- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 January 2016 17:27
- Hits: 994
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนี อ่อนตัวกลับมาทดสอบ 1,240 จุดอีกครั้ง ตามแรงกดดันจากภายนอก แต่อย่างไรก็ตามหุ้นรายตัวราคาลดลงต่ำสุด สะท้อนปัจจัยลบไปเต็มที่แล้วเช่น MCOT, DTAC ยังแนะนำหุ้นปันผล/มีกระแสเงินสดมั่นคง (EASTW, MCS, INTUCH, TCAP) วันนี้เลือก DTAC(FV@B40), TCAP([email protected]) เป็น Top Picks เช่นเดิม
ปัจจัยต่างประเทศมุ่งไปที่เงินหยวนมีทิศทางอ่อนค่า
เชื่อว่าปัจจัยภายนอกยังคงกดดันตลาดหุ้น โดยเฉพาะปัญหาในจีน ซึ่งล่าสุดมีการพูดกันถึงแนวทางในการบริหารและจัดการค่าเงินหยวน ซึ่งปัจจุบันที่อิงกับเงินสกุลดอลลาร์ อาจจะไม่เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทำให้ ธนาคารกลางจีนต้องเข้าแทรกแซง และ เป็นการทำให้ต้องสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศกว่า 5 แสนล้านเหรียญฯ ในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดค่าเงินหยวนอยู่ที่ 6.5781 หยวนต่อเหรียญฯ หรืออ่อนค่ากว่า 6.3% นับจากปลายปี 2558 หรือเพียง 2 สัปดาห์แรกของปี ขณะที่ค่าเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียยังมีทิศทางทรงตัว ถึงอ่อนค่าเล็กน้อย เช่น ค่าเงินเปโซ่ออนค่า 2% ค่าเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย อ่อนค่า 1.8% ค่าเงินริงกิตอ่อนค่า 1.7% ยกเว้นเงินบาทที่อ่อนตัวเล็กน้อย ล่าสุดอยู่ที่ 36.25 บาทต่อดอลลาร์เทียบกับสิ้นปี 2558 ที่ 36 บาทฯ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนน่าจะกดดันให้ค่าเงินในเอเชียมีแนวโน้มอ่อนค่าตาม (หลังจากปี 2558 ล้วนอ่อนค่า โดยค่าเงินริงกิตอ่อนค่ามากสุด 22.8% จากต้นปี 2558 ค่าเงินรูเปียะห์อ่อนค่า 11.83% เงินบาทอ่อนค่า 9.52% เงินเปโซอ่อนค่า 4.74% เงินหยวนอ่อนค่า 4.61% และ รูปีอ่อนค่า 4.37% เช่นเดียวกับเงินยูโรอ่อนค่า 9.6% ยกเว้นเงินดอลลาร์แข็งค่า 9.2% และเงินเยนที่อ่อนค่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) แต่อาจจะอ่อนค่าในอัตราที่น้อยกว่า ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นอีกประการ เพราะอาจจะทำให้เงินทุนไหลเข้าระยะสั้นยังคงชะลอตัวต่อไป แม้ว่าจะขายหุ้นในภูมิภาคเอเชียติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ก็ตาม
ขณะที่การรายงานดัชนีเศรษฐกิจในสหรัฐยังคงดูดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินเฟ้อ เดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 0.7%yoy จาก 0.5%yoy ในเดือน พ.ย. (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 เดือน และคิดเฉลี่ยทั้งปี58 อยู่ที่ 0.125% ) สาเหตุที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจาก สินค้าหมวดบริการเพิ่มขึ้น 2.5% โดยเฉพาะหมวดสุขภาพ เพิ่มขึ้น 2.6% หมวดที่พักอาศัย เพิ่ม 3.2% และ ยาสูบปรับเพิ่มขึ้น 3.6% ฯลฯ สอดคล้องกับตลาดบ้านที่ยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากยอดการการเริ่มต้นสร้างบ้าน(Housing start) เดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 1.149 ล้านหลัง (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 เดือน และคิดเฉลี่ยทั้งปี 58 ขยายตัว 10.8%yoy) แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากภาคการผลิตที่ฟื้นตัวแต่ไม่มั่นคง สะท้อนจากยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน หดตัว 4 เดือนติดต่อกัน รวมถึงแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลก เป็นไปได้ที่ Fed จะต้องพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจจะขึ้นไม่เกิน 4 ครั้งในปีนี้ (ไม่เกิน 0.875%)
