WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      SET ลงลึกแม้สัญญาณฟื้นเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ กลยุทธ์ให้ผสมผสานหุ้น Global (PTT, KCE) & Domestic (ADVANC, EASTW, PLANB, ASK, MAKRO) เลือก PTT(FV@B360) และ ADVANC(FV@B280) เป็น Top picks เพราะราคาลงลึกเกินไป

ตลาดยังเชื่อ FED จะขึ้นดอกเบี้ย vs หวัง BOJ ขยายวงเงิน QE
      วานนี้มีการเปิดเผยรายงานประชุมของ Fed (Fed Minute) รอบ 27–28 ต.ค. แม้ในรอบที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามในรายงานระบุว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่สนับสนุน การขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกในปีนี้ แต่คาดว่าการปรับขึ้นจะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการครัวเรือน พบว่าตลาดบ้านปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดสั่งสร้างบ้าน เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 1.06 ล้านหลัง (เฉลี่ยตั้งแต่ ม.ค - ต.ค. อยู่ที่ 1.09 ล้านหลัง ) สอดคล้องกับยอดการอนุญาตก่อสร้างบ้าน อยู่ที่ระดับ 1.15 ล้านยูนิต (เฉลี่ยตั้งแต่ ม.ค - ต.ค. อยู่ที่ 1.12 ล้านหลัง) และยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ล่าสุด เพิ่มขึ้นที่ 2.71 แสนราย ส่งผลทำให้อัตราการว่างงานปรับตัวลงมาอยู่ที่ 5% (เท่ากับเป้าหมายที่วางไว้) ทำให้ตลาดให้น้ำหนักต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบสุดท้ายคือ 15-16 ธ.ค.นี้ สะท้อน Fed Fund Rate ล่าสุด สรุปว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ย ยังสูงถึง 66% แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเห็นของบางกลุ่มที่มองว่า Fed จะยังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้ ซึ่ง ASPS มีมุมมองเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ย ยังให้น้ำหนักต่ออัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาก
ส่วนฝั่งของญี่ปุ่น อยู่ระหว่างการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (เริ่มประชุมวานนี้เป็นวันแรก) ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปภายในวันนี้ โดยจะต้องติดตามว่า BOJ จะขยายวงเงิน ในการซื้อสินทรัพย์ Monetary Base ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งนี้ ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 41 ราย ของBloomberg พบว่า จำนวนนี้ 44% คาดว่า BOJ จะยังไม่มี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นพบว่าได้ฟื้นตัว outperform ตลาดหุ้นโลกแล้วทุกแห่ง

