WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     ขณะที่ปัจจัยภายนอกยังกดดัน กลุ่ม ธ.พ. ทยอยประกาศงบ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศยังเดินหน้า กลยุทธ์เลือกเน้นรายหุ้นมีเงินปันผลเด่น PER ต่ำ ใกล้เคียงหรือน้อยกว่า PER ตลาดที่ปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ 13.5 เท่า (หลังจากปรับลด EPS กลุ่มสื่อสารลงราว 35-40%) เลือก INTUCH(FV@B68) และ STPI([email protected]) เป็น Top picks

ปัญหาพืชผลเกษตรตกต่ำ ยังกดดันเศรษฐกิจในประเทศ
    ท่ามกลางปัญหากดดันรอบด้านทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะปัญหาในจีน ทำให้ความต้องการใช้สินค้าโภคภัณฑ์หลัก ๆ อย่างน้ำมันลดลง กดดันราคาทำจุดต่ำสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง และมีส่วนกดดันให้ราคายางพาราในตลาดโลกต้องตกต่ำในลักษณะเดียวกัน โดยพบว่าราคายางพาราในตลาดโลกขณะนี้ได้ลดลงมาเหลือ 4-5 กก./100 บาท สร้างความเสียหายต่อเกษตรกร และความเป็นอยู่ที่ลำบากมากขึ้น ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะต้องเข้าแก้ไข เนื่องจากเริ่มมีการรวมตัวของชาวสาวนยางพาราในเขต 16 จังหวัด ภาคใต้ เพื่อกดดันการทำงานของรัฐมนตรีเกษตร และรัฐบาล

     ขณะที่ล่าสุดความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ในกลุ่ม SMEs ผ่านการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) เฟส 2 วงเงินเพิ่มเติมอีก 5 หมื่นล้านบาท (หลังจากเฟสแรกวงเงิน 1 แสนล้านบาทประสบความสำเร็จ โดยปล่อยกู้เต็มวงเงินและปิดโครงการเมื่อปลายปี 2558) โดยธนาคารออมสินเป็นแกนหลักในการปล่อยสินเชื่อต่ำ 0.01%ให้กับสถาบันการเงินทั้งหมด 19 แห่ง และให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ต่อ SMEs ในอัตราเพียง 4% โดยปรับเปลี่ยนวงเงินสินเชื่อต่อรายไว้ไม่เกิน 10 ล้านบาท (เดิมเฟสแรก ไม่เกิน 50 ล้านบาท/ต่อราย) โดยในรอบนี้จะเน้นกระจายสินเชื่อให้กับ SMEs ที่อยู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้น KBANK (FV@B240) ซึ่งมีสัดส่วนลูกค้าในกลุ่ม SMEs ถึง 38% จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษีในช่วงปลายปี ทำให้เชื่อว่าจะหนุนให้ GDP Growth ในปี 2558 โตได้ที่ 2.7% และมาตรการกระตุ้น SMEs ระยะที่ 2 จะหนุนต่อเนื่องให้ 1Q-2Q59 ขยายตัว และทำให้ทั้งปีโตได้ที่ 3.8%
      ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นรัฐในช่วงปลายปี (25-31 ธ.ค. 2558) โดยเฉพาะมาตรการนำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท พบว่าได้ผลตอบรับในเชิงบวกเป็นอย่างมาก โดยทำให้มีเงินเม็ดเงินเข้าสู่ระบบสูงราว 1.39 แสนล้านบาท (เดิมคาดไว้ 1.25 แสนล้านบาท) และดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ฟื้นตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการค้าปลีก–ค้าส่งในช่วงปลายปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้น 20-50% และดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่จดทะเบียนในตลาด เช่น ROBINS(FV@B55) HMPRO ([email protected]) และCOM7([email protected]) เป็นต้น

ตลาดน่าจะรับรู้งบ 4Q58 ของ ธ.พ. ย่ำแย่ เลือกหุ้นปันผล TCAP, TISCO
     วานนี้ TISCO ประกาศกำไรสุทธิงวด 4Q58 ใกล้เคียงกับ ที่นักวิเคราะห์ ASPS คาด กล่าวคือ เติบโต ถึง 53.6% qoq (แต่ลดลง 5.5% yoy) จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงสู่ปกติ และไม่มีการบันทึกรายได้พิเศษ (one time) เหมือนงวด 3Q58 ขณะที่ผลการดำเนินงานจากธุรกิจหลักยังเห็นพัฒนาการที่ดีต่อเนื่องของการเติบโตของสินเชื่อสุทธิและ NIM จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง
     ขณะที่ ธ.พ. อื่นๆ คาดจะทยอยรายงานต่อในสัปดาห์นี้ต่อเนื่องถึงสัปดาห์หน้า ทั้งนี้นักวิเคราะห์กลุ่มธ.พ. ของ ASPS ได้ประเมิน ผลการดำเนินงานของกลุ่ม ธ.พ. งวด 4Q58 หดตัวถึง 22%qoq และ 29%yoy นำโดย ธ.พ. ขนาดใหญ่ โดย KTB, KBANK และ TMB จากภาระ ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นขึ้นในช่วงฤดูกาล ขณะที่การเติบโตของสินเชื่อค่อนข้างทรงตัวถึงเติบโตขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ BBL มีการลดลงของกำไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายที่บันทึกเข้ามามากใน 3Q58 และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาล ทั้งนี้สวนทางกับ ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่คาดว่าผลการดำเนินงานจะออกมาดี คือ TCAP, KKP เนื่องจากได้รับผลกระทบเรื่องของ NPL ไม่รุนแรงเท่า ธ.พ. ใหญ่ ขณะที่ SCB การลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่กลับสู่ระดับปกติ ช่วยหนุนให้คาดการณ์กำไรสุทธิกลับมาเติบโตได้ในงวดนี้

