- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 26 November 2015 17:46
- Hits: 952
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ SET ต่ำกว่า 1,400 จุด แต่เชื่อหุ้น Global (PTT, IRPC) ยังนำตลาด บวกหุ้น Domestic ที่ปันผลเด่น (ASK, SCC, EASTW) Top picks คือ ASK([email protected]) yield 7% และ ADVANC(FV@B280) yield 6.2% ยิ่งลงลึกเป็นโอกาสซื้อ ADVANC ร่ำรวยเงินสดมากที่สุด
ค่าเงินโลกผันผวน เงินบาทปัจจุบัน ยังหนุนหุ้นส่งออก KCE, TU
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ แม้ส่งสัญญาณการฟื้นตัว แต่ยังมีความขัดแย้ง หรือยังแกว่งตัวอยู่ดังที่นำเสนอไปวานนี้ กล่าวคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าราว 9.6% mom (อยู่ที่ 90.4) เป็นการหดตัวติดต่อกัน 3 เดือน และ สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือน พ.ย. ลดลง 2.85%mom (อยู่ที่ 52.6 ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน) และ ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 5.36 ล้านหลัง ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 5.4 ล้านหลัง หรือลดลง 3.4% mom
แต่อย่างไรตาม ล่าสุด มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเพิ่มเติมพบว่ามีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นหลายดัชนี เช่น ยอดผู้ขอรับสวัสดิการ การว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (21 พ.ย.) ลดลงจากงวดที่ผ่านมา 1.2 หมื่นราย สู่ที่ระดับ 2.6 แสนราย เทียบกับที่ทรงตัวในระดับ 2.7 แสนราย มา 2 งวดติดต่อกันกัน หนุนให้ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 4.8 หมื่นหลัง (อยู่ที่ 4.95 แสนหลัง) เพิ่มขึ้น 5% YoY และสอดคล้องกับภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ทั้งยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 3% ติดต่อเป็นเดือน 3 (สูงกว่าที่ตลาดคาด 1.7%) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 3.1%mom สูงกว่าที่ตลาดคาด
ทั้งนี้ยังให้หนักต่อ อัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด ที่ยังต่ำ 0.2% yoy ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 2% มาก ซึ่งทำให้ ASPS เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ มีโอกาสน้อย และน่าจะเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2559 ขณะที่ตลาดยังให้น้ำหนักกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมในรอบนี้ สะท้อนจากตัวเลขการสำรวจโดย Bloomberg พบว่า กว่า 72% ที่มองว่า FED มีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม วันที่ 15-16 ธ.ค. จึงต้องติดตามผลการประชุมว่าจะเป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดหรือไม่
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาค่าเงินสกุลดอลลาร์ที่มีแนวโน้มทรงตัว หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องมานานราว 6% ในรอบ 1 เดือน (Dollar Index ล่าสุดอยู่ 99.74) และสอดคล้องกับค่าเงินยูโรป และเงินเยน ที่ทรงตัวล่าสุดอยู่ โดยล่าสุดค่าเงินเยนอยู่ 122.59 เยนต่อดอลลาร์(หลังจากที่อ่อนค่ามาราว 3% ในช่วงเดียวกัน) และ เงินยูโรอยู่ที่ 1.06 เหรียญฯต่อยูโร (หลังจากอ่อนค่ามาราว 7% ในช่วงเดียวกัน) และเช่นเดียวกับค่าเงินเอเชีย ที่เริ่มทรงตัว หรือกลับมาแข็งค่า หลังจากที่อ่อนค่าในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้แม้ต่างชาติยังคงซื้อสลับขายตลาดหุ้นในเอเชียก็ตาม แต่คาดว่าน่าจะเป็นผลจากภาวะเกินดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นในทุกประเทศ จากเหตุผลที่การนำเข้าลดลงอย่างเร็วเร็วเมื่อเทียบกับการส่งออก อย่างไรก็ตามสถานการณ์ค่าเงินบาทขณะที่อยู่ 35.68 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่ายังหนุนภาคส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร ได้แก่ TU(FV@B23), CPF(FV@B28) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KCE(FV@B80), DELTA(FV@B84), HANA(FV@B37) และ ชิ้นส่วนรถยนต์ SAT([email protected]) ซึ่งปัจจุบันมีค่า Expected P/E 9 เท่าในปี 2559 จาก 10.6 เท่าในปี 2558 เป็นต้น
