - มี.ค. 60 เพื่อกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ 0.2% ตามมาด้วย ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตรียมพิจารณากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยอาจขยายวงเงิน QQE จากปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 80 ล้านล้านเยน เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อที่ต่ำ 0.3% ซึ่งล้วนหนุนตลาดหุ้นบวกทั่วโลก
     ทั้งนี้ ว่าสวนทางกับ สหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยนำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปตั้งแต่ ธ.ค. 58 เนื่องจากเศรษฐกิจมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ภาคการผลิต ยังทรงตัวก็ตาม )ดัชนี PMIภาคการผลิตของมาร์กิต เดือน ม.ค.59 กระเตื้องขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.7 สูงกว่า เดือน ธ.ค.58 ที่ 51.2) แต่ทางด้านผู้บริโภคยังคงแกร่งต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยล่าสุด ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น (14.7%MoM) อยู่ที่ระดับ 5.46 ล้านหลัง และอัตราเงินเฟ้อที่กระเตื้องขึ้น โดยล่าสุด อยู่ที่ 0.7% แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว คาดว่าจะทำให้การประชุมของ Fed ใน สัปดาห์นี้ 26-27 ม.ค. จะให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยน้อย แต่อาจจะพิจารณาในการประชุมเดือน มี.ค. สะท้อนได้จาก ค่าเงินดอลลาร์มีสัญญาณชะลอการแข็งค่าสะท้อนจาก Dollar Index ล่าสุดอยู่ที่ 99.51 จุด แข็งค่าเล็กน้อยจากวันก่อนหน้า แต่เชื่อว่ายังน่าจะแกว่งตัวในกรอบ 99-100 จุด

ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย กดดันให้บาทแข็งค่าขึ้น
      วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่แรงขายเริ่มน้อยลง โดยมียอดขายสุทธิรวม 113 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดสุทธิในภูมิภาคราว 160 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 44 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) และไทยซื้อสุทธิอีกครั้งราว 23 ล้านเหรียญ หรือ 832 ล้านบาท
       เป็นที่สังเกตว่า ในช่วง 4 วันทำการที่ผ่านมา (19 - 22 ม.ค. 59) แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มไหลกลับเข้ามาบ้าง โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวม 1.3 พันล้านบาท จากที่มีแรงขายสุทธิต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 624 ล้านบาท
ขณะที่ด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 13,139 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 122 ล้านบาท แต่โดยรวมยังคงหนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.01 บาท/ดอลลาร์ แต่ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน

ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวต่อหนุนหุ้นน้ำมัน PTT, PTTEP
ราคาน้ำมันเริ่มฟื้นตัวเนื่องในระยะสั้น ๆ นอกจากรายงาน สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐ (โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน หรือ EIA) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นน้อยกว่าตลาดคาดการณ์ (คาดการณ์ 4.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่รายงานจริง 3.97 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหลังสภาพอากาศที่เริ่มกลับมาหนาวเย็นทั่วโลก หนุนให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อน ซึ่งสะท้อนได้สต็อกน้ำมันสำเร็จรูป อาทิ น้ำมันกลั่น Heating Oil และน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ แล้ว ยังมีปัจจัยหนุนระยะสั้นหลายประการ
เริ่มจากกระแสข่าวที่จะมีการใช้นโยบายผ่อนคลายรอบใหม่ ของธนาคารกลางของโลก นอกจากจีน แล้ว ญี่ปุ่น และธนาคารกลางยุโรป(ECB) ดังกล่าวข้างต้น ช่วยหนุนให้มีเม็ดเงินเข้าเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันเพิ่มมากขึ้น
ตามมาด้วย Dollar Index เริ่มเห็นการชะลอตัวแข็งค่า จากแนวโน้ม Fed ส่งสัญญาณอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขยับขึ้น ทำให้แรงกดดันราคาน้ำมันโลกชะลอตัวลง แม้ปัญหา Over supply ยังคงมีอยู่ แต่คาดอาจลดลงเนื่องจาก ราคาน้ำมัน ณ ระดับปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุนของผู้ผลิตส่วนใหญ่ ซึ่งจากปัจจัยข้างต้น ระยะสั้นคาดราคาน้ำมันจะกลับมา Outperform ตลาดอีกครั้ง หนุนหุ้นในกลุ่มพลังงานอาทิ PTT(FV@B310) และ PTTEP(FV@B60)

