- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 24 November 2015 16:41
- Hits: 1516
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนี ชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังขัดแย้งทำให้คาดว่า FED น่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ความคืบหน้ากระตุ้นการลงทุนรัฐ โดยเฉพาะสาธารณูปโภค 1 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้า ยังผสม Domestic vs Global เลือก SCC (FV@B 595) และ IRPC([email protected]) เป็น Top picks
ดัชนี ชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐขัดแย้ง กดดัน FED ชะลอขึ้นดอกเบี้ยฯ
ดัชนี เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เบื้องต้นเดือน พ.ย. อยู่ที่ 52.6 ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน หลังจากสามารถฟื้นตัวปรับขึ้นมาอยู่ระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับ ภาคครัวเรือน พบว่า ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 5.36 ล้านหลัง ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 5.4 ล้านหลัง หรือลดลง 3.4% mom ปรับตัวลดลงหลังจากกระเตื้องขึ้นในเดือนก่อน (ต.ค. 5.55 ล้านหลัง) แม้ว่าตลาดแรงงานยังส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ใกล้เคียงเป้าหมาย 5%) ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งในฝั่งผู้ผลิต (PPI) และผู้บริโภค (CPI) ยังคงชะลอตัว โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อ ในฝั่งผู้ผลิตเดือน ต.ค. ปรับตัวลดลง 1.6% yoy (ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2552) เช่นเดียวกับเงินเฟ้อในฝั่งผู้บริโภคล่าสุด ที่ 0.2% yoy ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2% มาก ทำให้ ASPS เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ คือ 15-16 ธ.ค. ของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED มีโอกาสน้อย และน่าจะเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2559 ทั้งนี้ แม้ตลาดส่วนใหญ่จากการสำรวจยังคงมองว่า FED มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้จากตัวเลขการสำรวจโดย Bloomberg พบว่า กว่า 72% ที่มองว่า FED มีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม วันที่ 15-16 ธ.ค นี้
ส่วนทางฝั่งยูโรโซน พบว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจมีสัญญานที่ดีขึ้น กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือน พ.ย. ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด โดยสามารถปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือนที่ 52.8 จากเดือนก่อนที่ 52.3 เช่นเดียวกับภาคบริการล่าสุดที่ 54.6 ปรับขึ้นจากเดือนก่อน 54.6 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในรอบ 54 เดือน ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ กระตุ้นภาคส่งออก อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 0.1% ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย 2% ยังคงเป็นประเด็นกดดัน คาดการณ์ธนาคากลางยูโรป (ECB) อาจทำการขยายระยะเวลาและวงเงินการทำ QE เพิ่มเติมในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ ประเด็นนี้ถือว่ายังหนุนตลาดหุ้นอยู่
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานผ่าน PPP ชัดเจนมากขึ้น..SCC/CK