ตลาดหุ้นเอเชีย underperform ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว
      ท่ามกลางความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ ตามผลการสำรวจล่าสุดพบว่าให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในการประชุมรอบ 15-16 ธ.ค. สูงขึ้น (แม้บางส่วนจะไม่เห็นกับการขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ แต่ไปให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยในต้นปี 2559 แทน) ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันสำคัญทำให้ต่างชาติได้ขายหุ้นในเอเชียรอบใหม่ ในเดือน พ.ย. โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP ทั้งนี้หลังจากที่ชะลอการขายในเดือน ต.ค. (ยกเว้นที่มีการซื้อสุทธิในบางประเทศเช่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นต้น) และกดดันให้ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย กลับมาอ่อนค่ารอบใหม่ ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา นำโดยเงินเปโซของฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 3.3% เงินรูเปียะห์ ของ อินโดนีเซีย อ่อนค่า 2.8% และเงินบาทไทย อ่อนค่า 2% และเช่นเดียวกับเงินยูโร พบว่าอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องราว 6.7% ในช่วง 1 เดือนที่ผานมา ตรงข้ามกับ Dollar Index ใกล้แตะ 100 จุด หรือแข็งค่าขึ้นราว 6% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
   แรงขายต่างชาตินอกจากกดดันค่าเงินแล้ว ยังเป็นการกดดันดัชนีตลาดหุ้นในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือตลาดหุ้นฟิลิปปินส์มีการปรับฐานมากสุด โดยปรับตัวลดลง 3.3% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตามมาด้วยตลาดหุ้นไทยลดลง 3.4% และ อินโดนีเซีย ลดลง 2.8% ขณะที่ตลาดหุ้นในกลุ่มพัฒนาแล้วกลับปรับขึ้นตัว หรือฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ แม้จะมีปัญหาโศกนาฏกรรมในกรุงปารีสก็ตาม กล่าวคือตลาดหุ้นสหรัฐฟื้นตัวเฉลี่ย 1.5% ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัว 2% และตลาดหุ้นปุ่นฟื้นตัวกว่า 4% ยกเว้นตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงยังคงมีลักษณะทรงตัว
ทั้งนี้หากพิจารณาความสามารถในการทำกำไรของตลาดหุ้นในแต่ละภูมิภาคพบว่า ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทำได้ดีกว่า กล่าวคือ consensus คาดว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปีนี้และปีหน้าจะมี EPS Growth ราว 13% และ 10% ตามลำดับ ตามมาด้วยตลาดหุ้นเยอรมัน คาดเติบโต 12% และ 2.2% ฝรั่งเศส เติบโต 7% และ 6.9% ตรงข้ามกับ S&P500, DJIA, และอังกฤษ คาดว่าปีนี้หดตัว -1.2%, 2.2%, 15.3% ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ปีนี้ชะลอตัวลง กล่าวคือ ในปี 2558 ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เติบโตเพียง 5% และ 13% ตามลำดับ ที่เหลือชะลอตัวลงทั้งสิ้น ได้แก่ ตลาดหุ้นจีน -0.8% ไทย -1.4% มาเลเซีย -3% อินโดนีเซีย -4.5% และอินเดีย -5.8% อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาคาดว่าจะเติบโตแรงในปี 2559 ได้แก่ ไทย กว่า 30% ฟิลิปปินส์ 13% อินเดีย 20% อินโดนีเซีย 15%
ขณะที่ Expected P/E ปีนี้และปีหน้า ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วใกล้เคียงกว่าประเทศกำลังพัฒนา โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มี Expected P/E ในปี 2558 ช่วง 14-19 เท่า (เยอรมันมี P/E ต่ำสุด ส่วนญี่ปุ่นมี P/E สูงสุด) ส่วนปีหน้าจะลดลงจากปีนี้เล็กน้อย โดยตลาดหุ้นที่มี P/E ต่ำสุดคือ ฮ่องกง และเยอรมัน เป็นต้น
     ส่วนตลาดหุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มี Expected PER ในปี 2558 ช่วง 15-18 เท่า โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ มี P/E สูงสุดถึง 18.6 เท่า และตลาดหุ้นจีนต่ำสุด 15.3 เท่า ส่วนในปี 2559 จะลดลงเหลือ 13-14 เท่า โดยตลาดหุ้นไทยหลังปรับประมาณการลงทำให้ Expected P/E ขยับขึ้นมาที่ราว 18 เท่า แต่จะลดลงเหลือ 14 เท่าในปี 2559

คาดกำไรตลาดปีนี้ ทรงตัวจากปี 2557 แต่จะเพิ่มสูงถึง 30% ปี 2559
     ณ 17 พ.ย. 2558 พบว่า บริษัทจดทะเบียนใน SET รายงานงบงวด 3Q58 ทั้งสิ้น 540 บริษัท หรือ 94% ของทั้งหมด ส่วนใหญ่มีผลประกอบการต่ำกว่าคาดมาก โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่มีกำไรมากสุด คือ พลังงาน -247%yoy และ -239%qoq (หลักๆ จาก PTTEP และ PTT) ปิโตรเคมี (-64%yoy และ -77%qoq) (หลักๆ จาก PTTGC และ IVL) กลุ่ม รับเหมาก่อสร้าง -32%yoy และ-33%qoq) (จาก SCC) ชิ้นส่วนฯ -19%yoy และ -24%qoq (จาก SVI) ธนาคารพาณิชย์ -17%yoy และ -12%qoq (จาก SCB,KTB,TISCO) และ ส่วนกลุ่มที่ขาดทุนต่อเนื่องจากงวด 2Q58 คือ ขนส่งทางอากาศ (จาก THAI) และกลุ่มเหล็ก (จาก SSI)
      ด้วยเหตุนี้กำไรตลาดใน 3Q58 ทำได้เพียง 2.52 หมื่นล้านบาท เทียบกับงวด 1H58 ทำได้เฉลี่ยไตรมาสละ 2.2 แสนล้านบาท ทำให้มี ต้องปรับลดกำไรตลาดปี 2558 ลงอีกรอบราว 15.7% โดยกลุ่มที่ปรับประมาณการลงเรียงจากมากไปน้อย คือ พลังงาน ปรับลด 58% (หลักๆ จาก PTT, PTTEP) ขนส่ง ปรับลด 48% (จาก THAI) ประกันฯ ปรับ23% (จาก BLA) รับเหมาฯ ปรับลด 14% (หลักๆ มาจาก STEC, STPI) ธนาคารพาณิชย์ ปรับลด 7% (หลักๆ จาก SCB, KTB, TISCO) สื่อสาร ปรับลด 6% (จาก DTAC) วัสดุก่อสร้าง ปรับลดล 5% (จาก TPIPL) ที่เหลือปรับลดเล็กน้อย คือ อสังหาฯ ปรับลดล 2%, และ โรงพยาบาล ปรับลดลง 2%) ตรงข้ามที่ปรับขึ้น คือ เกษตร (15%) ส่งออกอาหาร (8%) และสื่อ-บันเทิง (2%)
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเชื่อว่างวด 4Q58 ผลการดำเนินงานจะฟื้นตัว โดยน่าจะมีกำไรสุทธิราว 2.2-2.4 แสนล้านบาท หรือกลับเข้าสู่ปกติ (ไม่ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนของ PTTEP, PTT, SSI และ Stock loss จากการอ่อนตัวของสินค้าโภคภัณฑ์ TOP, PTTGC, IRPC, SCC เหมือนงวด 3Q58) โดยรวมคาดว่ากำไรสุทธิปี 2558 น่าจะจบที่ 7.08 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2557 แต่น่าจะก้าวกระโดดเป็น 9.21 แสนล้านบาทในปี 2559 โดยเป็นการฟื้นตัวของกลุ่มที่ขาดทุนในปี 2558 ได้แก่ พลังงานและปิโตรเคมี (+199%) ขนส่ง (+155%) รับเหมา (+20%) ธนาคารพาณิชย์ (+16%)


     ในเบื้องต้นคาดว่า EPS ตลาดในปี 2559 จะอยู่ที่ 98.37 บาทต่อหุ้น (หลังจากปรับลดลงจาก 101.92 บาทต่อหุ้น) เติบโตจากปี 2558 ราว 30% ดังนั้นหากประเมินดัชนีตลาดโดยใช้ EPS ตลาดปี 2559 ใหม่ จะได้ดัชนีที่ราว 1,575 จุด (อิง Expected P/E 16 เท่า) จึงเชื่อว่า SET มี upside จากปัจจุบัน 14% ดังนั้น ณ ระดับดัชนีปัจจุบันจึงเป็นโอกาสที่ดีในการเลือกลงทุนระยะกลาง-ยาว เช่น หุ้น Market Cap ใหญ่ SCC, PTT, AVANCE, INTUCH, KBANK, TCAP, MAKRO, CK หุ้นขนาดกลาง-เล็ก EASTW, PLANB, SYNTEC, TASCO, ASK และที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าคือ KCE, KSL, VNG

ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคติดต่อกัน 9 วันทำการ
     วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นที่เหลือยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 336 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9 และมียอดขายสุทธิสะสมรวมสูงถึง 3.8 พันล้านเหรียญ) และเป็นการขายสุทธิทั้ง 4 ประเทศ คือ ไต้หวันที่ขายสุทธิอยู่สูงสุดในภูมิภาคราว 206 ล้านเหรียญ รองลงมาคือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 84 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) และ ไทยขายสุทธิราว 46 ล้านเหรียญ หรือ 1,656 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวมสูงราว 1.4 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ตรงกันข้ามกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,105 ล้านบาท
   ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 3,009 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 2,292 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทล่าสุดทรงตัวอยู่ที่ 35.97 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!