ราคาน้ำมันดิบโลกยังฟื้นตัวต่อ พร้อมค่าการกลั่นสูง 9 เหรียญฯ หนุน PTT, IRPC
เหตุการณ์ความขัดแย้งในซีเรียยังคงเป็นประเด็นกดดดัน จากเหตุการณ์ตุรกียิงเครื่องบินรบของรัสเซียที่มีเป้าหมายในการเข้าโจมตีกลุ่มไอซิสในซีเรีย (อ้างเหตุว่ารุกล้ำน่านฟ้า) ยังคงบานปลาย หลังพบนักบินรัสเซียรอดชีวิตตอบโต้คำกล่าวของตุรกีว่าไม่ได้รุกล้ำน่านฟ้า พร้อมไม่ได้รับสัญญาณเตือนใดๆ จากตุรกีก่อนการยิงโจมตี อย่างไรก็ตามรัสเซียยังคงทำการปฏิบัติการโจมตีกลุ่มไอซิสในซีเรียผ่านน่านฟ้าตุรกีอย่างต่อเนื่อง บวกกับสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA)ได้รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 20 ธ.ค.เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 9 ราว 9.61 แสนบาร์เรล (อยู่ที่ 488.3 ล้านบาร์เรล) เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล และเช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ สต็อกน้ำมันกลั่น Heating Oil และน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นราว 1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 417 ล้านบาร์เรล และน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล (อยู่ที่ 216.73 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน ทำให้อากาศอุ่นขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ส่งผลทำให้ความต้องใช้การน้ำมันปรับตัวลดลง
นอกจากนี้มี การรายงานจำนวนหลุมขุดเจาะปรับลดลง 9 หลุม เหลือ 555 หลุม (เทียบกับปีก่อนที่ 1,572 หลุม) ต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยรวมหนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยราคาน้ำมันดูไบ ปิดที่ 41.07 เหรียญฯต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.66% นับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับน้ำมันในตลาดล่วงหน้า ทั้ง Brent และ WTI ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 3% นับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ซึ่งการที่น้ำมันปรับตัวขึ้น จะเป็น Sentiment ทางบวกในระยะสั้น หนุนหุ้นในกลุ่มพลังงานคือ PTT(FV@B360) ณ ราคาปัจจุบันมี Upside 33.33% และ PTTEP (FV@B94) Upside 27.21%
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดูไบยังคงทรงตัวที่ระดับ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล ยังคงหนุนค่ากลั่นที่ตลาดสิงคโปร์ ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 9.61 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขยับขึ้นกว่า 60% (นับจากกลางเดือน ต.ค. ที่ 6 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ผนวกกับเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว หนุนความต้องการใช้ และคาดปริมาณ Supply ใหม่ๆในปีหน้าจะลดลง จึงยังคงเห็นแนวโน้มค่าการกลั่นแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจปิโตรเคมีที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากช่วงฤดูกาล โดยรวมจึงยังคงชื่นชอบหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมีคือ IRPC ([email protected]) เนื่องจากแนวโน้มกำไรปกติในปี 2559 เติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม(39.2% yoy) และ ณ ราคาปัจจุบันมี upside ราว 38.57%
ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาค แต่ยังมีแรงซื้อสลับเข้ามาบางประเทศ
ท่ามกลางความผันผวน เลือกหุ้นปันผลและได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
มาราพร กี้วิริยะกุล