- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 20 November 2015 16:21
- Hits: 2968
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
ปัจจัยบวกจากเอเชีย
คาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในวันนี้ สวนทิศทางหุ้นสหรัฐที่ปรับลงเมื่อคืนนี้จากปัจจัยบวกใหม่ในเอเชียและในประเทศที่น่าจะกลบความกังวลเรื่องแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ความคืบหน้าของรถไฟรางคู่ แผนออกกองทุน Thailand Future Fund ตลอดจนธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ยอีก หนุนตลาด
หุ้นเด่นวันนี้ : CPF (ราคาปิด 22.00 บาท; NR; Bloomberg 25.28 บาท)
บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เป็นหุ้นในกลุ่มส่งออกซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทและการฟื้นตัวของธุรกิจกุ้งจากโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ในระหว่างปีนี้บริษัทมียอดขายลูกกุ้งและอาหารสำหรับกุ้งเติบโตได้ 30% YoY จากความสามารถในการควบคุมและจัดการกับโรค EMS ในกุ้งด้วยวิธีโรงเลี้ยงแบบปิด หากราคากุ้งโลกในปีหน้าเพิ่มสูงขึ้นจะยิ่งจูงใจให้เพิ่มผลผลิตและเพิ่มอัตราทำกำไรได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาอุปทานส่วนเกินของเนื้อไก่ภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก แม้ว่าในไตรมาสสุดท้ายจะเป็นช่วง low season ของธุรกิจสัตว์น้ำ แต่คาดว่าจะสามารถมีกำไรพลิกจากขาดทุนในไตรมาส 4/57 บริษัทยังมุ่งเน้นพัฒนาสินค้าแปรรูปภายใต้แบรนด์ของตัวเองมากขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขายให้เติบโตได้เฉลี่ย 10% ต่อปี และเพิ่มอัตราทำกำไรให้ดียิ่งขึ้น ตามประมาณการ Bloomberg Consensus แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานจะมีแนวโน้มลดลง 72% ในปีนี้แต่คาดว่าจะฟื้นตัวและเติบโตถึง 179% ในปี 59 การประกาศแผนซื้อหุ้นคืนจนถึงวันที 9 มี.ค.59 ยังช่วยจำกัดความเสี่ยงจากการปรับตัวลงของราคาหุ้นอีกด้วย สำหรับ Price Pattern ของ CPF เริ่มฟื้นตัวหลังได้กลับมาเกิดสัญญาณซื้อในรายวัน หากราคาสามารถปิดเหนือ 21.80 บาทในวันนี้จะเกิดสัญญาณซื้อในรายสัปดาห์ซึ่งจะทำให้แนวโน้มขาขึ้นแข่งแกร่งยิ่งขึ้น ในระยะสั้นราคามีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมายเบื้องต้นที่ 21.10 บาทและเป้าหมายถัดไปที่ 23.40 บาท จุด Stop loss อยู่ที่ 21.50 บาท (แนวต้าน: 22.10, 22.30, 22.50; แนวรับ: 21.80, 21.60, 21.40)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
เตรียมตั้งฟิวเจอร์ฟันด์แสนล้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รมว.คลังเปิดเผยวานนี้ว่ารัฐบาลจะตั้งกองทุน “ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์” เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า และจะรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำจากการลงทุนด้วย (The Nation)
คาดยอดใช้จ่ายลอยกระทงเพิ่มขึ้น ม.หอการค้าไทยได้ออกผลสำรวจล่าสุดคาดการณ์ว่าระหว่างเทศกาลลอยกระทงปีนี้ในวันที่ 25 พ.ย. จะมีการเติบโตของการจับจ่ายราว 2.5% เทียบปีก่อนไปสู่ 1.14 หมื่น ลบ. สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นมาก (Bangkok Post)
นำเงินจากประมูล 4จีช่วยเกษตรกร รัฐบาลมีแผนที่จะจ่ายเงินราว 8.078 หมื่น ลบ. จากเงินที่ได้จากการประมูล 4 จีมาช่วยเหลือเกษตรกรให้ผ่านพ้นภัยแล้งไปได้ในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้านี้ (Bangkok Post)
