- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 January 2016 16:28
- Hits: 759
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ยังอ่อนตัวลงอีกได้ แต่น่าสนใจเลือกหุ้นซื้อลบแล้วถือ
กลยุทธ์ : SET รีบาวด์กลับขึ้นได้บ้างตามคาด แต่ยังเสี่ยงกับการแกว่งผันผวนและปรับตัวลงได้อีก ก่อนที่ตลาดจะกลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นครั้งใหม่ในช่วงถัดไป ดังนั้นเทรดดิ้งสั้นหลังจากทำกำไรช่วงบวกแล้ว ก็รอซื้อช่วงลบ พร้อมกับเลือกหุ้นซื้อเพื่อเทรดดิ้งกรอบกว้างและซื้อเพื่อถือลงทุน
หุ้นเด่นทางเทคนิค : ICHI, TSE, CPN(buy back)
แนวโน้ม : ถึงแม้ว่าวานนี้ SET จะสามารถพลิกกลับมาแกว่งตัวด้านบวกได้ดีพอควร แต่คาดว่ายังเป็นเพียงแรงซื้อเก็งกำไรต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า หลังจากดัชนีปรับตัวลงไปใกล้จุดต่ำรอบก่อน ซึ่งครั้งที่แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาผลักดันให้ SET มีรอบรีบาวด์ขึ้นได้เช่นกัน จึงทำให้นักลงทุนมีความหวังเชิงบวก ประกอบกับวานนี้ตลาดหุ้นต่างประเทศเคลื่อนไหวกันค่อนข้างดีด้วย อย่างไรก็ตามยังต้องระวังแรงขายทำกำไรช่วงสั้นที่น่าจะมีออกมากดดันอีกครั้ง เนื่องจากยังไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา ทำให้นักลงทุนยังมีแนวโน้มที่จะทำกำไรไวกดดันตลาดอยู่ ซึ่งเช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียก็ไม่ได้บวกขึ้นต่อเนื่อง โดยเริ่มมีแรงขายทำกำไรกดดันให้ปรับตัวย้อนลบเป็นส่วนใหญ่ หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอ่อนแอ ซึ่งดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนนี้แม้ว่าจะปิดเป็นบวกได้ แต่ก็เป็นการลดช่วงบวกลงมาค่อนข้างมาก จากช่วงแรกที่บวกถึงเกือบ 200 จุดลงมาปิดเป็นบวกเพียง 27 จุดเศษเท่านั้น ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีสิทธิแกว่งตัวผันผวนและปรับพักตัวลงได้อีก ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นซื้อเฉพาะช่วงลบเช่นเดิม แต่หลังจากซื้อแล้วยังเน้นถือเพื่อรอรอบขาขึ้นจริงจังของตลาดในช่วงถัดไปได้
แนวรับ 1262-1260 , 1255-1250 จุด
แนวต้าน 1270-1274 , 1279-1281 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$459 ล้าน ส่วนใหญ่ออกจากเกาหลีใต้ และไต้หวัน US$273.4 ล้าน และ US$172.9 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่ไหลเข้าไทยประเทศเดียว US$25.7 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนในภูมิภาคมีทิศทางไหลออกเนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีน และราคาน้ำมันที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) TCAP กำไรสุทธิ 4Q15 ทรงตัวทั้ง Q-Q และ Y-Y ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ แต่สิ่งที่น่าประทับใจมากคือ NPL ที่ลดลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกันใน 4Q15 ทำให้ NPL Ratio ลดลงเหลือ 2.96% จาก 3.54% ใน 3Q15 และ Coverage ratio แข็งแกร่งมากขึ้นเป็น 117% จาก 84.8% ในปี 2014 นับว่า TCAP เป็นแบงก์ที่มีพัฒนาการเชิงบวกด้านกำไรและคุณภาพหนี้ที่โดดเด่นที่สุดในปี 2015 สอดคล้องกับราคาหุ้นที่ outperform ที่สุดในกลุ่ม +19% นับตั้งแต่ต้นปีก่อนถึงปัจจุบัน ขณะที่ราคาแบงก์อื่นลดลงเฉลี่ย 19% เรายังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 43 บาท
(+) SCB กำไรสุทธิ 4Q15 +31% Q-Q (สำรองหนี้สูญของ SSI หายไป), -3.6% Y-Y ไม่เซอร์ไพร้ส์เรา แต่ NPL ที่ลดลงเป็นเซอร์ไพร้ส์ในเชิงบวก เหลือ 2.89% จาก 3.02% ใน 3Q15 3Q15 ขณะที่ Coverage ratio ดีขึ้นเป็น 109.8% แม้ว่า SCB จะสู้ KBANK ไม่ได้ในแง่ของ PPOP, NIM และ ROE แต่ความน่าสนใจของ SCB อยู่ที่ Valuation ที่ถูก มี PE เพียง 8 เท่า และ PBV 1.2 เท่าเท่านั้น เรายังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 166 บาท