ปัจจัยหนุนตลาดในประเทศ ยังเป็นเรื่องของนโยบายกระตุ้นการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการจัดตั้ง โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นแหล่งระดมทุนภาครัฐ เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านการร่วมทุนกับภาคเอกชน ภายใต้โครงการ PPP (การร่วมลงทุนระหว่างรัฐ-เอกชน) ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงการคลัง ภายในระยะ 2 สัปดาห์นี้ ทั้งนี้โครงการลงทุนภายใต้ PPP รวมทั้งสิ้น 65 โครงการ ระหว่างปี 2558 – 2562 มูลค่า 1.41 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นมีโครงการที่เร่งรัดลงทุน PPP Fast Track ชุดแรกมี 5 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 3.34 แสนล้านบาท ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 3 สายมูลค่า 1.94 แสนล้านบาท และทางหลวงระหว่างเมือง 2 เส้นทาง มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งทางหลวงระหว่างเมืองดังกล่าวคาดว่าจะมีความคืบหน้าและนำไปสู่การประมูลตั้งแต่ปลายปี 2558 ต่อเนื่อง ปี 2559 คือ เส้นบางปะอิน – นครราชสีมา 196 ก.ม. มูลค่า 8.46 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะประกวดราคาในช่วง ธ.ค.2558 – ม.ค.2559 และ เส้นบางใหญ่ – กาญจนบุรี 96 ก.ม. วงเงิน 5.56 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะประกวดราคาในช่วง มี.ค. – เม.ย. 2559
นอกจากนี้ กรมทางหลวง ยังเตรียมพิจารณาโครงการเร่งรัดลงทุน PPP เพิ่มเติม (จากใน 65 โครงการ) คือ เส้นทางมอเตอเวย์ 2 เส้นทาง คือ เส้นนครปฐม – ชะอำ 120 ก.ม. มูลค่า 8.06 หมื่นล้านบาท ซึ่งผ่าน EIA แล้ว และรอคณะกรรมการ PPP พิจารณาโครงการ และ เส้น หาดใหญ่ – ชายแดนมาเลเซีย 55 ก.ม. มูลค่า 3หมื่นล้านบาท อยู่ในขั้นพิจารณา EIA หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน เชื่อว่าการลงทุนภาครัฐผ่านโครงการสาธารณูปโภค ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจหลัก ดีต่อผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง SCC (FV@B 595) และ รับเหมาก่อสร้าง CK(FV@B33)
ค่าการกลั่นเข้าสู่ช่วง High Season : IRPC
ท่ามกลางราคาน้ำมันโลกที่ยังทรงตัวที่ระดับ 40 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล (ดุไบ) ประกอบกับเข้าสู่ฤดูกาล ทำให้ความต้องการใช้เชื้อเพลิง เพื่อทำความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ช่วยหนุนให้ค่าการกลั่นมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากค่าการกลั่นที่สิงคโปร์ได้ ขยับขึ้นจาก 6 เหรียญ ฯ ต่อ บาร์เรล เมื่อกลางเดือน ต.ค. ขึ้นมาแตะ 9.3 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ในสัปดาห์นี้ และเชื่อว่าสถานการณ์นี้จะดีต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้หากพิจารณาภาพในระยะยาว เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของกำลังการกลั่น ของโรงกลั่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสู่ตลาดจะไม่มากนัก เนื่องจาก ผู้ประกอบการโรงกลั่นในทวีปเอเชียแปซิฟิค (จีน และญี่ปุ่น) และ ตะวันออกกลาง ล้วนได้เลื่อนแผนการผลิตในเชิงพาณิชย์ ของโรงกลั่นใหม่ที่เพิ่งเสร็จออกไปจนถึงปี 2560 ทำให้กำลังการผลิตส่วนเพิ่มลดลงจากเดิม 5.9 แสนบาร์เรล เหลือ 2.46 แสนบาร์แรล และ ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมในทวีปเอเชียแปซิฟิค (จีน และญี่ปุ่น) และ ตะวันออกกลาง ในปี 2559 จะอยู่ที่ราว 5.9 แสนบาร์เรล ต่ำกว่าความต้องการใช้โดยรวมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 7 แสนบาร์เรล ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มสมมติฐานค่าการกลั่นในปี 2559 จากเดิม 5.5 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 6.5 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล ซึ่งถือว่าดีต่อหุ้นโรงกลั่นทุกแห่ง (TOP, PTTGC, IRPC, BCP BCP (โรงกลั่น 75%, โรงไฟฟ้าโซลาร์ 25%) , ESSO, SPRC) ติดตามอ่านรายละเอียดในรายงานฉบับยาว Industry Update เมื่อวันศุกร์ที่19 พ.ย. ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงกลั่นในประเทศไทยมิได้เป็นโรงกลั่นอย่างเดียว แต่มีการต่อยอดผลิตปิโตรเคมีด้วย กล่าวคือ TOP มีกำลังการกลั่น 70%, ปิโตเคมีสายอะโรเมติกส์ 25% (ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปิโตร), PTTGC โรงกลั่น 25%, โอเลฟินส์ 50%, อะโรเมติกส์ 25% (ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบในการผลิต), IRPC โรงกลั่น 35%, โอเลฟินส์ 35%, อะโรเมติกส์ 10% สไตรรีนิกส์ (ใช้ liquid base), ในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าธุรกิจปิโตรเคมียังคงทรงตัวยกเว้นทางด้าน โอเลฟินส์ เท่านั้น กล่าวคือ
