WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     ตลาดหุ้นไทยปรับตัวแรงเกินไป น่าจะเป็นจังหวะสะสม ยังแนะนำหุ้นปันผลเด่น (ASK, SCC, EASTW, ADVANC) Top pick เลือก MCS([email protected]) ธุรกิจมั่นคง เงินปันผลสูง 5.9%

ตลาดหุ้นไทย เช่นเดียวกับ TIP underform ตลาดหุ้นโลก
    หลากหลายปัจจัยกดดันตลาดนับจากกลางปีนี้ ตั้งแต่ FED จะขึ้นดอกเบี้ย กดดันเงินทุนไหลออกจากเอเชีย ปัญหาเศรษฐกิจจีน และล่าสุดการก่อการร้ายในยุโรป ล้วนกดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงแรงในช่วงดังกล่าว (ตามภาพด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐ และยุโรป แม้กระทั่งจีน กลับฟื้นตัวได้มากกว่าการปรับฐานในช่วง ส.ค. ที่ผ่านมา ตรงข้ามกับหุ้นกลุ่ม TIP ที่ฟื้นตัวได้น้อยและ underperform กว่ามากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งหุ้นไทยนั้น หากมองกันในเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน แม้จะเห็นถึงการปรับประมาณการกำไรปี 2558 ลง จนทำให้การเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้หดตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และระดับ Expected P/E ณ สิ้นปี อาจจะปรับเพิ่มขึ้นมา แต่ก็เชื่อว่าปีหน้า ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน น่าจะฟื้นตัวได้จากแรงหนุนของมาตรการภาครัฐ ฝ่ายวิจัยจึงเชื่อว่า การปรับลดลงของดัชนีในช่วงที่ผ่านมา น่าจะลงแรงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน จึงแนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง ที่คาดว่าจะเติบโตได้ในช่วงที่เหลือของปี และปีหน้า


ผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลก

แรงขาย ADVANC สื่อสารแรงเกินไป?????
       ดังที่กล่าวไปในย่อหน้าที่ 2 ถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยถูกแรงขายมากเกินไปหรือเปล่า โดยเฉพาะหุ้นสื่อสาร (ICT) ปรับตัวลดลงกว่า 27% นับจากจุดสูงในตอนต้นปี 2558 เ นื่องจากการการประมูล 4G ล่าช้า และมีการเลื่อนประมูลกัน 2-3 ครั้ง นับจากปลายปี 2556 เพราะกสทช เตรียมตัวไม่ทัน จึงได้กำหนดวันประมูลใหม่เป็นต้นปี 2557 แต่เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร จึงขอให้เลื่อนออกไปก่อน เพื่อความโปร่งใส และมาจนวันที่ 12 พ.ย. เป็นการประมูล 4G คลื่น 1800 Mhz จำนวน 30 Mhz (2 ใบอนุญาต ๆ 10 Mhz) ปรากฏว่าราคาประมูลจบที่เฉลี่ยใบละ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ ASPS คาดไว้ไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท โดยผู้ชนะประมูล 2 รายคือ ADVANC และ TRUE ทั้งนี้ซึ่งยังไม่รวมงบลงทุนโครงข่ายและอุปกรณ์อีกประมาณ 2-4 หมื่นล้านบาท ทำให้ต้องใส่งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 6-7 หมื่นล้านบาทในระยะ 2 ปีนี้ ในแต่ละราว ซึ่งพิจารณาความพร้อมด้านกระแสเงินสดของ ADVANC แล้วน่าจะสบายที่สุด

      ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วว่าแต่ละปีมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ปีละ 7 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมเงินสดในมือ 7-8 พันล้านบาท) เทียบกับ TRUE มีกระแสเงินสดจากการดำเนิน 2 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมมเงินสดในมือ 1.1 หมื่นล้านบาท ณ สิ้น Q3) ขณะที่ DTAC นั่นไม่สู้ราคาประมูลตั้งแต่ราคาประมูลเกินกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพราะ DTAC มีใบอนุญาตเหลืออยู่อีกมาก (มีคลื่น 1800 45 Mhz แต่ใช้เพียงครึ่งเดียว) แต่อยู่ภายใต้สัมปทานเดิมที่กำหนดส่วนแบ่งรายได้ หรือ revenue sharing ที่สูง 30% ซึ่ง หากต้นทุนการประมูลใบอนุญาตใหม่ ไม่ถูกกว่าของเดิม DTAC จึงเลือกที่จะถอย ขณะที่ JAS เป็นผู้เข้ามาทำให้ราคาประมูลดุเดือด ซึ่งทาง ASPS มองว่า JAS ไม่มีศักยภาพในการทำธุรกิจมือถือ เพราะไม่มีฐานลูกค้าทางด้านมือเลย (ยกเว้นว่าจะรวมกับ DTAC เพื่อสู่กับอีก 2 ราย) แม้จะมีเงินสดในมือ 8.7 พันล้านบาท ณ สิ้น Q3 (หลังจากนำสินทรัพย์เข้ากองทุน JASIF) และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปีละ 5.6 พันล้านบาท แต่ส่วนนี้น่าจะอยู่ในภาวะขาลง เพราะธุรกิจหลักของ JAS คือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง


      แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการการประมูลคลื่น 900 Mhz ที่ถูกแยกออกไป และกำหนดการประมูลเป็น 15 ธ.ค. ซึ่ง ASPS เชื่อว่าผู้เข้าร่วมประมูลน่าจะมีเพียง 2 รายคือ ADVANCและ DTAC ซึ่งยังมีความจำเป็นที่จะใช้คลื่นนี้ในการพัฒนารองรับ 2G สำหรับ ADVANCและ 4G สำหรับ DTAC ซึ่งปัจจุบัน DTAC ให้บริการ 4 G ภายใต้คลื่น 1800 เพียง 5 Mhz เท่านั้น จึงเชื่อว่าต้นทุนค่าใบอนุญาตจะไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท


        โดยรวมต้นทุนใบอนุญาต 4G ที่สูงกว่านักวิเคราะห์ ASPS คาด เป็นผลทำให้มีการปรับประมาณกำไรของทั้งกลุ่มลง (รายละเอียดดังปรากฏใน Market Talk วันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา) ณ ราคาตลาดปัจจุบันจึงให้ switch จาก TRUE และ DTAC มาเข้า ADVANC เนื่องจากราคาหุ้น ADVANC ลงลึกเกินกว่าพื้นฐาน เชื่อว่าวันนี้ตลาดมีความกลัวมากเกินไป และไม่สมเหตุสมผล โดยคาดว่า ADVANC เป็นเพียงบริษัทเดียวที่จะสามารถทำกำไรในรูปกระแสเงินสด ได้ต่อเนื่อง พร้อมสามารถลงทุน และ จ่ายเงินปันผลได้เฉลี่ยปีละกว่า 6%


เศรษฐกิจไทยเริ่มขยับ หลังแผนกระตุ้นเดินหน้า
      ดังที่กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ต.ค.58 ฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นติดต่อเป็นเดือนที่ 2 แสดงถึงอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่เริ่มตั้งแต่กลางเดือน ก.ย. 58 ทั้งนี้พบว่าความคืบหน้าจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นรูปธรรม กล่าวคือ มาตรการกระตุ้นรากหญ้า 1.36 แสนล้านบาท พบว่าล่าสุด กองทุนหมู่บ้าน (คิดเป็น 44% ของทั้งหมด) นั้น มีการเสนอขอกู้มา 50,050 กองทุน คิดเป็น 83% ของกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด (อนุมัติเงินไปแล้ว 46,166 ล้านบาท คิดเป็น 77% ของวงเงินที่ขอกู้) ซึ่งถือว่าเร็วกว่าคาดที่ว่าจะเบิกจ่ายไม่ถึง 50% ส่วนของเงินอัดฉีดตำบล ( คิดเป็น 27% ของทั้งหมด) ได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว 81.5% ของวงเงินรวม ยกเว้น โครงการลงทุนขนาดเล็ก (คิด 17.65% ของทั้งหมด) ได้อนุมัติวงเงินรวม 23,343 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายเพียง 1,035 ล้านบาท (คิดเป็น 4.6% ของวงเงินรวม)


        ส่วนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ผ่านการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ 4 % ( Soft loan) วงเงิน 1 แสนล้านบาท ล่าสุด ธนาคารพาณิชย์ได้ปล่อยกู้แล้ว 68% ของวงเงินทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น (ธนาคารออมสินเป็นผู้ปล่อยกู้เต็มวงเงินให้กับสถาบันการเงิน 17 ราย เรียบร้อยแล้ว) รวมทั้งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ผ่านการปล่อยสินเชื่อ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ล่าสุด แม้มีผู้ขอสินเชื่อ 1.6 หมื่นล้านบาท แต่อนุมัติเพียง 10.7% ของวงเงินทั้งหมด ) ASPS เชื่อว่า เม็ดเงินที่ส่งผ่านถึงระบบเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัวดังกล่าว จะยังส่งผลบวกต่อ GDP Growth ในงวด4Q58 ให้เติบโตต่อเนื่อง หลังจากงวด 3Q58 โต 2.9% และน่าจะทำให้ทั้งปี 2558 โตได้ที่ 2.9 – 3 % ถือว่าน่าจะมีน้ำหนักบวกต่อตลาด แต่ยังไม่สามารถหักล้างปัจจัยลบจากภายนอกได้


