WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     SET ยังเผชิญแนวต้าน 1,400 จุด โดยมีแรงกดดันจากภายนอก ขณะที่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยยังเดินหน้า กลยุทธ์ให้ผสมผสานหุ้น Global (PTT, KCE) & Domestic (EASTW, PLANB, ASK, MAKRO) ยังเลือก PTT(FV@B360) และ KCE(FV@B80) เป็น Top picks

ค่าเงินโลกผันผวน..ยังให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ย FED
      ค่าเงินทั่วโลกยังคงมีความผันผวน สะท้อนจาก Dollar Index ที่ปรับขึ้นใกล้แตะ 100 จุด หรือแข็งค่าขึ้นราว 6% (นับจาก 15 ต.ค. 2558) ตรงกันข้ามกับเงินยูโร ยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องราว 6.7% ในช่วงเดียวกัน และเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียมีทิศทางอ่อนค่า นำโดยเงินริงกิตของมาเลเซีย อ่อนค่ามากสุด 4.13% ในช่วงเดียวกัน ตามมาด้วย เงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่า 2.73% รูเปียะห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่า 1.26% และเงินบาทอ่อนค่า 1.25% ซึ่งทำให้เงินบาทใกล้แตะ 36 บาทต่อดอลลาร์ และอาจจะยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ เนื่องจากตลาดยังมีคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งการประชุมรอบสุดท้ายคือ 15-16 ธ.ค. (ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มการขึ้น Fed Fund Rate ล่าสุด สรุปว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ย สูงถึง 66%) อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังมีความเสี่ยงที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน หากพิจารณาดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ยังมีความขัดแย้งท่ามกลางการฟื้นตัวก็ตาม โดยเฉพาะประเด็น เงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน ต.ค. แม้จะกระเตื้องขึ้นจาก 0% ในเดือน ก.ย. ขึ้นมาเป็น 0.2% ในเดือน ก.ย. ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.1% แต่ก็ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% (โดยยังมีแรงกดดันจากต้นทุนราคาน้ำมันที่อยู่ระดับต่ำ ยกเว้น ค่าจ้างในตลาดแรงงานที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น) เช่นเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่ยังติดลบ 0.2%MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 0.1%MoM (หดตัวติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 3) อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามรายงานผลการประชุมของ FED รอบเดือน ต.ค. (วันที่ 27-28) ที่จะออกในวันนี้ ซึ่งน่าจะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้น
      อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ ASPS ยังเชื่อว่า Fed ไม่ควรจะรีบขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ เพราะเงินเฟ้อที่ต่ำ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกับธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่ประกาศนโยบายชัดเจนว่า จะไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จนกว่าสหรัฐจะนำร่องไปก่อน เนื่องจากอังกฤษ ยังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุด เดือน ต.ค. ยังติดลบ 0.1% ประกอบกับ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ติดลบ 1.3% (หดตัวติดต่อกัน 16 เดือน) ติดตามผลการประชุม BOE 10 ธ.ค. นี้
และญี่ปุ่น ตลาดยังให้น้ำหนักต่อการขยายวงเงิน QE เพิ่มเติมจากปัจจุบัน (วงเงินในการซื้อสินทรัพย์ Monetary Base ที่ 80 ล้านล้านเยน) แม้ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ล่าสุด พบว่าผู้ตอบ 44% เพิ่มขึ้นจากการสำรวจก่อนหน้าที่ 33% แต่ยังเป็นส่วนน้อย อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามผลการประชุมของ BOJ ในวันพรุ่งนี้ ว่าจะมีการขยายวงเงินและระยะเวลาหรือไม่

รัฐเดินหน้าประมูลรถไฟรางคู่หนุน CK ขณะที่ NWR คาดได้รับเงินชำระหนี้คดีคลองด่านฯ
      การประชุม ครม. วานนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ครม.เห็นชอบกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ซึ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ ขนาด 1.435 เมตร สายที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย และสายที่ 2 มาบตาพุด-แก่งคอย-โคราช แบ่งเป็น 4 ช่วง แบ่งแยกความรับผิดชอบกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยประเมินว่า กว่าที่โครงการจะเริ่มดำเนินการยังต้องใช้เวลาอีกนาน โดย 19 ธ.ค. นี้ จะมีการวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมและบริหารการเดินรถ จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการศึกษาขั้นตอนและประเมินโครงการการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน หลังจากนั้นจึงจะนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เพื่ออนุมัติในส่วนความรับผิดชอบของไทยและจีนอีกครั้ง เร็วที่สุดราวเดือน พ.ค. ทั้งยังไม่นับรวมถึงขั้นตอนการทำ IEA, HIA ที่ใช้เวลาอีกกว่าปี จึงเชื่อว่าประเด็นดังกล่าวน่าจะเป็นพียงกระแสช่วงสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าสนใจกว่า คือ ในวันพรุ่งนี้ จะมีการประมูล e-Auction งานก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นฉะเชิงเทรา-คลอง 19 - แก่งคอย ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นหนุนในกลุ่มรับเหมาฯ ได้ดีกว่า โดยฝ่ายวิจัยยังคงชอบ CK (FV@B33) ที่มีความพร้อมทั้งด้านประสบการณ์ทำงานและฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากสุด หลังจากมีการเซ็นสัญญางานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟสายสีน้ำเงินช่วงเตาปูน-บางซื่อ และมีรอเซ็นงาน Improve Communication System รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และงาน Maintenance Service รถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งทั้ง 3 งานนี้ มีมูลค่ารวม 3,846 ล้านบาท อีกทั้งยังมีประเด็นสนับสนุนจากบริษัทลูก คือ BEM ซึ่งเกิดจากการควบรวมระหว่าง BECL และ BMCL ที่พร้อมเข้าร่วมลงทุนในลักษณะ PPP กับภาครัฐ เป็นแรงหนุนสำคัญต่อธุรกิจของ CK


นอกจากนี้ในที่ประชุมฯ ได้อนุมัติงบประมาณกลาง สำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปชำระหนี้คดีคลองด่าน ให้แก่กิจการร่วมค้า NVPSKG ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดยให้แบ่งชำระเป็น 3 งวด คือ งวดแรก ชำระภายใน 21 พ.ย. 58 3,175 ล้านบาท และ 21.7 ล้านเหรียญ งวดที่ 2 ชำระภายใน 21 พ.ค 59 จำนวน 2,381 ล้านบาท และ 16.3 ล้านเหรียญ และ งวดที่ 3 ชำระภายใน 21 พ.ย 59 จำนวน 2,381 ล้านบาท และ 16.3 ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่าบวกต่อ NWR เนื่องจากเป็นผู้รับเหมาช่วงให้กับกิจการร่วมค้า NVPSKG ในงานก่อสร้างโครงการคลองด่าน แต่ไม่ได้รับชำระเงินค่าก่อสร้าง ซึ่งทำให้ NWR มีโอกาสสูงที่จะได้รับเงินค่าก่อสร้างค้างชำระดังกล่าว และสามารถบันทึกเข้ามาเป็นกำไรพิเศษได้ ภายในปี 2559 ขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 4Q58 คาดว่าดีขึ้นตามยอดการรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้น จาก Backlog กว่า 1.25 หมื่นล้านบาท และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ NWR ได้ร่วมลงทุน จะเริ่มสร้างผลตอบแทนคืนกลับมาจากโครงการคอนโดมิเนียม ISSI สุขสวัสดิ์ โดย Fair value ของ NWR ( ยังไม่รวม Book Value ที่เพิ่มขึ้นจากคดีคลองด่าน ) อยู่ที่ 1.96 บาท สามารถซื้อเก็งกำไรได้
หลังประมูล 4G ทุกรายต้องเงินกู้เพิ่ม : ADVANC/BBL


ภายหลังประมูล 4G ภายใต้คลื่น 1800 MHz โดยมี ADVANC และ TRUE เป็นผู้ชนะประมูล ด้วยราคาใบอนุญาตที่ 4.09 และ 3.97 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ (รวม 8.07 หมื่นล้านบาท) แม้ผลกระทบต่อราคาประมูลที่แพงกว่าคาดมาก แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้ชนะต้องเตรียมเงินสด เพื่อ ค่าใบอนุญาตฯ ซึ่งตามปกตจะแบ่งจ่ายออกเป็น 3 งวด คือ งวดแรก 50% ของราคาประเมิน ภายใน 90 วัน (คาดต้นปี 2559 ADVANC และ TRUE จ่ายรายละ 9.95 พันล้านบาท) งวดที่ 2 และ 3 ในอัตรา 25% ของราคาใบอนุญาต (คาดปี 2561 และ 2562 ADVANC และ TRUE จ่ายรายละ 4.97 พันล้านบาท) และที่เหลือคาดว่าจะจ่ายในปี 2563 (คาด ADVANC จ่าย 2.11 หมื่นล้านบาท และ TRUE จ่าย 1.99 หมื่นล้านบาท)


ส่วนคลื่น 900 MHz ที่การประมูลจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ฝ่ายวิจัยคาดว่าผู้ชนะการประมูล 2 ราย น่าจะเป็น ADVANC กับ DTAC โดยเม็ดเงินรวมที่คาดว่าจะได้เกิดขึ้นจากค่าใบอนุญาตครั้งนี้ จะอยู่ที่ราว 6 หมื่นล้านบาท (รายละ 3 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างโครงข่าย (CAPEX) 4G รวมทั้ง 2 คลื่น (1800 และ 900 MHz) นั้น ซึ่ง ASPS คาด operator ทั้ง 3 ราย จะต้องลงทุนเพิ่มราว 4.5 หมื่นล้านบาท ภายใต้สมมติฐานที่ ADVANC ลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาท, DTAC ลงทุนราว 1.5 หมื่นล้านบาท ส่วน TRUE ลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท
หากรวมเม็ดเงินจากการประมูล 4G ในรอบนี้ (ใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz + 900 MHz + ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างโครงข่าย CAPEX)จะมีเม็ดเงินทั้งหมดราว 1.86 แสนล้านบาท หากประเมินว่าผู้ให้บริการแต่ละรายจะการกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์ราว 45% ของเงินลงทุนทั้งหมดหรือราว 8.4 หมื่นล้านบาท จึงน่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ โดยคาดการณ์ว่า ADVANC น่าจะใช้แหล่งเงินกู้ที่มาจาก KBANK และเงินส่วนหนึ่งที่มาจาก THCOM ส่วน TRUE น่าจะกู้ผ่าน SCB ด้าน DTAC เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์ จึงน่าจะใช้เงินจากธนาคารสแกนดิเนเวีย ซึ่งถือหุ้นใหญ่ใน TCAP จึงน่าจะได้ประโยชน์

แรงขายหุ้นในภูมิภาคเริ่มเบาบางลง
วานนี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มเบาบางลง โดยล่าสุดต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 120 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) โดยมีเพียงประเทศเดียวที่ซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิอยู่ราว 34 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ นำโดยเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 105 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ และ ไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ หรือ 745 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่กลับมาซื้อสุทธิราว 2,020 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 17,659 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 744 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทล่าสุดทรงตัวอยู่ที่ 35.99 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!