กลุ่มสายโอเลฟินส์ พบว่า Spead ยังโดดเด่นสุด เมื่อเทียบกับ สายอะโรเมติกส์นั้น (ผลิตภัณฑ์หลักทั้งพาราไซลีน (Px) และเบนซีน (Bz) ปรับตัวลดลง) ทำให้การใช้กำลังการผลิตของโอเลฟินส์เกิน 100% เทียบกับ สายอะโรเมติกส์ที่ใช้กำลังการผลิตที่ต่ำกว่า สำหรับแนวโน้มงวด 4Q58 คาดว่าธุรกิจปิโตรเคมีน่าจะได้ปัจจัยหนุนช่วงฤดูกาลจากการเก็บสต๊อก เพื่อผลิตสินค้ารองรับ เทศกาลปีใหม่ และตรุษจีน นอกจากนี้คาดปริมาณขายปิโตรเคมีโดยรวมในงวด 4Q58 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากโรงงานอะโรเมติกส์ 2 และโรงงาน MEG ของ PTTGC ที่ shutdown ไปในงวด 3Q58 กลับมาเดินเครื่องผลิตเต็มกำลัง
ส่วนแนวโน้มปี 2559 คาดว่าธุรกิจน่าจะทรงตัว แต่หากพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสาย โดยเฉพาะสายโอเลฟินส์ ยังสดใส โดยคาดว่า Spread อยู่ในระดับสูงมาก ยกเว้น ส่วนกลุ่มอะโรเมติกส์ ที่ยังเผชิญกับภาวะ oversupply ต่อเนื่องจากปี 2558 แต่การที่ Spread ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ตกต่ำส่งผลให้ผู้ประกอบการที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงต้องทำการลดกำลังการผลิตลง หรือหยุดผลิต ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นจึงถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ให้ Spread ผลิตภัณฑ์ยังประคองตัวอยู่ได้ในปี 2559 ซึ่งคาดว่าจะใกล้เคียงกับในปี 2558
เมื่อรวมกับธุรกิจโรงกลั่นคาดว่าแนวโน้มกำไรโดยรวมในปี 2559 น่าจะเติบโตเกินกว่า 15% จึงให้น้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยเลือก IRPC ([email protected]) เป็น top pick โดยมีจุดเด่นที่คาดกำไรปกติปี 2559 ที่เติบโตถึง 39.2%yoy สูงสุดของกลุ่มฯ อีกทั้งยังมี PER และ PBV ที่ยังถูกมาก ขณะที่หุ้นบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มก็มีความน่าสนใจรองลงมาคือ TOP (FV@B68) ได้รับประโยชน์สูงสุดในช่วงที่ค่าการกลั่นอยู่ในช่วงขาขึ้น และ PTTGC ([email protected]) ซึ่งมีแนวโน้มกำไรเติบโตต่อเนื่องจากแผนการลงทุนต่างๆที่ทยอยแล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเข้ามาต่อยอดกำไรและเพิ่มมูลค่าได้ในระยะยาว เช่นเดียวกับ BCP ([email protected]) ที่แนะนำซื้อจากความแข็งแกร่งของกำไรที่มีความผันผวนน้อยสุดในกลุ่มโรงกลั่น เนื่องจากมีกำไรจากธุรกิจไฟฟ้าโซลาร์ซึ่งค่อนข้างมีเสถียรภาพสูงช่วยหนุน
เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 10 ล้านเหรียญ แต่ยังเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 78 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยกับตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซียถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันที่ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 85 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ หรือ 839 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 348 ล้านบาท และหากสังเกตตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มแผ่วลง และมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้างในบางประเทศ ซึ่งถือเป็นแนวโน้วที่ดี ที่จะช่วยหนุนให้ SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1,332 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 4,063 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.87 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์