     นอกจากนี้ ธ.พ. ขนาดใหญ่หลายแห่ง (SCB, BBL) ยังมีความเสี่ยงจากการค้ำประกัน และ ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่ม ICT ภายหลังจากการประมูล 4G เสร็จสิ้นในปลายปี 2558 ซึ่งพบว่าต้นทุนประมูลสูงเกินไป ทำให้ผู้ที่ได้ใบอนุญาต อาจจะอยู่รอดยากในระยะยาว เช่นเดียวกับ KTB อยู่ระหว่างปรับลดประมาณการกำไรปี 2559 ลงเช่นกัน สะท้อนแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ credit cost และ NIM ที่ลดลง

   ยกเว้น KBANK ยังคงประมาณการฯ ปี 2559 โดยคาดกำไรเติบโต 8.1% แต่แนวโน้ม NPL ยังเป็นขาขึ้น ทำ peak ช่วง 2-3Q59 ที่ 3.5-3.6% ของสินเชื่อรวม กดดัน credit cost ปรับตัวสูงขึ้น ASPS จึงแนะนำให้สลับการลงทุนจาก ธ.พ. ใหญ่ ที่ยังมีปัจจัยความเสี่ยง มายัง ธ.พ. ขนาดกลาง ได้แก่ TCAP ([email protected]) และ TISCO (FV@B50) กล่าวคือ TCAP คาด 4Q58 กำไรเติบโตจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และ คชจ.สำรองหนี้ฯลดลง รายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัว ส่วนปี 2559 คาดกำไรโต 11.8% จากการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ ขณะที่ NPL คาดลดลงต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม เช่นเดียวกับ TISCO กำไรงวด 4Q58 เติบโตโดดเด่นเช่นกัน โดยแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะกลับมาเติบโตเป็นบวกได้ตั้งแต่งวด 2H59 เป็นต้นไป บวกกับอัตราตอบแทนเงินปันผลที่สูงราว 6.5%

ราคาน้ำมันดิบโลกทำจุดทำสุดใหม่ยังกดดันตลาดต่อเนื่อง
     ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงทำจุดต่ำสุดใหม่ (โดยเฉพาะราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 12 ปี) จากปัญหาเดิม ๆ ทั้งผลผลิตส่วนเกินความต้องการ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากปัญหาของจีนเป็นหลัก ขณะที่ EIA ได้ประเมิน ความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่ 95.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้น 1.49% เทียบกับปีก่อน) ขณะที่ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 95.79 (เพิ่มขึ้น 0.42% เทียบกับปีก่อน) มีส่วนเกินอยู่ราว 0.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ไม่รวมส่วนเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากอิหร่านที่กลับมาผลิต ประมาณปลาย ม.ค. นี้ หลังสิ้นสุดการคว่ำบาตร) แม้การรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะปรับตัวลดลง แต่ยังลดลงน้อยกว่านักวิเคราะห์คาด


ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง Brent และ WTI ปรับตัวลดลงราว 6% มาปิดตลาดที่ 31.55 และ 32.30 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับน้ำมันดูไบ ปิดตลาดที่ 28.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล ลดลง 2.7% จากวันก่อนหน้า ซึ่งเป็นปัจจัยลบ กดดันราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ PTT(FV@B310) และ PTTEP(FV@B60) ซึ่งมี Market cap ใหญ่ในอันดับต้น ๆ ในทางตรงกันข้าม จากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงจะส่งผลเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น ที่ค่าการกลั่นยังคงอยู่ในระดับสูง ล่าสุดที่ 9.38 ปรับขึ้น 4.45% ตั้งแต่ต้นปี แต่อย่างไรก็ตามอาจมี Stock loss เฉลี่ยทั้งกลุ่ม 2,538 ล้านบาท ที่รับรู้ในงวด 4Q58 และอาจจะมี stock loss เพิ่มเติมในงวด 1Q59 หากราคาน้ำมันดิบยังลงต่ำกว่า 35 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาปิดในเดือน ธ.ค. 2558 ทั้งนี้ชื่นชอบ IRPC([email protected]) จากแนวโน้มกำไรปกติในปี 2559 ที่คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มฯ ถึง 39.2% ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 30%

ตั้งแต่ต้นปี 2559 ต่างชาติยังคงขายหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่อง
    วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 528 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) โดยเป็นการขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 315 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 131 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 49 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นไทยขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ หรือ 256 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศได้ขายสุทธิราว 1,357 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญ ซึ่งสาเหตุหลักๆยังคงเป็นความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันดิบโลกที่ทำจุดต่ำสุดใหม่อยู่เรื่อยๆ

     ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8,177 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 952 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทประคองอยู่ที่ 36.32 บาท/ดอลลาร์

แนะนำสะสมหุ้นปันผลเด่น ในยามตลาดหุ้นผันผวน
หุ้นปันผลเด่น พร้อมทั้งมี PEต่ำ และ Upside สูง

       กลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัยแนะนำสะสมหุ้นปันผลเด่นอย่าง BJCHI, INTUCH, STPI และ MCS เป็นตัวเลือกการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหาจังหวะเข้าสะสมหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูงในยามที่ตลาดผันผวนและปรับฐานลงมาลึกเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน
นอกจากนี้คาดว่าหุ้น BJCHI, STPI และ MCS จะมีกำไรในงวด 4Q58 ออกมาดีและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!