หากย้อนไปในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ถ้ายังจำกันได้ ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงอย่างรุนแรง ปัจจัยกดดันที่ทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นทั่วโลกมาจากหลายปัจจัย อาทิ จีน ที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือน และต่ำกว่า ช่วงวิกฤตการเงินโลก สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจีนที่น่าเป็นห่วง ส่วนสหรัฐ มีประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่คาดว่า Fed จะปรับขึ้นในเดือน ก.ย. ส่วน EU สถานการณ์ถือว่าทรงตัวหลังกรีซเตรียมเลือกตั้ง ขณะที่ไทย เพิ่งผ่านพ้นสถานการณ์ระเบิดมาหมาดๆ

ญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้น ดีต่อ MCS ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็ก
     การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุดของญี่ปุ่นมีสัญญานที่ดีขึ้น เริ่มจากเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน ต.ค. (CPI) อยู่ที่ 0.3% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 0% และดีกว่าที่ตลาดคาด (เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน) เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หดตัว 3.8% ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัว 4% (เป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน) และอัตราการว่างงานที่ลดลงเหลือ 3.1% เทียบกับเดือนก่อนที่ 3.4% อย่างไรก็ตาม ยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงปรับตัวลดลง 2.4% จากเดือนก่อนที่ลดลง 0.4% ทำให้ตลาดคาดหวังว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ยังมีความจำเป็น ในการเพิ่มวงเงิน เข้าซื้อสินทรัพย์ หรือ QQE จากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามในการประชุมวันที่ 18 ธ.ค. นี้
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นจะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปีในปี 2020 ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีการเร่งก่อสร้างล่วงหน้า 2-3 ปี น่าจะทำให้เศรษฐกิจกระเตื่องขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกไทยบางรายที่ผลิตสินค้ามีคุณภาพ

       และได้รับการยอมรับจากประเทศญี่ปุ่น คือ MCS (BUY:[email protected]) เป็นผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กซึ่งได้รับใบอนุญาตขั้นสูงสุดประเภท S-Grade ในญี่ปุ่น โดย MCS ถือเป็นผู้ได้รับอานิสงค์บวกโดยตรงจากการฟื้นตัวของภาคก่อสร้างในญี่ปุ่น (ปัจจุบันรายได้มาจากการส่งออกให้ลูกค้าญี่ปุ่นทั้งหมด) หนุน Backlog ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2 แสนตัน สามารถรองรับรายได้ให้กับ MCS ในระดับสูงไปอย่างน้อยจนถึงปี 2562 และ คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการงวด 4Q58 จะโดดเด่น เนื่องจากมีกำหนดการส่งมอบงานให้ลูกค้า 1.1-1.2 หมื่นตัน และเป็นงานที่ผลิตจากโรงงานในไทยโดยตรง ซึ่งมีราคาขายสูงกว่างานที่ผลิตจากโรงงาน Xiamen ที่จีน เมื่อรวมกับการ Reverse ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเข้าไปทำ Forward Contract ที่ตั้งไว้ในงวด 3Q58 57 ล้านบาท กลับคืนมาบางส่วน ทำให้คาดการณ์ว่ากำไรทั้งปี 2558 มีโอกาสทำได้เกิน 610 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ ซึ่งจะทำให้ Expected PER ณ สิ้นปี 2558 อยู่ในระดับต่ำกว่า 10 เท่า ด้านฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็นอย่างมากจากการดำรงสถานะ Net Cash เนื่องจากแทบไม่มีหนี้สินเลย อีกทั้งปัจจุบัน MCS ยังมีแผนซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 50 ล้านหุ้น ด้วยวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท (ปัจจุบันซื้อคืนไปแล้วทั้งสิ้น 10 ล้านหุ้น) ถือเป็น Upside เพิ่มเติมต่อ EPS ในอนาคตซึ่งฝ่ายวิจัยยังไม่รวมในประมาณการจนกว่าแผนจะสิ้นสุดในเดือน เม.ย. 59

ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ยังคงขายหุ้นไทย
      วานนี้ ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 388 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 4 ประเทศ คือ ไต้หวันที่ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 300 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 71 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 3 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ยังคงถูกขายสุทธิราว 11 ล้านเหรียญ หรือ 396 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,566 ล้านบาท
      ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 5,457 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 974 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวม 1.7 หมื่นล้านบาท) ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดทรงตัวอยู่ที่ 35.75 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!