- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 November 2015 17:29
- Hits: 1005
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนี 1,400 จุดยังผ่านยาก การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐได้สะท้อนตลาดไปบ้างแล้ว ขณะที่ความคืบหน้ากระตุ้นการลงทุนรัฐ โดยเฉพาะสาธารณูปโภค 1 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้า ยังผสม Domestic vs Global เลือก SCC (FV@B 595) และ PLANB(FV@B8) เป็น Top picks
การเพิ่ม QE ยุโรปยังจำเป็น vs สหรัฐขึ้นดอกเบี้ยตลาดรับรู้แล้ว
สัปดาห์นี้ แม้ตลาดยังให้ความสนใจต่อประเด็น Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 15-16 ธ.ค. หรือไม่ก็ตาม แต่คาดว่าน่าจะมีน้ำหนักกดดันลดลง หรือตลาดน่าได้ซึมซับประเด็นนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สะท้อนจากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น Dow Jones (+0.51%), S&P500 (+0.38%) , DAX (+0.31%) แม้จะสวนทางกับฝั่งเอเซียที่ปรับตัวลดลง เช่น ตลาดหุ้นไต้หวัน ( - 0.14%) อย่างไรก็ตามในมุมมองของ ASPS คาดว่าโอกาสที่ Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ จากประเด็น เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ล่าสุดที่ 0.2% ซึ่งจะต้องติดตามการรายงานดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ของที่จะประกาศหลังจากนี้ จะช่วยหนุน หรือ หักล้าง การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยพรุ่งนี้จะมีการรายงาน GDP Growth งวด 3Q58 ของสหรัฐ ครั้งที 2 ตลาดคาดว่า จะเติบโตดีขึ้นมาอยู่ที่1.9%qoq (annualized) เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่ 1.5% qoq (annualized หรือ 2% yoy)
เช่นเดียวกับ ยูโรโซน สุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย ฟื้นตัวเล็กน้อย อยู่ที่ -6 เทียบกับ -7.6 เดือนก่อนหน้า และดีกว่าที่ตลาดคาด แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการฟื้นตัวยังค่อยเป็นค่อยไปแล้วยังต้องใช้เวลา นอกจากปัญหาจากโครงสร้างภายในกลุ่มยูโรปที่มีหลายประเทศ ผลกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก จีนและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ชะลอตัว ผนวกกับความตึงเครียดจากการก่อการร้ายในฝรั่งเศสที่ยังคงเป็นปัจจัยกดดัน ขณะที่เงินเฟ้อล่าสุดยังคงอยู่ในระดับต่ำ(0.1%) ห่างจากเป้าที่ 2% อย่างมาก จึงคาดว่าธนาคารกลางยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาการทำ QE (ปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านเหรียญฯ) หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงต่ำกว่าระดับ 0% ติดตามผลการประชุมของธนาคารยุโรปวันที่ 3 ธ.ค.
การกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ มีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น.....SCC
หลังจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 1.36 แสนล้านบาท และมาตรการ SME ได้กระจายสู่ระดับท้องถิ่นตั้งแต่เดือน ต.ค. เป็นต้นมา หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ (กระตุ้นภาคครัวเรือน :C) ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมีคล้ายคลึงกับผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2545 รายละเอียดดังภาพ จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีสัญญานการฟื้นตัวตามลำดับ ตั้งแต่ 4Q58 เทียบกับ 3Q58 เติบโต 2.9% (1H58 เติบโต 2.9%) และน่าจะต่อเนื่องถึงปีหน้า
ขณะที่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่า 1 แสนล้านบาท โดยจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี ใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่ง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว น่าจะเป็น 1 ในแหล่งระดมเงินของภาครัฐ (นอกเหนือจากการใช้งบประมาณ การกู้ยืมจากประชาชน ผ่านการออกหุ้นกู้) นอกจากนี้ยังรองรับแผนการให้ เอกชนเข้าร่วมลงทุน ภายใต้โครงการ PPP(การร่วมลงทุนระหว่างรัฐ-เอกชน) ซึ่งมีโครงการตามแผน 65 โครงการ มูลค่า 1.41 ล้านล้านบาท ในช่วงปี 2558 – 2562 และเบื้องต้นจะเลือกบางโครงการเข้ามาอยู่ในโปรแกรม PPP Fast Track เพื่อลดขั้นตอนการ ประมูล – จัดซื้อจัดจ้าง ให้เกิดขึ้นราวกลางปี 2559 (โครงการที่เข้า PPP Fast Track ชุดแรกมี 5 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 3.34 แสนล้านบาท ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 3 สายมูลค่า 1.94 แสนล้านบาท และทางหลวงระหว่างเมือง 2 เส้นทาง มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท) หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน เชื่อว่าการลงทุนภาครัฐผ่านโครงการสาธารณูปโภค ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจหลัก ดีต่อผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง SCC (FV@B 595) และ รับเหมาก่อสร้าง CK(FV@B33)