ส่วนของอังกฤษ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัวจากตลาดแรงงานเช่นกัน ล่าสุดอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.1% (ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ พ.ย. 54) แต่ยังเผชิญเงินเฟ้อที่ยังต่ำเพียง 0.2% ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ส่งสัญญานไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยเหมือนสหรัฐ โดยน่าจะปรับขึ้นครั้งแรก ในช่วงปลายปี (พ.ย.59) ขณะที่การประชุม ECB ในวันนี้ เชื่อว่าจะไม่มีอะไรใหม่ หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีการยืดระยะเวลา QE จนถึงมี.ค. 2560 เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อที่ยังต่ำ 0.2%
ต่างชาติชะลอการขายหุ้นไทย แต่ยังขายหุ้นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกตกหนัก ขณะเดียวกันต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 417 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 4 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 262 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุทธิในภูมิภาคราว 134 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 3 ล้านเหรียญ ส่วนไทยต่างชาติเริ่มชะลอการขายลงและยังเป็นประเทศเดียวที่ต่างชาติซื้อสุทธิราว 2 ล้านเหรียญ หรือ 63 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 248 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 950 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 597 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดประคองตัวอยู่ที่ 36.29 บาท/ดอลลาร์
ให้น้ำหนักการรายงานงบ 4Q58 ของธ.พ. แม้จะออกมาดีกว่าคาด
หุ้นกลุ่ม ธ.พ. ทยอยประกาศงบงวด 4Q58 เป็นส่วนใหญ่ พบว่าออกมาดีกว่าคาด เช่น LHBANK, KKP, TISCO, SCB ยกเว้น TCAP ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย แต่มีจุดเด่นที่ ROE มีพัฒนาการเชิงบวก โดยยังขาด KBANK และ KTB ที่ยังมิได้รายงาน ทั้งนี้สรุปหุ้นที่มีการรายงานล่าสุดดังนี้คือ
BBL (FV@B158) กำไรปกติงวด 4Q58 ต่ำกว่าคาด ลดลง -15.2%qoq และ -12.3%yoy จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในช่วงฤดูกาล แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง โดยรวมทั้งปีกำไรสุทธิ -5.9% ส่วนแนวโน้ม 1Q59 คาดฟื้นตัวจาก 4Q58 จากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม พอร์ตสินเชื่อรายใหญ่ที่ยังอยู่ในภาวะชะลอการลงทุน รวมทั้งภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ยังสูง ทำให้มีการปรับลดประมาณการฯ ปี 2559-60 ลง 5.7% และ 3.1% ส่งผลให้กำไรสุทธิเติบโตเพียง 2.8% และ 10.7% ตามลำดับ จึงแนะนำให้ switch ไปยัง KBANK (FV@B240) และ TCAP ([email protected]) ทีให้ div.yield ที่จูงใจกว่า
SCB (FV@B132) กำไรสุทธิงวด 4Q58 สูงกว่าคาด โดยเติบโต 30%qoq แต่ลดลง 3.6%yoy การเติบโตรายไตรมาส มาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่กลับมาอยู่ในระดับปกติ แม้สินเชื่อชะลอตัว แต่ NIM ก็เพิ่มขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมกำไรสุทธิทั้งปีหดตัวถึง 11.5%yoy ขณะที่แนวโน้มงวด 1Q59 ยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 4Q58 ส่วนปี 2559 คาดกำไรสุทธิเติบโตได้จำกัดเพียง 5.8%yoy จากสินเชื่อกลุ่ม SME และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า จึงแนะนำให้สลับไปลงทุนใน TCAP ([email protected]), TISCO(FV@B50) และ KKP(FV@B42) ที่ให้หุ้นปันผลสูง หรือ KBANK (FV@B240) ที่น่าจะ outperform ได้ดีกว่า
ส่วนหุ้นในกลุ่มที่มิใช่ ธ.พ. ที่มีการรายงานงบออกมาคือ