STEC และ บ.ไร๊ท์ทันเน็ลลิ่งชนะสัญญารถไฟ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และบริษัท ไร๊ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด ประกาศเป็นผู้ชนะสัญญารถไฟรางคู่เส้นทางฉะเชิงเทราถึงสระบุรี การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แบ่งสัญญารถไฟรางคู่ออกเป็นสองสัญญา โดยสัญญาแรกเป็นเส้นทางระหว่างฉะเชิงเทรา-แก่งคอยมูลค่า 9.8 พันลบ. ซึ่ง STEC เป็นผู้ชนะสัญญาด้วยการเสนอราคา 1% ต่ำกว่าราคากลาง ขณะที่ ไร๊ท์ทันเน็ลลิ่ง เป็นผู้ชนะสัญญาที่สองด้วยการเสนอราคาต่ำสุด ที่ 407 ลบ. ต่ำกว่าราคากลางถึง 32% (Bangkok Posr) ความเห็น: ราคาเป้าหมาย ITD อยู่ภายใต้สมมติฐานว่าจะชนะโครงการรถไฟรางคู่ 14.6 พันลบ. โดยการก่อสร้างเริ่มต้นปี 61 แต่ยังมีโครงการประมูลอีกราว 24.6 พันลบ.จะเริ่มเปิดประมูลวันที่ 8 ธ.ค. ซึ่งหาก ITD ชนะการประมูลในโครงการใดจะไม่กระทบต่อราคาเป้าหมาย
ต่างประเทศ :
โอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้ามีมากขึ้น: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบ่งบอกว่าเทรดเดอร์มองว่ามีโอกาส 72% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า เทียบกับเดิมที่มองว่ามีโอกาส 68% เมื่อวันพุธก่อนการเผยแพร่รายงานการประชุมเฟดประจำเดือนต.ค. – จาก CME Group’s FedWatch (Reuters) ความเห็น: นักลงทุนค่อนข้างยอมรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.และความสนใจของพวกเขาได้เปลี่ยนไปที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเร็วแค่ไหน
สหรัฐ :
ดัชนีหุ้นในตลาดวอลล์สตรีทขยับลงเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากราคาหุ้นในกลุ่มประกันสุขภาพที่ลดลงชดเชยกับการขึ้นของหุ้นบ.อินเทลและบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ขณะที่นักลงทุนจับตาไปที่แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ของเฟด กลุ่มประกันสุขภาพมีผลการดำเนินงานที่แย่ที่สุดหลังจากยูไนเต็ดเฮลท์ประกาศกำไรที่หดหาย ราคาหุ้นอินเทลกระโดดขึ้นหลังจากการประกาศจ่ายเงินปันผลต่อปีเพิ่ม ข้อมูลทางเศรษฐกิจเมื่อวันพฤหัสดูเหมือนจะสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือนธ.ค. (Reuters)
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐลดลงในสัปดาห์ก่อน ชี้ให้เห็นว่าตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง ตัวเลขดังกล่าวลดลง 5,000 รายอยู่ที่ 271,000 รายในสัปดาห์ก่อน ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ ในตอนนี้ต่ำกว่า 300,000 รายติดต่อกัน 37 สัปดาห์ ยาวนานที่สุดในรอบหลายปี และไม่ห่างจากระดับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุค 1970’s จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการที่ลดลงในสัปดาห์ก่อนเป็นไปในทางเดียวกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ (Reuters)
กิจกรรมภาคการผลิตในแถบมิดแอตแลนติกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ย. หลังจากลดลง 2 เดือนติดต่อกัน มีสัญญาณของความหวังสำหรับภาคการผลิตที่กำลังดิ้นรนอยู่ เฟดสาขารัฐฟิลาเดเฟียเผยว่าดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วไปเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.9 จุดในเดือนนี้จาก -4.5 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่เป็นบวกครั้งแรกในช่วง 3 เดือน (Reuters)
ผลิตภาพซึ่งวัดโดยผลผลิตรายชั่วโมงต่อแรงงานเพิ่มขึ้นมาที่ 1.6% ต่อปีในไตรมาส 3/58 หลังพุ่งไปอยู่ที่ 3.5% ในไตรมาส 2/58 ผลิตภาพการผลิตเติบโตในอัตราที่เร็วสุดในรอบ 4 ปี นำโดยภาคสินค้าคงทน ต่างจากนักเศรษฐศาสตร์คาดกันว่าผลิตภาพน่าจะหดตัวมาอยู่ที่อัตรา 0.2% ในไตรมาส 3/58 แม้ว่าการเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 จะผิดคาด แนวโน้มของผลิตภาพยังคงอ่อนแออยู่ โดยผลิตภาพเติบโตเพียงแค่ 0.4% เทียบปีก่อน ถือว่าชะลอลงจากการเติบโต 0.8% ในไตรมาส 2/58 (Reuters)
ยุโรป :
หุ้นยุโรปพุ่งขึ้น และแตะจุดสูงสุดในรอบ 3 เดือน นำโดยหุ้น Sodexo ผู้ผลิตอาหารซึ่งปรับมุมมองแนวโน้มธุรกิจดีขึ้น และประกาศซื้อหุ้นคืนตลาดยังคงยินดีกับข่าวความเชื่อมั่นของ Fed ต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แม้จะมีการขึ้นดอกเบี้ย ตลาดเชื่อมากขึ้นว่า ECB จะขยาย QE อีกหลัง ECB เผยแพร่รายงานการประชุมล่าสุด หุ้นท่องเที่ยวและโรงแรมดีดตัวกลับสะท้อนความกังวลเหตุโจมตีปารีสลดลง (Reuters)
รายงานการประชุม ECB บ่งชี้แนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเดือนหน้า การฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปยังอ่อนแอ ภาคใต้ของยุโรปอ่อนแอมาก แม้สเปนจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง ฝรั่งเศสยังไม่ไปไหน แม้ก่อนเหตุโจมตีปารีส คณะกรรมการ กำหนดนโยบายการเงินส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่มอีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (Reuters)
เอเชีย :
ธนาคารกลางจีน (PBOC) หั่นอัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้ลงแรง สำหรับเงินกู้ภายใต้ ธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Lending Facility หรือ SLF) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการอัดฉีดเงินเข้าระบบธนาคาร เป็นขั้นล่าสุดในการหนุนเศรษฐกิจที่ชะลอลง อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนลดลง 1.75% สู่ระดับ 2.75% และดอกเบี้ย 7 วันหั่นลง 2.75% เหลือ 3.25% มีผลวันนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยเดิมอยู่ที่ 4.5% และ 5.5% ตามลำดับ ความเห็น: เนื่องจากการหั่นดอกเบี้ยสำหรับ SLF มุ่งเป้าเพื่อจะลดต้นทุนสภาพคล่องระยะสั้น คาดว่า PBOC น่าจะหั่นตัวดอกเบี้ยอ้างอิงในไม่ช้านี้ด้วย
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราการใช้นโยบายการเงินกระตุ้น ด้วยความหวังว่ายังมีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ แม้ว่าจะมีการลงทุนภายในประเทศที่ยังอ่อนและภาวะแข่งขันทางธุรกิจจากทั่วโลก ธนาคารกลางได้ติดตามประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่ายังคงฟื้นตัวอยู่ในระดับกลาง (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาทองฟื้นจากดอลลาร์อ่อน หลังแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ 1,064.95 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันพุธ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้ทองบวกได้ 0.3% มาอยู่ที่ 1,080.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่สำหรับรอบสัปดาห์ยังถือว่าทองลง 0.2% (Reuters)
ราคาน้ำมันดิบกดดันโดยอุปทานล้น ความกังวลอุปทานที่ยังคงอยู่เป็นแรงกดดันทั้ง NYMEX และ Brent แต่ทั้งสองยังอยู่ในกรอบแคบเนื่องจากถูกหักล้างไปบางส่วนโดยดอลลาร์ที่อ่อนค่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลดลง 21 เซนต์ปิดที่ 40.54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล Brent ขึ้น 4 เซนต์ ปิดที่ 44.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun (No.49234) Tel: 02 680 5094