(0) LPN กำไรในปี 2015 ผ่านจุด peak ไปแล้วใน 3Q15 เราคาดกำไรสุทธิใน 4Q15 -50% Q-Q, -32% Y-Y เพราะไม่มีคอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมโอน ทำให้กำไรทั้งปี 2015 น่าจะจบที่ 2.63 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเดิมของเรา 5.8% ส่วนปี 2016 ไม่น่าเป็นห่วงเพราะ Backlog ที่มีอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท เกือบทั้งหมดจะรับรู้ในปีนี้ ทำให้เป้ารายได้ปีนี้ปลอดภัยแล้วประมาณ 68% โดยจะเห็นรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ใน 4 เดือนแรกจากมาตรการภาครัฐที่เอื้อและจาก 6 คอนโดใหม่ที่จะเริ่มโอน แต่ความท้าทายอยู่ที่ปี 2017 ที่บริษัทต้องเร่งเปิดโครงการใหม่ให้ได้ตามเป้าเพื่อให้โอนทันในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ด้วย PE ที่ต่ำเพียง 7.4 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มที่ 9 เท่า และคาด Dividend yield 6% จึงยังแนะนำซื้อ ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 19.60 บาท (เดิม 21.50 บาท)
(+) PIMO แนวโน้มกำไร 4Q15 ไม่สดใสเพราะมีค่าใช้จ่ายในการรุกตลาดต่างประเทศ เราคาด -16% Q-Q, -44% Y-Y เหลือ 7 ล้านบาท แต่จะกลับมาขยายตัวได้ตั้งแต่ 1Q16 เพราะลูกค้าปั๊มน้ำรายใหญ่เริ่มกลับมาสั่งซื้อมากขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบหลัก (ทองแดง เหล็ก และอะลูมิเนียม) ลดลงอย่างต่อเนื่อง -5% YTD และมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อไป และเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าหนุนรายได้ส่งออกซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนกำไรในปีนี้ (ปัจจุบันมีรายได้ส่งออก 25% ของรายได้รวม) ราคาปัจจุบันคิดเป็น PE 23 เท่า แต่เป็น PEG เพียง 0.8 เท่าเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตเฉลี่ยในปี 2016-18 ที่ 37% ต่อปี เรายังคงแนะนำซื้อ ที่ราคาพื้นฐานปีนี้ 2.36 บาท (PE 28 เท่าเท่ากับกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม MAI)
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดทรงตัวหลังจากร่วงแรงในวันก่อนหน้าจากแรงกดดันของราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลงและความกังวลต่อเศรษฐกิจจีน
(+) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนบวกได้ค่อนข้างแรงตามตลาดหุ้นเอเชียที่พุ่งขึ้น โดยมีความหวังจากการเพิ่มสภาพคล่องของ PBOC
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้พลิกมาเปิดในแดนลบโดยนักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักกับตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ
(0) ค่าเงินบาทยังแกว่งทรงตัวออกด้านข้าง โดยล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 36.20-36.40 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ปรับตัวลง 0.96 ดอลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 28.46 ดอลลาร์/บาร์เรล จากอุปทานที่ล้นตลาดหลังอิหร่านจะส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น ขณะที่ตัวเลข GDP 4Q15 ของจีนเติบโตต่ำสุดในรอบ 27 ไตรมาส
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ขยับลง 1.60 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,089.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อเนื่องในเช้านี้ จากความคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาจาก PBOC ซึ่งเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่า
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
18-22 ม.ค. -ไทย: กลุ่มธนาคารประกาศผลประกอบการปี 2015
20 ม.ค. - ไทย: ยอดขายรถ (ธ.ค.)
- สหรัฐ: Building permits, Housing starts (ธ.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.)
21 ม.ค. - ยูโรโซน: ECB ประชุม, อัตราเงินเฟ้อ (ธ.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
22 ม.ค. - ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
25-ม.ค. - มาเลเซีย: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Thaipusam Day
26-27 ม.ค. - สหรัฐ: ประชุม Fed
26-ม.ค. - อินเดีย: ตลาดหุ้นปิดทำการ
- เกาหลีใต้: 4Q15 GDP
- สหรัฐ: ดัชนีราคาบ้าน S&P/Case-Shiller Index (พ.ย.)
27-ม.ค. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ธ.ค.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)
28-29 ม.ค. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
28-ม.ค. - ฟิลิปปินส์: 4Q15 GDP
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ธ.ค.)
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch