- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 09 December 2015 12:42
- Hits: 2106
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ตลาดยังถูกดดันจากราคาน้ำมัน และแรงขาย CPALL ของกองทุนไทย แต่การที่ ครม อนุมัติรถไฟฟ้าใต้ดินสีส้มเพิ่มเติม เปิดโอกาสแก่ CK/ITD ที่มีประสบการณ์ตรง และ น่าจะหนุน SCC ด้วย แม้ยังชอบ IRPC([email protected]) และ BDMS([email protected]) แต่วันนี้เลือก CK(FV@B33) เป็น Top pick
ตลาดฯ ให้น้ำหนัก 80% ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้
ท่ามกลางความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่อัน 2 ของโลก ยังคงรายงานดัชนี เศรษฐที่ย้ำแย่ กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคการผลิต ล่าสุดเดือน พ.ย. ยังคงต่ำกว่า 50 ติดต่อกันกว่า 4 เดือน
และพบว่ายอดส่งออกและนำเข้าล่าสุดเดือน พ.ย. ยังคงติดลบ 6.8% เป็นการติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เช่นเดียวกับการนำเข้ายังคงติดลบ 8.7% (ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13) ส่งผลให้เกินดุลการค้า 54.1 พันล้านดอลลาร์ (แต่เป็นการเกินดุลที่ลดลงจากเดือนก่อนที่ 61.64 ล้านดอลลาร์) ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศ ในเดือน พ.ย. ยังคงลดต่ำสุดในรอบ 2 ปี เหลือ 3.4 ล้านล้านเหรียญฯ ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2556 ซึ่งน่าจะเป็นผลจากเงินทุนไหลออกเป็นหลัก
และ อัตราเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 1.3% หนุนในธนาคารกลางจีนมีความจำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางการเงินและการคลัง อาทิ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยและ การลดอัตราเงินสำรองธนาคารพาณิชย์ หรือการออกมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อหนุนการบริโภคภายในประเทศ
และ ทางด้านญี่ปุ่น วานนี้รายงาน GDP Growth งวด 3Q58 (ทบทวนครั้งที่ 2) ขยายตัว 1% QoQ ดีขึ้นจากที่ประมาณการครั้งแรกติดลบ 0.8%QoQ (คิดเป็น 1.6%yoy v.s. งวด 2Q58 เติบโต 0.7%yoy ) ซึ่งมาจากขยายตัวของธุรกิจภาคเอกชน และ การจ้างงานที่ดีขึ้น และตลาดคาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะดีขึ้นต่อเนื่องจนถึง 4Q58 อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการค้ากับประเทศจีน อาจจะกระทบเศรษฐกิจญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นส่งออกไปจีนคิดเป็น 18% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ) จึงทำให้ตลาดเชื่อว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มเม็ดเงินในการอัดฉีดเข้าสู่ระบบ ผ่านการทำ QE ซึ่งต้องติดตามการประชุมของ BOJ 17-18 ธ.ค. นี้
ขณะที่ผลการสำรวจของนักเศรษฐกิจของ Bloomberg ล่าสุดพบว่าโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมของ FED วันที่ 15 -16 ธ.ค. มีน้ำหนักมากขึ้น โดยอยู่ที่ 80% (จากครั้งก่อนหน้าที่74%) สะท้อนว่านักวิเคราะห์กลุ่มที่คาดว่า FED จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยมีสัดส่วนน้อยลง ซึ่งกลุ่มหลังให้น้ำหนักต่อ อัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำ 0.2% yoy ซึ่งคงจะต้องติดตามผลการประชุมในสัปดาห์หนี้
ส่วน อังกฤษ คาดว่าผลการประชุมของธนาคารกลาง (BOE)ในวันพรุ่งนี้ นี้น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ0.5% ตามเดิม (นานติดต่อกันตั้งแต่ มี.ค. 2552 ) เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณ ชะลอตัว ประกอบกับเงินเฟ้อ ยังคงติดลบ 0.1% (ติดต่อกัน 3 เดือน)
CK ชนะรถไฟจิระ-ขอนแก่น..มีโอกาสได้เส้นสีส้ม..SCC น่าจะบวกด้วย