ระยะสั้นน่าจะให้น้ำหนักหุ้นที่เกี่ยวภาคท่องเที่ยว ERW, AOT
เข้าสู่ช่วง 4Q58 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาล ทั้งเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ รวมทั้งฤดูกาลท่องเที่ยว ที่จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มสูงขึ้นสอดรับกับ High-Season ที่กำลังจะมาถึง สะท้อนได้จากยอดจองตั๋วเที่ยวบินและการจองที่พักโรงแรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ภาวะปกติ ใกล้เคียงกับ ก่อนเกิดเหตุระเบิดที่ราชประสงค์เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9M58 อยู่ที่ 22.16 ล้านคน มากกว่า 9M57 ที่ 17.33 ล้านคน ฝ่ายวิจัยประเมินในกรณีแย่สุด คือ จำนวนนักท่องเที่ยวไม่เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. จำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งปีก็คาดว่าน่าจะขึ้นถึงระดับ 30 ล้านคนได้ ส่วนแนวโน้มปี 2559 ก็คาดว่าน่าจะทะลุถึง 32-33 ล้านคน ตอกย้ำถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี-ต้นปีหน้า และเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม ให้ผลประกอบการเข้าสู่ช่วง peak ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ วิ่งขึ้นแรง นำโดย
CENTEL (FV@B48) คาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q58 เพราะเป็น High Season และโรงแรมในมัลดีฟท์ รวมทั้งธุรกิจอาหารคาดฟื้นตัวดีขึ้นเช่นกัน
MINT (FV@B 39) คาดกำไร 4Q58 สร้างจุดสูงสุดของปี ธุรกิจโรงแรมได้อานิสงส์จากช่วง High Season ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ จะบันทึกรายได้ขายในโครงการ Anantara ภูเก็ต ส่วนธุรกิจอาหาร คาดเห็นการฟื้นตัวของยอดขายร้านอาหารเดิม
ขณะที่ ERW ([email protected]) ทิศทางผลประกอบการ 4Q58 จะฟื้นตัวชัดเจนจาก 3Q58 และ 4Q57 สะท้อนได้จากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยล่าสุดเดือน ต.ค. – 10 พ.ย. 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 70% และคาดจะเพิ่มมากขึ้นใน ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ดีสุดของไตรมาสสุดท้าย ประเมินอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของทุกโรงแรมงวด 4Q58 อยู่ที่ 79% แต่พบว่าราคาหุ้น ERW ยัง Laggard กับกลุ่มฯ มี upside สูงกว่า 25%
นอกจากนี้ การเข้าสู่ช่วง High Season ของฤดูกาลท่องเที่ยว ก็จะช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มสนามบิน-สายการบิน ฝ่ายวิจัยชอบ AOT (FV@B 365) ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากการเตรียมเปิดใช้อาคาร 2 สนามบินดอนเมืองในเดือน ธ.ค. 2558 เพิ่มกำลังให้บริการรองรับปริมาณผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หนุนให้รายได้จากค่าเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง หลังจากขายติดต่อกัน 9 วัน
วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 67 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 136 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันที่ซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 48 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 10 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 8 วัน) และไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอีกรั้งราว 10 ล้านเหรียญ หรือ 384 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 9 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันไทยซื้อสุทธิราว 88 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2,478 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 3,427 ล้านบาท หนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.74 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์