THANI ([email protected]) ผลการดำเนินงานงวด 4Q58 เป็นไปตามคาด หดตัวถึง 21%qoq (แต่เติบโต18.3%yoy) ผลจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้ม NPL ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-60 ลง แต่เชื่อว่ายังเห็นการเติบโตถึง 11%yoy และ 13%yoy ตามลำดับ ปัจจัยหนุนมาจากการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ตามโครงการลงทุนภาครัฐ และทิศทางดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นขาลง ส่งผลดีต่อ spread ปี 2559 ขณะที่เชิง valuation นั้น ณ ราคาหุ้นปัจจุบันน่าลงทุน เนื่องด้วย PER ต่ำเพียง 11 เท่า และคาดหวังผลตอบแทนเงินปันผลสูงถึง 6%
ส่วน การทำ Preview Earnings หุ้นที่มิใช่สถาบันการเงินเพิ่มเติมมีดังนี้ :
EASTW ([email protected]) คาดกำไรปกติงวด 4Q58 ลดลง 17%qoq จากปริมาณน้ำดิบจำหน่ายลดลงตามฤดูกาล และต้นทุนค่าไฟที่สูงขึ้น ส่วนปี 2559 คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นราว 4% ตามปริมาณจำหน่ายน้ำที่เพิ่มขึ้นแบบระมัดระวัง ทั้งนี้ไม่รวมโอกาสการปรับเพิ่มราคาขายน้ำดิบ นอกจากนี้ EASTW ยังปลอดความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งเนื่องจากแหล่งน้ำยังเพียงพอ นับเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย มั่นคงทั้งรายได้และกระแสเงินสด และมี Div yield 4.4%
PS (FV@B38) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q58 เติบโตถึง 69%qoq และ 47%yoy เนื่องจากมียอดโอนคอนโดฯ สูงเกินเป้าจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ภาครัฐ รวมทั้งแนวโน้ม Gross Margin ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไร ปี 2558-59 ขึ้นจากเดิม 17% และ 15% ตามลำดับ โดยปี 2559 คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 3% จาก Backlog ที่รอโอนฯ กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และยอดขายโครงการใหม่แนวราบที่มีระยะเวลาก่อสร้างสั้น บวกกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ หนุนให้ยอดโอนปีนี้ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
SPALI ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q58 เติบโตถึง 80%qoq และ 13%yoy เป็นจุดสุงสุดของปีจากการโอนคอนโดฯ จำนวนมาก ส่วนปี 2559 ยังเติบโตต่อจากการเปิดโครงการใหม่จำนวนมากเช่นกัน คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 3.67% จาก Backlog ที่รอโอนฯ กว่า 1.37 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งมีแผนลงทุนในสำนักงานให้เช่าเพื่อเพิ่ม recurring income ในอนาคต
SC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q58 เติบโตถึง 53%qoq และ 2%yoy สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการรับรู้รายได้การโอนที่สูงกว่าคาด และการบันทึกกำไรพิเศษจากการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ส่วนปี 2559 คาดกำไรเติบโต 12.4% จากการเปิดโครงการใหม่ 10 โครงการ ทั้งนี้ผลกำไรที่โดเด่นในงวด 4Q58 และความคาดหวังเงินปันผลที่สูงกว่า 6% จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันราคาหุ้น
EA (FV@B26) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q58 ลดลง 4.6%qoq ผลจากปริมาณขาย Biodiesel ที่ลดลง และมีการบันทึกค่าใช้จ่ายจากโรงไฟฟ้าโซลาร์และโรงไฟฟ้าพลังงานลม อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิปี 2558 เพิ่มขึ้นถึง 69% ส่วนงวด 1Q59 คาดกำไรขึ้นทำจุดสูงสุดรายไตรมาส จากการรับรู้รายได้ของโรงไฟฟ้าโซลาร์ พิษณุโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าโครงการอื่นๆ แต่การที่เริ่ม COD กลางเดือน ก.พ. 2559 ซึ่งช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ฝ่ายวิจัยต้องปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2559 ลง 9% และปรับลดปี 2560 ลง 15% จากการเลื่อนโครงการหนุมานไปเป็น ก.ค. 2561 จากเดิมมิ.ย. 2560 แต่แนวโน้มกำไรปี 2559 และ 2560 ยังเติบโตถึง 45%yoy และ 17%yoy ตามลำดับ
การลอยตัว NGV ลดภาระ PTT แต่ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวยังกดดัน
สัปดาห์นี้การรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) จะถูกเลื่อนจากกำหนดเดิมเป็นวันนี้ (เนื่องจากจันทร์ หยุดเนื่องในวัน Martin Luther King) แต่ตลาดคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กล่าวคือวานนี้ การปิโตเลียมสหรัฐ (API) คาดสต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อเป็นสัปดาห์ที่ 2 เช่นเดียวกับ EIA คาดการณ์สต็อกเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล ผนวกกับความกังวล Supply ในตลาดโลกที่จะเพิ่มขึ้นจากอิหร่านเริ่มกลับมาผลิตหลังสิ้นสุดการคว้ำบาตร (คาดการณ์จะเริ่มผลิต ราว 3 แสนบาร์เรล ภายในสิ้นสุด งวด 1Q59) กระทบราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยน้ำมันดูไบลดลงราว 57% จากต้นปีก่อน ล่าสุดวานนี้น้ำมันดูไบปิดตลาดที่ 22.94 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือลดลง 6.60% จากวันก่อน เช่นเดียวกับน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ที่ปรับตัวลดลง 3.06% ซึ่งยังเป็นปัจจัยกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ผลิตและสำเร็จปิโตรเลี่ยม ทั้ง PTT(FV@B310) และ PTTEP(FV@B60)
ขณะที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้สรุปให้ลอยตัวราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เป็นครั้งที่ 4 (มีเงื่อนไขให้ PTT เข้ามาดูแลราคาไม่เกิน 13.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นราคาจะเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะประกาศต้นทุนทุกวันที่ 16 ของเดือน) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 ม.ค. นี้ เป็นต้นไป ถือเป็นประเด็นบวกต่อ PTT ที่จะไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนจากการขาย NGV อีกต่อไป ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงราคาก๊าซ NGV ในช่วง 3 ครั้งก่อนหน้า ได้มีการปรับขึ้นราคาขายก๊าซ NGV รวมแล้ว 2.5 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถือว่ายังต่ำกว่าต้นทุนของ PTT ส่งผลให้ PTT ยังต้องรับภาระขาดทุน ราว 1 หมื่นล้านบาทต่อปี (ภายใต้สมมติฐานต้นทุนการผลิต NGV ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม)
อย่างไรก็ตามระยะสั้น ๆ ปัจจัยกดดันต่อ PTT ยังคงเป็นเรื่องของราคาน้ำมันดิบที่ยังคงอ่อนตัวลดลงต่อเนื่อง และ ยังห่างจากสมมติฐานของ ASPS ที่ประเมินไว้ที่ 45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในปี 2559 ซึ่งยังมีความเสี่ยงต่อผลประกอบการในงวด 1Q59 ที่อาจจะรับรู้ผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันทั้งในตัวบริษัทเอง และ บริษัทย่อย เช่น TOP และ PTTGC, เป็นต้น ส่วนทางด้านราคาหุ้น PTT ลดลง 46% จากจุดสูงสุดที่ 367 บาท เมื่อกลางปี 2558 เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบที่ลดลงจาก 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลลงมา 24 เหรียญฯ ในปัจจุบัน หรือ ลดลง 60% ถือว่าน่าจะสะท้อนความเสี่ยงไปมากแล้ว ขณะที่ PTT เป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินมั่นคง และ ยังจ่ายเงินปันผลสูง 6% ยังแนะนำสะสมในภาวะราคาหุ้นลดลงต่ำผิดปกติในปัจจุบัน
ยังเน้นเลือกหุ้นปันผลสูงที่มีคุณสมบัติ Low Beta, Low P/E
ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักการลงทุน 40% ในหุ้น ที่เหลือเป็นเงินสด และ แนะให้เลือกหุ้น พื้นฐานแข็งแกร่ง มีฐานการเงินมั่นคง (D/E ต่ำ และหรือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง (Cash flow from operation) สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ (ประมาณ 3.5-4% ต่อปี) แล้ว ยังเป็นหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด หรือ หุ้นที่ค่า Beta ต่ำกว่า 1 เท่า
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์