วานนี้ รฟท. สรุผผลประมูลรถไฟทางคู่ช่วงถนน จิระ-ขอนแก่น ซึ่งปรากฏว่ากลุ่ม CK เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 23,444 ล้านบาท (ต่ำกว่าราคากลางที่ 24,000 ล้านบาท ราว 2.5%) โดยขั้นตอนต่อไป จะเป็นการตรวจสอบเอกสารและต่อรองราคา ซึ่งเชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน น่าจะเริ่มงานได้เลยใน 1Q59 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี ถือเป็นงานใหญ่ที่สุดของปีสำหรับ CK เพราะตั้งแต่ต้นปีได้งานใหม่เพียง 7,466 ล้านบาท ทำให้ backlog ของ CK แตะระดับ 1 แสนล้านบาทอีกครั้ง
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. วานนี้ มีมติ อนุมัติ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัมนธรรมฯ – มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กม. วงเงิน 9.51 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถว่าจ้างบริษัทเอกชนมาทำการศึกษา และ ทำ TOR พร้อมจะเปิดประมูลได้ราว พ.ค. ปี 2559 (และจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี จนแล้วเสร็จปี 2556) โดยคาดว่าผู้ที่มีคุณสมบัติในการประมูลยังคงเป็น 4 บริษัทเดิมคือ CK, ITD, STEC, UNIQ เนื่องจากจะมีสัญญาการว่าจ้างรวม 7 สัญญาจึงเป็นไปได้ที่ทุกรายจะได้งานอย่างน้อย 1 สัญญา แต่อย่างไรเชื่อว่า CK และ ITD ที่มีประสบการณ์สร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน (2 รายก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินรายละ 50% ของทั้งหมด ) จึงเชื่อว่า 2 บริษัทมีโอกาสได้งานมากสุด
โดยหาก CK ได้งานนนี้อีกเพิ่มอีกเพียง 1 สัญญา เมื่อรวมกับรถไฟ จิระ-ขอนแก่น เท่ากับงานใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2559 ซึ่งน่าจะเกินกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินไว้ขั้นต่ำปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งอาจจะทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการและ Fair Value ได้ในอนาคตอันใกล้
ในเบื้องต้นยังคงมูลค่าพื้นฐานเดิม 33 บาท ยังมี upside สูง 22% จากราคาปัจจุบัน รวมถึงเสถียรภาพของกำไรที่มีมากกว่ารายอื่นๆ จากส่วนแบ่งรายได้และเงินปันผลของบริษัทลูกที่มีเข้ามาสม่ำเสมอ โดยปี 2559 เป็นต้นไป CK จะมีส่วนแบ่งกำไรจาก BEM (BECL+BMCL) เข้ามาไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท จากอดีตที่เคยรับรู้เพียงเงินปันผลจาก BECL ประมาณ 375 ล้านบาท/ปี
นอกจากหุ้นก่อสร้างแล้ว คาดว่ายังเอื้อต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหุ้นในภาควัสดุก่อสร้าง ซึ่ง ASPS ยังชื่นชอบ SCC(FV@B) มากที่สุด โดยราคาตลาดมี upside 36% และ ยังคาดหวังเงินปันผลราว 3.33% และ เชื่อว่า ยังเป็นหุ้น market cap ใหญ่ที่อาจจะเป็นตัวเลือกของนักลงทุนสถาบันไทย หากมีการปรับลดหุ้น CPALL ออกพอร์ต เนื่องจากผู้บริหารเข้าข่ายใช้ข้อมูลภายในการซื้อขายหุ้น ตามที่นำเสนอใน Market Talk วานนี้
ปัจจัยภายนอกยังคงกดดันให้ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาค
ปัจจัยภายนอกยังคงกดดันให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 559 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 355 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 142 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 35 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 18 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ส่วนตลาดหุ้นไทย วานนี้ปรับตัวลดลงถึง 26.59 จุด หรือ 1.99% โดยเกิดจากแรงขายของต่างชาติที่ขายสุทธิราว 353 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,507 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 18,287 ล้านบาท ตรงข้ามบนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 7,397 ล้านบาท ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.97 บาท/ดอลลาร์ แต่ก็มีลักษณะเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์