WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดเต็มไปด้วยความกลัว จึงแนะนำให้หลบเข้าหุ้นที่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลง BA([email protected]) หรือหุ้นที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมั่นคง BDMS([email protected]), EASTW([email protected]) เลือก BA, EASTW เป็น Top picks

ปัจจัยภายนอกเหมือนเดิม..เน้นไปที่การประชุม Fed กับการขึ้นดอกเบี้ย
      สัปดาห์นี้เชื่อว่าประเด็นที่ตลาดให้น้ำหนักต่อการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในสัปดาห์นี้ 15-16 ธ.ค. แต่เป็นที่สังเกตว่าผลสำรวจของ Bloomberg ล่าสุดพบว่าผู้ที่ให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ลดลงมาเหลือ 74% เทียบที่ขึ้นสูงสุด 80% ในการสำรวจในกลางสัปดาห์ที่แล้ว และผลสำรวจคาดว่า Fed จะปรับขึ้นจะเพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไปคือราว 0.25% ขณะที่การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุด โดยเฉพาะด้านราคาพบว่ากระเตื้องขึ้น กล่าวคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.3%MoM สูงกว่าเดือน ต.ค. ซึ่งติดลบ 0.4% MoM (หรือเท่ากับ -1.1%yoy เดือน พ.ย. V.S 1.6%yoy เดือน ต.ค.)
     ส่วนญี่ปุ่น การประชุมธนาคารกลาง (BOJ) ช่วงปลายสัปดาห์ 17-18 ธ.ค. คาดว่าจะไม่มีอะไรใหม่ โดยตลาดคาดว่า BOJ จะยังคง ฐานเงิน (Monetary Base) ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปีต่อไป เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อที่ยังต่ำอยู่ที่ 0.3% ส่วนไทย การประชุมธนาคารกลาง (BOT) วันที่ 16 ธ.ค. ยังเชื่อว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 1.5% ตามเดิมต่อไป โดยยังคงเน้นพึ่งมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
     ท่ามกลางตลาดให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ พบว่านักเศรษฐศาสตร์ หลายค่ายต่างออกมาแสดงความเห็นต่อแนวโน้มการปรับลดเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง เริ่มจาก Moody’s กังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอในระยะ 3 ปีข้างหน้า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP growth) อีกครั้ง โดยกังวลต่อการฟื้นตัวล่าช้าทั้งประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีนเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก คาดขยายตัวชะลอลงเหลือ 6.2% ในปี 2559 จากการเติบโตเฉลี่ยราว 8% หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการปรับลด GDP Growth โลกลงไปหลายแห่ง คือ OECD ปรับลด GDP Growth โลกของปีนี้ เหลือ 2.9% (ก่อนหน้า 3%) และปีหน้า 3.3 % (ก่อนหน้าที่ 3.6%) ตามมาด้วย UN ได้ปรับลด GDP Growt โลกปีนี้อีก 0.4% เหลือ 2.4% เนื่องจากความกังวลราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่ยังคงปรับตัวลดลง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่

ตลาดหุ้นไทยเต็มไปด้วยความกลัว.....มากไปไหม
      สภาวะตลาดหุ้นโลกในระยะนี้ยังเต็มไปด้วยความกังวลและความกลัวจากหลากหลายปัจจัยลบกดดัน เริ่มจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทำจุดต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี ท่ามกลางปัญหา oversupply ตามมาด้วยการประชุม Fed ในวันที่ 15-16 ธ.ค. นี้ ที่มีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2551 อย่างไรก็ตาม แม้ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้จริงๆ แต่ก็เชื่อว่าน่าจะปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (อาจปรับขึ้นครั้งละ 0.1-0.25% และเว้นช่วงระยะหนึ่ง เพื่อรอดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นโลก) สะท้อนได้จากค่าเงินดอลลาร์ จาก Dollar Index ที่ขึ้นไปทดสอบ 100 จุด และอ่อนตัวลงมา บ่งบอกถึงตลาดรับรู้ประเด็นนี้ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐมีการปรับฐานบ้างแต่ไม่รุนแรงเท่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย
      ส่วนตลาดหุ้นไทย นอกจากปัจจัยภายนอกดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยในประเทศที่เข้ามากดดันอยู่เป็นระยะ ทั้งเรื่องการเมืองที่เริ่มมีความร้อนแรงขึ้นจากกลุ่มต่างๆ และความคืบหน้าในเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญที่คาดว่าน่าจะได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกในช่วงปลายเดือน ม.ค. รวมทั้งเรื่องของการประมูลใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz ที่จะมีการประมูลในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ ซึ่งมีความกังวลว่าอาจมีการแข่งขันกันรุนแรง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าการประมูลในรอบนี้ มูลค่าใบอนุญาตไม่น่าเกิน 3 หมื่นล้านบาทต่อใบ เนื่องจากไม่น่าจะแข่งขันกันดุเดือดเท่าคลื่น 1800 MHz เพราะคลื่น 900 MHz ผู้ที่ประมูลได้ไม่น่าจะนำไปลงทุนใน 4G เป็นหลัก (ฝ่ายวิจัยจะกล่าวถึงในวันพรุ่งนี้อีกครั้ง)
      สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นไทยลงลึกเช่นนี้ แม้ประเมินว่าระดับดัชนีปัจจุบัน คิดเป็น Expected P/E สิ้นปี 2558 ได้ที่ 16.9 เท่า แต่ถ้ามองไปที่ปี 2559 Expected P/E จะอยู่ที่เพียง 13 เท่า นับว่าไม่แพง จึงอาจกล่าวได้ว่าการเข้าลงทุนในช่วงนี้จึงเป้นจังหวะของผู้ที่กล้าและนอมรับความเสี่ยงได้ โดยแนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นที่มีความปลอดภัย คือ เป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่งและสม่ำเสมอ อาทิ หุ้น MAKRO (FV@B47) สาธารณูปโภค EASTW (FV@B 14.5) TTW (FV@B 11.5) หุ้นโรงพยาบาล BDMS (FV@B 23.60) BH (FV@B 234) หุ้นค้าปลีก COM7 (FV@B 5.75) เป็นต้น

ท่ามกลางความกังวลยังมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลง
      ถึงแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ลดลง แม้จะกดดดันหุ้นน้ำมัน โดยเฉพาะ PTT, PTTEP จนทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ต้องปรับลดประมาณการหุ้นในกลุ่มอีกรอบ (ติดตามอ่านใน Industry Update วันนี้) พบว่ามีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มขนส่ง หรือ Logistic เช่น หุ้นสายการบิน ซึ่งใช้น้ำมันเป็นต้นหลัก ดังที่กล่าวไว้ใน Market talk เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์โดยตรงจากน้ำมันขาลง สรุปได้ดังนี้ คือ
      กลุ่มค้าปลีก-ส่ง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง มีผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ปรับลดลง เนื่องจากมีการใช้รถขนส่งจำนวนมากในการกระจายสินค้าไปยังสาขาต่างๆ (แต่การปรับลดต้นทุนค่าขนส่งดังกล่าวอาจมี Lag time เนื่องจากการขนส่งส่วนใหญ่เป็น Outsource) รวมทั้งค่าไฟฟ้าภายในห้างมีแนวโน้มลดลงตามค่า Ft โดยล่าสุดในช่วงเดือน ก.ย. – ต.ค. ลดลงจากรอบก่อนหน้าราว 1% และคาดว่ายังมีโอกาสลดลงอีกในรอบต่อๆไป จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า สัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์และค่าไฟฟ้าของกลุ่มฯ จะอยู่ที่ราว 2-4% ของยอดขาย ซึ่งหากตั้งสมมติฐานตัดลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวราว 12% เกิดจากค่าน้ำมันลดลง 20% และค่าไฟลดลง 5% จะส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงานของกลุ่มลดลงและฐานกำไรกลุ่มเพิ่มขึ้นจากประมาณการปัจจุบันราว 2-3% ของกำไร โดยหุ้นเด่นในค้าปลีก ได้แก่ COM7([email protected]) คาดว่ากำไรสุทธิงวด 4Q58 มีแนวโน้มสดใส และยังสดใสต่อเนื่องในปี 2559 ขณะที่ P/E ต่ำสุดในกลุ่ม ตามมาด้วย HMPRO([email protected]) และ ROBINS(FV@B55) ซึ่งราคาปัจจุบันมี upside 27% และ 30% ขณะที่มีค่า P/E เท่า และ 21.5 เท่า และ 19.3 เท่า (EPS Growth ปี 2559 อยู่ที่ 15.3% และ 16% ตามลำดับ)
     กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงต้นทุนพลังงานอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน ค่าไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ให้ปรับตัวลดลงตาม โดยธุรกิจที่น่าจะได้รับประโยชน์ชัดเจนคือธุรกิจกระเบื้อง (DCC) เพราะโครงสร้างต้นทุนมีส่วนของก๊าซธรรมชาติสูงถึง 30% ของต้นทุนการผลิต เช่นเดียวกับ TASCO ซึ่งใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบโดยตรงในการผลิตยางมะตอย สำหรับธุรกิจปูนซีเมนต์มีองค์ประกอบของต้นทุนพลังงานประมาณ 60% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็น ถ่านหิน ประมาณ 30% และ ค่าไฟฟ้าประมาณ 30% ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีนโยบายในการซื้อถ่านหินที่แตกต่างกันไป โดยสัดส่วนระหว่างการซื้อแบบ Spot และการทำสัญญาระยะยาว จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ส่วนค่าไฟฟ้า ก็จะขึ้นกับค่า Ft ซึ่งมีแนวโน้มปรับลดลงในอนาคต
      กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง น่าจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงเช่นกัน แม้ว่าโครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง จะมีองค์ประกอบของน้ำมันไม่เกิน 5% ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งใช้ในส่วนของเครื่องจักรหนัก แต่ราคาวัสดุก่อสร้างที่ได้รับอานิสงค์จากต้นทุนพลังงานที่ลดลงตามราคาน้ำมัน น่าจะทำให้สัดส่วนต้นทุนที่เป็นวัสดุก่อสร้าง (เหล็ก และปูน ) ซึ่งคิดเป็น 40% ของต้นทุนทั้งหมด มีแนวโน้มปรับตัวลดลงมา สำหรับบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เน้นรับงานภาครัฐเป็นหลัก และมีโอกาสได้งานประมูลรถไฟฟ้าที่กำลังจะประมูลรอบใหม่ คาดว่า CK(FV@B33) ยังมีความได้เปรียบ จึงเลือกเป็น Top pick รองลงมาเป็นบริษัทที่รับงานพวกเสาเข็ม ยังชอบ SEAFCO เพราะ SEAFCO([email protected]) มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ CK ซึ่งยิ่ง CK มีโอกาสได้งานก่อสร้างรถไฟฟ้าใหม่ ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทำให้ SEAFCO ได้รับตามมาได้วย
       กลุ่มยานยนต์ ต้นทุนค่าไฟฟ้าคิดเป็น 3-5% ของยอดขาย ขณะที่ค่าขนส่งสินค้าให้ลูกค้าคิดเป็น 0.5% ของยอดขาย ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดีเซลลดลง 20% และค่าไฟลดลง 5% จะส่งผลให้ต้นทุนรวมของบริษัทในกลุ่มลดลง และมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2.5-3.5% แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรง ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถเพื่อทดแทนการเดินทางในรูปแบบเดิม แต่อาจส่งผลให้ผู้ที่มีความต้องการจะซื้อรถอยู่แล้ว ตัดสินใจง่ายขึ้น เนื่องจากมีเงินเหลือเพื่อผ่อนค่างวดมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์ทางอ้อม ยังมีอีกหลายกลุ่มดังนี้ :
      กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ประโยชน์ทางอ้อม ผ่านทางค่าวัสดุก่อสร้าง (เหล็ก, ปูน) ที่มีทิศทางลดลงตามราคาน้ำมัน ซึ่งในภาวะปกติผู้ประกอบการจะมีการขึ้นราคาบ้าน 3-5% ต่อปี ตามภาวะเงินฟ้อ เพื่อเป็นการผลักภาระไปให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ Gross Margin ในอดีตทรงตัวที่ระดับ 34-36% มาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในช่วงที่ภาวะน้ำมันเป็นขาลง ผู้ประกอบการมีพฤติกรรมไม่ปรับลดราคาขายบ้านลงตาม ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ Gross Margin ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 36% ขึ้นไป และส่งผลให้กำไรของกลุ่มปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้นระดับ 1% นอกจากนั้นกลุ่มอสังหาฯ ยังได้รับประโยชน์ทางอ้อมในด้านการขนส่งวัสดุก่อสร้างและค่าไฟฟ้าอีกด้วย
      กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม ต้นทุนค่าไฟฟ้าของกลุ่มโรงแรมคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3-6% ของรายได้ (โดย ERW ซึ่งมีธุรกิจโรงแรมคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 100% จะมีต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 6% ของรายได้ ส่วน MINT และ CENTEL มีธุรกิจหลากหลายมากกว่า โดยธุรกิจโรงแรมคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของรายได้รวม มีต้นทุนค่าไฟ 3-4% ของรายได้) ส่วนต้นทุน Logistics คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% ของรายได้ ดังนั้นหากกำหนดให้ราคาน้ำมันดีเซลลดลง 20% และค่าไฟลดลง 5% คาดส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มโรงแรม (โดยหลักมาจากกำไรของ MINT คิดเป็นสัดส่วน 74% ของกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มฯ) เพิ่มขึ้นประมาณ 2% แต่อย่างไรก็ตาม การที่ต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวลดลง น่าจะดีต่อสายการบินทุกแห่ง รวมถึงรถยนต์ โดยสารในประเทศ ที่สามรถปรับลดราคาค่าโดยสารลง สร้าง Sentiment เชิงบวกต่อการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

ตลาดหุ้นในภูมิภาคยังคงถูกกดดัน จากแรงขายของต่างชาติ
    วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกันต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ ราว 549 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 275 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 192 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 1,626 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวม 4.4 พันล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 208 ล้านบาท
     ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 899 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1,937 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.02 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!