แนะนำหุ้น Big Cap ที่ High Beta แนะนำ PTT, KBANK
     ช่วงต้นปี 2559 พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยติดลบ 1.5% แต่พบว่ามีบางกลุ่มที่สามารถชนะตลาด คือ ICT เพิ่มขึ้น 2.9% ทั้งนี้คาดว่าราคาตลาดได้สะท้อนผลกระทบจากการประมูล 4G ทั้ง 2 คลื่น (คือ 1800 และ 900) เนื่องจากต้นทุนที่สูงกว่านักวิเคราะห์คาดหลายเท่าตัว และ การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังจากที่ผู้ประกอบการรายที่ 4 (JAS) เข้ามาแข่งขันในการทำธุรกิจมือถือ ขณะที่บางรายไม่สามารถประมูลคลื่นใหม่ได้ (DTAC) รวมถึง ADVANC ที่ได้คลื่นใหม่น้อย ทำให้มีคลื่นให้บริการจำกัด จึงเป็นที่กังวลว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ กสทช เตรียมเจรจากับ MCOT เพื่อขอคืนคลื่น 2600 จำนวน 60 Mhz เพื่อนำมาประมูล 4G รอบใหม่ (แต่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ MCOT ทำให้ MCOT มีกระแสเงินสดในการปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจใหม่) น่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อหุ้นรายตัว ทั้ง DTAC และ ADVANC ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น DTAC และ MCOT (ติดตามอ่านรายละเอียดหุ้นรายตัวใน Equity Talk) สำหรับ ADVANC นอกจากได้ประโยชน์จากการประมูลคลื่นใหม่ ๆ แล้ว การที่ TRUE และ JAS ชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 ล่าช้า ทำให้มีเวลาในการโอนลูกค้าที่อยู่ในระดับ 2G บางส่วนมายัง 3G
ตามมาด้วย กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 2.7%ytd แม้ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญอย่างจีน จะมีการชะลอตัวลง รวมทั้งกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่บรรดาผู้ประกอบการในกลุ่มฯ ก็มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจและผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน อุตสาหกรรมยานยนต์ และ Data Center (ยกเว้นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ชะลอตัวลง) ทั้งนี้ SVI และ KCE มีการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นนับตั้งแต่ต้นปีเป็นลำดับต้นๆ คือ 14.8% และ 13.2% ตามลำดับ สอดคล้องกับประมาณการของฝ่ายวิจัยที่คาดว่า norm profit ของกลุ่มฯ งวด 1Q59 จะเติบโต 9.2%qoq และ 18%yoy ด้วยการขับเคลื่อนของ KCE, SVI และ DELTA
ธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 2.1%ytd นำโดย KBANK 8.3%, KKP 6.9%, KTB 4.8% และ TCAP 2.7% ทั้งนี้คาดว่าเป็นเพราะผลประกอบการงวด 4Q58 ออกมาดีกว่าคาด ได้แก่ TISCO, SCB, KTB ที่แสดงกำไรสุทธิโดดเด่นสุดในงวดนี้ จากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงมากเกินคาดหลังหมดภาระ SSI ส่วน TCAP ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมาก (PBV ต่ำกว่า 1 เท่า) ขณะที่ TISCO และ KKP ปันผลสูงจูงใจ และ KBANK โดดเด่นหลังราคาหุ้นลงต่ำสะท้อนข่าวร้ายไปเยอะแล้ว ขณะที่ผลการดำเนินรอเพียงการลงทุนของประเทศฟื้นตัว นอกจากนี้ยังความได้เปรียบทั้ง coverage ratio ระดับสูง และฐานสินเชื่อมีกระจายตัวที่ดี จึงเลือกเป็น Top pick


และ Commerce เพิ่มขึ้น 2.6% แต่เป็นที่สังเกตว่าเป็นการขึ้นของหุ้น BIGC กว่า 14% เนื่องจากมีกระแสข่าวการทำ tender offer ของกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศ (กลุ่ม TCC Holding กับกลุ่ม Central Group) จาก Casino Group ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เดิม โดยเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมามีการทำ Big lot ราว 584 ล้านบาท ส่งผลให้ราคาหุ้น BIGC วิ่งขึ้นไปมาก
และ กลุ่มขนส่งเพิ่มขึ้นราว 0.2% จาก BA จากช่วง high season และต้นทุนน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนกลุ่มที่เหลือส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนติดลบ เช่น Energy ติดลบ 5.3% หลักๆ มาจาก PTTEP -15.7% PTT 10.7% BCP 10.6% อสังหาติดลบ 4% จาก LPN -11% PS -8% LH -8% CPN -7% วัสดุก่อสร้าง -8.2% มาจาก SCCC -13.5% SCC -10.9% TASCO -6.2% เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด แต่มีค่า Beta ที่สูงกว่าตลาด ฉะนั้น เมื่อ SET Index อยู่ในภาวะ rebound จึงมีโอกาสที่หุ้นเหล่านี้จะฟื้นตัวได้แรงกว่าตลาด ดังตารางด้านล่าง


นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: ภราดร เตียรณปราโมทย์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!